ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,933 รายการ
นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรมของกระทรวงวัฒนธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 – 2568 ณ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยเดินทางไปตรวจติดตามสถานการณ์น้ำ บริเวณโบราณสถานวัดไชยวัฒนาราม พร้อมทั้งประชุมหารือแนวทางและมาตรการป้องกันปัญหาน้ำท่วมโบราณสถานในพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา และติดตามความคืบหน้าการจัดทำรายงาน HIA การก่อสร้างรถไฟทางคู่ ในพื้นที่เกี่ยวเนื่องแหล่งมรดกโลกนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา
นางสาวสุดาวรรณ กล่าวว่า จากการตรวจติดตามสถานการณ์น้ำ บริเวณโบราณสถานวัดไชยวัฒนาราม ซึ่งตั้งอยู่ช่วงที่แม่น้ำเจ้าพระยาแคบที่สุด จึงมีความเสี่ยงที่ระดับน้ำจะล้นตลิ่งเมื่อถึงฤดูน้ำหลาก กรมศิลปากร โดยสำนักศิลปากรที่ 3 พระนครศรีอยุธยา จึงใช้วิธีป้องกันโดยการตั้งแผงป้องกันน้ำท่วมรูปแบบที่สามารถยกตั้งขึ้นและพับเก็บได้บริเวณด้านตะวันออกของวัดริมแม่น้ำ แนวป้องกันน้ำท่วมมีความยาว 160 เมตร สูงจากผิวบนสุดของขอบตลิ่งประมาณ 1.80 เมตร และสามารถต่อความสูงเพิ่มเติมเป็น 2.40 เมตร ส่วนด้านใต้ ด้านตะวันตก มีแนวกำแพงป้องกันน้ำถาวรก่อด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ส่วนด้านเหนือใช้แนวทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 3469 เป็นแนวป้องกัน นอกจากนี้ ยังมีพื้นที่โบราณสถานที่มีการดำเนินงานตั้งแนวป้องกันน้ำท่วม ซึ่งอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา จำเป็นต้องป้องกันการเกิดอุทกภัยทุกปี เพื่อรับรองสถานการณ์ภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้น โดยได้กำชับให้กรมศิลปากรบูรณาการการทำงานในการดูแลโบราณสถานสำคัญกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด
ทั้งนี้ พื้นที่นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ยังคงปรากฏความเสี่ยงด้านต่างๆ รวมถึงอุทกภัยที่อาจมีผลกระทบต่อแหล่งมรดกโลก ในระดับแผนปฏิบัติการ กรมศิลปากรได้บรรจุแผนงานมาตรการลดผลกระทบจากภัยพิบัติไว้ในร่างแผนปฏิบัติการการอนุรักษ์และพัฒนานครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา พุทธศักราช 2566 - 2575 ปัจจุบันอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ร่วมกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ยังคงดำเนินงานตามมาตรการป้องกันผลกระทบจากภัยที่อาจเกิดขึ้นในพื้นที่มรดกโลกนครประวัติศาสตร์พระนคร ศรีอยุธยา โดยมีการบริหารจัดการเป็นขั้นตอนในทุกปี มีการวิเคราะห์ปัญหาและจัดทำแผนการทำงาน ประชุมติดตามการดำเนินงานร่วมกับจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ยังได้ติดตามความคืบหน้าการจัดทำรายงานประเมินผลกระทบด้านทรัพย์สินทางวัฒนธรรม (Heritage Impact Assessments - HIA) ในการก่อสร้างรถไฟทางคู่ (รถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ - หนองคาย ช่วงสถานีอยุธยา) ในเขตพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา (ช่วงบ้านโพ - พระแก้ว) ซึ่งศูนย์มรดกโลกได้แสดงความกังวลและสอบถามข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโครงการรถไฟความเร็วสูง และขอให้มีการจัดทำรายงานฯ (HIA) ที่อาจมีต่อแหล่งมรดกโลกนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา โดยมีกำหนดแล้วเสร็จก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ณ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อีกทั้งจะเชิญผู้เชี่ยวชาญจากองค์กรที่ปรึกษาของคณะกรรมการมรดกโลกเดินทางลงพื้นที่ แหล่งมรดกโลกนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา และพื้นที่โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง เพื่อให้ คำปรึกษาแนะนำการประเมินและลดผลกระทบต่อแหล่งมรดกโลก ในช่วงเดือนกันยายน 2567
นอกจากนี้ กรมศิลปากรได้รายงานการดำเนินโครงการฟื้นฟูบูรณะวัดไชยวัฒนาราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างกรมศิลปากร สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย และกองทุนโบราณสถานโลกเข้ามาร่วมมือในการบูรณะโบราณสถานวัดไชยวัฒนาราม ตั้งแต่ พ.ศ. 2555 (ภายหลังน้ำท่วมใหญ่เมื่อ พ.ศ. 2554) จนถึงปัจจุบัน โดยมีการทำงานในรูปแบบคณะทำงานร่วมระหว่างผู้เชี่ยวชาญจากสหสาขาวิชาชีพของกรมศิลปากรและนักอนุรักษ์ชาวไทยและชาวต่างประเทศของกองทุนโบราณสถานโลก ที่ผ่านมาดำเนินงานหลัก 2 ด้าน ประกอบด้วยการอนุรักษ์โบราณสถานและการจัดอบรม/การประชุมเชิงปฏิบัติการ ซึ่งจะมีพิธีปิดโครงการอนุรักษ์วัดไชยวัฒนารามที่ใช้งบประมาณจากสถานทูตสหรัฐฯ ในเดือนพฤศจิกายน 2567
วันเสาร์ที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๖๗
ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง เจ้าหน้าที่สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรีธรรมราช (ภูเก็ต) ร่วมดำเนินกิจกรรมจิตอาสาพัฒนาแหล่งเรียนรู้ เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๗
โดยร่วมกันทำความสะอาด ขัดล้าง กำจัดวัชพืช ปรับระดับพื้น เพื่อทำการปรับปรุงภูมิทัศน์สวนหย่อมภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง
วันพฤหัสบดีที่ ๘ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๗ เวลา ๑๐.๓๐ น. นักเรียนจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลสะกาด อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ จำนวน ๘๕ คน คุณครู ๑๕ คน เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ โดยมีนางถนอม หลวงกลาง นายแก่นแก้ว หอมนวล พนักงานประจำห้อง ให้การต้อนรับและบรรยายนำชม
วันพฤหัสบดีที่ ๘ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๗ เวลา ๑๓.๓๐ น. นักเรียนจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดโมฬีวงษา ตำบลตรวจ อำเภอศรีณรงค์ จังหวัดสุรินทร์ จำนวน ๒๗ คน คุณครู ๕ คน เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ โดยมีนางถนอม หลวงกลาง พนักงานประจำห้อง ให้การต้อนรับและบรรยายนำชม
วันศุกร์ที่ ๙ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๗ เวลา ๑๒.๓๐ น. นักเรียนจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลอู่โลก อำเภอลำดวน จังหวัดสุรินทร์ จำนวน ๕๐ คน คุณครูและผู้ปกครอง ๓๐ คน เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ โดยมีนางสาวอภิญญา สุขใหญ่ นางศรีสุดา สีสด พนักงานประจำห้อง ให้การต้อนรับและบรรยายนำชม
วันศุกร์ที่ ๙ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๗ เวลา ๑๔.๐๐ น.นักเรียนชั้นอนุบาล ๑ ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ จากโรงเรียนบ้านโนนเรือคำบอน ตำบลสวนกล้วย อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน ๘๕ คน คุณครูและผู้ปกครอง ๓๘ คน เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ โดยมีนางถนอม หลวงกลาง นายแก่นแก้ว หอมนวล พนักงานประจำห้อง ให้การต้อนรับและบรรยายนำชม
วันที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๖๗ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งมน อ.ปราสาท จ.สุรินทร์ นำเด็กนักเรียน ผู้ปกครอง และเจ้าหน้าที่เข้าชมโบราณสถานปราสาทภูมิโปน อ.สังขะ จ.สุรินทร์ เพื่อเรียนรู้ประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่ของจังหวัดสุรินทร์ โดยมีนายกรภัทร์ สุขใหญ่ พนักงานประจำพิพิธภัณฑ์ เป็นผู้ต้อนรับและบรรยายให้ความรู้
กรมศิลปากรขอเชิญชวนผู้มีจิตศรัทธาร่วมงานกฐินพระราชทาน ณ วัดมงคลนิมิตร ตำบลตลาดใหญ่ อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต
ด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานผ้าพระกฐินให้กรมศิลปากร ไปทอดถวายที่ชุมนุมสงฆ์ ณ วัดมงคลนิมิตร ตำบลตลาดใหญ่ อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๖๗ ในวันเสาร์ที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๗ เวลา ๑๐.๐๐ น.
วันศุกร์ที่ ๑ พฤศจิกายน เวลา ๑๘.๐๐ น. จะมีพิธีสมโภชผ้าพระกฐินพระราชทานในและชมการแสดงโขน เรื่อง “รามเกียรติ์ ตอนศึก ขับพิเภก-พิเภกสวามิภักดิ์-ถอนต้นรัง-ยกรบ” ในเวลา ๑๙.๐๐ น.
สามารถร่วมทำบุญและอนุโมทนาในกุศลแห่งกาลทานครั้งนี้ เพื่อถวายพระราชกุศลได้ที่บัญชีธนาคารกรุงไทย สาขาถนนข้าวสาร ชื่อบัญชี การกุศลกรมศิลปากร เลขที่บัญชี ๐๒๗๐๓๓๔๔๔๐
กลุ่มอนุรักษ์โบราณสถาน สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา ดำเนินงานสำรวจเพื่อเขียนแบบสภาพปัจจุบันและแบบบูรณะ พระธาตุ ๒ องค์ ณ วัดหน้าพระธาตุ ตำบลตะคุ อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา ระหว่างวันที่ ๑-๔ สิงหาคม ๒๕๖๗
นายสุระเชฐ ขาวพะเนา นายช่างเขียนแบบ