ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,953 รายการ

วันพฤหัสบดีที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๗ นางปริญญา สุขใหญ่ หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ พร้อมเจ้าหน้าที่ เข้าร่วมพิธีพลีกรรมตักน้ำ ณ แหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์สระโบราณ จังหวัดสุรินทร์ เพื่อจัดทำน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๗ โดยมีนายพิจิตร บุญทัน ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ เป็นประธานในพิธี


วันศุกร์ที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๖๗ เวลา ๑๔.๐๐ - ๑๕.๐๐ น. ร่วมจัดกิจกรรมเสวนาวิชาการ เรื่อง "มรดกกรมศิลป์ : Fine Arts Collection" ภายในงานเชียงใหม่บุ๊คแฟร์ ครั้งที่ ๙ เชียงใหม่ฮอลล์ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเชียงใหม่ แอร์พอร์ต พร้อมจัดแสดงทรัพยากรสารสนเทศมรดกศิลปวัฒนธรรมด้านภูมิปัญญาทางภาคเหนือของกรมศิลปากร วิทยากรโดย  - นายชินณวุฒิ วิลยาลัย ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ - นางสาวปุณณภา สุขสาคร ผู้อำนวยการหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่  - นางเกษราภรณ์ กุณรักษ์ หัวหน้าหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่  ดำเนินรายการโดย นายวีระยุทธ ไตรสูงเนิน นักจดหมายเหตุชำนาญการ  




วันศุกร์ที่ ๕ กรกฎาคม​ ๒๕๖๗​ เวลา​ ๑๐.๓๐​ น.​ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง ให้การต้อนรับคณะคุณครูและนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ จากโรงเรียน อบจ.เมืองภูเก็ต ตำบลราไวย์ อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต จำนวน​ ๔๘ คน​ เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง


              นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า กรมศิลปากร โดยสำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา ปรับปรุงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย ทั้งด้านข้อมูลการจัดนิทรรศการ เทคนิคและรูปแบบการนำเสนอเพื่อให้มีความน่าสนใจและดึงดูดผู้ชมให้เข้ามาศึกษาเรียนรู้มรดกทางศิลปวัฒนธรรมเพิ่มมากขึ้น ขณะนี้ส่วนจัดแสดงนิทรรศการชั้นล่างแล้วเสร็จ โดยมีไฮไลท์อยู่ที่การจัดแสดงทับหลังจากปราสาทพิมายและประติมากรรมพระเจ้าชัยวรมันที่ 7                พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย จัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์เพื่อบริการผู้เข้าชมตามแนวทางการจัดแสดงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เมื่อปี 2536 จัดแสดงเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ และความเป็นมาของเมืองพิมาย ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์จนถึงปัจจุบัน กรมศิลปากรจึงได้พัฒนาและเพิ่มศักยภาพพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี ซึ่งมีการศึกษาทางโบราณคดีและพบหลักฐานโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ เพิ่มมากขึ้น อีกทั้งเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาและสร้างสรรค์แหล่งเรียนรู้ทางศิลปวัฒนธรรมของชาติ ในฐานะแหล่งเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวด้านศิลปวัฒนธรรมที่สำคัญในระดับภูมิภาคอีสานตอนล่าง โดยดำเนินการมาตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565                นิทรรศการถาวรในอาคารจัดแสดงที่ 1 (ชั้นล่าง) ที่ปรับปรุงแล้วเสร็จ และเปิดให้เข้าชมแบบ soft opening ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2567 ประกอบด้วย               “ก่อร่างสร้างปราสาท พิมาย” บอกเล่าเรื่องราวปราสาทพิมาย ตั้งแต่ที่มาของชื่อ "พิมาย" และการก่อสร้างปราสาทพิมาย ไม่ว่าจะเป็นวัสดุ เครื่องมือ วิธีการ รวมถึงความเชื่อและพิธีกรรมในการก่อสร้าง             “หลักฐานคนพิมาย” จัดแสดงหลักฐานที่บอกเล่าวิถีชีวิตของผู้คนในสมัยโบราณ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องประดับและเครื่องแต่งกาย ภาชนะดินเผา เครื่องมือเครื่องใช้ เครื่องไทยธรรม และพาหนะในการเดินทาง              “ศาสนาในเมืองพิมาย” เมืองพิมาย เป็นศูนย์กลางสําคัญของศาสนาพุทธลัทธิมหายาน นิกายวัชรยาน ที่สําคัญในช่วงพุทธศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา (ประมาณ 900 ปีมาแล้ว) นอกจากปราสาทพิมาย ยังปรากฏวัตถุเนื่องในพุทธศาสนาที่สะท้อนถึงความรุ่งเรืองของพุทธศาสนาเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม เมืองพิมายยังพบการเคารพนับถือศาสนาฮินดูควบคู่กันไปด้วย             “เมืองพิมาย สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7” พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 กษัตริย์ผู้ทรงสืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์มหิธรปุระ ในรัชสมัยของพระองค์ เมืองพิมายมีนามว่า วิมายปุระ เป็นเมืองสำคัญยิ่งแห่งหนึ่งและเจริญรุ่งเรืองมากในขณะนั้น มีการสร้างประตูเมืองพิมายขึ้นทั้ง 4 ด้าน และโปรดให้สร้าง สถานพยาบาล (อาโรคยศาลา) ขึ้นที่เมืองพิมาย และสร้างที่พักคนเดินทาง (วหนิคฤหะ - บ้านมีไฟ) ตามถนนสายหลัก ที่ตัดจากเมืองพระนครหลวงมายังพิมายด้วย              “เมืองพิมาย หลังพุทธศตวรรษที่ 18” เมื่อสิ้นสุดรัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 อิทธิพลทางการเมืองของอาณาจักรเขมรโบราณเริ่มเสื่อมลง เป็นผลให้อาณาจักรอยุธยาขยายอํานาจเข้าสู่บ้านเมืองในบริเวณลุ่มแม่น้ำมูลตอนบน ดังพบหลักฐานรูปเคารพสมัยอยุธยาที่ถูกนําเข้าไปประดิษฐานภายในปราสาทเขมรโบราณ เช่น ปราสาทพนมวัน ปราสาทพิมาย รวมถึงการพบโบราณสถานสมัยอยุธยาในเมืองพิมาย เช่น อุโบสถวัดเจ้าพิมาย และเมรุพรหมทัต              “ลวดลายจําหลัก : ศิลปะแห่งเมืองพิมาย” ห้องจัดแสดงไฮไลท์ของพิพิธภัณฑ์ จัดแสดงทับหลังจากปราสาทพิมายและประติมากรรมพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 และประติมากรรมรูปสตรีที่สันนิษฐานว่าเป็นพระนางศรีชัยราชเทวี มเหสีองค์แรกของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7             สำหรับอาคารจัดแสดงชั้นบน ปิดให้บริการ เนื่องจากอยู่ในระหว่างการจัดเตรียมพื้นที่เพื่อปรับปรุงนิทรรศการ โดยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย มีแผนการดำเนินงานปรับปรุงต่อไปในปีงบประมาณ 2568               ขอเชิญร่วมชมและสัมผัสประสบการณ์ใหม่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย ตําบลในเมือง อําเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา เฉพาะส่วนจัดแสดงชั้นล่างที่ปรับปรุงเรียบร้อยแล้ว และส่วนอาคารศิลาจำหลัก จัดแสดงโบราณวัตถุซึ่งเป็นส่วนประกอบสถาปัตยกรรมหินทรายที่พบจากโบราณสถานในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง โดยไม่เสียค่าธรรมเนียมเข้าชม วันพุธ – อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 09.00 - 16.00 น. 



            วันที่ 5 กรกฎาคม 2567 นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม สรุปผลการรับมอบและเก็บรักษาประติมากรรมพระศิวะ (Golden boy) และประติมากรรมสตรีพนมมือ ที่รับมอบจากพิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิทัน และแจ้งข่าวการรับมอบโบราณวัตถุจากสถาบันศิลปะแห่งนครชิคาโก สหรัฐอเมริกา รวมถึงติดตามความก้าวหน้าในการติดตามโบราณวัตถุของไทยในต่างประเทศเพิ่มเติม             นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการติดตามโบราณวัตถุของไทยในต่างประเทศกลับคืนสู่ประเทศไทย ครั้งที่ 2/2567 ณ ศูนย์ประชุมกระทรวงวัฒนธรรม ชั้น 8 อาคารวัฒนธรรมวิศิษฏ์ กระทรวงวัฒนธรรม โดยในที่ประชุมได้สรุปผลการรับมอบประติมากรรมพระศิวะ (Golden boy) และประติมากรรมสตรีพนมมือ จากพิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิทัน จากนั้นได้แจ้งความคืบหน้ากรณีสถาบันศิลปะแห่งนครชิคาโก ได้ตรวจสอบชิ้นส่วนเสาติดผนังรูปพระกฤษณะยกเขาโควรรธนะ และพบว่ามีที่มาจากปราสาทประธานของปราสาทพนมรุ้ง จ.บุรีรัมย์ จึงได้แจ้งความประสงค์ผ่านสถานกงสุลใหญ่ ณ นครชิคาโก เพื่อส่งกลับคืนสู่ประเทศไทย               นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ยังได้ติดตามผลการดำเนินงานของคณะกรรมการติดตามโบราณวัตถุของไทยในต่างประเทศที่ได้มีมติให้ติดตามนับตั้งแต่ปี 2560 ทั้งในส่วนที่ได้รับกลับคืนสู่ประเทศไทยแล้ว ที่คณะอนุกรรมการด้านวิชาการเพื่อติดตามโบราณวัตถุของไทยในต่างประเทศมีมติให้ติดตามเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน  ได้แก่ กลุ่มโบราณวัตถุที่เก็บรักษาในสหรัฐอเมริกา เช่น ประติมากรรมสำริดกลุ่มประโคนชัย โบราณวัตถุจากเมืองศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ และพระพุทธรูปประทับเหนือพนัสบดี จากเมืองโบราณซับจำปา จ.ลพบุรี เป็นต้น โดยกระทรวงวัฒนธรรมได้ความร่วมมือและการสนับสนุนการดำเนินงานจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกาเป็นอย่างดี              รมว. สุดาวรรณ ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ในส่วนของโบราณวัตถุที่ปัจจุบันจัดแสดงและเก็บรักษา ณ พิพิธภัณฑ์ในประเทศต่าง ๆ เช่น ประเทศอังกฤษ ประเทศเยอรมนี ประเทศเบลเยียม และประเทศออสเตรเลีย  คณะกรรมการฯ ได้พิจารณาแนวทางที่คณะอนุกรรมการด้านกฎหมายเพื่อติดตามโบราณวัตถุของไทยในต่างประเทศได้นำเสนอ และหารือร่วมกับคณะกรรมการฯ ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากกระทรวงการต่างประเทศ คณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านประวัติศาสตร์โบราณคดี และสื่อมวลชน เพื่อติดตามโบราณวัตถุเหล่านั้นกลับคืนสู่ประเทศไทยต่อไป โดยการติดตามโบราณวัตถุจะเน้นการติดตามให้เป็นไปอย่างมีไมตรีและรักษาไว้ซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยดำเนินการผ่านช่องทางการทูต ทั้งนี้ ยังได้กำหนดให้มีการจัดประชุมคณะกรรมการติดตามโบราณวัตถุของไทยในต่างประเทศกลับคืนสู่ประเทศไทย เป็นรายไตรมาส และอัพเดทข้อมูลการติดตามโบราณวัตถุอย่างต่อเนื่อง 








วันพุธที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๖๗ เวลา ๐๘.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. นางสาวปุณณภา สุขสาคร ผู้อำนวยการหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ และนางวรรณภา ปะวิโน บรรณารักษ์ชำนาญการ ร่วมเป็นกรรมการตัดสินการประกวดเล่านิทาน (Pubat Contest) งานเชียงใหม่บุ๊คแฟร์ ครั้งที่ ๙ ณ เชียงใหม่ฮอลล์ ศูนย์การค้าเซ็นทรัล เชียงใหม่ แอร์พอร์ต


ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง รายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกเพื่อจ้างบุคคลเป็นลูกจ้างชั่วคราว ตำแหน่งเจ้าพนักงานธุรการ 1/2567


Messenger