ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,953 รายการ

            รัฐบาล โดยกระทรวงวัฒนธรรมร่วมกับหน่วยงานต่างๆ จัดงานมหรสพสมโภช เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗ ระหว่างวันที่ ๑๑ - ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๖๗ ณ ท้องสนามหลวง มีกิจกรรมประกอบด้วย พิธีบวงสรวงเทพยดา วันที่ ๙ กรกฎาคม ๒๕๖๗ ณ ท้องสนามหลวง พิธีเปิดงานวันที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๖๗ มีการเดินริ้วขบวนเฉลิมพระเกียรติฯ ประกอบด้วย ริ้วขบวนต่าง ๆ ๒๖ ขบวน เส้นทางริ้วขบวนเริ่มจากสี่แยกคอกวัว ถนนราชดำเนินกลางไปยังท้องสนามหลวง และแสดงอากาศยานไร้คนขับ (โดรน) เฉลิมพระเกียรติ ชุด “รวมใจภักดิ์ ถวายพระพร”              ตลอดช่วง ๕ วันของการจัดงานมหรสพสมโภช เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีกิจกรรม ได้แก่ นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ “ทศมินทรราชา ๗๒ พรรษา มหาวชิราลงกรณ” เผยแพร่พระราชประวัติ พระราชกรณียกิจและน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ การจัดแสดงสวนแสงเฉลิมพระเกียรติ “มหาทศมินทรราชา” การแสดงศิลปวัฒนธรรมและการแสดงดนตรีเฉลิมพระเกียรติ เช่น การแสดงมหาดุริยางค์ไทยแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ การแสดงโนราศิลปินแดนทักษิณเฉลิมพระเกียรติ  การแสดงโขน "สมเด็จพระรามาครองเมือง" การแสดงพื้นบ้าน "เรืองรองสุขเกษมทั่วถิ่นไทย" การแสดง "มหานาฏกรรมรามายณะนานาชาติเฉลิมพระเกียรติ" การแสดงดนตรี "มหาดุริยางค์ ๔ เหล่า" การแสดงดนตรี "สดับคีตศิลป์ทศชาติชาดก" การแสดงละครเพลง "เทิดไท้ทศมินทรราชา" การแสดงดนตรี" แผ่นดินธรรมแผ่นดินไทยใต้ร่มพระบารมี" โดย ๕ สถาบันการศึกษา ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากรและมหาวิทยาลัยรังสิต การแสดงนาฏศิลป์โขนสดใต้ร่มพระบารมี เป็นต้น


วันอาทิตย์ที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๖๗ นางสาวปุณณภา สุขสาคร ผู้อำนวยการหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ เข้าร่วมพิธีเสกน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์ งานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗ ณ วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่







นายวสุ โปษยะนันทน์ สถาปนิกเชี่ยวชาญ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านสถาปัตยกรรม (บูรณปฏิสังขรณ์หรือสถาปัตยกรรมไทย) เดินทางไปเข้าร่วมการประชุม The 2nd Council Meeting of the Alliance for Cultural Heritage in Asia (ACHA) ในฐานะผู้สังเกตการณ์ ณ เมืองชิงต่าว มณฑลซานตง สาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างวันที่ ๑๘ – ๒๒ มิถุนายน ๒๕๖๗



เพื่อทำการแสดงนาฏศิลป์และดนตรีตามโครงการโขน ๔ ทวีป ภายใต้แผนงานยุทธศาสตร์ปรับเปลี่ยนค่านิยมและวัฒนธรรม โครงการศูนย์สร้างสรรค์และพัฒนาอุตสาหกรรมวัฒนธรรมไทย ณ Tokyo College of Music กรุงโตเกียว และศูนย์วัฒนธรรม Awagin Holl เมืองโทคุชิมะ(Tokushima)


           พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา ขอเชิญผู้ประกอบอาชีพมัคคุเทศก์ ร่วมโครงการเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการด้านศิลปะ ประวัติศาสตร์และโบราณคดี เรื่อง “การเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับโบราณวัตถุที่จัดแสดงภายในอาคารเครื่องทองอยุธยาสำหรับมัคคุเทศก์มืออาชีพ” ในวันพุธที่ ๗ สิงหาคม ๒๕๖๗ ตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๖.๓๐ น. ณ อาคารเครื่องทอง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทั้งนี้ เมื่อจบการอบรมผู้เข้าร่วมอบรมทุกท่านจะได้รับใบประกาศนียบัตรจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา                ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมฯ ทาง Qr code ไม่เสียค่าใช้จ่าย (ฟรี) รับจำนวนจำกัดเพียง ๕๐ ท่าน โดยจะประกาศรายชื่อผู้เข้าร่วมกิจกรรม ในวันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๖๗  




ปราสาทหมื่นศรีน้อย ต.หมื่นศรี อ.สำโรงทาบ จ.สุรินทร์ เป็นกลุ่มโบราณสถานก่อด้วยอิฐฉาบปูน มีเครื่องไม้ประกอบ แผนผังของโบราณสถานประกอบด้วย 1.เจดีย์ มีสภาพพังทลายเหลือแต่ซาก ยังไม่มีการขุดแต่ง 2.วิหาร หรืออุโบสถ เป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า อยู่ห่างจากเจดีย์ ทางตะวันตกเฉียงเหนือ ประมาณ 9 เมตร สภาพปัจจุบันเหลือเพียงส่วนฐานและผนังด้านตะวันตก ขนาดของฐานกว้าง 9 เมตร ยาว 13 เมตร สูง 1.09 เมตร มีประตู 2 ประตู คือ ประตูตะวันออก และประตูตะวันตก จากการขุดแต่ง พบชิ้นส่วนปูนปั้นประดับหลังคาคล้ายหางหงส์เพียง 1 ชิ้น เท่านั้นจากรูปทรงของฐานอาคาร กรอบและซุ้มโค้งประตู และลักษณะการเรียงอิฐ สันนิษฐานว่า คงจะมีอายุในสมัยอยุธยาตอนปลาย . . . ...ศูนย์กลางการเรียนรู้และการท่องเที่ยว มรดกศิลปวัฒนธรรมอีสานใต้แบบบูรณาการ... สำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา 274 หมู่ 17 ถนนพิมาย-ชุมพวง ตำบลในเมือง อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา 30110 Tel : 044-471518 , 044-481024 E-Mail : fed_10@finrarts.go.th Website : www.finearts.go.th/fad10 Facebook : สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา กรมศิลปากร Youtube : สำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา


             วันเสาร์ที่ 6 กรกฎาคม 2567 เวลา 19.00 น. นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานในการจัดการแสดงละครเรื่อง เลือดสุพรรณ รอบปฐมทัศน์  ณ โรงละครแห่งชาติภาคตะวันตก จังหวัดสุพรรณบุรี พร้อมมอบนโยบายให้กรมศิลปากรพัฒนาศักยภาพโรงละครแห่งชาติภูมิภาคเป็นสถานที่จัดกิจกรรมทางศิลปวัฒนธรรม สนับสนุนการท่องเที่ยว ส่งเสริมนโยบายซอฟต์พาวเวอร์ (Soft Power) ของรัฐบาล              รมว. สุดาวรรณ กล่าวว่า กรมศิลปากร จัดการแสดงละครเรื่อง เลือดสุพรรณ เพื่อรำลึกถึงคุณูปการของพลตรี หลวงวิจิตรวาทการ ผู้ประพันธ์ มุ่งหมายให้ผู้ชมเกิดความสมัครสมานสามัคคี และเสียสละเพื่อประเทศชาติ โดยเลือกจัดการแสดงที่โรงละครแห่งชาติภาคตะวันตก จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งเป็นสถานที่เชื่อมโยงกับเหตุการณ์ในบทละคร ผลจากการดำเนินการในครั้งนี้ได้รับการตอบรับจากประชาชนที่ชื่นชมนาฏดุริยางคศิลป์  ไม่เพียงแต่ประชาชนในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรีเท่านั้น ยังมีประชาชนจากจังหวัดอื่น ๆ ที่สนใจเดินทางมาชมการแสดงและเยี่ยมชมสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญในจังหวัดสุพรรณบุรี โดยกรมศิลปากรได้จัดเส้นทางการท่องเที่ยวประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมในจังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อให้ร้านค้า ร้านอาหาร ที่พัก มีรายได้เพิ่มขึ้น ตามนโยบายกระทรวงวัฒนธรรมในการส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนเชิงวัฒนธรรม และนโยบายรัฐบาลด้านการสร้างรายได้จากการท่องเที่ยว เสริมสร้างเศรษฐกิจฐานรากให้มีความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน               รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวอีกว่า เพื่อเป็นการต่อยอดความสำเร็จดังกล่าว จึงได้มอบนโยบายด้านการบริหารจัดการโรงละครแห่งชาติในภูมิภาคทั้งสองแห่ง ได้แก่ โรงละครแห่งชาติภาคตะวันตก สุพรรณบุรี และโรงละครแห่งชาติภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นครราชสีมา ขอให้มีการวางแผนจัดการแสดงที่น่าสนใจและหลากหลายรูปแบบ ทั้งการแสดงโขน ละคร ดนตรีไทย และดนตรีสากล ให้เชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมในท้องถิ่น โดยบูรณาการกับหน่วยงานในพื้นที่ให้มีส่วนร่วมในการจัดการแสดงให้สอดคล้องกับเทศกาลต่าง ๆ ของจังหวัด และเปิดโอกาสให้หน่วยงานภายนอกใช้สถานที่จัดกิจกรรมทางศิลปวัฒนธรรม ทั้งนี้  ได้มอบให้กรมศิลปากรจัดการแสดงละครสดุดีวีรสตรี “ท้าวสุรนารี” ในเดือนตุลาคม เนื่องในโอกาสครบรอบ 197 ปีแห่งการสถาปนาตำแหน่งท้าวสุรนารี โดยร่วมมือกับทางจังหวัดนครราชสีมาต่อไป คาดว่าจะเป็นการแสดงที่ยิ่งใหญ่อีกครั้งหนึ่งของกรมศิลปากรในปีนี้ 


Messenger