ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,994 รายการ

วันจันทร์ที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง ยินดีต้อนรับ อาจารย์และนักศึกษา  สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและการบริการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ศูนย์การศึกษาจังหวัดอุดรธานี จำนวน ๓๒ คน  เวลา๑๒.๓๐ น.เข้าเยี่ยมชมปราสาทพนมรุ้ง (นำชม/รายงานโดย นางสาวจำปา จันทร์ประโคน) เวลา ๑๔.๐๐ น.เข้าเยี่ยมชมปราสาทเมืองต่ำ  (นำชม/รายงานโดย นายบันเลง  กำประโคน)


วันจันทร์ที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง ยินดีต้อนรับ อาจารย์และนักศึกษา  สาขาสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี  จำนวน ๗๕ คน เวลา ๑๐.๐๐ น.เข้าเยี่ยมชมปราสาทพนมรุ้ง (นำชม/รายงานโดยนางสาวจำปา จันทร์ประโคน)  เวลา ๑๑.๔๐ น. เข้าเยี่ยมชมปราสาทเมืองต่ำ  (นำชม/รายงานโดย นายบันเลง  กำประโคน)


             กรมศิลปากร โดยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จัดกิจกรรมสุดพิเศษ “Night at The Palace ย้อนเวลา ชมวัง 4 ศตวรรษ พระราชวังจันทรเกษม” ยลโฉมความงามของโบราณสถานสำคัญอันเป็นที่ประทับของพระมหาอุปราชในสมัยกรุงศรีอยุธยา ในช่วงเวลาค่ำคืน พร้อมด้วยกิจกรรมอีกมากมาย เริ่ม 2 กุมภาพันธ์เป็นต้นไป              กรมศิลปากรได้เปิดให้เข้าชมพระราชวังจันทรเกษม โบราณสถานสำคัญอันเป็นที่ประทับของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เมื่อครั้งทรงดำรงตำแหน่งพระมหาอุปราชในสมัยกรุงศรีอยุธยาช่วงค่ำคืน ทุกวันศุกร์ เสาร์ และอาทิตย์ เวลา 16.30 - 21.00 น. (ซื้อบัตรเข้าชมได้ถึงเวลา 20.30 น.) โดยภายในงานมีกิจกรรมพิเศษ ประกอบด้วย               - กิจกรรมนำชมพระราชวังสุดพิเศษ "นำชม รอบเปิดวัง" จากภัณฑารักษ์พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม และอาสาสมัครพิพิธภัณฑ์              - กิจกรรม “ชวน ชม ชิม” เปิดพื้นที่ภายในพระราชวังจันทรเกษม ให้หน่วยงาน องค์กร ภาคส่วนต่าง ๆ ร่วมแสดงกิจกรรมทางศิลปวัฒนธรรม การสาธิต การประดิษฐ์งานศิลปะ              - กิจกรรม “ชาววัง ชวนขึ้นหอ” ชมทิวทัศน์อยุธยา บนหอสังเกตการณ์ยุคแรกของสยาม               - กิจกรรม “สายมู ยูต้องมา” สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำวัง (หลวงพ่อลพบุรี พระพุทธรูปเก่าแก่อายุกว่า 700 ปี / พระนเรศวร พระมหาอุปราชผู้ครองพระราชวังองค์แรก / เจ้าพ่อหอส่องกล้อง อารักษ์ประจำวัง /พระคเณศ เทพแห่งความสำเร็จ)              พระราชวังจันทรเกษม เป็นพระราชวังเดิมตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2120 เพื่อเป็นที่ประทับของสมเด็จพระนเรศวร และในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ซ่อมแซมเพื่อใช้เป็นที่ประทับแปรพระราชฐาน ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานให้เป็น “ที่ว่าการมณฑลเทศาภิบาล” ซึ่งพระราชวังจันทรเกษม นับเป็นพิพิธภัณฑ์ส่วนภูมิภาคแห่งแรก ก่อตั้งโดยพระยาโบราณราชธานินทร์ เรียกชื่อว่า โบราณพิพิธภัณฑ์ อยุธยาพิพิธภัณฑสถาน และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม ตามลำดับ             ขอเชิญชวนแต่งชุดไทย เที่ยวชมโบราณสถานยามค่ำ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทุกวันศุกร์ เสาร์และอาทิตย์ เวลา 16.30 - 21.00 น. ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 30 เมษายน 2567 อัตราค่าเข้าชม ชาวไทย 20 บาท ชาวต่างชาติ 100 บาท (ผู้พิการ และชาวไทยผู้มีอายุมากกว่า 60 ปี เข้าชมฟรี) สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม 0 3525 1586 E-mail : wangchantra@gmail.com


            อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง ขอเชิญชมปรากฏการณ์พระอาทิตย์ตกตรง 15 ช่องประตู ณ ปราสาทพนมรุ้ง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ วันที่ 5 - 7 มีนาคม 2567  เริ่มจับจองพื้นที่ ตั้งแต่เวลา 17.30 น. เป็นต้นไป บริเวณลานหน้าปราสาท ทิศตะวันออก และพระอาทิตย์จะตกประมาณ 17.55 น.             ทุกท่านสามารถไปร่วมชมแสงสุดท้ายของวัน ณ ปราสาทพนมรุ้ง เทวสถานศาสนาพราหมณ์ฮินดูไศวนิกายที่สวยที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย ค่าบัตรเข้าชม (รับเฉพาะเงินสดเท่านั้น) ชาวไทย 20 บาท ชาวต่างชาติ 100 บาท และผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป เข้าชมฟรี  ติดต่อสอบถามโทร 0 4466 6251 หรือ Inbox facebook : อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง บุรีรัมย์ Phanom Rung Historical Park   หมายเหตุ : ปรากฏการณ์พระอาทิตย์ 15 ช่องประตู เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศในแต่ละวัน หากมีฝนตก หมอก เมฆเยอะ หรือเมฆลงต่ำ จะไม่สามารถมองเห็นปรากฏการณ์ดังกล่าวได้


วันอาทิตย์ที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง ต้อนรับ คณะศิษย์เก่าสาธารณสุขศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น  จำนวน ๒๐ คน  เวลา ๑๐.๐๐ น. เข้าเยี่ยมชมปราสาทพนมรุ้ง  (นำชม/รายงานโดย นางสาวจำปา  จันทร์ประโคน)


          กรมศิลปากร ขอเชิญพุทธศาสนิกชน ร่วมกราบสักการะพระบรมสารีริกธาตุ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา โดยเปิดให้เข้าชมเป็นกรณีพิเศษเนื่องในวันมาฆบูชา พุทธศักราช 2567 ระหว่างวันที่ 24 – 25 กุมภาพันธ์ 2567 ตั้งแต่เวลา 09.00 - 16.00 น. สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 0 3524 1587 ทั้งนี้ สถูปประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ (ชั้นที่ 6) พบภายในกรุพระปรางค์ประธานวัดมหาธาตุ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 


            เนื่องในวันมาฆบูชา พุทธศักราช ๒๕๖๗ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง ขอเชิญชวนประชาชนร่วมสักการะพระธาตุ ระหว่างวันที่ ๒๔ - ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. ซึ่งพระธาตุนี้พบจากโบราณสถานในเขตพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง จังหวัดสุโขทัย             อัตราค่าเข้าชม ชาวไทย ๓๐ บาท ชาวต่างชาติ ๑๕๐ บาท สอบถามเพิ่มเติม โทร. ๐ ๕๕๖๙ ๗๗๖๗


           พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร ขอเชิญร่วมส่งภาพถ่ายเล่าเรื่องเมืองกำแพงเพชร ที่อยู่ในช่วง พ.ศ. ๒๔๔๙ - ๒๕๔๙ เพื่อร่วมจัดนิทรรศการพิเศษเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย ประจำปี ๒๕๖๗ เปิดรับภาพถ่ายตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ ๗ มีนาคม ๒๕๖๗            ประเภทภาพถ่าย            ๑. ภาพถ่ายบุคคลสำคัญ เช่น ผู้นำท้องถิ่น บุคคลสำคัญระดับชาติที่เดินทางมาปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชร            ๒. ภาพสถานที่ต่าง ๆ ในจังหวัดกำแพงเพชร เช่น วัด โรงเรียน โรมแรม หน่วยงาน ห้างร้าน ตลาด ชุมชน โบราณสถาน ทิวทัศน์ ฯลฯ            ๓. ภาพถ่ายวัฒนธรรม ประเพณี และภาพถ่ายของบรรพบุรุษที่สะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิต เช่น การแต่งกาย ทรงผม ฯลฯ            ทั้งนี้ ทุกท่านสามารถส่งภาพถ่ายขาวดำ ภาพสี ฟิล์ม ภาพโพลารอยด์ ไม่จำกัดขนาด รวมไปถึงอุปกรณ์ที่ใช้ถ่ายภาพในอดีต เช่น กลักฟิล์ม กล้องถ่ายภาพโบราณ หรือกล้องถ่ายภาพรูปแบบต่าง ๆ ที่ชาวกำแพงเพชรเคยใช้ในการบันทึกภาพ หรือของใช้ที่เคยอยู่ในภาพ สนใจนำมาร่วมจัดแสดงในนิทรรศการดังกล่าว              ผู้สนใจสามารถส่งภาพ หรือติดต่อนำของมาร่วมจัดแสดง ได้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร หรือทางอีเมล kpp_museum14@hotmail.com สอบถามเพิ่มเติม โทร. ๐ ๕๕๗๑ ๑๕๗๐ (สำนักงาน) และ ๐๘ ๓๐๙๒ ๔๒๘๖ (พรรณลักษณ์)


           พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี ขอเชิญชวนไปชมต้นแก้วเจ้าจอม ที่สวยสง่าให้ร่มเงา อยู่ภายในบริเวณกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี ซึ่งขณะนี้ต้นดอกแก้วได้ออกดอกม่วงสวยสะพรั่ง สร้างความตื่นตาและประทับใจให้นักท่องเที่ยวผู้ไปเยือนได้ชื่นชมความสวยงามแล้ว            ต้นไม้ต้นนี้ คือ ต้นแก้วเจ้าจอม ต้นไม้ที่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงปลูกไว้เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินเป็นประธานในพิธีเปิด พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2534  ปัจจุบันต้นแก้วเจ้าจอมต้นนี้มีอายุกว่า 30 ปีแล้ว             สำหรับนักท่องเที่ยวที่แวะเข้ามาชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี ทางพิพิธภัณฑ์ขอเชิญท่านร่วมถ่ายภาพกับต้นไม้ต้นประวัติศาสตร์ของพิพิธภัณฑ์ได้ในวันพุธ - อาทิตย์  เวลา 09.00 - 16.00 น. (ปิดวันจันทร์ - อังคาร และวันนักขัตฤกษ์) อัตราค่าเข้าชม ชาวไทย 20 บาท ชาวต่างชาติ 100 บาท ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติม องค์ความรู้เรื่อง แก้วเจ้าจอมทรงปลูก ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/ratchaburi.national.museum/posts/pfbid0226yqtSoD6zUknwtAUqv2yZeACNYC4vtHmsbHDsZoQ7K3uCgXTYfor1MEyFpCUdBzl  


           มูลนิธิสุทธิรัตน์ อยู่วิทยา ร่วมกับกรมศิลปากร ชวนอาสามาร่วมกันเรียนรู้ประวัติศาสตร์ มรดกแห่งวัฒนธรรมอันล้ำค่า ผ่านโครงการ Goal Together ในกิจกรรมเรียนรู้ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมไทย  ณ อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ วันที่ 16-17 มีนาคม 2567            เมืองโบราณศรีเทพ ได้ถูกประกาศเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม ซึ่งเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมของไทยแห่งที่ 4 ต่อจากเมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร, นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา และแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง และยังเป็นมรดกโลกแหล่งที่ 7 ของประเทศไทย โดยยูเนสโก เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2566 ที่ผ่านมา             การมาร่วมศึกษาประวัติศาสตร์ในครั้งนี้ จะทำให้เราเข้าใจเรื่องราวในประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นแหล่งอารยธรรมสำคัญแห่งหนึ่งของไทย และเป็นสมบัติทางวัฒนธรรมไทยที่ประเมินค่าไม่ได้ เพื่อนำความรู้ที่ได้ ส่งต่อเรื่องราวความสำคัญที่ยิ่งใหญ่ให้แก่ผู้อื่น เพื่อไม่ให้หน้าประวัติศาสตร์ถูกลืมเลือนไปตามกาลเวลา เพื่อสร้างประสบการณ์และแรงบันดาลใจให้คนรุ่นใหม่ได้เห็นถึงความสำคัญของโบราณสถานอันทรงคุณค่าแห่งนี้             มาร่วมเรียนรู้และส่งต่อคุณค่าความสำคัญ เรื่องราววิถีชีวิตของชุมชน สังคม วัฒนธรรมอันมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ที่ควรค่าแก่การศึกษา และส่งต่อการอนุรักษ์ไว้ให้คนรุ่นหลังอ่านรายละเอียดกิจกรรมและสมัครเข้าร่วมกิจกรรม ตั้งแต่วันนี้-28 กุมภาพันธ์ 2567 (รับจำนวน 45 คน) คลิกลงทะเบียนได้ที่นี่ https://forms.gle/ksTvhKy7wh1nZC6v5 (ประกาศผลทาง www.suthiratfoundation.or.th  **วันที่ 2 มีนาคม 2567**)


             สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดสร้างพระเจดีย์ทรงกลม ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ และประดิษฐานพระอรหันตธาตุของพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ ที่เป็นองค์ดั้งเดิมที่ค้นพบในสถูปโบราณ เมืองกบิลพัสดุ์ และเมืองสาญจี จากสาธารณรัฐอินเดีย อัญเชิญมาประดิษฐานเป็นการชั่วคราว ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง ประเทศไทย เพื่อให้ประชาชนร่วมสักการบูชา ตั้งแต่วันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ - ๓ มีนาคม ๒๕๖๗ เวลา ๐๙.๐๐ - ๒๐.๐๐ น. และเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗              โดยมี นายณัฐพงค์ ปิยมาภรณ์ นักวิชาการช่างศิลป์เชี่ยวชาญ (ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านช่างศิลปกรรม (ช่างสิบหมู่) สังกัดสำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร เป็นผู้ออกแบบพระเจดีย์ทรงกลม ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ  จำนวน ๑ องค์  มีขนาดความสูง ๕๐ เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางฐาน ๒๕.๖ เซนติเมตร และพระเจดีย์ทรงกลมประดิษฐานพระอรหันตธาตุของพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ จำนวน ๒ องค์ มีขนาดความสูง ๓๘ เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางฐาน ๑๕.๕๐ เซนติเมตร และรับผิดชอบดำเนินการจัดสร้างโดย กลุ่มประณีตศิลป์ สำนักช่างสิบหมู่ เป็นความร่วมมือกันในกลุ่มงานต่าง ๆ จัดสร้างงานด้วยเทคนิคอันหลากหลาย ประกอบด้วย              กลุ่มงานช่างแกะสลักและช่างไม้ประณีต : ดำเนินการขึ้นหุ่นส่วนยอดและส่วนฐานด้วยกระบวนการกลึงไม้  ไม้ที่ใช้สร้างพระเจดีย์เป็นไม้สัก แกะสลักลวดลายในส่วนยอดและส่วนฐานของพระเจดีย์ทั้ง ๓ องค์  กลุ่มงานช่างปิดทอง ประดับกระจกและช่างสนะไทย : ดำเนินการปิดทองคำเปลวส่วนยอดและส่วนฐาน  กลุ่มงานช่างบุและช่างศิราภรณ์ : ดำเนินการกระแหนะลายติดประดับส่วนยอดและส่วนฐาน  ฉลุแผ่นโลหะเติมปลายของส่วนยอดพระเจดีย์ บุดุนโลหะทำเฟื่องอุบะและระย้าประดับส่วนปลายห้อยลงมาที่องค์พระเจดีย์ ติดประกอบลวดลายบนกระจกที่องค์พระเจดีย์ ประดับพลอยเป็นไส้ลายทั้งส่วนยอดและส่วนฐาน              ขอขอบคุณข้อมูล จาก นายณัฐพงค์ ปิยมาภรณ์  ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านช่างศิลปกรรม (ช่างสิบหมู่), นางอัจฉริยา บุญสุข  ผู้อำนวยการกลุ่มประณีตศิลป์, นายสาโรจน์ แสงสี  หัวหน้ากลุ่มงานช่างแกะสลักและช่างไม้ประณีต และนางปาริด์ชาติ พัฒน์ทอง  หัวหน้ากลุ่มงานช่างปิดทอง ประดับกระจกและช่างสนะไทย,นายเกียรติศักดิ์  หนูทองแก้ว  หัวหน้ากลุ่มงานช่างบุและช่างศิราภรณ์---------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : เฟสบุ๊ก สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร https://www.facebook.com/officeoftraditionalarts






Messenger