ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,933 รายการ

เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์การบริหารงานพิพิธภัณฑ์และศิลปกรรมกับหน่วยงานทางวัฒนธรรมประเทศไต้หวัน


https://l.facebook.com/l.php?u=https%3A%2F%2Felibrary.constitutionalcourt.or.th%2Fdocument%2Fread.php%3Fbibid%3D1483%26cat%3D3%26typ%3D3%26file%3DNewsletter_132.pdf%26fbclid%3DIwZXh0bgNhZW0CMTEAAR0GIE5PnXNpgDQ37P_VjRrcnPSwExJMdOazpESlQw33tSHKfI5xwgHv9wk_aem_SiLSNwBJiJ0WqlbGoL0t8g&h=AT3s3ks0ftkPC_s1riGZhqobqcWFoN8O5pqZ6sG7oPcKH-8HrKg927IoCcJpeWwR2aZjXyogiLlJmkuXdP-YBnzcnvx0sPpkZaI_vocZlNpthx1bgCs7YOyS9K4fWFggOvaP&__tn__=H-R&c[0]=AT0cxOlVHv2HZrEw_7szswOe6pqNmV5Y9XFy7DaIO6KYOmJDm0VUGnsLDFL6GH8Sng1HXaOvrJNCZcJEoLucHA-OFh01_eeEQLLDL_7VQ_6wdX0Xqa3TGBJ-whyiqVDPyhLZPE6qMmRwcnzI3RQTsiOhiBFRdRTnR-eashODJVqGptgLNHpDkbclgoO2wm-rwJQ_d9-Mty13fcr_AyoWNpsznKn80a9i8cqA


            พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ขอเชิญร่วมกิจกรรม "workshop การเขียนลายรดน้ำ" โดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญจากสำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวเป็นโครงการบรรยายให้ความรู้ด้านทัศนศิลป์แก่สาธารณชน ประจำปี 2567 ของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป โดยนำลวดลายจากโบราณวัตถุมาเป็นต้นแบบในการออกแบบลวดลายและสร้างสรรค์ผลงาน เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ด้านศิลปะแบบไทยประเพณี วันเสาร์ที่ 31 สิงหาคม 2567 เวลา 12.30 - 16.00 น. (ลงทะเบียนเวลา 12.30 น. เริ่มกิจกรรมเวลา 13.00 น.) ณ ห้องอเนกประสงค์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป             ผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว สามารถสแกนคิวอาร์โค้ดจากสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อลงทะเบียนหรือสมัครทาง link นี้ https://docs.google.com/.../1FAIpQLSfdZJNvqEw4QB.../viewform  (รับจำนวนจำกัดเพียง 50 ท่านเท่านั้น)   


           พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี จัดกิจกรรม "วาดภาพ ระบายสีบอกรักแม่" ขอเชิญชวนน้อง ๆ วาดภาพ ระบายสี ประดิษฐ์การ์ดที่ระลึก เพื่อเป็นของขวัญบอกรักแม่ ณ มุมกิจกรรม Museum Kid's Zone ภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี สามารถร่วมกิจกรรมได้ฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่าย ตลอดเดือนสิงหาคมนี้ เปิดบริการวันพุธ - อาทิตย์ เวลา 09.00-16:00 น. ปิดวันจันทร์ – อังคาร สอบถามเพิ่มเติม โทร. 0 3721 1586 พิกัดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี อยู่ที่ ถ.ปราจีนอนุสรณ์ ต.หน้าเมือง อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี 25000 google map : https://maps.app.goo.gl/tAcTjUtEEgV7zY9s9


           พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ ขอเชิญชวนเข้าร่วมกิจกรรม Workshop เนื่องในวันพิพิธภัณฑ์ไทย ประจำปี 2567 “DIY การดุนลายบนแผ่นเงิน” โดย วิทยากรจากวิสาหกิจชุมชนวัดศรีสุพรรณ (กลุ่มหัตถศิลป์ล้านนา) วันเสาร์ที่ 7 กันยายน 2567 เวลา 09:00 -12:00 น. ณ ห้องประชุม พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ รับจำนวนจำกัดเพียง 50 คน (*อายุ 10 ปีขึ้นไป) ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนได้ที่ link นี้ https://forms.gle/8n7X9iW1w1rwwoNUA ร่วมกิจกรรมได้ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ inbox Facebook: Chiang Mai National Museum พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ หรือ โทร. 0 5322 1308


            การทำหนังสือขอใช้พื้นที่โบราณสถานโบสถ์พราหมณ์ หอพระอิศวร หอพระนารายณ์ หอพระสิหิงค์ หอพระสูง และกำแพงเมืองนครศรีธรรมราช อำเภอเมืองฯ จังหวัดนครศรีธรรมราช ในกรณีของหน่วยงานภาครัฐ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป มีขั้นตอนดำเนินการดังนี้             1. จัดทำหนังสือถึง ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ 12 นครศรีธรรมราช ในหนังสือฯ ระบุดังนี้                 - สถานที่ วันและเวลาจัดกิจกรรม                 - วัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรม                  - รูปแบบการจัดกิจกรรมเป็นอย่างไร หลักฐานประกอบ เช่น ผังการจัดงาน เป็นต้น                 - ชื่อ และ เบอร์โทรศัพท์ของผู้ประสานงานจากหน่วยงานนั้น ๆ             2. ส่งมาที่ สำนักศิลปากรที่ 12 นครศรีธรรมราช ถนนราชดำเนิน ตำบลในเมือง อำเภอเมืองฯ จังหวัดนครศรีธรรมราช 80000 หรือ E-mail: fad_12@finearts.go.th             3. สำนักศิลปากรที่ 12 นครศรีธรรมราช จะดำเนินการนำเสนออธิบดีกรมศิลปากร พิจารณาอนุญาต ต่อไป             สำนักศิลปากรที่ 12 นครศรีธรรมราช เปิดทำการ วันจันทร์ - วันศุกร์ ตั้งแต่เวลา 08.30 - 16.30 น. (ปิดทำการทุกวันเสาร์ - วันอาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์) ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม โทร. 0 7535 6458 หรือ Inbox Facebook : สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรีธรรมราช  


วันศุกร์ที่ ๑๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๗ เวลา ๐๙.๐๐ น.นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนวีรวัฒน์โยธิน อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ จำนวน ๓๐ คน คุณครู ๓ คน เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ โดยมีนางสาวอาภาภรณ์ เปล่งปลั่งศรี นักวิชาวัฒนธรรม ให้การต้อนรับและบรรยายนำชม


แนะนำ E-book  หนังสือหายากเรื่อง คำให้การเรื่องทัพญวน ในรัชกาลที่ 3.


แนะนำ E-book หนังสือหายากเรื่อง โขน


พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทรงทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวง ที่ทรงคำนวณพยากรณ์ไว้ล่วงหน้า ๒ ปี ว่าจะเกิดในวันอังคาร ขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีมะโรง สัมฤทธิศก จุลศักราช ๑๒๓๐  ตรงกับวันที่ ๑๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๑๑ โดยสามารถเห็นหมดดวงและชัดเจนที่สุด ณ บริเวณหมู่บ้านหว้ากอ ตำบลคลองวาฬ อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ทั้งหมดนี้ล้วนเกิดขึ้นตามที่พระองค์ได้ทรงคำนวณไว้อย่างแม่นยำทุกประการ ในวันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๕ คณะรัฐมนตรีได้มีมติเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็น “พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย” พร้อมกำหนดให้วันที่ ๑๘ สิงหาคม ของทุกปี เป็น “วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ” นอกจากนี้องค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก ได้ประกาศยกย่องพระเกียรติคุณของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และสื่อสารมวลชน เนื่องในโอกาสฉลองวันพระราชสมภพ ๒๐๐ พรรษา ในวันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ อีกด้วย เรียบเรียงโดย : นายธีรบูลย์ มิตรมโนชัย นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม แหล่งอ้างอิง : กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.  ๑๘ สิงหาคม วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๖๗,          จาก: https://www.youtube.com/watch?v=CC2y8vbsZAU, ๒๕๖๖. กระทรวงมหาดไทย.  ตอนที่ ๑๑ พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๖๗, จาก: https://moi.go.th/moi/พระบาทสมเด็จพระจอมเกล-11/, ๒๕๖๕. คณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว.  พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๔ ของเจ้าพระยาทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี          จัดพิมพ์เป็นที่ระลึกในโอกาสที่วันพระบรมราชสมภพครบ ๒๐๐ ปี วันที่ ๑๘ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๔๗.  [ซีดี].  กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, ๒๕๔๗. คณะอนุกรรมการฝ่ายจัดทำหนังสือที่ระลึก ในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในโอกาสที่วันพระราชสมภพครบ ๒๐๐ ปี           วันที่ ๑๘ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๔๗.  ประชุมหมายรับสั่งภาค ๕ ตอนที่ ๑ สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จ.ศ. ๑๒๑๓.           กรุงเทพฯ : คณะอนุกรรมการพิจารณาต้นฉบับจดหมายเหตุกรุงกรุงรัตนโกสินทร์ในคณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทย, ๒๕๔๘. สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. รัชกาลที่ ๔ เสด็จทอดพระเนตรสุริยุปราคา.  [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๖๗,           จาก: https://www.nat.go.th/คลังความรู้/คลังภาพทรงคุณค่า/รายละเอียดคลังภาพทรงคุณค่า/ArticleId/231/-4 ห้องสมุดดิจิทัลวัชรญาณ.  ๒๒๙. เสด็จทอดพระเนตรสุริยุปราคาที่หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๖๗,           จาก: https://vajirayana.org/พระราชพงศาวดาร-กรุงรัตนโกสินทร์-รัชชกาลที่-๔/๒๒๙-เสด็จทอดพระเนตรสุริยุปราคาที่หว้ากอ-จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์.  พระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔. [ออนไลน์].          สืบค้นเมื่อ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๖๗, จาก: ttps://www.facebook.com/photo/?fbid=1413957312090906&set=a.1413955205424450&locale=th_TH, ๒๕๖๒.


พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทรงทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวง ที่ทรงคำนวณพยากรณ์ไว้ล่วงหน้า ๒ ปี ว่าจะเกิดในวันอังคาร ขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีมะโรง สัมฤทธิศก จุลศักราช ๑๒๓๐  ตรงกับวันที่ ๑๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๑๑ โดยสามารถเห็นหมดดวงและชัดเจนที่สุด ณ บริเวณหมู่บ้านหว้ากอ ตำบลคลองวาฬ อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ทั้งหมดนี้ล้วนเกิดขึ้นตามที่พระองค์ได้ทรงคำนวณไว้อย่างแม่นยำทุกประการ ในวันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๕ คณะรัฐมนตรีได้มีมติเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็น “พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย” พร้อมกำหนดให้วันที่ ๑๘ สิงหาคม ของทุกปี เป็น “วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ” นอกจากนี้องค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก ได้ประกาศยกย่องพระเกียรติคุณของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และสื่อสารมวลชน เนื่องในโอกาสฉลองวันพระราชสมภพ ๒๐๐ พรรษา ในวันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ อีกด้วย เรียบเรียงโดย : นายธีรบูลย์ มิตรมโนชัย นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม แหล่งอ้างอิง : กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.  ๑๘ สิงหาคม วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๖๗,         จาก: https://www.youtube.com/watch?v=CC2y8vbsZAU, ๒๕๖๖. กระทรวงมหาดไทย.  ตอนที่ ๑๑ พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๖๗, จาก: https://moi.go.th/moi/พระบาทสมเด็จพระจอมเกล-11/, ๒๕๖๕. คณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว.  พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๔ ของเจ้าพระยาทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี         จัดพิมพ์เป็นที่ระลึกในโอกาสที่วันพระบรมราชสมภพครบ ๒๐๐ ปี วันที่ ๑๘ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๔๗.  [ซีดี].  กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, ๒๕๔๗. คณะอนุกรรมการฝ่ายจัดทำหนังสือที่ระลึก ในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในโอกาสที่วันพระราชสมภพครบ ๒๐๐ ปี          วันที่ ๑๘ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๔๗.  ประชุมหมายรับสั่งภาค ๕ ตอนที่ ๑ สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จ.ศ. ๑๒๑๓.          กรุงเทพฯ : คณะอนุกรรมการพิจารณาต้นฉบับจดหมายเหตุกรุงกรุงรัตนโกสินทร์ในคณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทย, ๒๕๔๘. สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. รัชกาลที่ ๔ เสด็จทอดพระเนตรสุริยุปราคา.  [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๖๗,          จาก: https://www.nat.go.th/คลังความรู้/คลังภาพทรงคุณค่า/รายละเอียดคลังภาพทรงคุณค่า/ArticleId/231/-4 ห้องสมุดดิจิทัลวัชรญาณ.  ๒๒๙. เสด็จทอดพระเนตรสุริยุปราคาที่หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๖๗,          จาก: https://vajirayana.org/พระราชพงศาวดาร-กรุงรัตนโกสินทร์-รัชชกาลที่-๔/๒๒๙-เสด็จทอดพระเนตรสุริยุปราคาที่หว้ากอ-จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์.  พระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔. [ออนไลน์].         สืบค้นเมื่อ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๖๗, จาก: ttps://www.facebook.com/photo/?fbid=1413957312090906&set=a.1413955205424450&locale=th_TH, ๒๕๖๒.


พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ เปิดให้บริการแก่ประชาชนและนักท่องเที่ยว ระหว่างวันที่ ๗-๑๑ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๗ มีผู้เข้าชมทั้งสิ้น ๕๙๗ คน


วันพฤหัสบดีที่ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๗ เวลา ๑๒.๐๐ น.นักเรียนชั้นอนุบาล ๒ ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนบ้านกระโดนค้อ(กระโดนค้อผดุงวิทยา) ตำบลช่างปี่ อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ จำนวน ๒๑๐ คน คุณครู ๒๐ คน เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ โดยมีนางสาวอาภาภรณ์ เปล่งปลั่งศรี นักวิชาวัฒนธรรม และพนักงานประจำห้องทุกคน ให้การต้อนรับและบรรยายนำชม


วันพฤหัสบดีที่ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๗ เวลา ๐๗.๐๐ น. สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา ได้มอบหมายให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ เข้าไปควบคุมดูแลการจัดงานบุญประเพณีประจำปี ๒๕๖๗ ที่ปราสาททนง บ้านปราสาท ตำบลปราสาททนง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ โดยมีนายกรภัทร์ สุขใหญ่ พนักงานประจำพิพิธภัณฑ์ เป็นผู้ควบคุมดูแลและอำนวยความสะดวก


แนะนำ E - book หนังสือหายากเรื่อง ประวัติมหาดไทยส่วนภูมิภาคจังหวัดจันทบุรี


Messenger