ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,012 รายการ
วันที่ 21 ธันวาคม 2566 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา ให้การต้อนรับคณะครู และน้อง ๆ นักเรียน จากโรงเรียนปาล์มพัฒนวิทย์ อำเภอมะนัง จังหวัดสตูล จำนวน 96 คน
วันพฤหัสบดีที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๖๖ เวลา ๑๓.๓๐ น.
นางสาวศิริวรรณ ตั้นพันธ์ นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ รักษาราชการแทนวัฒนธรรมจังหวัดภูเก็ต ได้รับมอบหมายจากผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ให้เป็นประธานในที่ประชุมการพิจารณาการส่งออกโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ออกนอกราชอาณาจักร ครั้งที่ ๑๐/๒๕๖๖
โดยมีนางสาวบุศรินทร์ อินทสิทธิ์ ผู้อำนวยการส่วนบริการด่านศุลกากร ท่าอากาศยานภูเก็ต นางสาวนภัคมน ทองเฝือ นักโบราณคดีชำนาญการ ปฏิบัติราชการแทนผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรีธรรมราช นายกานต์ รับสมบัติ หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง พร้อมด้วยคณะกรรมการ เจ้าหน้าที่ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม ซึ่งในการพิจารณาครั้งนี้มีการขออนุญาตส่งออกพระพุทธรูป แลศิลปวัตถุ จำนวน ๕ รายการ ๕ ชิ้น
วันพฤหัสบดีที่ ๒๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๖ เวลา ๑๐.๐๐ น. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ จากโรงเรียนอนุบาลวัดพระโต ตำบลหนองครก อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน ๑๕๕ คน คุณครู ๑๔ คน เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์โดยมีนายกรภัทร์ สุขใหญ่ พนักงานประจำพิพิธภัณฑ์ นางถนอม หลวงกลาง พนักงานประจำห้อง ให้การต้อนรับและบรรยายนำชม
วันพฤหัสบดีที่ ๒๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๖ เวลา ๐๙.๐๐ น. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๒ จากโรงเรียนวัดบ้านตานีวิทยา ตำบลตานี อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ จำนวน ๙๐ คน คุณครู ๑๐ คน เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์โดยมีนพรัศม์ เมธีวราธนานันท์ ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ นางสาวอาภาภรณ์ เปล่งปลั่งศรี นักวิชาการวัฒนธรรม ให้การต้อนรับและบรรยายนำชม
คณะครู นักเรียนโรงเรียนบ้านบุ่งเขียว จังหวัดอำนาจเจริญ โรงเรียนบ้านทุ่งไฮ จังหวัดอุบลราชธานี เเละโรงเรียนนารีวิทยา จังหวัดสุรินทร์ เข้าชมแหล่งเรียนรู้ทางด้านประวัติศาสตร์โบราณสถานปราสาทสระกำแพงใหญ่ อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ ในวันศุกร์ที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๖๖
ปราสาทตามอญ โบราณสถานเป็นอาคารก่ออิฐองค์เดียว มีแผนผังรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีประตูทางเข้าด้านตะวันออกเพียงด้านเดียว ผนังอีกสามด้านก่อทึบ ส่วนหลังคาเหนือเรือนธาตุขึ้นไปก่อเป็นชั้นลดหลั่นกัน ส่วนยอดสุดพังทลายหักหายไป รูปแบบศิลปะกรรมเป็นแบบผสมผสานระหว่างศิลปะขอมและลาว สร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 22-24
ปราสาทตามอญ ตำบลบัวเชด อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์
การประชุมวิชาการระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกว่าด้วยมรดกวัฒนธรรมใต้น้ำครั้งที่ 5 มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับมรดกทางวัฒนธรรมใต้น้ำของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยร่วมกันหารือเกี่ยวกับกลยุทธ์สำหรับการจัดการและการคุ้มครอง โดยเน้นย้ำถึงความสำคัญของความรู้ทางนิเวศวิทยาแบบดั้งเดิม และเน้นย้ำถึงคุณค่าของมรดกทางวัฒนธรรมใต้น้ำในการจัดการกับภัยคุกคามใหม่ เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การประชุมมุ่งสำรวจว่าโบราณคดีทางทะเลและใต้น้ำสามารถมีส่วนช่วยให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนข้อ 14 ได้อย่างไร คณะผู้อภิปรายได้รับการสนับสนุนให้มุ่งเน้นไปที่แนวทางสหวิทยาการ ผสมผสานความรู้ทางนิเวศวิทยาแบบดั้งเดิมเข้ากับการศึกษาอดีตทางทะเลของภูมิภาค ผู้เข้าร่วมจากภาคส่วนต่าง ๆ สามารถนำเสนอและเข้าร่วม ซึ่งเป็นการสานต่อความสำเร็จของการประชุมระดับภูมิภาคครั้งก่อน ๆ
เพื่อนำเสนอผลงานทางวิชาการภายใต้หัวข้อการนำเสนอ “Discussion on the Traces of an Early Phase Lashed-lug Boats of Southeast Asia ”
การจัดการประชุมวิชาการด้านมรดกทางวัฒนธรรมใต้น้ำในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ครั้งที่ 5 ปี 2023 เพื่อพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับมรดกทางวัฒนธรรมทางทะเล การพัฒนาการจัดการและยุทธศาสตร์การป้องกันมรดกทางวัฒนธรรมทางทะเลในภูมิภาคเอเชียและประเทศในมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งปัจจุบันด้วยสภาวะโลกร้อนได้ทำให้สภาพแวดล้อมทางทะเลรวมทั้งมรดกทางวัฒนธรรมที่อยู่ใต้น้ำได้รับผลกระทบ โดยผลของการประชุมทางวิชาการครั้งนี้มุ่งหวังให้มีการทำความเข้าใจอดีตเพื่อนำไปพัฒนายุทธศาสตร์และหนทางแก้ไขที่ยั่งยืนอนาคต
โครงการเผยแพร่ องค์ความรู้เกร็ดโขนผ่ านงานศิลปวัฒนธรรมร่ วมสมัยสู่ ระดับนานาชาติ
พุทธศักราช ๒๕๖๖ เป็นโครงการที่กระทรวงวัฒนธรรมร่วมกับมูลนิธิสมเด็จพระพั นวัสสาอัยยิกาเจ้า
สนับสนุนการดำเนินงาน โดยมี ท่านผู้หญิงสิริกิติยา เจนเซน ที่ปรึกษาโครงการ ฯ และนายจิตติ ชมพี
ผู้อำนวยการโครงการฯ นำคณะผู้แสดง และวิทยากรจากประเทศไทย เดินทางเข้าร่วมงานตามคำเชิญให้
เข้าร่วม จัดแสดงผลงานจากโค รงการฯ ณ เมืองลารอแชลและเมืองลิโมจ สาธารณรัฐ ฝรั่งเศส จัดโดย
Maison des Ecritures & Centre In termondes, Ville de La Rochelle และ ณ เมืองซานเตียโกเด
กาลี สาธารณรัฐโคลอมเบีย ภายใต้งาน Bienal International de Danza de Cali จัดโดยกระทรวง
วั ฒนธรรมแห่งสาธารณรัฐโคลอมเบีย เพื่อเป็นการเผยแพร่ ศิลปวัฒนธรรมให้เป็ นที่แพร่หลายในสังคมโลก
สร้างภาพลักษณ์ ชื่อเสียงให้กับประเทศไทย ทั้งยังเป็นการสร้างเครือข่ายทางศิลปะ กระชับความสัมพันธ์
ระหว่างประเทศเพื่อประโยชน์ในด้านอื่นๆต่อไป โดยมีกิจกรรมที่เกิดขึ้นดังนี้
- การเสวนา Miscellany of Khon โดยท่านผู้หญิงสิริกิติยา เจนเซน ในหัวข้อ The Theatre et
Khon dance : between traditional and contemporary
- การฉายภาพยนตร์สารคดี Miscellany of Khon
- การบรรยายและสาธิตการแสดงในหัวข้อเกร็ดดนตรีสำหรับการแสดงโขน การออกแบบเสียงในการ
แสดง ด้วยแนวคิด Minimalism โดย รศ. ดร. พรประพิตร์ เผ่าสวัสดิ์ และกรมศิลปากร
- เปิดตัวหนังสือเกร็ดโขน ครั้งแรกในทวีปยุโรปและทวีปอเมริกาใต้
- การแสดง School of Ganesh รอบปฐมทัศน์
- Workshop นาฏศิลป์ ให้กับผู้สนใจ โดยกรมศิลปากร
- Workshop ให้กับนักศึกษา โดยนายจิตติ ชมพี
ปราสาทจอมพระ ก่อสร้างด้วยศิลาแลงและใช้หินทรายประกอบ หันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีองค์ประกอบและแผนผังเหมือนกับอโรคยศาลแห่งอื่น ประกอบด้วย
1. ปราสาทประธาน รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้าง 5 เมตร ยาว 5 เมตร มีมุขยื่นออกมาด้านหน้า คือทิศตะวันออกเป็นทางเข้า มีขนาดกว้างประมาณ 2 เมตร ยาว 3 เมตร มีชาลาด้านหน้า
2. บรรณาลัย รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ตั้งหันหน้าเข้าหาปราสาทประธาน อยู่ทางมุมตะวันออกเฉียงใต้
3. กำแพงแก้ว ล้อมรอบปราสาทและบรรณาลัย มีซุ้มประตูอยู่กึ่งกลางกำแพงด้านตะวันออก
4. สระน้ำ 1 สระ อยู่นอนกำแพงแก้ว ทางมุมตะวันออกเฉียงเหนือ จากการขุดแต่งพบโบราณวัตถุสำคัญ ได้แก่ ประติมากรรมหินทรายรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรสี่กร ประทับนั่งบนแผ่นหิน เทวสตรี พระพุทธรูปนาคปรกหินทราย และ แท่งจารึกหินทราย
ปราสาทจอมพระ ตำบลจอมพระ อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ เปิดให้บริการแก่ประชาชนและนักท่องเที่ยว ระหว่างวันที่ ๑๓-๑๗ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๖
มีผู้เข้าชมทั้งสิ้น ๖๘๕ คน