ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,418 รายการ

โครงการปฏิบัติธรรมเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ ๕ รอบ ๒ เมษายน ๒๕๕๘ โดยมีนายอำเภอคง (นายสุรสิทธิ์ สิทธกรวนิช) เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการ ในวันพุธที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ และผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครราชสีมา (นายขจร มุกมีค่า) เป็นประธานในพิธีปิดโครงการ และกิจกรรมรมปลูกต้นไม้เฉลิมพระเกียรติฯ ในวันอาทิตย์ที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ณ ศูนย์ปฏิบัติธรรมประจำตำบลหนองมะนาว วัดป่าธรรมชาติ บ้านหนองชุมแสง ตำบบลหนองมะนาว อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา


ชื่อเรื่อง : เพลงยาวกลบทและกลอักษร แต่งจารึกที่วัดพระเชตพนฯ ในรัชกาลที่ 3 ชื่อผู้แต่ง : - ปีที่พิมพ์ : 2512 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์อักษรสัมพันธ์ จำนวนหน้า : 238 หน้า สาระสังเขป : เพลงยาวกลบทและกลอักษรมีจำนวน 64 บท เป็นบทพระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นพระนิพนธ์ของพระบรมวงศานุวงศ์ และบทนิพนธ์ของข้าราชบริพาร ผู้ประพันธ์ได้ประดิษฐ์คิดค้นกลวิธีการเล่นเสียง เล่นคำแบบต่าง ๆ เพื่อแต่งกลอนกลบทโดยใช้รูปแบบเพลงยาว เนื้อความส่วนใหญ่เป็นจดหมายรักของชายหนุ่มเขียนให้หญิงสาว ทั้งแสดงความรัก ความวิตกกังวล ความสมหวังและผิดหวังในรัก ในแต่ละบทแต่งเป็นกลบทที่เล่นเสียงเล่นคำได้อย่างไพเราะ โดยเล่นเสียงพยัญชนะ เสียงสระ และเสียงวรรณยุกต์  


ชื่อเรื่อง                     พระพุทธโฆษา หรือ พระพุทธโฆสะ และตำนานพระปริตรผู้แต่ง                        -ประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือหายากหมวดหมู่                   พระพุทธศาสนา เลขหมู่                      294.30923 ธ232รสถานที่พิมพ์               พระนครสำนักพิมพ์                 โรงพิมพ์การศาสนาปีที่พิมพ์                    2519ลักษณะวัสดุ               80 หน้า หัวเรื่อง                     ตำนาน                              พระพุทธโฆสะ                               พระพุทธโฆษา ภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึกพิมพ์ถวายเป็นมุทิตาสักการะ เนื่องในการสมโภชสุพรรณบัฏและทำบุญอายุสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ชุตินฺธโร มหาเถระ)


นายขจร มุกมีค่า ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครราชสีมาพร้อมด้วยคณะเจ้าหน้าที่เข้าร่วมการประชุมผู้บริหารกรมศิลปากรครั้งที่๕/๒๕๕๗(สัญจร) จังหวัดเชียงใหม่และศึกษาดูงานในเขตพื้นที่สำนักศิลปากรที่ ๘ เชียงใหม่ระหว่างวันที่ ๒๒-๒๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๗


ชื่อเรื่อง : ประเพณีเกี่ยวกับชีวิต ชื่อผู้แต่ง : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2510 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : รัชดารมภ์การพิมพ์ จำนวนหน้า : 142 หน้า สาระสังเขป : หนังสือประเพณีเกี่ยวกับชีวิตของกรมศิลปากร มีเนื้อหาเกี่ยวกับขนบธรรมเนียม ประเพณีไทย ที่ประพฤติปฏิบัติกันมาแต่ช้านาน ประกอบด้วย 5 ประเพณีสำคัญ ได้แก่ 1. ประเพณีทำบุญ แต่งโดยนายเสฐียร พันธรังษีและหลวงพลตรีหลวงวิจิตรวาทการ 2. ประเพณีบวชนาค เรียบเรียงโดยพระยาวรานุกูล (อ่วม) 3. ประเพณีแต่งงาน พระนิพนธ์ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสมมตอมรพันธุ์ 4. ประเพณีแต่งงาน เรียบเรียงโดยพระยาวรานุกูล (อ่วม) 5. ประเพณีทำศพ เรียบเรียงโดย พระจรูญชวนะพัฒน์ และหลวงวิศาลดรุณกร


วิทยาศาสตร์เบื้องต้นชั้นประถม 4


          จากการที่ล้านนามีการติดต่อค้นขายกับพ่อค้าจากเมืองต่างๆ ส่งผลให้มีการนำเงินตราของดินแดนใกล้เคียงที่มีการติดต่อค้าขายกันมาใช้เป็นสื่อกลางในการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า ไม่ว่าจะเป็นเงินตราของไท พม่า จีน และลาว รวมไปถึงการชั่งน้ำหนักซึ่งพบว่ามีการใช้ตราชั่งทั้งแบบตาเต็งหรือตาชั่งจีนและตาชูหรือตาชั่งแบบสุเมเรียน ในการใช้ตาชูนี้ต้องมีลูกชั่งซึ่งเป็นโลหะที่กำหนดน้ำหนักไว้เป็นมาตรฐานเพื่อนำมาชั่งน้ำหนักสิ่งของต่างๆ ที่นำมาซื้อขายแลกเปลี่ยน รวมถึงใช้ชั่งโลหะที่นำมาเป็นสื่อในการแลกเปลี่ยนสินค้า โดยลูกชั่งนี้นิยมทำเป็นรูปสัตว์ในวรรณคดี เช่น หงส์ สิงห์ มอม เป็นต้น ชาวมอญในพม่านิยมใช้ลูกชั่งรูปหงส์เนื่องจากเป็นสัตว์ในวรรณคดีที่เกี่ยวข้องกับการตั้งเมืองหงสาวดี           สำหรับลูกชั่งที่ใช้ในล้านนา เรียกอีกอย่างว่า ลูกเป้ง นอกจากทำเป็นรูปสัตว์ในวรรณคดีแล้วยังพบว่ามีการหล่อลูกชั่งเป็นรูปสัตว์ประจำปีเกิด เรียกกันว่า ลูกเป้ง ๑๒ นักษัตร พรหมชาติล้านนากล่าวถึงโฉลกในการพกลูกเป้งและการเลือกใช้ถุงสำหรับบรรจุทรัพย์สำหรับผู้ที่เกิดในปีนักษัตรต่างๆ ไว้ดังนี้ ปีชวด พกลูกเป้งรูปหนู ปีฉลู พกลูกเป้งรูปวัว ถุงบรรจุทรัพย์ควรเป็น ๒ ชั้น ชั้นนอกสีเหลืองด้านในสีแดง ปีขาล ถุงบรรจุทรัพย์ควรเป็นถุง ๓ ชั้น ชั้นนอกสีแดง กลางสีขาวและชั้นในสีเขียว ปีเถาะ พกลูกเป้งรูปกระต่าย ปีมะโรง พกลูกเป้งรูปนาค ปีมะเส็ง พกลูกเป้งรูปงู ปีมะเมีย พกลูกเป้งรูปม้า ถุงบรรจุทรัพย์ควรเป็น ๒ ชั้น ด้านนอกสีแดง ด้านในสีเหลือง ปีมะแม พกลูกเป้งรูปแพะ ปีวอก พกลูกเป้งรูปลิง ถุงบรรจุทรัพย์ควรเป็น ๒ ชั้น ด้านนอกสีดำ ด้านในสีเหลือง ปีระกา พกลูกเป้งรูปไก่ ถุงบรรจุทรัพย์ควรเป็นถุง ๓ ชั้น ชั้นนอกสีเขียว ชั้นกลางสีขาว ชั้นในสีเทา ปีจอ พกลูกเป้งรูปสุนัข ถุงบรรจุทรัพย์ควรเป็น ๒ ชั้น ชั้นนอกสีเหลือง ชั้นในสีขาว ปีกุน พกลูกเป้งรูปช้าง ถุงบรรจุทรัพย์ควรเป็น ๒ ชั้น ชั้นนอกสีเหลืองชั้นในสีขาว           นอกจากนี้ยังมีโฉลกในการเลือกใช้ถุงบรรจุทรัพย์และการพกลูกเป้งสำหรับผู้ที่เกิดในเดือนต่างๆ ดังนี้ เดือน ๗ พกลูกเป้งรูปช้าง ถุงใส่ทรัพย์ ๒ ชั้น ด้านนอกสีแดง ด้านในสีขาว เดือน ๘ พกลูกเป้งรูปแพะ ถุงใส่ทรัพย์ ๒ ชั้น ด้านนอกสีดำ ด้านในสีม่วง สายสีขาว เดือน ๙ พกลูกเป้งรูปหงส์ ถุงใส่ทรัพย์ ๒ ชั้น ด้านนอกสีดำ ด้านในสีเทา เดือน ๑๐ ถุงใส่ทรัพย์ ๒ ชั้น ด้านนอกสีดำหรือสีเขียว ด้านในสีเหลือง สายสีแดง เดือน ๑๑ พกลูกเป้งดังรูปลูกหว้า ถุงใส่ทรัพย์ ๒ ชั้น ด้านนอกสีแดง ด้านในสีเหลือง สายสีขาว เดือน ๑๒ พกลูกเป้งรูปเรือ ถุงใส่ทรัพย์ ๒ ชั้น ด้านนอกสีแดง ด้านในสีเขียว สายสีเหลือง เดือนเกี๋ยงหรือเดือน ๑ พกลูกเป้งรูปหอยสังข์ ถุงใส่ทรัพย์ ๒ ชั้น ด้านนอกสีแดง ด้านในสีขาว สายสีดำ เดือนยี่ พกลูกเป้งรูปราชสีห์ ถุงใส่ทรัพย์ ๒ ชั้น ด้านนอกสีขาว ด้านในสีดำ สายสีเหลือง เดือน ๓ พกลูกเป้งรูปวัว ถุงใส่ทรัพย์ ๒ ชั้น ด้านนอกสีม่วง ด้านในสีเหลือง สายสีแดง เดือน ๔ พกลูกเป้งรูปหงส์ ถุงใส่ทรัพย์ ๒ ชั้น ด้านนอกสีแดง ด้านในสีเขียว สายสีขาว เดือน ๕ พกลูกเป้งรูปเต่า ถุงใส่ทรัพย์ ๒ ชั้น ด้านนอกสีม่วง ด้านในสีเขียว สายสีแดง เดือน ๖ พกลูกเป้งรูปช้างหรือรูปราชสีห์ ถุงใส่ทรัพย์ ๒ ชั้น ด้านนอกสีเขียว ด้านในสีขาว สายสีดำ           ซึ่งการกำหนดโฉลกในการพกลูกเป้งรูปต่างๆ นี้แสดงให้เห็นถึงรูปแบบของลูกเป้งที่มีการผลิตขึ้นเพื่อใช้งาน ซึ่งในปัจจุบันบางรูปแบบพบไม่มากนัก โดยลูกเป้งส่วนใหญ่ที่พบได้แก่รูปหงส์ รูปสิงห์ เป็นต้น ----------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน ----------------------------------------------------เอกสารอ้างอิงเบี้ย บาท กษาปณ์ แบงค์ : นวรัตน์ เลขะกุล สนพ.สารคดี, ๒๕๔๗ พรหมชาติล้านนา : สนั่น ธรรมธิ สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ๒๕๕๐


          ปี้ คือสิ่งที่ใช้แทนเงินตราในบ่อนเบี้ย ทำจากวัสดุต่าง ๆ เช่น กระเบื้อง ทองเหลือง แก้ว มีรูปร่างและลวดลายหลากหลายแบบ กล่าวกันว่ามีมากกว่า ๕,๐๐๐ แบบ           ในช่วงปีพ.ศ. ๒๓๑๖ สยามประสบปัญหาการขาดแคลนเงินปลีก ประชาชนได้นำปี้มาใช้แทนเงินปลีก จนกระทั่งในปีพ.ศ.๒๔๑๗ ทางการได้พิมพ์อัฐกระดาษขึ้นใช้แทนเป็นการแก้ปัญหาชั่วคราว           บ่อนเบี้ย เป็นสถานที่สำหรับเล่นถั่วโป ไม่แน่ชัดว่าเริ่มมีในไทยเมื่อใด สันนิษฐานว่าเริ่มมีในชุมชนที่มีชาวจีนอาศัยอยู่มาก เนื่องจากเป็นการพนันประเภทที่ชาวจีนในอดีตนิยมเล่น การเล่นถั่วโปนั้นสามารถเล่นได้เฉพาะผู้ที่รัฐอนุญาตแล้วเท่านั้น โดยผู้ที่ได้รับอนุญาตต้องเสียเงินเข้าท้องพระคลัง จึงเกิดขึ้นเป็นอากรบ่อนเบี้ยขึ้น           ในสมัยอยุธยากำหนดให้สามารถเล่นถั่วโปได้เฉพาะชาวจีนเท่านั้น พบว่ามีการขอตั้งบ่อนเบี้ยขึ้นในพื้นที่ที่มีชาวจีนอาศัยอยู่มาก ต่อมาในสมัยธนบุรีจึงอนุญาตให้คนไทสามารถเล่นถั่วโปได้ อาจเนื่องจากว่าเป็นช่วงศึกสงครามจึงผ่อนปรนให้ไพร่พลได้เล่นเพื่อผ่อนคลาย และอนุญาตให้เล่นต่อมาเรื่อย ๆ           ในสมัยรัชกาลที่ ๒ มีรายได้จากอากรบ่อนเบี้ยเพิ่มขึ้น มีการแบ่งแขวงอากรบ่อนเบี้ย โดยบ่อนเบี้ยได้แพร่หลายออกไปตามหัวเมืองมากขึ้น ในสมัยรัชกาลที่ ๓ การค้าเจริญขึ้นมีการจัดระเบียบภาษีอากรต่าง ๆ และมีการตั้งอากรหวยเพิ่มขึ้น ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๔ มีการตั้งอากรการพนันขึ้นโดยกำหนดประเภทการพนันที่จะต้องเสียภาษีให้แก่อากรบ่อนเบี้ย ในช่วงรัชกาลที่ ๔ จึงมีรายได้จากการจัดเก็บอากรบ่อนเบี้ยในแต่ละปีเพิ่มขึ้น จนกระทั่งในสมัยรัชกาลที่ ๕ ได้โปรดให้ลดจำนวนบ่อนเบี้ยลงตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๓๑ เป็นต้นมา โดยค่อย ๆ ลดจำนวนบ่อนเบี้ยลงเรื่อย ๆ ในปี พ.ศ. ๒๔๔๙ โปรดให้เลิกบ่อนเบี้ยที่อยู่ตามหัวเมืองทั้งหมดทุกมณฑล และค่อย ๆ ลดจำนวนบ่อนที่เหลือในกรุงเทพฯ ลง ต่อมาในปีพ.ศ.๒๔๕๙ ทรงพระกรุณาโปรดฯ ให้เลิกหวยและบ่อนเบี้ยทั้งหมด และทรงตั้งพระราชบัญญัติห้ามเล่นหวยเล่นถั่วโปในพระราชอาณาจักรโดยมีพระราชประสงค์ให้ไพร่บ้านพลเมืองได้มีเงินไว้ประกอบการทำมาหาเลี้ยงชีพให้เป็นประโยชน์แก่ตน           สำหรับการตั้งนายอากรบ่อนเบี้ยนั้น รัฐเป็นผู้กำหนดแขวงสำหรับทำอากร ในช่วงสิ้นปีผู้ที่ประสงค์จะเป็นนายอากรจะต้องยื่นเรื่องต่อเจ้าพนักงานพระคลังมหาสมบัติว่าจะขอผูกอากรในพื้นที่แขวงใด หากแขวงนั้นมีผู้ยื่นหลายรายจะมีการประมูล ผู้ที่ประมูลได้ต้องมีผู้รับรองจากนั้นต้องส่งเงินงวดล่วงหน้า ๒ เดือน หากสิ้นปีไม่มีผู้ใดประมูลต่อนายอากรคนเดิมก็จะได้ทำต่อไป           ในการเปิดบ่อนเบี้ยนายอากรได้ผลิตปี้ขึ้นใช้แทนเงินปลีก ในระยะแรกปี้ผลิตขึ้นจากโลหะหรือแก้ว ต่อมาจึงเริ่มใช้ปี้ที่ผลิตจากกระเบื้องเคลือบซึ่งสั่งผลิตจากจีน โดยนายอากรแต่ละคนใช้ปี้ที่มีลวดลายต่างกันไป แต่กำหนดมูลค่าปี้เป็นมาตรฐานที่ราคาปี้ละ ๑ สลึง ๑ เฟื้อง และ ๒ ไพ เวลาคนเข้าไปเล่นเบี้ยจะต้องนำเงินไปแลกปี้ เมื่อเล่นเสร็จจึงนำเงินที่มีอยู่ไปแลกเป็นเงินกลับไป แต่บางครั้งผู้เล่นยังไม่นำปี้ไปแลกเป็นเงิน เนื่องจากเชื่อว่าจะนำมาแลกเป็นเงินเมื่อไหร่ก็ได้ จึงเริ่มมีการชำระหนี้หรือซื้อสินค้าโดยใช้ปี้แทนเงินตรา เมื่อมีการเปลี่ยนนายอากรหรือมีผู้ทำปี้ปลอมขึ้นนายอากรสามารถยกเลิกปี้แบบเดิม โดยประกาศว่าจะยกเลิกปี้แบบเดิมให้ผู้ที่มีปี้แบบเดิมนำปี้มาแลกเงินคืนในระยะเวลาที่กำหนด นายอากรจึงมักได้กำไรจากปี้ที่ไม่มีผู้นำกลับมาแลกอีกด้วย ------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน https://www.facebook.com/NanNationalMuseum1987/photos/a.1180075428787896/3115307448598008/------------------------------------------------เอกสารประกอบ เบี้ย บาท กษาปณ์ แบงค์ : นวรัตน์ เลขะกุล สนพ.สารคดี, ๒๕๔๗ ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๑๗ ตำนานเรื่องเลิกหวยแลบ่อนเบี้ยในกรุงสยาม ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๔ ตอน ๓๖ ประกาศวันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๔๓๐ หน้า ๒๘๘ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕ ตอน ๓๗ ประกาศวันที่ ๒๒ มกราคม ๒๔๓๑ หน้า ๓๑๗ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๖ ตอน ๓๘ ประกาศวันที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๔๓๒ หน้า ๓๓๑ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๖ ตอน ๕๐ ประกาศวันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๔๓๒ หน้า ๔๓๖ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๘ ตอน ๔๐ ประกาศวันที่ ๓ มกราคม ๒๔๓๘ หน้า ๓๖๔ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐ ตอน ๘ ประกาศวันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๔๓๖ หน้า ๙๗ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๕ ตอน ๑๒ ประกาศวันที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๔๔๑ หน้า ๑๒๗ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๒๑ ตอน ๔๘ ประกาศวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๔๗ หน้า ๘๗๕ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๒๖ ตอน ๐ง ประกาศวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๕๒ หน้า ๒๔๙๕ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๒๘ ตอน ๐ง ประกาศวันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๔๕๔ หน้า ๒๗๓๓ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๓๐ ตอน ๐ง ประกาศวันที่ ๑ มีนาคม ๒๔๕๖ หน้า ๒๘๐๗ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๓๑ ตอน ๐ง ประกาศวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๔๕๗ หน้า ๒๗๙๘ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๓๒ ตอน ๐ง ประกาศวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๔๕๘ หน้า ๓๑๐๖ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๓๔ ตอน ๐ก ประกาศวันที่ ๑ เมษายน ๒๔๖๐ หน้า ๔



องค์ความรู้ เรื่อง เอกสารจดหมายเหตุ จากหอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ตอน วิถีนคร : ศาสนสถาน ๔ แห่ง เส้นทางถนนราชดำเนิน จังหวัดนครศรีธรรมราช         ศาสนสถาน (อังกฤษ: Place of worship) หมายถึงสิ่งก่อสร้างหรือพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ออกแบบมาเป็นพิเศษเพื่อให้กลุ่มคนเข้ามาประกอบการแสดงออกซึ่งการเคารพ อุทิศตน           ศาสนสถานที่สร้างขึ้นเพื่อให้บุคคลต่างๆ ประกอบการบูชาในทางศาสนา และความเชื่อ ซึ่งแต่ละศาสนามีสถานที่ ที่แตกต่างกัน เช่น พระพุทธศาสนามีวัด ศาสนาคริสต์มีโบสถ์ ศาสนาอิสลามมีมัสยิด และศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู มีเทวสถาน เป็นต้น           เป็นความลงตัวของการผสมผสานทางวัฒนธรรมของศาสนาต่างๆ ในจังหวัดนครศรีธรรมราช ที่อยู่ร่วมกันได้ ดังนั้น หอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ขอนำเสนอ เอกสารจดหมายเหตุ ประเภทโสตทัศนจดหมายเหตุ (ภาพถ่าย) ที่มีให้บริการในหน่วยงาน พอสังเขป ไว้เป็นตัวอย่างให้ผู้สนใจสามารถเข้ามาค้นคว้าได้ ในโอกาสต่อไป ------------------------------------------------เรียบเรียงโดย : นายบัณฑิต พูนสุข นักจดหมายเหตุ หอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ -----------------------------------------------เอกสารอ้างอิง หอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ภ นรม ๑ สบ ๑ .๒ /๕๘ ภาพวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารจังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อปี พุทธศักราช ๒๕๐๐ หอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ภ นรม ๑ สบ ๒ .๒/๑๑ ภาพหอพระอิศวร จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๔๑ หอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ภ นรม ๑ สบ ๑ .๒/๔ ภาพโบรถ์คริสต์ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๗๗ หอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ภ นรม ๑ สบ ๑ .๒/๖ ภาพมัสยิดญาเมี๊ยะ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช วิกิพิเดีย สารานุกรมเสรี. (๒๕๖๓). ศาสนสถาน. สืบค้นวันที่ 30 ตุลาคม 2563, จาก : https://th.wikipedia.org/wiki







     เทวดารักษากำพูฉัตร      ศิลปะรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ ๒๔ (๒๐๐ ปีมาแล้ว)      โลหะผสม กะไหล่ทอง      สมบัติเดิมของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร        สันนิษฐานว่าเดิมเป็นเครื่องประกอบพระบวรเศวตฉัตรในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ทั้งนี้คติการประดิษฐานรูปเทวดาประจำกำพูฉัตร เป็นพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสยามเทวมหามกุฏวิทยมหาราช รัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และคงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างถวายพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาอุปราชซึ่งดำรงพระอิสริยยศเสมอด้วยพระมหากษัตริย์ด้วยในคราวเดียวกัน


Messenger