พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทรงทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวง ที่ทรงคำนวณพยากรณ์ไว้ล่วงหน้า ๒ ปี ว่าจะเกิดในวันอังคาร ขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีมะโรง สัมฤทธิศก จุลศักราช ๑๒๓๐ ตรงกับวันที่ ๑๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๑๑ โดยสามารถเห็นหมดดวงและชัดเจนที่สุด ณ บริเวณหมู่บ้านหว้ากอ ตำบลคลองวาฬ อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ทั้งหมดนี้ล้วนเกิดขึ้นตามที่พระองค์ได้ทรงคำนวณไว้อย่างแม่นยำทุกประการ
ในวันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๕ คณะรัฐมนตรีได้มีมติเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็น “พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย” พร้อมกำหนดให้วันที่ ๑๘ สิงหาคม ของทุกปี เป็น “วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ” นอกจากนี้องค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก ได้ประกาศยกย่องพระเกียรติคุณของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และสื่อสารมวลชน เนื่องในโอกาสฉลองวันพระราชสมภพ ๒๐๐ พรรษา ในวันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ อีกด้วย
เรียบเรียงโดย : นายธีรบูลย์ มิตรมโนชัย นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ
หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม
แหล่งอ้างอิง :
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. ๑๘ สิงหาคม วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๖๗,
จาก: https://www.youtube.com/watch?v=CC2y8vbsZAU, ๒๕๖๖.
กระทรวงมหาดไทย. ตอนที่ ๑๑ พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๖๗, จาก: https://moi.go.th/moi/พระบาทสมเด็จพระจอมเกล-11/, ๒๕๖๕.
คณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๔ ของเจ้าพระยาทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี
จัดพิมพ์เป็นที่ระลึกในโอกาสที่วันพระบรมราชสมภพครบ ๒๐๐ ปี วันที่ ๑๘ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๔๗. [ซีดี]. กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, ๒๕๔๗.
คณะอนุกรรมการฝ่ายจัดทำหนังสือที่ระลึก ในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในโอกาสที่วันพระราชสมภพครบ ๒๐๐ ปี
วันที่ ๑๘ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๔๗. ประชุมหมายรับสั่งภาค ๕ ตอนที่ ๑ สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จ.ศ. ๑๒๑๓.
กรุงเทพฯ : คณะอนุกรรมการพิจารณาต้นฉบับจดหมายเหตุกรุงกรุงรัตนโกสินทร์ในคณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทย, ๒๕๔๘.
สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. รัชกาลที่ ๔ เสด็จทอดพระเนตรสุริยุปราคา. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๖๗,
จาก: https://www.nat.go.th/คลังความรู้/คลังภาพทรงคุณค่า/รายละเอียดคลังภาพทรงคุณค่า/ArticleId/231/-4
ห้องสมุดดิจิทัลวัชรญาณ. ๒๒๙. เสด็จทอดพระเนตรสุริยุปราคาที่หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๖๗,
จาก: https://vajirayana.org/พระราชพงศาวดาร-กรุงรัตนโกสินทร์-รัชชกาลที่-๔/๒๒๙-เสด็จทอดพระเนตรสุริยุปราคาที่หว้ากอ-จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. พระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔. [ออนไลน์].
สืบค้นเมื่อ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๖๗, จาก: ttps://www.facebook.com/photo/?fbid=1413957312090906&set=a.1413955205424450&locale=th_TH, ๒๕๖๒.
(จำนวนผู้เข้าชม 198 ครั้ง)