ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,416 รายการ

ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           40/2ประเภทวัดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                              30 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 58 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


ประติมากรรมดินเผารูปเด็กออกจากหอยสังข์ (พระสังข์ทอง) ศิลปะอยุธยา นายพิชัย วงษ์สุวรรณ มอบให้เมื่อวันที่ ๑๗ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๓๙ ปัจจุบันจัดแสดง ณ ตำหนักแดง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร _____________________________________ ประติมากรรมรูปเด็กออกมาจากหอยสังข์ ศีรษะด้านบนไว้ผมจุก ใบหน้ากลม ลำตัวตั้งตรง ส่วนขาขวาอยู่ภายในเปลือกหอยสังข์ ประวัติจากผู้มอบระบุว่าพบบริเวณคลองเมือง (แม่น้ำลพบุรี) ใกล้เมืองเก่าพระนครศรีอยุธยา . ประติมากรรมชิ้นนี้สันนิษฐานว่าทำขึ้นตามนิทานเรื่อง “สังข์ทอง” ซึ่งเป็นวรรณคดีที่มีเค้าโครงมาจากเรื่อง “สุวรรณสังขชาดก”* นิทานเรื่องนี้มีตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา และใช้ในการแสดงละคร ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงพระราชนิพนธ์เป็นบทละครนอกเรื่องสังข์ทอง . สุวรรณสังขชาดก พระราชนิพนธ์เรื่องสังข์ทอง และนิทานเรื่องสังข์ทอง มีตัวเอกในเรื่องคือ “พระสังข์” ทั้งสามเรื่องมีเค้าโครงเนื้อเรื่องที่ใกล้เคียงกัน แต่การลำดับเรื่องและรายละเอียดบางตอนอาจแตกต่างกันไปบ้าง เช่น การเสด็จเลียบพระนครและท้าวยศวิมลบวงสรวงขอพระราชโอรสนั้น ไม่ปรากฏในสุวรรณสังขชาดก และนิทานสังข์ทอง เป็นต้น รวมทั้งชื่อตัวละครและชื่อสถานที่ในสุวรรณสังขชาดก กับพระราชนิพนธ์เรื่องสังข์ทอง** ก็แตกต่างด้วยเช่นกัน . เรื่องย่อวรรณคดีเรื่องสังข์ทอง ตอนกำเนิดพระสังข์ ทั้งบทพระราชนิพนธ์ รัชกาลที่ ๒ และนิทานสังข์ทอง มีเนื้อเรื่องว่า ท้าวยศวิมลกับพระมเหสีนางจันท์เทวี ไม่มีพระราชโอรส จึงทำการบวงสรวง กระทั่งนางจันท์เทวีทรงพระครรภ์และให้กำเนิดออกมาเป็นพระสังข์ นางจันทาสนมเอกได้ติดสินบนโหรหลวงทำนายให้ร้ายแก่นางจันท์เทวีว่า การให้กำเนิดออกมาเป็นหอยสังข์นั้นเป็นอัปมงคลต่อบ้านเมือง ท้าวยศวิมลหลงเชื่อจึงขับไล่นางจันท์เทวีออกจากเมือง นางจันท์เทวีได้ไปอยู่กับสองตายาย ทำงานบ้านและเก็บฟืนเลี้ยงชีพ วันหนึ่งพระสังข์เกิดสงสารมารดา จึงแอบออกมาจากหอยสังข์ช่วยทำงานบ้านขณะที่พระนางจันท์เทวีออกไปหาฟืน และกลับเข้าไปในหอยสังข์อีกครั้งเมื่อนางกลับมาถึงบ้าน ฝ่ายพระนางจันท์เทวีเมื่อรู้ว่าบุตรซ่อนอยู่ในหอยสังข์จึงทุบหอยสังข์แตกแล้วจึงชุบเลี้ยงพระสังข์จนเติบโต . เรื่องสังข์ทองแพร่หลายไปท้องที่ต่าง ๆ บางแห่งปรากฏเป็นภาพจิตรกรรมฝาผนังเช่นที่วิหารลายคำ วัดพระสิงห์ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ประทานความเห็นเกี่ยวกับการแพร่กระจายเรื่องสังข์ทองไว้ว่า . “...นิทานเรื่องสังข์ทองนี้มีในคัมภีร์ปัญญาสชาดก เรียกว่าสุวัณณสังขชาดก ถึงเชื่อถือกันว่าเป็นเรื่องจริง พวกชาวเมืองเหนืออ้างว่าเมืองทุ่งยั้ง***เป็นเมืองท้าวสามนต์ ยังมีลานศิลาแลงแห่ง ๑ ว่าเป็นสนามคลีของพระสังข์ อยู่ไม่ห่างวัดพระมหาธาตุนัก ที่ในวิหารหลวงวัดพระมหาธาตุ ฝาผนังก็เขียนเรื่องสังข์ทอง เป็นฝีมือช่างครั้งกรุงเก่ายังปรากฏอยู่จนทุกวันนี้ ทางหัวเมืองฝ่ายตะวันตกก็อ้างว่า เมืองตะกั่วป่า****เป็นเมืองท้าวสามนต์อีกแห่ง ๑ เรียกภูเขาลูก ๑ ว่าเขาขมังม้า อธิบายว่าเมืองพระสังข์ตีคลีชนะ ได้ขี่ม้าเหาะข้ามภูเขานั้นไปดังนี้…” . . . #วันเด็ก2566 . . . *หนึ่งในปัญญาสชาดก ซึ่งเป็นวรรณกรรมทางพุทธศาสนาที่แพร่หลายในพื้นที่ล้านนา-อยุธยา กล่าวถึงการเสวยชาติของพระโพธิ์สัตว์ **ทั้งนี้ชื่อตัวละครและสถานที่ในพระราชนิพนธ์เรื่องสังข์ทอง กับนิทานสังข์ทอง นั้นมีความเหมือนกัน ยิ่งไปกว่านั้นพระราชนิพนธ์เรื่องสังข์ทองยังมีรายละเอียดชื่อและสถานที่ มากกว่านิทานพระสังข์ทอง เช่น ชื่อเมืองสามล (เมืองของนางรจนา พระมเหสีของพระสังข์ทอง) กลับไม่ปรากฏในนิทานสังข์ทอง ***ปัจจุบันอยู่ในเขตตำบลทุ่งยั้ง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ****ปัจจุบันอยู่ในเขตตำบลตะกั่วป่า อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา อ้างอิง ปัญญาสชาดกเล่ม ๑-๒. กรุงเทพฯ: มูลนิธิออมสินเพื่อสังคม, ๒๕๕๔. พุทธเลิศหล้านภาลัย, พระบาทสมเด็จพระ. บทละครนอก สังข์ทอง. กรุงเทพฯ: กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ, ๒๕๔๐. ศุภธัช คุ้มครอง และสุปาณี พัดทอง. “สังข์ทองตอนกำเนิดพระสังข์ : กรณีศึกษาสุวรรณสังชาดก สังข์ทองฉบับพระราชนิพนธ์ และนิทานเรื่องสังข์ทอง.” วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ๒๑, ๑ (มกราคม – มิถุนายน ๒๕๖๔): ๑๘๙-๒๑๓.


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 135/2 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 171/2 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           7/3ประเภทวัดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                              30 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 58.3 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           50/4ประเภทวัดุ/มีเดีย                          คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                                36 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 57.5 ซม.หัวเรื่อง                                       พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           9/2ประเภทวัดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                              50 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ยาว 53.8 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


ประสงค์ ปัทมานุช (พ.ศ. 2461 – 2523) ประสงค์ ปัทมานุช เกิดเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2461 ที่กรุงเทพฯ มีความสนใจทางด้านศิลปะและการวาดภาพมาตั้งแต่เด็ก ประสงค์เริ่มเรียนศิลปะที่โรงเรียนเพาะช่างในปี 2480 จากนั้นได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนประณีตศิลปกรรม แผนกช่าง จนจบการศึกษาเมื่อ พ.ศ. 2483 ในปีต่อมาประสงค์เข้ารับราชการที่แผนกหัตถศิลป์ กรมศิลปากร และเป็นอาจารย์สอนวิชาจิตรกรรมที่คณะจิตรกรรมและประติมากรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร พ.ศ. 2492 ลาออกจากกรมศิลปากร และเข้าทำงานที่แผนกช่างเขียน กองโฆษณาการ ธนาคารออมสิน เป็นที่รู้จักในฐานะที่เป็นผู้บุกเบิกงานด้านการออกแบบนิเทศศิลป์ ประสงค์เป็นศิลปินที่มีผลงานโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ มีความหลากหลายทั้งรูปแบบของผลงานและการใช้สี อาทิ ผลงานแบบไทยประยุกต์ ผลงานแบบคิวบิสม์ และผลงานนิเทศศิลป์ ประสงค์สร้างสรรค์ผลงานแบบไทยประยุกต์ โดยการนำภาพจิตรกรรมแบบไทยประเพณีมาสร้างสรรค์ด้วยวิธีการจัดองค์ประกอบแบบสมัยใหม่ นิยมใช้ “ภาพกาก” หรือภาพที่อยู่นอกเหนือจากเรื่องราวหลักในงานจิตรกรรมแบบไทยประเพณี เช่น ภาพวิถีชีวิตของชาวบ้าน มาใช้เป็นหัวข้อหลักในการเขียนภาพ นอกจากนี้ ประสงค์นำเทคนิคของศิลปะแนวคิวบิสม์ (Cubism) มาใช้ในการสร้างสรรค์ผลงานด้วย เช่น ภาพ “เจดีย์วัดโพธิ์” ที่นำเสนอภาพทิวทัศน์แบบไทย โดยใช้เส้นและสีตัดกันไปมาเป็นรูปทรงเรขาคณิตที่ประกอบกันเป็นอาคารและเจดีย์ของวัดโพธิ์ ผลงานมีลักษณะสองมิติ มีการจัดน้ำหนักของสีให้มีความสดใสและสมดุล ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้กล่าวถึงผลงานของประสงค์ไว้ว่า “…ภาพเขียนอันวิจิตนของนายประสงค์ ปัทมานุช แสดงให้เห็นถึงความฉลาดในการจัดโครงสร้างสีให้เข้ากันอย่างสวยงาม นายประสงค์มีความรู้สึกทางสีสูงยิ่ง ซึ่งมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับศิลปโบราณของเราอย่างแท้จริง นายประสงค์เป็นผู้ที่รักศิลปของตน แม้จำต้องทำงานซึ่งไม่ตรงกับอุปนิสัยของตนก็ตาม ก็พยายามส่งงานจิตรกรรมแสดงทุกปี นี่คือการเรียกร้องที่แท้จริงของศิลป และด้วยเหตุนี้เองที่เรากล่าวกันว่าศิลปเพื่อศิลป…” ประสงค์ส่งผลงานเข้าร่วมประกวดในการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 1 – 6 (พ.ศ. 2492 - 2498) ได้รับรางวัลเกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง 2 ครั้ง เกียรตินิยมอันดับ 2 เหรียญเงิน 3 ครั้ง เกียรตินิยมอันดับ 3 เหรียญทองแดง 1 ครั้ง และได้รับการยกย่องเป็นศิลปินชั้นเยี่ยม สาขาทัศนศิลป์ (มัณฑนศิลป์) ในปี 2497 นอกจากนี้ ประสงค์ยังทำงานเกี่ยวกับการซ่อมแซมและบูรณะงานศิลปกรรมของชาติหลายแห่ง รวมทั้งยังแต่งตำราลายไทยและวิธีการเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนัง ประสงค์ ปัทมานุช ได้รับการประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) พ.ศ. 2529 และถึงแก่กรรมด้วยโรคเบาหวาน เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2532 สิริอายุ 71 ปี #ประสงค์ปัทมานุช #ศิลปกรรมสมัยรัชกาลที่๙ #ศิลปินแห่งนวสมัย #หอศิลป์แห่งชาติ #หอศิลป์แห่งชาติถนนเจ้าฟ้า ที่มา 1. หนังสือ “5 ทศวรรษศิลปกรรมแห่งชาติ 2492 – 2541” โดย หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 2. หนังสือ “นิทรรศการพิเศษเชิดชูเกียรติศิลปินอาวุโส ประสงค์ ปัทมานุช” โดย กรมศิลปากร 3. หนังสือ “บทความ ข้อเขียน และงานศิลปกรรมของ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี” โดย หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 4. หนังสือ “ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ ประจำปีพุทธศักราช 2528 – 2531” โดย สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ


ชื่อผู้แต่ง        คณะสงฆ์พระพิเรนทร์ ชื่อเรื่อง         พจนานุกรมพุทธศาสน์  ฉบับครู  นักเรียน  นักธรรม  ครั้งที่พิมพ์      - สถานที่พิมพ์    กรุงเทพฯ   สำนักพิมพ์      โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม ปีที่พิมพ์         ๒๕๒๒ จำนวนหน้า     ๓๘๑ หน้า รายละเอียด                    พจนานุกรมพุทธศาสน์  ฉบับครู  นักเรียน  นักธรรม คณะเจ้าภาพได้จัดพิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ เป็นอนุสรณ์แห่งคุณูปการของท่านพระครูปลัดสมัย กิตติทตโต ต่อสำนักวัดพระพิเรนทร์ ในฐานะที่ท่านเคยดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ของสำนักเรียน และได้บำเพ็ญประโยชน์ในด้านการศึกษามาเป็นเวลานาน


          สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ขอเชิญชมการแสดงเนื่องในโอกาส ๑๑๒ ปี แห่งการสถาปนากรมศิลปากร วันอังคารที่ ๒๘ มีนาคม ๒๕๖๖ เวลา ๑๘.๐๐ น. ณ  เวทีกลางแจ้ง บริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ  พระนคร พบกับการบรรเลงดนตรีสากล “กำเนิดวงสากลในประเทศไทย เล่าขานตำนานเพลงไทย ๑” อำนวยเพลงโดย ธนู รักษาราษฎร์ อำนวยการแสดงโดย  ลสิต อิศรางกูร ณ อยุธยา  ผู้อำนวยการสำนักการสังคีต           * ชมฟรี *  สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม (วันและเวลาราชการ) โทร. ๐ ๒๒๒๔ ๑๓๔๒ และ โทร. ๐๒๒๒๑ ๐๑๗๑


เลขวัตถุ ชื่อวัตถุ ขนาด (ซม.) ชนิด สมัยหรือฝีมือช่าง ประวัติการได้มา ภาพวัตถุจัดแสดง 47/2553 (27/2549) ภาชนะดินเผา ก้นกลม ปากกว้างผายออก ด้านในเรียบไม่มีลวดลาย ด้านนอกมีลายขูดขีดโดยรอบ สภาพชำรุด ขอบปากหักหายไปส่วนหนึ่ง ก้นทะลุ ส.18 ปก.19 ดินเผา ทวารวดี ได้จากบ้านเขาเพิ่ม อำเภอบ้านนา จ.นครนายก เมื่อประมาณ พ.ศ. 2539


เลขทะเบียน : นพ.บ.473/5กห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 34 หน้า ; 4 x 55 ซ.ม. : ชาดทึบ-รักทึบ-ล่องชาด-ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 161  (183-194) ผูก 5ก (2566)หัวเรื่อง : แปดหมื่นสี่พันขันธ์--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.608/2           ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณ                                                                                หมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 48 หน้า ; 4 x 55 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดา มีฉลากไม้ชื่อชุด : มัดที่ 195  (416-423) ผูก 2 (2566)หัวเรื่อง : เตปิฎกถา--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม



ความเจริญมั่นคงของสยามประเทศ อยู่ที่พลเมืองดี.  พระนคร: กรมยุทธศึกษา, 2478.


Messenger