ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,974 รายการ

          วันนี้ (วันอังคารที่ ๒ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๖๗) เวลา ๐๙.๐๐ น. นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการวันอนุรักษ์มรดกไทย พุทธศักราช ๒๕๖๗ กิจกรรมรณรงค์ดูแลรักษามรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติ ณ วัดบวรสถานสุทธาวาส (วัดพระแก้ววังหน้า) กรุงเทพมหานคร โดยมีผู้บริหาร ข้าราชการ เจ้าหน้าที่กรมศิลปากร สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ สำนักงานเขตพระนคร เครือข่ายการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม เข้าร่วมกิจกรรมกว่า ๑๕๐ คน             อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า กิจกรรมรณรงค์ดูแลรักษามรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติ ณ วัดบวรสถานสุทธาวาส หรือ วัดพระแก้ววังหน้าในวันนี้ เป็นกิจกรรมทำความสะอาดโบราณสถาน อาคาร สิ่งสำคัญภายในวัดที่เป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของวังหน้าสมัยรัตนโกสินทร์ โดยเป็นการทำความสะอาดในเชิงอนุรักษ์เป็นสำคัญ  ซึ่งกรมศิลปากรได้จัดกิจกรรมรณรงค์ดูแลรักษามรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติ ณ แหล่งเรียนรู้ วัด และโบราณสถานทั่วประเทศ เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนร่วมมือร่วมใจกันดูแลรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรมที่ทรงคุณค่าของชาติ อีกทั้งยังเป็นการเฉลิมพระเกียรติ และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณอย่างใหญ่หลวงต่องานด้านศิลปวัฒนธรรม ทรงเป็นแบบอย่างในการอนุรักษ์และสืบสานมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติ ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา พระองค์ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจต่างๆ ที่ล้วนแล้วแต่เป็นประโยชน์ต่อการอนุรักษ์ สืบสาน และส่งเสริมงานทางด้านศิลปวัฒนธรรมให้เห็นเป็นตัวอย่างตลอดมา การดำเนินการในครั้งนี้ นับเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการดูแลรักษาโบราณสถาน โบราณวัตถุ รวมถึงเพื่อสร้างจิตสำนึกความเป็นเจ้าของวัฒนธรรม และร่วมกันปกป้อง พัฒนาโบราณสถานหรือแหล่งมรดกทางศิลปวัฒนธรรมที่มีคุณค่าให้คงอยู่ต่อไป             สำหรับวัดบวรสถานสุทธาวาส หรือวัดพระแก้ววังหน้า เป็นโบราณสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งของ กรุงเทพมหานคร โดยมีประวัติศาสตร์ความเป็นมาตั้งแต่สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ สร้างขึ้นในรัชสมัยของพระบาท สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ เป็นวัดที่อยู่ในเขตพระราชวังบวรสถานมงคล หรือวังหน้า จึงไม่มีพระภิกษุสงฆ์จำพรรษา พระอุโบสถวัดบวรสถานสุทธาวาสเป็นโบราณสถานสำคัญ  ซึ่งนอกจากจะมีลักษณะทางสถาปัตยกรรมที่งดงามแล้ว ภาพจิตรกรรมฝาผนังพระอุโบสถยังเป็นภาพจิตรกรรมสมัยรัชกาลที่ ๔ ที่มีคุณค่ายิ่ง เป็นที่ยกย่องเชิดชูกันในหมู่นักปราชญ์และศิลปินตลอดมา  


หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ร.9 นครราชสีมา จัดกิจกรรม 5 ส. เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และวันอนุรักษ์มรดกไทย 2 เมษายน 2567


หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ร.๙ นครราชสีมา ร่วมกิจกรรมรณรงค์ดูแลรักษามรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติ เนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย พุทธศักราช ๒๕๖๗ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ บริเวณจุดกลับรถ (สวนรัก) อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา





๒ เมษายน วันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ขอพระองค์ทรงพระเจริญ ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ข้าพระพุทธเจ้า คณะผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา กรมศิลปากร


นายทศพร ศรีสมาน ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา พร้อมด้วยหัวหน้าหน่วยงาน และเจ้าหน้าที่ในสังกัด เข้าร่วมกิจกรรมเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย พุทธศักราช ๒๕๖๗ ในวันอังคารที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๗ โดยมีนายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธาน ณ บริเวณสวนรัก ลานอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี (ย่าโม) อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา



หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก กาญจนบุรี จัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย 2-5 เมษายน 2567 ภายใต้โครงการเทิดทูนสถาบันหลักของชาติและเผยแพร่มรดกศิลปวัฒนธรรม กิจกรรมประกอบด้วย การจัดแสดงหนังสือ พระราชนิพนธ์ และจัดแสดงนิทรรศการภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ ในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี


           กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม กำหนดจัดงานสัปดาห์วันอนุรักษ์มรดกไทย เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ร่วมฟังการเสวนาทางวิชาการ และชมการแสดงนาฏศิลป์ - ดนตรี ๒ – ๘ เมษายน ๒๕๖๗ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร            นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๘ กำหนดให้วันที่ ๒ เมษายนของทุกปี ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เป็น “วันอนุรักษ์มรดกไทย” เพื่อเฉลิมพระเกียรติและน้อมสํานึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีคุณูปการอย่างอเนกอนันต์และทรงเป็นแบบอย่างในการอนุรักษ์มรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติตลอดมา กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมศิลปากร จึงกำหนดจัดงานสัปดาห์วันอนุรักษ์มรดกไทย พุทธศักราช ๒๕๖๗ ระหว่างวันที่ ๒ – ๘ เมษายน ๒๕๖๗ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ประกอบด้วย            - การเสวนาทางวิชาการ “สุดยอดการค้นพบใหม่” ในทศวรรษที่ผ่านมาของกรมศิลปากร ระหว่างวันที่ ๓ – ๘ เมษายน ๒๕๖๗ ตั้งแต่เวลา ๑๐.๐๐ – ๑๘.๐๐ น. ณ ห้องประชุมดำรงราชานุภาพ โดยจัดการเสวนาวันละ ๓ หัวข้อ รวม ๑๘ เรื่อง อาทิ ๑๐ สุดยอดโบราณวัตถุหายากที่สูญหายไปจากความทรงจำ, ผ่าโลกใต้พิภพเกาะกรุงรัตนโกสินทร์, ทศวรรษแห่งการค้นพบเรือโบราณพนมสุรินทร์ : เรือโบราณที่เก่าที่สุดในประเทศไทย, ข้อมูลใหม่จากวรรณกรรมอำพราง, การค้นพบหลักฐานใหม่สมัยทวารวดีในรอบทศวรรษ, ข้อมูลใหม่ด้านโบราณคดีของเมืองโบราณยะรัง เมืองโบราณสำคัญที่ปลายด้ามขวาน สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมการเสวนาล่วงหน้าได้ที่เว็บไซต์กรมศิลปากร https://www.finearts.go.th/main/view/48102 หรือรับชมผ่านทาง facebook live: กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม            - การแสดงนาฏศิลป์และดนตรี ระหว่างวันที่ ๒ – ๗ เมษายน ๒๕๖๗ เวลา ๑๘.๐๐ – ๒๐.๐๐ น. ณ เวทีกลางแจ้ง โดยสำนักการสังคีต กรมศิลปากร มีการแสดงที่น่าสนใจ เช่น การแสดงโขน เรื่อง รามเกียรติ์ การแสดงละครนอก เรื่องแก้วหน้าม้า การแสดงละครตำนานพื้นบ้าน เรื่อง สงกรานต์ ละครเรื่อง อานุภาพพ่อขุนรามคำแหง              - การแสดงคอนเสิร์ต “เพชรในเพลง” ในวันที่ ๘ เมษายน ๒๕๖๗ เวลา ๑๗.๓๐ – ๑๙.๓๐ น. ณ เวทีกลางแจ้ง พบกับศิลปินที่ได้รับรางวัลเพชรในเพลง อาทิ รวงทอง ทองลั่นธม หนู มิเตอร์ เปาวลี พรพิมล ธนพร แวกประยูร นัน อนันต์ อาศัยไพรพนา บรรเลงโดยวงดุริยางค์สากล กรมศิลปากร           ขอเชิญชวนประชาชนชาวไทยทุกคนซึ่งล้วนมีส่วนเป็นเจ้าของมรดกวัฒนธรรมของชาติเข้าร่วมกิจกรรมในงานสัปดาห์วันอนุรักษ์มรดกไทย โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และร่วมใจกันอนุรักษ์ ส่งเสริม และฟื้นฟู ตลอดจนถ่ายทอดความรู้ ปลูกฝังความรักและความภาคภูมิใจในวัฒนธรรมไทยให้แก่ลูกหลาน เพื่อรักษาไว้เป็นมรดกล้ำค่าให้ยั่งยืนสืบไป



           ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะคณะอนุกรรมการคัดเลือกข้าราชการพลเรือนดีเด่น ได้แจ้งให้กรมศิลปากรดำเนินการคัดเลือกข้าราชการพลเรือนดีเด่น ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๖ เพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติและประกาศเกียรติคุณแก่ข้าราชการและลูกจ้างประจำ ซึ่งได้ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี เสียสละและอุทิศตนสร้างประโยชน์แก่ทางราชการและประเทศชาติ สมควรได้รับการยกย่องสรรเสริญเป็นเกียรติประวัติในการทำงาน โดยพิจารณาคัดเลือกให้เป็นข้าราชการและลูกจ้างประจำดีเด่น ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๖ ซึ่งผู้ได้รับการคัดเลือกเป็นข้าราชการพลเรือนดีเด่นจะได้รับเข็มเชิดชูเกียรติ เกียรติบัตรยกย่องเชิดชูเกียรติ และได้รับบันทึกประวัติในหนังสือที่ระลึกข้าราชการพลเรือนดีเด่น ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๖            คณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกข้าราชการพลเรือนดีเด่นและผู้ปฏิบัติงานดีเด่นในสังกัดกรมศิลปากร ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๖ ได้พิจารณาและมีมติคัดเลือกฯ เรียบร้อยแล้ว โดยผู้ได้รับคัดเลือกเป็นข้าราชการพลเรือนดีเด่น ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๖ ได้แก่            ๑. นางสาวมนัชญา  วาจก์วิศุทธิ์ ข้าราชการพลเรือนสามัญ                 ตำแหน่งสถาปนิกชำนาญการพิเศษ สำนักสถาปัตยกรรม            ๒. นางสาวพิมพ์นารา  กิจโชติประเสริฐ ข้าราชการพลเรือนสามัญ                 ตำแหน่งนักโบราณคดีชำนาญการพิเศษ กองโบราณคดี


         อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง บุรีรัมย์ ขอเชิญชมความมหัศจรรย์ปราสาทพนมรุ้ง ปรากฏการณ์พระอาทิตย์สาดแสงส่องตรง 15 ช่องประตู ในยามรุ่งอรุณ ณ ปราสาทพนมรุ้ง ซึ่งปรากฏการณ์นี้เป็นครั้งที่สองในรอบปี พุทธศักราช 2567 ร่วมชมความงามของปรากฏการณ์ดังกล่าวและรับแสงแรกของวัน ที่สาดแสงส่องทั้ง 15 ช่องประตู ผ่านองค์ศิวลึงค์ใจกลางเทวาลัย ณ ปราสาทพนมรุ้ง ในระหว่างวันที่ 3 - 5 เมษายน 2567 เวลา 05.30 น. เป็นต้นไป (พระอาทิตย์ขึ้นประมาณ 06.00 น.) ณ อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ ทั้งนี้ ปรากฏการณ์ดังกล่าว ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ หากมีเมฆหมอกหนา หรือฝนตก จะไม่สามารถมองเห็นดวงอาทิตย์ผ่าน 15 ช่องประตูปราสาทพนมรุ้งได้             ติดต่อสอบถามโทร 0 4466 6251 หรือ Inbox Facebook : อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง บุรีรัมย์ Phanom Rung Historical Park  


         หน้าที่ของข้าราชการทุกฝ่ายนั้น อาจแบ่งได้เป็น ๒ ส่วน. ส่วนหนึ่งคือการปฏิบัติงานตามภาระรับผิดชอบของตน ให้สำเร็จผลอย่างมีประสิทธิภาพ อีกส่วนหนึ่งคือ การร่วมกับชาวไทยทุกคน ในอันที่จะจรรโลงรักษาความดีงามในชาติบ้านเมือง. จึงขอให้ข้าราชการทุกคนทุกฝ่าย ตั้งใจขวนขวายปฏิบัติหน้าที่ทั้งนั้นให้ครบถ้วนสมบูรณ์.            พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต          วันที่ ๒๕ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๖๗


Messenger