ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,012 รายการ

วันอาทิตย์ที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๖ เวลา ๐๙.๐๐ น. โรงเรียนสวายวิทยาคาร ตำบลสวาย อำเภอเมืองฯ จังหวัดสุรินทร์ นำคณะนักเรียนแลกเปลี่ยนจากประเทศญี่ปุ่น จำนวน ๑๐ คนเข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ โดยมีนายกรภัทร์  สุขใหญ่ พนักงานประจำพิพิธภัณฑ์ ให้การต้อนรับและบรรยายนำชม



  สำนักราชเลขาธิการ. พระราชประวัติสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7. กรุงเทพฯ: สำนักราชเลขาธิการ, 25๒๘.   ๓๖ หน้า. ภาพประกอบ                 หนังสือเล่มนี้ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระอนุสรณ์ถึง สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ 7  ซึ่งเสด็จสวรรคต เมื่อวันอังคารที่ ๒๒ พฤษภาคม พุทธศักราช 2527 และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐานพระบรมศพไว้ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุปทานถวายเป็นลำดับมา และโปรดเกล้าฯให้ประกอบการพระราชประเพณีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ณ พระเมรุมาศท้องสนามหลวง และมีพระราชดำรัสเหนือเกล้าฯ สั่งให้สำนักราชเลขาธิการรวบรวมพระฉายาลักษณ์ พระราชกรณียกิจ และพระราชประวัติ ของ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ฯ เลือกสรรเรียบเรียงจัดพิมพ์ขึ้น สำหรับพระราชทานเป็นที่ระลึกในงาน เพื่อเผยแพร่พระกิตติคุณที่ได้ทรงปฏิบัติบำเพ็ญพระราชกรณียกิจเป็นคุณประโยชน์อันยิ่งใหญ่แก่แผ่นดิน                     ท              923.1593                ร468ร                   ฉ.2             (ห้องจันทบุรี)


สถาบันราชภัฏรำไพพรรณี. พระมิ่งขวัญรำไพพรรณี. จันทบุรี: สถาบันราชภัฏรำไพพรรณี, 2543.  57 หน้า. ภาพประกอบ                 “วังสวนบ้านแก้ว ” สถานที่ ที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นที่ประทับของสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ ๗ เป็นเวลาอันยาวนานถึง 18 ปี ด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณในสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ฯ สถาบันราชภัฏรำไพพรรณีและชาวจันทบุรี จึงได้จัดสร้างพระบรมราชินยานุสรณ์สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีขึ้น พร้อมทั้งจัดทำหนังสือพระราชประวัติสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระมิ่งขวัญรำไพพรรณี   ฉบับนี้ เพื่อเป็นที่ระลึกในวโรกาสนี้ด้วย                    ท              923.2593                ร468พ                  ฉ.2             (ห้องจันทบุรี)


สุพจน์ ไชยสังข์. สองทศวรรษรำไพพรรณี. จันทบุรี: วิทยาลัยรำไพพรรณี, 2535.   152 หน้า. ภาพประกอบ                 ในโอกาสที่ วิทยาลัยรำไพพรรณี (มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี) ครบรอบ ๒๐ ปี (๒๕๑๕-๒๕๓๕) วิทยาลัยรำไพพรรณี จึงจัดทำหนังสือเล่มนี้ขึ้น  ตลอดระยะเวลา ๒๐ ปี ความศรัทธาและเจตนารมณ์ที่ต้องการจะสร้างครู ให้กับจังหวัดจันทบุรี การทุ่มเทกำลังกาย-ใจ ของคณาจารย์และเจ้าหน้าที่ สนับสนุนงานของสถาบันให้เติบโต จากหน่วยงานเล็ก....พัฒนามาเป็นลำดับ จนเป็นวิทยาลัยรำไพพรรณีดั่งที่เป็นอยู่ เพื่อให้เป็นที่รู้จักของชาวจันทบุรี และจังหวัดใกล้เคียง ได้แก่ จังหวัดตราด จันทบุรี ระยอง ชลบุรี และฉะเชิงเทรา                    ท                375.05                ส826ส             (ห้องจันทบุรี)


รังสรรค์ เจริญลาภ. รวมสุดยอดพระเครื่องเมืองจันทบุรี. ม.ป.ท.: ม.ป.พ., ม.ป.ป.  153 หน้า. ภาพประกอบ                 เป็นหนังสือที่รวบรวมพระเครื่องและวัตถุมงคล ของจังหวัดจันทบุรี จัดพิมพ์เป็นที่ระลึกในงานประกวดการอนุรักษ์ พระบูชา พระเครื่อง และเหรียญคณาจารย์ ซึ่งมีพระกรุต่างๆ เช่น พระยอดธง กรุวัดพลับ มีชื่อเสียงโด่งดังไม่แพ้พระเครื่องจากจังหวัดใดๆในประเทศไทย เนื้อหาด้านใน ประกอบด้วย ประวัติจันทบุรี ประวัติวัดพลับ บางกะจะ จังหวัดจันทบุรี และวัตถุมงคลต่างๆที่มีชื่อเสียงในจังหวัดจันทบุรี                    ท               294.31218                ร314ร             (ห้องจันทบุรี)  


บรรณานุกรมรายชื่อหนังสือใหม่ห้องจันทบุรี ประจำเดือน  ธันวาคม  2566 หมวด 200 ศาสนา รังสรรค์ เจริญลาภ.  รวมสุดยอดพระเครื่อง เมืองจันทบุรี.  ม.ป.ท.: ม.ป.พ., ม.ป.ป. (ท 294.31218 ร314ร )   หมวด 300 สังคมศาสตร์ สุพจน์  ไชยสังข์.  สองทศวรรษรำไพพรรณี.  จันทบุรี: วิทยาลัยรำไพพรรณี, 2535.             (ท 378.05 ส826ส )   หมวด 600 เทคโนโลยี ภูษาศิลป์ จากท้องถิ่น....สู่สากล.  กรุงเทพฯ: สำนักปลัดกระทรวงวัฒนธรรม, 2565. (ท 677.02864 ภ697 ฉ.03 )   หมวด 900 ประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์ สถาบันราชภัฎรำไพพรรณี.  พระมิ่งขวัญรำไพพรรณี.  จันทบุรี: สถาบันราชภัฎรำไพพรรณี, 2543.    (ท 923.2593 ร468พ ) สำนักราชเลขาธิการ.  พระราชประวัติสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ 7.  กรุงเทพฯ: สำนักราชเลขาธิการ, 2528.    (ท 923.1593 ร468ร ฉ.02 )   -----------------------------------------


วันที่ 23 ธันวาคม 2566 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา ให้การต้อนรับคณะครู และน้อง ๆ นักเรียน จากโรงเรียนสายบุรีอิสลามวิทยา อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี จำนวน 101 คน


ล้อมวงเล่าเรื่องเมืองพิมาย... “ลัดเลาะเล่าเรื่อง รอบเมืองพิมาย ผ่านภาพถ่ายเก่า” วิทยากรโดย นายกิตติพงษ์ สนเล็ก ผู้อำนวยการกลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา ดำเนินรายการโดย นายวรรณพงษ์ ปาละกะวงษ์ ณ อยุธยา นักโบราณคดีปฏิบัติการ กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา ในวันเสาร์ที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๖๖ #กิจกรรมท่องเที่ยวปราสาทพิมายยามค่ำคืน #PhimaiNightLightUp #อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย




แนะนำ E-book หนังสือหายาก เรื่อง ตำนานพระเจ้า 7 พระองค์เชียงใหม่ และ ประวัตินายทิพย์ช้าง ฉบับแปล


แนะนำ E-book หนังสือหายากเรื่อง อีสานล่าง



วันที่ 22 ธันวาคม 2566 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา ให้การต้อนรับคณะครู และน้อง ๆ นักเรียน จากโรงเรียนสายบุรีอิสลามวิทยา อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี จำนวน 152 คน


Messenger