ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,974 รายการ
กรมศิลปากรได้ดำเนินการจัดทำบอร์ดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย พุทธศักราช ๒๕๖๗ เพื่อเผยแพร่พระราชกรณียกิจด้านศิลปวัฒนธรรม เพื่อพสกนิกรชาวไทยจะได้น้อมรำลึกและเจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาทในการสร้างสรรค์ และธำรงรักษามรดกของชาติให้ยั่งยืนสืบไป
สำนักศิลปากรที่ ๔ ลพบุรี ขอเชิญร่วมฟังการเสวนาทางวิชาการ "สุดยอดการค้นพบใหม่" ในทศวรรษที่ผ่านมาของกรมศิลปากร เนื่องในงานสัปดาห์วันอนุรักษ์มรดกไทย พุทธศักราช ๒๕๖๗ หัวข้อ "การค้นพบภาพเขียนสีและแหล่งฝังศพยุคก่อนประวัติศาสตร์ครั้งแรกในภาคกลางของประเทศไทย ถ้ำเลียงผา เขาผาแรต อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี" วิทยากรโดย นายเดชา สุดสวาท นักโบราณคดีชำนาญการพิเศษ นายเจตน์กมล วงษ์ท้าว นักโบราณคดีชำนาญการ และนายปริวรรษ เจียมจิตต์ นักโบราณคดีปฏิบัติการ ในวันพฤหัสบดีที่ ๔ เมษายน ๒๕๖๗ เวลา ๑๓.๓๐ - ๑๕.๐๐ น. ณ ห้องประชุมอาคารดำรงราชานุภาพ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมฟังการเสวนา ผ่านการสแกน QR Code หรือตามลิงก์นี้ https://shorturl.at/alrNO รวมทั้งยังสามารถติดตามชมการถ่ายทอดสดได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม
สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ ขอเชิญร่วมฟังการเสวนาทางวิชาการ "สุดยอดการค้นพบใหม่" ในทศวรรษที่ผ่านมาของกรมศิลปากร เนื่องในงานสัปดาห์วันอนุรักษ์มรดกไทย พุทธศักราช ๒๕๖๗ หัวข้อ "ข้อมูลใหม่จากวรรณกรรมอำพราง" ในวันศุกร์ที่ ๕ เมษายน ๒๕๖๗ เวลา ๑๓.๓๐ - ๑๕.๓๐ น. โดยมีนายบุญเตือน ศรีวรพจน์ ศิลปินแห่งชาติและผู้ทรงคุณวุฒิด้านอักษรศาสตร์ พร้อมด้วยนักอักษรศาสตร์กลุ่มภาษาและวรรณกรรม สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ ร่วมเป็นวิทยากรนำเสนอข้อมูลใหม่ด้านวรรณคดีไทยจากการดำเนินงานในทศวรรษที่ผ่านมาของกรมศิลปากร ผู้สนใจสามารถรับชมการถ่ายทอดสดได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม
ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะคณะอนุกรรมการคัดเลือกข้าราชการพลเรือนดีเด่น ได้แจ้งให้กรมศิลปากรดำเนินการคัดเลือกข้าราชการพลเรือนดีเด่น ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๖ เพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติและประกาศเกียรติคุณแก่ข้าราชการและลูกจ้างประจำ ซึ่งได้ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี เสียสละและอุทิศตนสร้างประโยชน์แก่ทางราชการและประเทศชาติ สมควรได้รับการยกย่องสรรเสริญเป็นเกียรติประวัติในการทำงาน โดยพิจารณาคัดเลือกให้เป็นข้าราชการและลูกจ้างประจำดีเด่น ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๖ ซึ่งผู้ได้รับการคัดเลือกเป็นข้าราชการพลเรือนดีเด่นจะได้รับเข็มเชิดชูเกียรติ เกียรติบัตรยกย่องเชิดชูเกียรติ และได้รับบันทึกประวัติในหนังสือที่ระลึกข้าราชการพลเรือนดีเด่น ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๖
คณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกข้าราชการพลเรือนดีเด่นและผู้ปฏิบัติงานดีเด่นในสังกัดกรมศิลปากร ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๖ ได้พิจารณาและมีมติคัดเลือกฯ เรียบร้อยแล้ว โดยผู้ได้รับคัดเลือกเป็นข้าราชการพลเรือนดีเด่น ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๖ ได้แก่
๑. นางสาวมนัชญา วาจก์วิศุทธิ์ ข้าราชการพลเรือนสามัญ
ตำแหน่งสถาปนิกชำนาญการพิเศษ สำนักสถาปัตยกรรม
๒. นางสาวพิมพ์นารา กิจโชติประเสริฐ ข้าราชการพลเรือนสามัญ
ตำแหน่งนักโบราณคดีชำนาญการพิเศษ กองโบราณคดี
สารคดีเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และวันอนุรักษ์มรดกไทย ๒ เมษายน ๒๕๖๗ สามารถรับชมสารคดีเฉลิมพระเกียรติฯ ได้ที่นี่โดย คณะกรรมการอำนวยการวันอนุรักษ์มรดกไทย
สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา เข้าร่วมกิจกรรมจิตอาสาอนุรักษ์และพัฒนาโบราณสถานสระเพลง เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ๒ เมษายน ๒๕๖๗ วันอนุรักษ์มรดกไทย ประจำปี ๒๕๖๗ ณ โบราณสถานสระเพลง ตำบลในเมือง อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา
โดย : อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย
#จิตอาสา #สำนักศิลปากรที่๑๐นครราชสีมา
นักท่องเที่ยวเข้าเยี่ยมชมเมืองโบราณโนนเมือง ประจำเดือนมีนาคม 2567 รวมทั้งหมด 789 คน ดังนี้* ชาวไทย ชาย 137 คน หญิง 132 คน รวมเป็น 269 คน* ชาวต่างชาติ ขาย 3 คน หญิง - คน รวมเป็น 3 คน* นักเรียน/นักศึกษา ชาย 253 คน หญิง 255 รวมเป็น 508 คน
* นักบวช ชาย 9 คน หญิง - คน รวมเป็น 9 คน* แขกราชการ ชาย - คน หญิง - คน รวมเป็น - คน
จากกระแสการประกวด มิสแกรนด์ไทยแลนด์ 2024 รอบชุดประจำจังหวัด เพื่อค้นหาที่สุดแห่งชุดประจำชาติ (Miss Grand Thailand 2024 : National Costume Competition) ชุดที่ถูกพูดถึงจนกลายเป็นไวรัลที่สุดในขณะนี้คือ พลอย-นันทิชา ยังวัฒนา มิสแกรนด์นครราชสีมา 2024 กับชุด "ย่าโม" ที่มาในรูปแบบของ อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี
และนี่คือภาพถ่ายรูปปั้นต้นแบบท้าวสุรนารี (เปรียบเทียบกับขนาดคนจริง) ปั้นโดยศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ปั้นต้นแบบราวต้นเดือนมกราคม พ.ศ.2477 ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่หอประติมากรรมต้นแบบ กรุงเทพฯ
ตอนนี้ที่จังหวัดนครราชสีมากำลังมี "งานย่าโม" ซึ่งจัดขึ้นเพื่อฉลองชัยชนะและเชิดชูวีรกรรมอันกล้าหาญ และความเสียสละของท้าวสุรนารีและวีรชนทุ่งสัมฤทธิ์ ระหว่างวันที่ 23 มีนาคม – 3 เมษายน 2567
หากจะถามว่าอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารีมีมาแต่ไหน คงต้องย้อนไปอ่านในสาส์นสมเด็จที่ระบุถึงเรื่องราวและรูปต้นแบบก่อนที่เราจะเห็นเป็นอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารีในปัจจุบัน
"กถามรรค จะทูลถวายเรื่องกรมศิลปากรเขากำลังปั้นรูปท่านผู้หญิงโมกันอยู่ ในว่าจะหล่อเอาไปตั้งเป็นอนุสาวรีย์ประตูชัยโคราช มีขนาดสูง 4 ศอก เลยทำเป็นรูปหญิงสาวตัดผมปีก ยืนถือดาบ นุ่งจีบ ห่มผ้า สไบเฉียง"
“ต่อมาเกล้ากระหม่อมไปที่ศิลปากรสถาน เห็นนายเฟโรจี (ศิลป์ พีระศรี) ปั้นดินเป็นรูปผู้หญิงยืนถือดาบอยู่ตัวเล็กๆ หลายตัว ท่าต่างๆกัน ถามว่าทำอะไร แกบอกว่าทำผู้หญิงโคราช ใครก็ไม่รู้ที่รบกับผู้ชายนั้น เกล้ากระหม่อมก็เข้าใจ แล้วได้แนะนำว่าเราไม่รู้จักตัว หน้าตาเป็นอย่างไรก็ไม่รู้ทำไม่ได้ดอก ทำ Allegory (สัญลักษณ์แฝงความหมาย) เป็นนางฟ้าถือดาบดีกว่า แกเห็นด้วย ต่อมาอีกสองสามวัน เกล้ากระหม่อมไปอีก เห็นแกปั้นไว้น่าเอนดูดี เป็นผู้หญิงสาวผมยาวประบ่า ใส่มาลาคือพวกดอกไม้สด นุ่งจีบ ห่มสะไบสะพักสองบ่า ยืนถือดาบ เกล้ากระหม่อมเห็นแล้วก็รับรองว่าอย่างนี้ดี"
"เกล้ากระหม่อมขอถวายรูปท้าวสุรนารีที่นายเฟโรจีปั้น อันตัดจากหนังสือพิมพ์มาให้ทอดพระเนตร ปั้นดีพอใช้ เมื่ออ่านหนังสือใต้รูปว่าตั้งและฉลองกันแล้วก็ตกใจ อะไรหล่อแล้วเสร็จเร็วจริง ได้เห็นเมื่อต้นเดือนกำลังทำหุ่นปลาสเตออยู่ยังไม่แล้ว จึงไปฟังข่าวที่นายเฟโรจี ได้ความว่าเอารูปปลาสเตอทาเป็นสีทองสัมฤทธิ์ไปตั้งที่ไหนดูไม่ออก เห็นจะสูงอยู่เพราะเห็นหลังคามุงกระเบื้องหนุนหลังอยู่เบื้องต่ำ"
"รูปท้าวสุรนารีที่เฟโรจีปั้นน่าชมอยู่ เหตุที่ทำรูปปลาสเตอไปตั้งฉลองนั้น หม่อมฉันเข้าใจว่าเห็นจะเป็นเพราะยังไม่มีทุนพอจะหล่อเป็นรูปทองสัมฤทธิ์ จึงทำรูปพลาสเตอร์ไปตั้งเรี่ยไรเพื่อทำทุน"
ความตอนหนึ่งใน สาส์นสมเด็จภาค 3 และ 4 จดหมายระหว่างสมเด็จฯ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ และสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ขอเชิญร่วมกิจกรรมเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย พุทธศักราช ๒๕๖๗ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
วันอังคารที่ ๒ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๗ ณ บริเวณจุดกลับรถ (สวนรัก) อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา
ดวงตราไปรษณียากรที่ระลึกงานแสดงตราไปรษณียากรแห่งชาติ ๒๕๕๘ และเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบ ทางไปรษณีย์ไทยจึงขอพระราชทานเครื่องดนตรีส่วนพระองค์มาเป็นต้นแบบภาพ จำนวน ๔ ชนิด ได้แก่ ระนาดเอก ซอสามสาย ซอด้วง และจะเข้ ในฐานะที่ทรงเป็นองค์วิศิษฎศิลปิน เจ้าฟ้าผู้มีอัจฉริยภาพด้านดนตรีไทย
เรียบเรียงโดย : นายธีรบูลย์ มิตรมโนชัย นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม
แหล่งอ้างอิง :
ไปรษณีย์ไทย, “สดุดี องค์คีตศิลป์ ปิ่นสยาม,” Stamp Catalogue (กรกฎาคม - กันยายน ๒๕๕๘): ๘ - ๙.
มนตรี ตราโมท. สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เล่ม ๑. กรุงเทพฯ: โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, ๒๕๕๑.
วิเศษดนตรี. ลาวแพน เดี่ยวจะเข้หมู่. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๓๐ มีนาคม ๒๕๖๗, จาก: https://www.youtube.com/watch?v=QlrS4yMyPl8, ๒๕๖๕.
Porpon Suksai. โหมโรงปฐมดุสิต วงครู งานดนตรีไทยอุดมศึกษาครั้งที่ ๔๔. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๓๐ มีนาคม ๒๕๖๗, จาก: https://www.youtube.com/watch?v=QlrS4yMyPl8, ๒๕๖๕.
Saisaw. ทยอยเดี่ยว เดี่ยวซอสามสาย ศิริพันธุ์ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๓๐ มีนาคม ๒๕๖๗, จาก: https://www.youtube.com/watch?v=HzTq6zXRHuI, ๒๕๕๗.
Thanyaphong Na nakorn. เขมรโพธิสัตว์ ๓ ชั้น. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๓๐ มีนาคม ๒๕๖๗, จาก: https://www.youtube.com/watch?v=B51XyhqeUtA, ๒๕๕๗.