ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,418 รายการ

เลขทะเบียน : นพ.บ.116/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  26 หน้า ; 4.8 x 52 ซ.ม. : ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม้ประกับธรรมดา  ชื่อชุด : มัดที่ 65 (204-208) ผูก 1 (2564)หัวเรื่อง : นิทานเมืองล้านช้างเวียงจันทน์--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.147/5ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  46 หน้า ; 4 x 51 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา  ชื่อชุด : มัดที่ 90 (377-391) ผูก 5 (2564)หัวเรื่อง : ธมฺมปปทวณฺณนา ธมฺมปทฎกถา ขุทฺทกนิกายฎฐกถา (ธรรมบท)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.126/2ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  54 หน้า ; 4.5 x 50.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา  ชื่อชุด : มัดที่ 73 (257-266) ผูก 2 (2564)หัวเรื่อง : แปดหมื่นสี่พันขันธ์ (8 หมื่น)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


#พระพิฆเนศวร_ดวงตราสัญลักษณ์ของ กรมศิลปากร พระพิฆเนศวร ดวงตราสัญลักษณ์ของกรมศิลปากรสัญนิษฐานว่าพลตรีหลวงวิจิตรวาทการ อธิบดีกรมศิลปากร (พุทธศักราช ๒๔๗๗ – ๒๔๘๕) เป็นผู้ริเริ่มให้นำรูป พระพิฆเนศวรมาเป็นดวงตราประจำกรมศิลปากร ตั้งแต่พุทธศักราช ๒๔๘๐ โดยมอบหมายให้คุณพระพรหมพิจิตร (อู๋ ลาภานนท์) ออกแบบ และนายปลิว จั่นแก้ว เป็นผู้ลงเส้นหมึก และขอพระราชทานบรมราชานุญาตใช้พระพิฆเนศวร เป็นดวงตราประจำ กรมศิลปากร ดวงตรากรมศิลปากรดวงแรก เป็นรูปพระพิฆเนศวรสี่กรล้อมรอบด้วยวงกลม มีลวดลายเป็นดวงแก้วเจ็ดดวง หมายถึง ศิลปวิทยาเจ็ดแขนงที่เป็นลักษณะงานของ กรมศิลปากร ได้แก่ ช่างปั้น จิตรกรรม ดุริยางคศิลป์ นาฏศิลป์ วาทศิลป์ สถาปัตยกรรม และอักษรศาสตร์ พระพิฆเนศวรทรงนาคยัชโญปวีต ถืองาหัก ตรีศูล เชือก บ่วง (บ่วงบาศ) และถ้วยใส่ปยาสะ ทรงสวมสนับเพลาที่มีลวดลายไทย ตกแต่งองค์ด้วยลายไทย ลายพื้นหลังเป็นลายกระหนกลักษณะคล้ายเมฆ


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน) เลขที่ ชบ.บ.15/1-6 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


ชื่อเรื่อง : พระราชพิธีสิบสองเดือน เล่ม ๒ ชื่อผู้แต่ง : จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ ปีที่พิมพ์ : 2506 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯสำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์คุรุสภาจำนวนหน้า : 234 หน้า สาระสังเขป : พระราชพิธีสิบสองเดือน เล่ม ๒ มีเนื้อหาเกี่ยวกับพระราชพิธีเดือน ๕ จนถึงเดือน ๘ พระราชพิธีเดือน ๕ ว่าด้วยเรื่องก่อกองทราย บายศรี สรงน้ำพระ เป็นต้น พระราชพิธีเดือน ๖ ว่าด้วยฤกษ์แรกนา พิธีแรกนาหัวเมือง พระราชพิธีวิศาขบูชา เป็นต้น พระราชพิธีเดือน ๗ พระราชพิธีเคณฑะทิ้งข่าง พระราชพิธีทูลน้ำล้างพระบาท การพระราชกุศลสลากภัต เป็นต้น พระราชพิธีเดือน ๘ พระราชพิธีเข้าพรรษา การพระราชกุศลฉลองเทียนพรรษา เรื่องสวดมหาชาติคำหลวง เป็นต้น


ชื่อเรื่อง           สิ่งน่ารู้เกี่ยวกับวัดไชโยวรวิหารผู้แต่ง             ธวัช เฟื่องประภัสสร์.ครั้งที่พิมพ์       -ปีที่พิมพ์          [๒๕๑๓] สถานที่พิมพ์     พระนครสำนักพิมพ์       โรงพิมพ์ กรมการทหารสื่อสารจำนวนหน้า      ๕๘ หน้า                      หนังสือ สิ่งน่ารู้เกี่ยวกับวัดไชโยวรวิหาร นี้ มีเนื้อหากล่าวถึง ประวัติวัดไชโยวรวิหาร อำเภอ ไชโย จังหวัดอ่างทอง การบูรณะ ปฏิสังขรณ์ในแต่ละครั้ง ลำดับและประวัติท่านเจ้าอาวาส และรูปภาพประกอบ  


องค์ความรู้ทางวิชาการ เรื่อง ธาตุไม้อีสาน เรียบเรียงโดย นางสาวทิพย์วรรณ วงศ์อัสสไพบูลย์ นักโบราณคดีชำนาญการ สำนักศิลปากรที่ ๘ ขอนแก่น


     มหามกุฎราชสันตติวงศ์ ๒๗ พฤษภาคม ๒๔๑๘ วันประสูติพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงปราจิณกิติ      พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงปราจิณกิติบดี มีพระนามเดิมว่า พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าประวิตรวัฒโนดม เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ ๑๕ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาแช่ม ประสูติเมื่อวันที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๔๑๘      ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อพุทธศักราช ๒๔๒๘ พระราชบิดาโปรดเกล้าฯ ให้เสด็จออกไปทรงศึกษาวิชาการ ณ ทวีปยุโรป พร้อมด้วย พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์ พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าจิระประวัติวรเดช พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ นับเป็นพระเจ้าลูกยาเธอในรัชกาลที่ ๕ กลุ่มแรก ที่เสด็จไปศึกษาต่อต่างประเทศ ครั้นเสด็จกลับมาทรงรับราชการในตำแหน่งผู้ช่วยราชการกระทรวงวัง ในพุทธศักราช ๒๔๔๐ ทรงเป็นราชเลขานุการในสมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ ขณะทรงดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน ครั้นพุทธศักราช ๒๔๔๕ โปรดเกล้าฯ ให้ทรงกรม เป็นพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นปราจิณกิติบดี และได้เป็นราชเลขานุการฝ่ายต่างประเทศ      ถึงรัชกาลที่ ๖ โปรดเกล้าฯ ให้เป็นสมุหมนตรี และองคมนตรี ครั้นพุทธศักราช ๒๔๕๔ เลื่อนเป็นพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงปราจิณกิติบดี และเป็นเสนาบดีตำแหน่งราชเลขาธิการ      พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงปราจิณกิติ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๖ เมื่อวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๔๖๒ พระชันษา ๔๕ ปี เป็นต้นราชสกุล ประวิตร      พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงปราจิณกิติ นับเป็นพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ที่สืบสายจากพระบรมชนกนาถ   ภาพ : มหาอำมาตย์เอก มหาเสวกเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงปราจิณกิติบดี


นางฉอ้อน รักวานิช และบุตร, ธิดา พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นายบันลือ รักวานิช ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม  วันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๐ 



          ตอนนี้เรื่องของกัญชามีกระแสมาแรง ไม่ว่าจะนำมาเป็นส่วนผสมทำอาหาร ขนม หรือเครื่องดื่ม และเมนูอื่นอีกหลากหลาย ผู้เขียนไม่อยากตกกระแสจึงต้องรีบค้นคว้าหาเอกสารจดหมายเรื่องนี้ว่าจะมีข้อมูลอะไรบ้างเพื่อนำมาเล่าสู่กันค่ะ จากการค้นคว้าพบว่าใน พ.ศ.2474 มีเอกสารจดหมายเหตุกล่าวถึงว่ากรมตรวจกสิกรรม(ปัจจุบันเป็นกรมวิชาการเกษตร)สังกัดกระทรวงพาณิชย์และคมนาคมว่ามีการสำรวจจังหวัดต่างๆในเรื่องการเพาะปลูกกัญชามากน้อยเพียงใด          จากการสำรวจในครั้งนั้นพบว่าจันทบุรี ไม่นิยมปลูกกัญชาแต่ประการใด มีเพียงท้องที่กิ่งกำพุช สังกัดอำเภอมะขาม เพียงแห่งเดียวที่มีการเพาะปลูกกัญชา โดยมีชาวบ้านทำการเพาะปลูกประมาณ 10 คน พื้นที่ปลูกรวมประมาณ 1 ไร่ เก็บได้ครั้งละประมาณ 1 หาบหรือ 100 ชั่งจีน ราคาซื้อขายกันชั่งละ 50 สตางค์ เป็นที่น่าสังเกตว่า ผลผลิตที่จำหน่ายจะเป็นต้นกัญชากับกระหรี่กัญชา ซึ่งกว่าต้นกัญชาตัวเมียออกดอกหรือนักสูบเรียกว่า"กระหรี่แก่"จะใช้เวลาปลูกยาวนานอยู่หลายเดือน(พฤษภาคม ถึง ธันวาคม) ซึ่งต่างจากการปลูกในปัจจุบัน ที่ไม่สามารถใช้ ช่อ ดอกและเมล็ดของกัญชา เพราะยังถือว่าเป็นยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5          หากใครสนใจอยากลองชิมเมนูอาหารหวานคาวที่มาจากส่วนผสมของกัญชา ก็ต้องไปร้านที่ได้รับอนุญาตนำส่วนประกอบของกัญชาที่ไม่ใช่ยาเสพติด เช่น เส้นใย เปลือก กิ่ง ก้าน ราก และใบกัญชาที่ไม่มียอดหรือช่อดอก จากสถานที่ปลูกหรือผลิตในที่ได้รับอนุญาตอย่างถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น ในการนำเสนอข้อมูลเรื่องกัญชาของผู้เขียนครั้งนี้เป็นเพียงอยากบอกเล่าว่าในอดีต จังหวัดจันทบุรี ไม่ได้มีผู้สนใจปลูกกัญชากันสักเท่าไหร่ อาจเพราะเป็นเมืองกสิกรรม ทำนา ทำสวน ทำไร่ ปลูกผักผลไม้ ปลูกข้าว ปลูกพริกไทยหรือปลูกกาแฟได้ผลผลิตและมีกำไรดีกว่าก็เป็นได้--------------------------------------------------------------------ผู้เขียน : สุมลฑริกาญจณ์ มายะรังษี นักจดหมายเหตุชำนาญการ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี--------------------------------------------------------------------อ้างอิง หอจดหมายเหตุแห่งชาติจันทบุรี. (13)มท2.5/38 เอกสารเอกสารกระทรวงมหาดไทย ชุดมณฑลจันทบุรี. เรื่องกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม ส่งคำถามของกรมตรวจกสิกรรม เรื่องขอทราบการเพาะปลูกกัญชามาให้สอบสวน (15 มีนาคม 2474 – 22 เมษายน 2475





Messenger