ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,953 รายการ
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ เปิดให้บริการแก่ประชาชนและนักท่องเที่ยว ระหว่างวันที่ ๓-๗ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๗
มีผู้เข้าชมทั้งสิ้น ๒๕๔ คน
วันพุธที่ ๑๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๗ เวลา ๑๓.๐๐ น. นักเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลตระเปียงเตีย อำเภอลำดวน จังหวัดสุรินทร์ จำนวน ๕๐ คน คุณครู ๑๕ คน เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ โดยมีนางถนอม หลวงกลาง นายแก่นแก้ว หอมนวล พนักงานประจำห้อง ให้การต้อนรับและบรรยายนำชม
พระพุทธรูปปางมารวิชัย เป็นพระพุทธรูปที่อยู่ในอิริยาบถนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้ายหงายวางบนพระเพลา (ขาหรือตัก) ส่วนพระหัตถ์ขวาวางคว่ำบนพระชานุ (เข่า) นิ้วพระหัตถ์ขวาชี้ลงที่พื้นธรณี ปางนี้เรียกกันอีกชื่อว่า “ปางชนะมาร” คำว่า วิชัย แปลว่า ชัยชนะ
พระเจ้าเก้าตื้อ เป็นพระประธานองค์ใหญ่ที่สำคัญของล้านนา ซึ่งเป็นพระพุทธรูปสำริดสำริดองค์ใหญ่ และงดงามที่สุดในศิลปะล้านนา ประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถวัดบุปผาราม หรือวัดสวนดอก ถนนสุเทพ ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
เรียบเรียงโดย : นายธีรบูลย์ มิตรมโนชัย นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม
แหล่งอ้างอิง :
กระทรวงวัฒนธรรม. กรมการศาสนา. ๑๐๘ องค์พระปฏิมา พระพุทธรูปคู่แผ่นดิน. กรุงเทพฯ : กรมการศาสนา, ๒๕๖๐.ประชากิจกรจักร, พระยา (แช่ม บุนนาค). พงศาวดารโยนก. กรุงเทพฯ: บุรินทร์การพิมพ์, ๒๕๑๖.พระรัตนปัญญาเถระ. ชินกาลมาลีปกรณ์. แปลโดย แสง มนวิทูร. พระนคร: กรมศิลปากร, ๒๕๐๑.พิริยะ ไกรฤกษ์. ลักษณะไทยพระพุทธปฏิมาอัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย. กรุงเทพฯ: ธนาคารกรุงเทพ จำกัด มหาชน, ๒๕๕๑.
พระพุทธรูปปางมารวิชัย เป็นพระพุทธรูปที่อยู่ในอิริยาบถนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้ายหงายวางบนพระเพลา (ขาหรือตัก) ส่วนพระหัตถ์ขวาวางคว่ำบนพระชานุ (เข่า) นิ้วพระหัตถ์ขวาชี้ลงที่พื้นธรณี ปางนี้เรียกกันอีกชื่อว่า “ปางชนะมาร” คำว่า วิชัย แปลว่า ชัยชนะ
พระเจ้าเก้าตื้อ เป็นพระประธานองค์ใหญ่ที่สำคัญของล้านนา ซึ่งเป็นพระพุทธรูปสำริดสำริดองค์ใหญ่ และงดงามที่สุดในศิลปะล้านนา ประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถวัดบุปผาราม หรือวัดสวนดอก ถนนสุเทพ ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
เรียบเรียงโดย : นายธีรบูลย์ มิตรมโนชัย นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม
แหล่งอ้างอิง :
กระทรวงวัฒนธรรม. กรมการศาสนา. ๑๐๘ องค์พระปฏิมา พระพุทธรูปคู่แผ่นดิน. กรุงเทพฯ : กรมการศาสนา, ๒๕๖๐.ประชากิจกรจักร, พระยา (แช่ม บุนนาค). พงศาวดารโยนก. กรุงเทพฯ: บุรินทร์การพิมพ์, ๒๕๑๖.พระรัตนปัญญาเถระ. ชินกาลมาลีปกรณ์. แปลโดย แสง มนวิทูร. พระนคร: กรมศิลปากร, ๒๕๐๑.พิริยะ ไกรฤกษ์. ลักษณะไทยพระพุทธปฏิมาอัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย. กรุงเทพฯ: ธนาคารกรุงเทพ จำกัด มหาชน, ๒๕๕๑.
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย ขอเชิญชวนไปเที่ยวงานเทศกาลไหว้พระนอน ประจำปี 2567 จัดโดยอำเภอสูงเนิน ระหว่างวันที่ 12 - 14 กรกฎาคม 2567 ณ วัดธรรมจักรเสมาราม อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งนับเป็นงานบุญ งานสำคัญประจำปีงานหนึ่งของจังหวัดนครราชสีมา นอกจากจะมีซุ้มนิทรรศการและกิจกรรมต่าง ๆ แล้ว ยังมีกิจกรรมเสวนาเรื่อง “หินตั้ง : จากวัฒนธรรมยุคก่อนประวัติศาสตร์สู่เสมาศักดิ์สิทธิ์ในพุทธศาสนา” ในวันที่ 13 กรกฎาคม.2567 เวลา 17.30 น. ร่วมพูดคุยเรื่องหินตั้งและวัฒนธรรมการปักเสมาโดยมุมมองจาก 3 ด้าน ได้แก่ ด้านวิชาการ โดยรศ.ดร.รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร เจ้าของผลงานหลักหิน-ใบเสมาในวัฒนธรรมทวารวดีภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ด้านการจัดการมรดกทางวัฒนธรรม โดยคุณทศพร ศรีสมาน ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา มุมมองของคนบ้านหินตั้งกับการใช้ชีวิตร่วมกับโบราณสถาน โดยคุณเอนก. หุนสูงเนิน คุณเปรมฤดี ลาสูงเนิน คน “บ้านหินตั้ง” ดำเนินรายการโดยคุณจิตจา ที่หนองสังข์ คน “สูงเนิน” สามารถรับชมการถ่ายทอดสด Facebook Live และรอติดตามข่าวสารต่าง ๆ ได้ที่เฟซบุ๊ก เพจ Phimai National Museum:พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย
นอกจากนี้ยังมีการจัดกิจกรรม "กรมศิลป์ชวนตามรอย คนก่อนสูงเนิน" ที่จะพาทุกท่านทัวร์ชมโบราณสถานสำคัญในพื้นที่อำเภอสูงเนิน ฟรี !! วันที่ 12 - 14 กรกฎาคม 2567 วันละ 2 รอบ 10.30 น. และ 13.30 น. (เวลาอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม) ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนผ่านเฟซบุ๊ก เพจ Phimai National Museum:พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย หรือพบกันที่บูธกิจกรรม ณ วัดธรรมจักรเสมาราม อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา *พิเศษ ! รับจำนวนจำกัดเพียง 30 ท่าน/รอบ
วันพุธที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๖๗ สำนักศิลปากรที่ ๘ ขอนแก่น เข้าดำเนินการถากถางกำจัดวัชพืชในเขตโบราณสถานดอนหอ บ้านโพนบก หมู่ที่ ๖ ตำบลบ้านแป้น อำเภอโพนนาแก้ว จังหวัดสกลนคร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย ขอเชิญชวนไปเที่ยวงานเทศกาลไหว้พระนอน ประจำปี 2567 จัดโดยอำเภอสูงเนิน ซึ่งนับเป็นงานบุญ งานสำคัญประจำปีงานหนึ่งของจังหวัดนครราชสีมา นอกจากจะมีซุ้มนิทรรศการและกิจกรรมต่าง ๆ แล้ว ยังมีกิจกรรม "กรมศิลป์ชวนตามรอย คนก่อนสูงเนิน" ที่จะพาทุกท่านทัวร์ชมโบราณสถานสำคัญในพื้นที่อำเภอสูงเนิน ฟรี !! ระหว่างวันที่ 12 - 14 กรกฎาคม 2567 วันละ 2 รอบ 10.30 น. และ 13.30 น. (เวลาอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม) ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนผ่านเฟซบุ๊ก เพจ Phimai National Museum:พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย หรือพบกันที่บูธกิจกรรม ณ วัดธรรมจักรเสมาราม อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา *พิเศษ ! รับจำนวนจำกัดเพียง 30 ท่าน/รอบ
นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมเสวนาเรื่อง หินตั้ง : จากวัฒนธรรมยุคก่อนประวัติศาสตร์สู่เสมาศักดิ์สิทธิ์ในพุทธศาสนา ในวันที่ 13 กรกฎาคม 2567 เวลา 17.30 น. ร่วมพูดคุยเรื่องหินตั้งและวัฒนธรรมการปักเสมาโดยมุมมองจาก 3 ด้าน ได้แก่ ด้านวิชาการ โดยรศ.ดร.รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร เจ้าของผลงานหลักหิน-ใบเสมาในวัฒนธรรมทวารวดีภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ด้านการจัดการมรดกทางวัฒนธรรม โดยคุณทศพร ศรีสมาน ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา มุมมองของคนบ้านหินตั้งกับการใช้ชีวิตร่วมกับโบราณสถาน โดยคุณเอนก. หุนสูงเนิน คุณเปรมฤดี ลาสูงเนินคน “บ้านหินตั้ง” ดำเนินรายการโดยคุณจิตจา ที่หนองสังข์ คน “สูงเนิน” สามารถรับชมการถ่ายทอดสด Facebook Live และรอติดตามข่าวสารต่าง ๆ ได้ที่เฟซบุ๊ก เพจ Phimai National Museum:พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย
หมวด 000 วิทยาการคอมพิวเตอร์ สารสนเทศ และความรู้ทั่วไป
สถิตย์ ประสมพันธ์. การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ. กรุงเทพฯ: กองส่งเสริมวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 2566. (005.117 ส184ก)
อนุชิต จิตพัฒนกุล. การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับวิทยาการข้อมูล. กรุงเทพฯ: กองส่งเสริมวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 2565. (005.133 อ188ก)
หมวด 100 ปรัชญา จิตวิทยา
โคะมุระซะกิ, มะยุมิ. คุยกับลูกด้วยวิธีชี้แนะดีกว่า. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์, 2565. (155.4 ค979ค)
ณรงค์วิทย์ แสนทอง. มนุษย์เงินเดือนมืออาชีพ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2548. (158.26 ณ242ม)
ณัทธนัท เลี่ยวไพโรจน์. หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ พว.), 2567. (172.107 ณ382ห)
อ้อม ประนอม. เลิศล้ำคำคน. นนทบุรี: ธิงค์ บียอนด์, 2553. (158 อ451ล)
หมวด 200 ศาสนา
เชษฐ์ ติงสัญชลี. สังเวชนียสถานและสถานที่สำคัญทางพุทธประวัติในอินเดีย-เนปาล. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2566. (294.3135 ช721ส)
เทพ สุนทรศารทูล. โคลงกระทู้ธรรม. กรุงเทพฯ: สหธรรมิก, 2553. (294.315 ท596ค)
พระเทพมงคลวชิรมุนี (หา สุภโร). มูลเหตุการณ์ออกบวช หลวงปู่หา สุภโร. กรุงเทพฯ: วี.เจ. พริ้นติ้ง, 2567. (294.3076 พ329ม)
มูลนิธิราชสกุลอาภากร. การบูรณะวิหารน้อย สุสานหลวงวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม. กรุงเทพฯ: อักษรสัมพันธ์ 1987, 2562. (294.31872 ก461)
วรเทวี (ณ ลำพูน) ชลวณิช. ลายคำเมืองลำพูน. กรุงเทพฯ: อมรินทร์, 2566. (294.31872 ว212ล)
วิทูร โอสถานนท์. หนังสือชุด พุทธธรรม คำสอนจากพระโอษฐ์. นนทบุรี : เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์, 2561. (294.315 ว596พ ล.1 - ล.7)
วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร. จดหมายเหตุประป่าเลไลย. สุพรรณบุรี: วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร, 2566. (294.3135 จ131)
ศิรธัช ศิริชุมแสง. นึกถึงท่านอาจารย์. นครปฐม: สาละพิมพการ, 2566. (294.30922 ศ439น)
สมพงษ์ วรรณภิญโญ. มองชีวิตคิดอย่างสัจธรรม. กรุงเทพฯ: ธันเดอร์, 2559. (294.3144 ส264ม)
หมวด 300 สังคมศาสตร์
1,000 สำนวน สุภาษิต คำพังเพยไทย สอนหนูน้อยให้เป็นเด็กดี. กรุงเทพฯ: เอ็มไอเอส, 2537. (398.9 พ553)
กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. แนวทางการพัฒนาชุมชนวัฒนธรรมเชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมวัฒนธรรม, 2567. (307.14 ส145น)
กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. ประเพณีสงกรานต์. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมวัฒนธรรม, 2564. (394.2623 ป332)
วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์. ทำอะไรเล็กๆ ง่ายๆ ก็มีความสุขได้. กรุงเทพฯ: อะบุ๊ก, 2558. (390.0952 ว124ท)
15 ครูภูมิปัญญาไทย ผู้อารักษ์พรรณพืช. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2562. (371.1 ส728)
สำนักงบประมาณ. งบประมาณโดยสังเขป : ฉบับปรับปรุง ตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563. กรุงเทพฯ: สำนักงบประมาณ, 2563. (352.49593 ง231ง)
สำนักงบประมาณ. งบประมาณโดยสังเขป : ฉบับปรับปรุง ตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. กรุงเทพฯ: สำนักงบประมาณ, 2565. (352.49593 ง231ง)
สำนักศาลรัฐธรรมนูญ. รวมคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ประจำปี 2563. กรุงเทพฯ: สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ, 2563. (342.5930269 ศ365ร ล.1 - ล.5)
Why We Post: ส่องวัฒนธรรมโซเชียลมีเดียผ่านมานุษยวิทยาดิจิทัล. กรุงเทพฯ: บุณคสเคป, 2562. (302.231 ว473)
หมวด 500 วิทยาศาสตร์
ท่องไปบนดวงดาว ก้าวลงบนดวงจันทร์. พิษณุโลก: มูลนิธิเพื่อการวิจัยสังคมเอเชีย, 2565. (509 ท286)
ไอน์สไตน์, อัลเบิร์ต. โลกที่ข้าพเจ้ามองเห็น. กรุงเทพฯ: ก้าวแรก, 2565. (501 อ993ล)
หมวด 600 วิทยาศาสตร์ประยุกต์กมลศักดิ์ ตั้งนิยมธรรม. ไวน์ฝรั่งเศส เมรัยอมตะ. กรุงเทพฯ: แกรมมี่, 2539. (641.22 ก137ว)
แซคส์, โอลิเวอร์. ชายผู้เห็นภรรยาเป็นหมวก: โรคพิศวงของสมอง. กรุงเทพฯ: บุ๊คสเคป, 2564. (616.8 ซ759ช)
บับเฟ็ตต์, แมรี่. เคล็ดลับการบริหารของวอร์เรน บับเฟ็ตต์. กรุงเทพฯ: โพสต์, 2553. (658.4 บ272ค)
อโณทัย เนะ. รวยติดจรวด แค่รู้ทันการตลาด. กรุงเทพฯ: เอ็ดดูเคชั่น ไมน์ด ไลน์ มัลติมีเดีย, 2559. (658.8 อ122ร)
หมวด 800 วรรณคดี
กิ่งฉัตร. ลำนำจันทร์. กรุงเทพฯ: อรุณ, 2550. (895.913 ก633ล)
กลิ่นแก้ว. เสน่ห์ซ่อนรัก. กรุงเทพฯ: พิมพ์อักษร, 2562. (895.913 ก315ส)
เกษวดี. โฉมงามกับลอร์ดอสูร. นครปฐม: พาเพลิน, 2545. (895.913 ก815ฉ)
แคเนียส. บท(จะ)รัก. กรุงเทพฯ: พิมพ์คำ, 2562. (895.913 ค932บ)
จรสจันทร์. จันทร์กระจ่างฟ้า. นนทบุรี: บางรักษ์, 2561. (895.913 จ153จ)
ชมัยพร แสงกระจ่าง. บานไม่รู้โรย. กรุงเทพฯ: คมบาง, 2548. (895.913 ช181บ)
ชลันตี. ไปขอสามีที่ฮ่องกง. กรุงเทพฯ: ชลันตี, 2562. (895.913 ช238ป)
ชลันตี. เล่ห์รอยมาร. กรุงเทพฯ: พิมพ์คำ, 2561. (895.913 ช238ล)
ซ่อนกลิ่น. ใต้แสงดาว. กรุงเทพฯ: พิมพ์คำ, 2559. (895.913 ซ116ต)
ซ่อนกลิ่น. เมื่อหัวใจขยับปีก. กรุงเทพฯ: สถาพรบุ๊คส์, 2562. (895.913 ซ116ม)
เฌอมา. พระพายทายรัก. กรุงเทพฯ: พิมพ์คำ, 2561. (895.913 ฌ999พ)
เฌอมา. ภรรยาเจ้า. กรุงเทพฯ: พิมพ์คำ, 2561. (895.913 ฌ999ก)
ณารา. ปฏิบัติการรักต้องรอด. กรุงเทพฯ: ดีต่อใจ, 2562. (895.913 ณ429ป)
ณัฐณรา. กำแพงสายรุ้ง. นนทบุรี: บางรักษ์, 2561. (895.913 ณ329ก)
เติลเล่, ฌอง. ร้านชำสำหรับคนอยากตาย. กรุงเทพฯ: ฟรีฟอร์ม, 2564. (ต785ร)
เทอรแฮร์น, มาเดอแลน. ขบวนการนกกางเขน. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์, 2564. (843 ท638ข)
นรินดา (เพียงดารา). ฤทธิ์รัก. ม.ป.ท.: ม.ป.ป., 2561. (895.913 น352ฤ)
ปองพล อดิเรกสาร. พ่อ ภาค 1. กรุงเทพฯ: ประพันธ์สาส์น, 2545. (895.913 ป513พ)
ปราณธร. ร้ายเท่ารัก. กรุงเทพฯ: คำต่อคำ, 2557. (895.913 ป444ร)
ปราณธร. รักเท่าร้าย. กรุงเทพฯ: คำต่อคำ, 2562. (895.913 ป444ร)
ฝนพราง. ภรรยาบรรจง. กรุงเทพฯ: Good Head Printing Packaging Group, 2562. (895.913 ฝ129ภ)
พันธุ์พเยีย. ดาราพราวแสง. นนทบุรี: บ่วงรักษ์, 2561. (895.913 พ571ด)
มิณรญา. ซ่อนร้ายแสนรัก. กรุงเทพฯ: สถาพรบุ๊คส์, 2560. (895.913 ม577ซ)
มิณรญา. ซ่อนเล่ห์แสนรัก. กรุงเทพฯ: สถาพรบุ๊คส์, 2561. (895.913 ม577ซ)
มิณรญา. ตะวันฉายในเหมันต์. กรุงเทพฯ: สถาพรบุ๊คส์, 2561. (895.913 ม577ต)
มิอุ, คาคิยะ. คุณโทมาริ นักจัดบ้านด้วยการจัดใจ. กรุงเทพฯ: ไต้ฝุ่น สตูดิโอ, 2564. (895.63 ม594ค)
ยามาระตี. เสน่หาพยัคฆินทร์. กรุงเทพฯ: ชูก้าบีท, 2562. (895.913 ย246ส)
ยายอย. หาดทราย หุ่นขี้ผึ้ง บทที่หนึ่งความรัก. กรุงเทพฯ: แจ่มใส, 2548. (895.913 บ247ห)
รัมโปะ, เอะโดะงะวะ. ยอดนักสืบอาเคจิ โคโกะโระ ตอนดวงดาวแห่งเงามืด. กรุงเทพฯ: เจลิท, 2560. (895.63 ร386ย)
เรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์. แม่น้ำรำลึก. กรุงเทพฯ: รูปจันทร์, 2551. (895.911 ร769ม)
โรสิตา. โซ่พิศวาส. กรุงเทพฯ: ปองรัก, 2560 (895.913 ร949ซ)
วงศ์มนิต. บ่วงรักกับดักวิวาห์. นนทบุรี: ดอกหญ้า, 2557. (895.913 ว127บ)
วาระวารี. ทายทักรักอลเวร. กรุงเทพฯ: เขียนฝัน, 2560. (895.913 ว475ท)
สุนันทา. หนี้พยาบาท. กรุงเทพฯ: นวนิตา, 2547. (895.913 ส816ห)
หงอิง. นางโลมแห่งเซี่ยงไฮ้. กรุงเทพฯ: สันสกฤต, 2552. (895.13 ห117น)
อาริตา. สุภาพบุรุษเถื่อน. ปทุมธานี: ลีลา, 2552. (895.913 อ655ส)
อุเทน มหามิตร. Fuel Romance เชื้อเพลิงโรมานซ์เว่อร์. กรุงเทพฯ: P.S., 2561. (895.91301 อ826ฟ)
โอเอะ, เค็นซาบุโร. เด็ก 200 ปี. กรุงเทพฯ: ผีเสื้อ, 2550. (895.63 อ989ด)
เฮอร์เรียต, เจมส์. หมออารมณ์ดี (หมอฮา + ยิ้มสี่ขา). กรุงเทพฯ: ผีเสื้อ, 2545. (843.92 ต785ร)
Diary. ในอ้อมกอดดลวัฒน์. ม.ป.ท.: ม.ป.พ., ม.ป.ป. (895.913 ด993น)
หมวด 900 ประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์
ชัยพงษ์ สำเนียง. ประวัติศาสตร์เมืองแพร่: รัฐจารีตสู่การสร้างอาณานิคมภายในภายใต้วาทกรรม “รัฐชาติ”. พิษณุโลก: ภาควิชา ประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2564. (959.357 ช393ป)
ดารุณี สมศรี. ประวัติศาสตร์นิพนธ์และอัตลักษณ์ท้องถิ่นในภาคเหนือ (ทศวรรษ 2490 – 2550). พิษณุโลก: ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2564. (959.302 ด429ป)
ประวัติศาสตร์...ต้นทางสู่จักรวาลแห่งความรู้. พิษณุโลก: โรงพิมพ์รัตนสุวรรณการพิมพ์, 2566. (959.3 ป373)
’รงษ์ วงษ์สวรรค์. ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ในเงาเวลาของ ’รงษ์ วงษ์สวรรค์. กรุงเทพฯ: โอเพ่นบุ๊กส์, 2552. (923.2593 ล521รม)
ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย. ลูกแก้ว เมียขวัญ. กรุงเทพฯ: มติชน, 2540. (929. 709593 ศ336ล)
อเนก นาวิกมูล. มรดกเมืองสระบุรี. นนทบุรี: ต้นฉบับ 2018, 2563. (959.316 ม192)
วันพุธที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๖๗ ผู้อำนวยการหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ พร้อมด้วยบุคลากรร่วมกันทำความสะอาด กำจัดวัชพืช บริเวณสวนด้านหน้าหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ ให้สะอาดสวยงาม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เผยรายการหนังสือจดหมายเหตุและหนังสือที่ระลึกงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗
นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ประธานคณะกรรมการฝ่ายจัดทำหนังสือจดหมายเหตุและหนังสือที่ระลึกงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗ เปิดเผยว่า ตามที่คณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการฝ่ายจัดทำหนังสือจดหมายเหตุและหนังสือที่ระลึกงานเฉลิมพระเกียรติฯดำเนินการจัดทำหนังสือจดหมายเหตุและหนังสือที่ระลึกการจัดงานเฉลิมพระเกียรติ ฯ เนื่องในโอกาสมหามงคลนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการฯ ได้กำหนดจัดทำหนังสือจดหมายเหตุและหนังสือที่ระลึก จำนวนทั้งหมด ๖ เล่ม แบ่งเป็น หนังสือจดหมายเหตุ จำนวน ๑ เล่ม และหนังสือที่ระลึก จำนวน ๕ เล่ม ดังนี้
๑. หนังสือจดหมายเหตุการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗ โดยสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม เป็นหนังสือที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานตามธรรมเนียมปฏิบัติที่สืบทอดมาแต่โบราณ คือ จด-หมาย-เหตุการณ์ ไว้ให้ปรากฏเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของชาติ ซึ่งในครั้งนี้ ได้มีการรวบรวมกฤตภาคข่าวออนไลน์จากหนังสือพิมพ์ทุกฉบับ และส่งนักจดหมายเหตุไปสังเกตการณ์การประชุม จดบันทึกการดำเนินงานของคณะกรรมการฝ่ายต่าง ๆ รวบรวมเอกสารและภาพถ่ายกิจกรรมที่จัดขึ้นทั่วประเทศ จดบันทึกเหตุการณ์และถ่ายภาพพระราชพิธี รัฐพิธี หรือพิธีที่เกี่ยวเนื่อง เริ่มตั้งแต่การประชุมคณะกรรมการอำนวยการ ครั้งที่ ๑/๒๕๖๖ เมื่อวันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๗ จนเสร็จสิ้นระยะเวลาของโครงการกิจกรรม คือประมาณ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๗ จากนั้นจึงนำข้อมูลมาเรียบเรียงเป็นต้นฉบับตามลำดับเวลาของเหตุการณ์ ซึ่งจะต้องผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากผู้ทรงคุณวุฒิ ผ่านการอนุญาตจากสำนักพระราชวัง แล้วจึงจัดพิมพ์เป็นหนังสือจดหมายเหตุ แจกจ่ายเผยแพร่ไปตามห้องสมุดหน่วยราชการและโรงเรียนต่าง ๆ ทั่วประเทศ
๒. หนังสือ “ทศพิธ ทศมรัช” เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗ โดยสำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม เป็นหนังสือที่นำเสนอพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แบ่งเนื้อหาออกเป็น ๑๐ ด้าน โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นผู้เชี่ยวชาญ และกวีที่เป็นศิลปินแห่งชาติ จำนวน ๑๐ คน ร่วมแต่งคำประพันธ์เป็นโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ร่าย เป็นร้อยกรองทั้งเล่ม และมีภาพประกอบตามเนื้อหาพระราชกรณียกิจ เพื่อเผยแพร่พระราชกรณียกิจและพระเกียรติคุณให้เป็นที่ประจักษ์ตามขนมวรรณคดีเฉลิมพระเกียรติแต่โบราณ
๓. หนังสือหกรอบนักษัตร ใต้ร่มฉัตรพระภูมินทร์: ประมวลข่าวจากหนังสือพิมพ์พุทธศักราช ๒๔๙๕ - ๒๕๖๗ โดยสำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม เป็นการรวบรวมข่าวเกี่ยวกับ พระราชประวัติ พระราชกรณียกิจ พระมหากรุณาธิคุณ พระอัจฉริยภาพในด้านต่าง ๆ ทั้งด้านการศึกษา การศาสนา การแพทย์และสาธารณสุข การทหาร การต่างประเทศ การกีฬา ด้านศิลปวัฒนธรรม รวมถึงโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ บทความเฉลิมพระเกียรติและสิ่งอนุสรณ์ โดยรวบรวมจากต้นฉบับหนังสือพิมพ์ตั้งแต่พุทธศักราช ๒๔๙๕ - ๒๕๖๗ ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ คัดกรองร้อยเรียงเรื่องราวให้ต่อเนื่องกันไปในแต่ละรอบนักษัตร แล้วจัดพิมพ์เป็นหนังสือเพื่อน้อมรำลึกถึงพระราชปณิธาน พระราชดำริ พระบรมราโชวาท พระราชกรณียกิจ พระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
๔. หนังสือที่ระลึกพิธีเสกน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์ โดยสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นหนังสือที่รวบรวมข้อมูล เอกสารและภาพถ่ายที่เกี่ยวข้องกับพิธีเสกน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์ จากทุกจังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อส่งเสริม อนุรักษ์ สืบสาน และธำรงไว้ซึ่งพิธีเสกน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์ ตามโบราณราชประเพณีที่สืบทอดมายาวนาน
๕. หนังสือที่ระลึกในการพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐินโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค โดยกองทัพเรือ เป็นหนังสือที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐินโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ทั้งด้านประวัตึความเป็นมา การจัดเตรียมขบวนพระพยุหยาตราทางชลมารค การจัดพระราชพิธีถวายผ้าพระกฐิน และคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
๖. หนังสือที่ระลึกรวบรวมผลการดำเนินงานของกรุงเทพมหานคร เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗ โดยกรุงเทพมหานคร เป็นหนังสือที่รวบรวมข่าวและข้อมูลเกี่ยวกับภารกิจพิเศษของกรุงเทพมหานคร เนื่องในโอกาสมหามงคลดังกล่าว สำหรับใช้ในการค้นคว้า อ้างอิง รวมถึงน้อมนำพระราชปณิธาน พระราชดำริ พระบรมราโชวาท พระราชกรณียกิจ โครงการเนื่องมาจากพระราชดำริ มาบำบัดทุกข์ บำรุงสุข และเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตของประชาชน อีกทั้งเพื่อจัดเก็บเป็นหลักฐานสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญของกรุงเทพมหานคร
นางสาวสุดาวรรณ กล่าวอีกว่า สำหรับระยะเวลาในการจัดทำหนังสือที่ระลึกแต่ละรายการจะแล้วเสร็จภายหลังจากสิ้นสุดการดำเนินการในแต่ละกิจกรรม เมื่อจัดพิมพ์หนังสือเรียบร้อยแล้วจะมอบให้แก่ห้องสมุด หน่วยงานราชการ และสถาบันการศึกษา รวมทั้งจัดทำเป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) เผยแพร่ทางออนไลน์ให้ประชาชนสามารถเข้าถึงได้สะดวกยิ่งขึ้นอีกด้วย