ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,933 รายการ
สำนักหอสมุดแห่งชาติ ขอเชิญร่วมโครงการพัฒนาและส่งเสริมหอสมุดแห่งชาติเพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต ประจำปี 2567 กิจกรรม NLT Edutainment ประจำปี 2567 ครั้งที่ 2 รับฟังการเสวนา เรื่อง “เล่าประสบการณ์... จากบรรณารักษ์สู่นักเขียน” วิทยากรโดย นางสาวเก็จกาญจน์ คุ้มพวง นักเขียน (ผู้เข้ารอบ 8 คนสุดท้าย รางวัลชมนาด ปี 2566) ดำเนินรายการโดย นายสุวิชา โพธิ์คำ บรรณารักษ์ชำนาญการ สำนักหอสมุดแห่งชาติ ในวันพฤหัสบดีที่ 8 สิงหาคม 2567 เวลา 10.00-12.00 น. ณ โถงกลาง ชั้น 1 อาคาร 1 สำนักหอสมุดแห่งชาติ และยังสามารถรับชมการถ่ายทอดสดผ่านทาง Facebook Live : National Library of Thailand ได้ในวันและเวลาดังกล่าว https://www.facebook.com/NationalLibraryThailand
วันศุกร์ที่ ๒ สิงหาคม ๒๕๖๗ เจ้าหน้าที่สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา ดำเนินงานถากถางกำจัดวัชพืช ทำความสะอาดบริเวณแนวถนนโบราณหลังอาคารสำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา
.
.
.
...ศูนย์กลางการเรียนรู้และการท่องเที่ยว
มรดกศิลปวัฒนธรรมอีสานใต้แบบบูรณาการ...
( #นครราชสีมา #ชัยภูมิ #บุรีรัมย์ #สุรินทร์ #ศรีสะเกษ #มหาสารคาม )
สำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา 274 หมู่ 17 ถนนพิมาย-ชุมพวง
ตำบลในเมือง อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา 30110
Tel : 044-471518 , 044-481024
E-Mail : fed_10@finrarts.go.th
Website : www.finearts.go.th/fad10
Facebook : สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา กรมศิลปากร
Youtube : สำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา
วันจันทร์ที่ ๕ สิงหาคม ๒๕๖๗ นายทศพร ศรีสมาน ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา (ประธานตรวจการจ้าง) พร้อมด้วยคณะกรรมการตรวจการจ้างและผู้ควบคุมงาน ร่วมประชุมหารือในส่วนของงานสีเพื่อพิจารณาตัวอย่างสีน้ำอะคริลิค ชริดระบายความชื้น โครงการบูรณะโบราณสถานศาลาการเปรียญวัดโพธาราม ตำบลดงบัง อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม
ปราสาทตามอญ หรือ ปราสาทตามอย เป็นศาสนสถานก่อด้วยอิฐ สันนิษฐานว่า สร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 22-24 มีแผนผังรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีประตูทางเข้าด้านตะวันออกเพียงด้านเดียว ผนังอีกสามด้านก่อทึบ ส่วนหลังคาเหนือเรือนธาตุขึ้นไปก่อเป็นชั้นลดหลั่นกัน ส่วนยอดสุดพังทลายหักหายไป รูปแบบศิลปะกรรมเป็นแบบผสมผสานระหว่างศิลปะขอมและลาว
.
.
.
...ศูนย์กลางการเรียนรู้และการท่องเที่ยว
มรดกศิลปวัฒนธรรมอีสานใต้แบบบูรณาการ...
( #นครราชสีมา #ชัยภูมิ #บุรีรัมย์ #สุรินทร์ #ศรีสะเกษ #มหาสารคาม )
สำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา 274 หมู่ 17 ถนนพิมาย-ชุมพวง
ตำบลในเมือง อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา 30110
Tel : 044-471518 , 044-481024
E-Mail : fed_10@finrarts.go.th
Website : www.finearts.go.th/fad10
Facebook : สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา กรมศิลปากร
Youtube : สำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา
นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า กรมศิลปากรได้ดำเนินโครงการพัฒนาและเพิ่มศักยภาพพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง เป็นโครงการต่อเนื่อง 5 ระยะ ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – 2568 โดยซ่อมแซม ปรับปรุงอาคารจัดแสดงและนิทรรศการถาวรให้มีความทันสมัย ด้วยเทคนิคการจัดแสดงสมัยใหม่ที่น่าสนใจดึงดูดผู้เข้าชม และปรับปรุงข้อมูลการจัดแสดงให้เป็นปัจจุบัน มีมาตรฐานระดับสากล นำเสนอเรื่องราวของเมืองโบราณอู่ทองและวัฒนธรรมทวารวดีที่มีเอกลักษณ์โดดเด่น เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่สำคัญของชาติ
นิทรรศการภายในนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับเมืองโบราณอู่ทองและพื้นที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ กระทั่งเข้าสู่วัฒนธรรมทวารวดี ซึ่งเป็นวัฒนธรรมยุคแรกเริ่มประวัติศาสตร์ในประเทศไทย จัดแสดงโบราณวัตถุชิ้นเยี่ยมที่มีคุณค่าทางวิชาการจำนวนมาก และเก็บรักษาโบราณวัตถุวัฒนธรรมทวารวดี ที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของกรมศิลปากร หนึ่งในไฮไลท์สำคัญ คือ การจัดแสดงโบราณวัตถุชิ้นเยี่ยม ธรรมจักร แท่น และเสา พบจากการขุดแต่งเจดีย์หมายเลข 11 เมืองโบราณอู่ทอง อายุราวพุทธศตวรรษที่ 12 - 13 หรือประมาณ 1,300 – 1,400 ปีมาแล้ว ถือเป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงถึงการประดิษฐานธรรมจักรที่สมบูรณ์ที่สุดที่พบเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย ทำให้สันนิษฐานได้ว่าในสมัยทวารวดี มีการสร้างธรรมจักรประดิษฐานบนเสา ตั้งอยู่ด้านหน้าศาสนสถาน ทั้งนี้ ห้องจัดแสดงภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง ประกอบด้วย
1. ทวารวดี ปฐมบทแห่งประวัติศาสตร์ไทย ห้องวีดีทัศน์บรรยายสรุปเรื่องเมืองโบราณอู่ทองและวัฒนธรรมทวารวดี กล่าวถึงการติดต่อกับดินแดนภายนอก ทำให้เกิดการรับอารยธรรมจากอินเดียเข้ามาผสมผสานกับวัฒนธรรมดั้งเดิม เช่น การนับถือศาสนา การปกครองโดยระบบกษัตริย์ การสร้างงานศิลปกรรม และการใช้ตัวอักษรและภาษา
2. เมืองโบราณอู่ทอง : ศูนย์กลางแรกเริ่มของวัฒนธรรมทวารวดี จุดเชื่อมโยงเส้นทางการค้าในดินแดนสุวรรณภูมิ โบราณวัตถุสำคัญได้แก่ เหรียญโรมันจักรพรรดิวิคโตรินุส ชิ้นส่วนเครื่องถ้วยจากตะวันออกกลางประดับบนปูนปั้นสมัยทวารวดี เหรียญอาหรับ เครื่องถ้วยจีน และปูนปั้นรูปใบหน้าพ่อค้าชาวต่างชาติ และมีสื่อวีดีทัศน์ประกอบโมเดลภูมิประเทศ บอกเล่าเรื่องราวของเมืองโบราณอู่ทอง
3. โบราณคดีเมืองอู่ทอง: พ.ศ.2446 - ปัจจุบัน ศตวรรษสำคัญงานโบราณคดีในประเทศไทยจัดแสดงเรื่องงานโบราณคดีที่เมืองโบราณอู่ทอง ตั้งแต่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพเสด็จตรวจราชการเมืองอู่ทองใน พ.ศ.2446 จนถึงการดำเนินงานทางโบราณคดีโดยกรมศิลปากรในปัจจุบัน และจัดแสดงโบราณวัตถุที่ได้จากการขุดแต่งโบราณสถานเมืองโบราณอู่ทองซึ่งมีทั้งเจดีย์และวิหารเนื่องในศาสนาพุทธ และศาสนสถานเนื่องในศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู โบราณวัตถุชิ้นสำคัญ เช่น พระพุทธรูปปางแสดงธรรม สมัยทวารวดี จากเจดีย์หมายเลข 11
4. เจดีย์ วิหาร โบราณสถานทวารวดี: สถาปัตยกรรมแห่งศรัทธา ปฐมบทของพุทธศาสนาในดินแดนไทย จัดแสดงสถาปัตยกรรมสมัยทวารวดี ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมสมัยแรกของประเทศไทย โบราณวัตถุสำคัญ เช่น อิฐฤกษ์ ที่ใช้ในการประกอบพิธีกรรมวางฤกษ์เมื่อเริ่มสร้างศาสนสถาน และประติมากรรมปูนปั้นและดินเผาประดับศาสนสถาน
5. ลูกปัดและเครื่องประดับทองคำ: วัตถุล้ำค่า ความงามที่สะท้อนความรุ่งเรืองของเมืองโบราณอู่ทอง จัดแสดงลูกปัดและเครื่องประดับ ซึ่งพบบริเวณเมืองโบราณอู่ทองเป็นจำนวนมาก โบราณวัตถุสำคัญ เช่น ลูกปัดหินคาร์เนเลียนและอาเกต ซึ่งเป็นสินค้านำเข้าจากอินเดีย เครื่องประดับทองคำ สมัยทวารวดี และแผ่นดินเผารูปบุคคลฟ้อนรำ แสดงถึงการสวมใส่เครื่องประดับของผู้คนในสมัยทวารวดี
6. ศาสนาและความเชื่อ: จากพุทธภูมิสู่สุวรรณภูมิ อรุณรุ่งแห่งยุคประวัติศาสตร์ไทย จัดแสดงเรื่องศาสนาและความเชื่อที่เมืองโบราณอู่ทอง สันนิษฐานว่ามีการนับถือศาสนาพุทธแบบเถรวาทเป็นหลัก โดยมีการนับถือศาสนาพุทธแบบมหายานร่วมอยู่ด้วย นอกจากนี้ ยังพบหลักฐานการนับถือศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู และพบโบราณวัตถุที่แสดงถึงความเชื่อท้องถิ่นที่พบเฉพาะในวัฒนธรรมทวารวดี ที่ยังไม่สามารถสรุปคติในการสร้างอย่างแน่ชัด โบราณวัตถุสำคัญ ได้แก่ แผ่นดินเผารูปพระภิกษุอุ้มบาตร จารึกคาถาเย ธฺมมา ซึ่งเป็นคาถาหัวใจสำคัญของศาสนาพุทธ พระพิมพ์ภาพพระสาวกมีจารึก เศียรพระพุทธรูปทองคำ เอกมุขลึงค์ ตุ๊กตารูปคนจูงลิง
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี เปิดให้บริการวันพุธ – อาทิตย์ วันหยุดราชการพิเศษและวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 09.00 – 16.00 น. ค่าธรรมเนียมเข้าชม ชาวไทย 30 บาท ชาวต่างชาติ 150 บาท สอบถามเพิ่มเติมโทร 0 3555 1021
อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท จังหวัดอุดรธานี ได้รับการประกาศจากองค์การเพื่อการศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก ให้เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมแห่งใหม่ ในชื่อ “ภูพระบาท ประจักษ์พยานแห่งวัฒนธรรมสีมา สมัยทวารวดี” (Phu Phrabat, a testimony to the Sīma stone tradition of the Dvaravati period) เมื่อวันเสาร์ที่ 27 กรกฎาคม 2567 ถือเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมแห่งที่ 5 ของประเทศไทย ต่อจากนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี และเมืองโบราณศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ ที่ได้รับการประกาศในปีที่ผ่านมา โดยอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาทได้รับการประกาศให้เป็นมรดกโลกภายใต้คุณค่าโดดเด่นอันเป็นสากล ได้แก่ การรักษาความเป็นของแท้และดั้งเดิมของแหล่งวัฒนธรรม สีมาหินสมัยทวารวดี และเป็นประจักษ์พยานที่ยอดเยี่ยมของการสืบทอดของวัฒนธรรมดังกล่าวที่ต่อเนื่องอย่างยาวนานกว่าสี่ศตวรรษ โดยเชื่อมโยงเข้ากับประเพณีของวัดฝ่ายอรัญวาสีในเวลาต่อมา
กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมศิลปากร ได้ประกาศยกเว้นค่าธรรมเนียมเข้าชมอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท จังหวัดอุดรธานี ระหว่างวันที่ 28 กรกฎาคม – 12 สิงหาคม 2567 เพื่อให้ประชาชนคนไทยทุกคน ตลอดจนนักท่องเที่ยวต่างชาติได้ร่วมเฉลิมฉลองการประกาศขึ้นทะเบียนภูพระบาทเป็นมรดกโลกในครั้งนี้ และขอแนะนำการเดินทางไปท่องเที่ยวอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท บ้านติ้ว ตำบลเมืองพาน อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ดังนี้
ขอเชิญร่วมกิจกรรม บาร์บีคิวผลไม้ -ในโครงการ KIDsเรียนรู้ @หอสมุดแห่งชาติฯ กาญจนบุรี-อุปกรณ์ฟรี -สอนฟรี-แล้วพบกันนะคะ
วันพฤหัสบดีที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๖๗ นายธนกร การิสุข นักศึกษาสาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มอบเอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน) จำนวน ๑ ผูก ให้หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ โดยมีนางสาวสุคนธ์ทิพย์ จันทะลุน บรรณารักษ์ชำนาญการ เป็นผู้รับมอบ
วันพุธที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๗ นางสาวปุณณภา สุขสาคร ผู้อำนวยการหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ พร้อมด้วยบุคลากร เข้าร่วมพิธีเปิดงาน ห้องสมุดสุดสุขสันต์ อัศจรรย์สุนทรภู่ ชาติเชิดชูภาษาไทย ณ ลานโดมความรู้ โรงเรียนอนุบาลเชียงใหม่ นอกจากนี้บุคลากรหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ จัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ฯ ในวันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๗ - ๑ สิงหาคม ๒๕๖๗ โดยมีกิจกรรม ดังนี้
๑. Face Stickers by NL-CNX (สำหรับนักเรียนระดับปฐมวัย - ประถมศึกษาปีที่ ๔)
๒. ร้อยรักถักทอกับหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ (สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ - ๖)