ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,974 รายการ

            สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ขอเชิญร่วมฟังเสวนาทางวิชาการ เนื่องในงานใต้ร่มพระบารมี 242 ปี กรุงรัตนโกสินทร์ หัวข้อ “ไม่บันทึก...ก็นึกไม่ออก”  วิทยากรโดย ศ.พิเศษ ธงทอง จันทรางศุ, รศ.ดร.พีรศรี โพวาทอง, นางณิชา จริยเศรษฐการ ผู้อำนวยการสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ และนางสาวนวลพรรณ นาคปรีชา นักจดหมายเหตุชำนาญการ ดำเนินรายการโดย นายนพดล ภู่ชัย ผู้อำนวยการกลุ่มบันทึกเหตุการณ์ ในวันจันทร์ที่ 22 เมษายน 2567 เวลา 13.00 - 16.00 น. ณ ห้องออดิทอเรียม ชั้น 1 หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร              ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมฟังการเสวนาผ่านการสแกน QR Code หรือกดตามลิงก์ลงทะเบียน https://shorturl.at/itBU6 รับจำนวน 50 ท่าน สามารถลงทะเบียนได้ตั้งแต่บัดนี้ ถึงวันอาทิตย์ที่ 14 เมษายน 2567 หรือจนกว่าที่นั่งเต็ม https://www.facebook.com/share/p/oMpd8R3xxsCp78yX/?mibextid=WC7FNe



กรมศิลปากร ขอเชิญร่วมการเสวนาทางวิชาการ "ทศวรรษแห่งการค้นพบใหม่ของกรมศิลปากร" เนื่องในงานสัปดาห์วันอนุรักษ์มรดกไทย พุทธศักราช ๒๕๖๗ หัวข้อ "ข้อมูลใหม่จากวรรณกรรมอำพราง" ในวันศุกร์ที่ ๕ เมษายน ๒๕๖๗ เวลา ๑๓.๓๐ - ๑๕.๓๐ น. ณ ห้องประชุมอาคารดำรงราชานุภาพ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร โดยนายบุญเตือน  ศรีวรพจน์ ศิลปินแห่งชาติและผู้ทรงคุณวุฒิด้านอักษรศาสตร์ พร้อมด้วยนักอักษรศาสตร์กลุ่มภาษาและวรรณกรรม สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์  ร่วมเป็นวิทยากรนำเสนอข้อมูลใหม่ด้านวรรณคดีไทยจากการดำเนินงานในทศวรรษที่ผ่านมาของกรมศิลปากร ท่านผู้สนใจสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมงานได้ที่ https://shorturl.at/ABN47 หรือรับชมการถ่ายทอดสดได้ทางเฟซบุ๊ก "กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม"






ปราสาทเมืองเก่า ตำบลโคราช อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา ปราสาทประธานหันหน้าไปทางทิศตะวันออก และบรรณาลัย อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ หันหน้าสู่ปราสาทประธาน สิ่งก่อสร้างทั้งสองล้อมรอบด้วยกำแพงแก้ว มีซุ้มประตูทางเข้าอยู่กึ่งกลางกำแพงด้านตะวันออก นอกกำแพงทางมุมด้านตะวันตกเฉียงเหนือมีสระน้ำ อาคารก่อสร้างด้วยศิลาแลงและหินทราย


ภาพบรรยากาศการเสวนาทางวิชาการ "สุดยอดการค้นพบใหม่" ในทศวรรษที่ผ่านมา ของกรมศิลปากร บริเวณพื้นที่สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา ในหัวข้อ "คติการวางศิลาฤกษ์ปราสาทในวัฒนธรรมเขมรโบราณ" เมื่อวันที่ ๓ เมษายน ๒๕๖๗ ณ ห้องประชุมดำรงราชานุภาพ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร


กู่บ้านปราสาท อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา แผนผังกู่ปราสาทเป็นปราสาทอิฐ 3 หลัง ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน ทำจากศิลาแลง ในแนวทิศเหนือ-ใต้ ล้อมรอบด้วยกำแพงแก้วโดยมีซุ้มประตูทางเข้าทางทิศตะวันออกด้านเดียว นอกกำแพงสันนิษฐานว่า เดิมล้อมรอบด้วยคูน้ำรูปตัว U ภายในกำแพงแก้วมีอาคารอิฐ 1 หลัง ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ สร้างขึ้นในสมัยหลังแทนวิหารหรือบรรณาลัย และอาคารอิฐหลังเล็กอีก 1 หลัง ซึ่งอาคารอิฐทั้งสองถูกสร้างเพิ่มเติมในสมัยหลัง


โบราณสถานหมายเลข ๓ ภายในเมืองโบราณเมืองเสมา ตำบลสูงเนิน อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา



          วันพุธที่ ๓ เมษายน ๒๕๖๗ นางสาวทิพย์วรรณ วงศ์อัสสไพบูลย์ นักโบราณคดีชำนาญการ พร้อมด้วยนายสุรชาติ จำนงกิจ นายช่างสำรวจ ได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๘ ขอนแก่น เข้าร่วมกิจกรรมทำความสะอาดโบราณสถาน เนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย พุทธศักราช ๒๕๖๗ ณ อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท จังหวัดอุดรธานี


            วันอังคารที่ ๒ เมษายน ๒๕๖๗ เวลา ๑๘.๐๐ น. ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานในพิธีเปิดงานสัปดาห์วันอนุรักษ์มรดกไทย พุทธศักราช ๒๕๖๗ และร่วมชมการแสดงนาฏศิลป์และดนตรี โดยมีนายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร  กล่าวรายงาน ผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม ผู้บริหาร ข้าราชการ เจ้าหน้าที่กรมศิลปากร และประชาชนเข้าร่วมงาน รัฐบาลได้กำหนดให้วันที่ ๒ เมษายนของทุกปี ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระกนิษฐา  ธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นวันอนุรักษ์มรดกไทย เพื่อเฉลิมพระเกียรติและน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีคุณูปการอย่างอเนกอนันต์ และทรงเป็นแบบอย่างในการอนุรักษ์มรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติ กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมศิลปากร ได้จัดกิจกรรมเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทยเป็นประจำทุกปี เพื่อส่งเสริมให้เยาวชน และประชาชนทั่วไป ได้รับความรู้ ความเข้าใจ ปลุกจิตสำนึกให้หวงแหนรักษาและภาคภูมิใจในศิลปวัฒนธรรมของชาติ               พุทธศักราช ๒๕๖๗ กรมศิลปากรได้จัดงานสัปดาห์วันอนุรักษ์มรดกไทย ระหว่างวันที่ ๒ – ๘ เมษายน ๒๕๖๗ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เพื่อให้ประชาชนได้มีโอกาสเข้าถึงมรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติ โดยมีกิจกรรมประกอบด้วย              - การเสวนาทางวิชาการ “สุดยอดการค้นพบใหม่” ในทศวรรษที่ผ่านมาของกรมศิลปากร  ระหว่างวันที่ ๓ – ๘ เมษายน ๒๕๖๗ ตั้งแต่เวลา ๑๐.๐๐ – ๑๘.๐๐ น. ณ ห้องประชุมดำรงราชานุภาพ โดยจัดการเสวนาวันละ ๓ หัวข้อ รวม ๑๘ เรื่อง อาทิ ๑๐ สุดยอดโบราณวัตถุหายากที่สูญหายไปจากความทรงจำ, ผ่าโลกใต้พิภพเกาะกรุงรัตนโกสินทร์, ทศวรรษแห่งการค้นพบเรือโบราณพนมสุรินทร์ : เรือโบราณที่เก่าที่สุดในประเทศไทย, ข้อมูลใหม่จากวรรณกรรมอำพราง, การค้นพบหลักฐานใหม่สมัยทวารวดีในรอบทศวรรษ, ข้อมูลใหม่ด้านโบราณคดีของเมืองโบราณยะรัง เมืองโบราณสำคัญที่ปลายด้ามขวาน สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมการเสวนาล่วงหน้าได้ที่เว็บไซต์กรมศิลปากร หรือรับชมผ่านทาง facebook live: กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม              - การแสดงนาฏศิลป์และดนตรี ระหว่างวันที่ ๒ – ๗ เมษายน ๒๕๖๗ เวลา ๑๘.๐๐ – ๒๐.๐๐ น.  ณ เวทีกลางแจ้ง โดยสำนักการสังคีต กรมศิลปากร มีการแสดงที่น่าสนใจ เช่น การแสดงโขน เรื่อง รามเกียรติ์  การแสดงละครนอก เรื่องแก้วหน้าม้า การแสดงละครตำนานพื้นบ้าน เรื่อง สงกรานต์ ละครเรื่อง อานุภาพพ่อขุน รามคำแหง                - การแสดงคอนเสิร์ต “เพชรในเพลง” ในวันที่ ๘ เมษายน ๒๕๖๗ เวลา ๑๗.๓๐ – ๑๙.๓๐ น. ณ เวทีกลางแจ้ง พบกับศิลปินที่ได้รับรางวัลเพชรในเพลง อาทิ รวงทอง ทองลั่นธม หนู มิเตอร์ เปาวลี พรพิมล ธนพร แวกประยูร นัน อนันต์ อาศัยไพรพนา บรรเลงโดยวงดุริยางค์สากล กรมศิลปากร



Messenger