ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,994 รายการ
ดรุณกิจวิทูร และคณะ. แบบเรียนเร็วใหม่ เล่ม 1 ตอนต้น (ฉบับปรับปรุง) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. กรุงเทพฯ: องค์การค้า สกสค., 2557.
แบบเรียนเร็วใหม่ เล่ม 1 ตอนต้นนี้ หลวงดรุณกิจวิทูร และนายฉันท์ ขำวิไล ได้แต่งไว้เมื่อ พ.ศ. 2477 หนังสือเล่มนี้ได้รับการยกย่องจากผู้อ่านทั้งในอดีตจนถึงปัจจุบันว่าเป็นแบบเรียนที่แสดงถึงภูมิปัญญาการสอนอ่านแบบไทย ทำให้เด็กสามารถอ่านหนังสือได้แตกฉาน โดยใช้กระบวนการสอนอ่านจากส่วนย่อยไปหาส่วนรวม คือ เรียนรู้จากพยัญชนะ สระ การประสมอักษร การสะกดคำ แจกลูก ผันอักษร แล้วจึงฝึกอ่านเป็นคำ ข้อความ และเรื่องราว จึงทำให้หนังสือนี้นิยมใช้ในการจัดการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนที่มีปัญหาเรื่องการอ่าน เพราะวิธีสอนในหนังสือจะช่วยให้นักเรียนอ่านออกเขียนได้อย่างเข้าใจและรวดเร็ว372.6
ด132บ
(ห้องทั่วไป 1)
ตำราพระราชพิธีพรุณศาสตร์ ตำราปลูกไม้ผลกับตำราปลูกเข้าของโบราณ เรื่องทำนา เรื่องทำสวน. กรุงเทพฯ: สถาบันภาษาศาสตร์และวัฒนธรรมศึกษาราชนครินทร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2565. หนังสือเล่มนี้ จัดพิมพ์เป็นที่ระลึกเนื่องในโอกาสเปิดนิทรรศการและอาคารพิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมการเกษตร เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2565 โดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รวบรวมและคัดเลือกหนังสือหายากด้านวัฒนธรรมการเกษตรมาจัดพิมพ์ จำนวน 4 รายการ เป็นหนังสือที่มหาอำมาตย์เอก เจ้าพระยาพลเทพ เสนาบดีกระทรวงเกษตราธิราช พิมพ์แจกในงานพระราชพิธีจรดพระนังคัล ช่วงปีพุทธศักราช 2466-2470 ประกอบด้วย ตำราพระราชพิธีพรุณศาสตร์ ตำราปลูกไม้ผลกับตำราปลูกเข้าของโบราณ เรื่องทำนา และเรื่องทำสวน โดยรวมเป็นเล่มเดียวกันและจัดพิมพ์ตามต้นฉบับทั้งในด้านรูปแบบและอักขรวิธี390.22ต367
(ห้องทั่วไป 1)
สองศตวรรษแห่งความสัมพันธ์ระหว่างประเทศฝรั่งเศสและประเทศไทย. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2564.
หนังสือรวบรวมผลงานทางวิชาการด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศฝรั่งเศสและประเทศไทย จัดพิมพ์โดยมหาวิทยาลัยศิลปากร เนื้อหาประกอบด้วยบทความทางวิชาการ จำนวน 5 บทความ ได้แก่ ความสัมพันธ์ไทย-ฝรั่งเศสในสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์ตอนต้น ความสัมพันธ์ไทย-ฝรั่งเศสทางด้านโบราณคดี ความสัมพันธ์ไทย-ฝรั่งเศสทางด้านกฎหมาย การศึกษาของพระบรมวงศานุวงศ์ในประเทศฝรั่งเศส สมัยรัชกาลที่ 5 - รัชกาลที่ 7 (พ.ศ. 2411-2478) และความสัมพันธ์ระหว่างมหาวิทยาลัยศิลปากรกับประเทศฝรั่งเศส327.593044ส474
(ห้องทั่วไป 1)
อุชเชนี. อัษมา นิยายคำกลอนพื้นบ้าน. กรุงเทพฯ: ผีเสื้อ, 2554.
อัษมา นิยายคำกลอนพื้นบ้าน รวบรวมและแปลจากภาษาชานีเป็นภาษาจีน โดยคณะวัฒนธรรมประชาชนยูนนาน แปลเป็นภาษาอังกฤษโดย แกลดิส หยาง และแปลเป็นภาษาไทย โดย อุชเชนี รูปประกอบภาพพิมพ์ไม้โดย หวง หยาง-ยู่ หนังสือนี้มีประวัติยาวนานกว่าครึ่งศตวรรษ นับแต่เป็นหนังสือแปลต้องห้ามในยุคเผด็จการ จนมาถึงยุคโลกไร้พรมแดนในปัจจุบัน อัษมา เป็นนิยายคำกลอนพื้นบ้านจีนขนาดยาวที่มีสีสัน และถ่ายทอดต่อกันมาแบบปากต่อปากนานหลายชั่วอายุคนโดยชนเผ่าชานีในมณฑลยูนนาน เป็นเรื่องราวของสาวน้อยชนบทนามว่า “อัษมา” และพี่ชายของเธอชื่อ “อาเฮย์” ใช้ภาษาที่แบบเรียบง่าย เล่าถึงการต่อสู้อย่างเด็ดเดี่ยวของอัษมาให้พ้นจากอำนาจกดขี่ของเจ้าขุนมูลนายผู้ครองกรรมสิทธิ์ที่ดิน ซึ่งเป็นผู้ลักพาตัวเธอไป อาศัยพลังชีวิตและความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะให้ได้มาซึ่งอิสรภาพและความผาสุก
895.11
อ581
(ห้องทั่วไป 2)
เอนก นาวิกมูล. ภาพเก่าเล่าตำนาน ฉบับปรับปรุง. กรุงเทพฯ: แสงดาว, 2563.
ภาพเก่าเล่าตำนาน ฉบับปรับปรุงนี้ รวบรวมภาพเก่าที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์มากกว่า 80 ภาพ พร้อมคำบรรยายขนาดยาวประกอบ โดยการเขียนคำบรรยายประกอบภาพ ผู้เขียนได้ใช้ประสบการณ์ในการวินิจฉัยภาพจากการอ่านและการดูภาพเก่า มีการอ้างอิงโดยยึดข้อมูลจากแหล่งที่มาของภาพ มีการจัดวางรูปหลักและรูปบริวารเพื่อเสริมเนื้อหาให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ภายในเล่มรวบรวมภาพหายากและน่าสนใจ เช่น ภาพถ่ายของนายทองคำ นักเผชิญโชค ภาพลูกช้างกินนมคน ภาพเตรียมการประหารชีวิต ภาพสุริยุปราคาครั้งจับหมดดวง เป็นต้น
893.95911
อ893ภ
(ห้องทั่วไป 2)
สุภาวรรณ วงค์คำจันทร์. ภูมิปัญญาท้องถิ่นในจังหวัดนครสวรรค์. เชียงใหม่: ศุภกฤษการพิมพ์, 2560.
หนังสือภูมิปัญญาท้องถิ่น ในจังหวัดนครสวรรค์ รวบรวมเรื่องราวองค์ความรู้ ตัวบุคคลในท้องถิ่นที่ได้สืบสานอนุรักษ์ และต่อยอดเรื่องราวมาจากบรรพบุรุษ เพื่อใช้ประโยชน์จากทรัพยากรกายภาพ ทรัพยากรชีวภาพ ในการดำรงชีวิตประจำวัน ก่อเกิดวัฒนธรรมที่หลากหลายทั้งภูมิปัญญาที่เกี่ยวกับอาหารการกิน การประกอบอาชีพ ประเพณี วัฒนธรรม ศิลปะ และดนตรี
306.09593
ส839ภ
(ห้องทั่วไป 1)
วันเสาร์ที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ นางวรรณภา ปะวิโน บรรณารักษ์ชำนาญการ และเจ้าหน้าที่ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ เข้าร่วมกิจกรรม “Creative Career Path 2024” ณ TCDC เชียงใหม่
วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2567 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา ให้การต้อนรับคณะผู้เข้าชม จากชุมชนวัดไทรเทศบาลสุราษฎร์ธานี จำนวน 44 คน
วันพฤหัสบดีที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๗ เวลา ๐๙.๐๐ น. นักศึกษาชั้นปีที่ ๑ รายวิชาความงามของชีวิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ จำนวน ๓๕ คน อาจารย์ ๑ คน เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ โดยมี นายกรภัทร์ สุขใหญ่ พนักงานประจำพิพิธภัณฑ์ ให้การต้อนรับและบรรยายนำชม
วันพฤหัสบดีที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๗ เวลา ๑๐.๓๐ น. นักเรียนชั้นอนุบาล ๒ ถึงชั้นประถมศึกษาที่ ๖ โรงเรียนบ้านออดราษฎร์สามัคคี อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์ จำนวน ๑๐๐ คน คุณครู ๑๐ คน เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ โดยมีนางศรีสุดา ศรีสด นายแก่นแก้ว หอมนวล พนักงานประจำห้อง ให้การต้อนรับและบรรยายนำชม
วันพฤหัสบดีที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๗ เวลา ๑๓.๓๐ น. คณะนักดนตรีออร์เคสตร้าแจ๊ส The Biggles Big Band Amsterdam ประเทศราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ จำนวน ๓๐ คน เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ โดยมี นายกรภัทร์ สุขใหญ่ พนักงานประจำพิพิธภัณฑ์ ให้การต้อนรับและบรรยายนำชม
วันศุกร์ที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา มอบหมายให้นางสาวนิตยา สาระรัตน์ นายช่างศิลปกรรมอาวุโส รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการกลุ่มอนุรักษ์โบราณสถาน เข้าร่วมพิธีบวงสรวงกู่สันตรัตน์ อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม เนื่องในงานนมัสการพระบรมธาตุนาดูน ประจำปี ๒๕๖๗ โดยมีนายกนก ศรีวิชัยนันท์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วยหน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานท้องถิ่น และประชาชนในพื้นที่ตำบลกู่สันตรันต์ เข้าร่วมพิธีในครั้งนี้ด้วย
วันศุกร์ที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา มอบหมายให้นางสาวนิตยา สาระรัตน์ นายช่างศิลปกรรมอาวุโส รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการกลุ่มอนุรักษ์โบราณสถาน เข้าร่วมพิธีบวงสรวงกู่สันตรัตน์ อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม เนื่องในงานนมัสการพระบรมธาตุนาดูน ประจำปี ๒๕๖๗ โดยมีนายกนก ศรีวิชัยนันท์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วยหน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานท้องถิ่น และประชาชนในพื้นที่ตำบลกู่สันตรันต์ เข้าร่วมพิธีในครั้งนี้ด้วย