ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,974 รายการ
แนะนำหนังสือน่าอ่าน
ฮ.นิกฮูกี้. ธรรมะในพระบรมราโชวาท. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: แสงดาว, 2559. 174 หน้า. 130 บาท.
นำเสนอเรื่องราวของในหลวงรัชกาลที่ 9 พระบรมราโชวาท พระราชดำริ และพระราชกรณียกิจของพระองค์ที่ประทานให้ตามโอกาสแก่ประชาชนชาวไทยและชาวต่างชาติได้เห็นถึงความเป็นพระมหากษัตริย์ที่พระองค์ได้ทรงครองสิริราชสมบัติในประเทศไทย ทรงให้ความอบอุ่นและเป็นสุขแก่ปวงชนชาวไทยด้วยธรรมะของพระราชาตามพระราชดำรัสที่ว่าเราจะปกครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม
895.915
ฮ111ธ ( ห้องศาสตร์พระราชา )
แนะนำหนังสือน่าอ่าน
พระผู้สถิตในหทัยราษฎร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2560. 252 หน้า. ภาพประกอบ.
เป็นหนังสือที่จัดเก็บรวบรวมภาพป้ายขนาดใหญ่ที่มีการแสดงไว้อาลัยความจงรักภักดีแด่พระบรมศพของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ พฤหัสบดีที่ 13 ตุลาคม 2559 ทุกแห่งทั่วประเทศไทย โดยนายวรนันทน์ ชัชวาลทิพากร ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์เป็นผู้ถ่ายภาพ ทั้ง 77 จังหวัด กว่า 500 ป้าย มารวมไว้ในหนังสือเล่มนี้ให้ทุกคนได้มองเห็นป้ายภาพที่แสดง เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งความจงรักภักดีละความอาลัยถวายแด่รัชกาลที่ 9
923.1593
ภ671วพ (ห้องศาสตร์พระราชา)
แนะนำหนังสือน่าอ่าน
พระเมตตาใต้ฟ้าเดียวกัน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: มูลนิธิเสริมสร้าง
เอกลักษณ์ของชาติ, 2558. 324 หน้า. ภาพประกอบ.
เนื้อหาของหนังสือ นำเสนอโครงการในพระราชดำริ พระราชกรณียกิจ และการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ พระบรมวงศานุวงศ์ที่สร้างประโยชน์แก่พสกนิกรชาวไทยและประชาชนในประเทศต่างๆ ที่ต้องการความช่วยเหลือ รวมทั้งหมด 9 บท ติดตามอ่านรายละเอียดภายในหนังสือเล่มนี้
923.1593
พ359 ( ห้องศาสตร์พระราชา )
แนะนำหนังสือน่าอ่าน
สุมน อมรวิวัฒน์. สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฉบับเสริมการเรียนรู้ เล่ม 2. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์, 2548. 186 หน้า. ภาพประกอบ. 80 บาท.
สาระในเล่มให้ข้อมูลน่ารู้สำหรับเด็กในวัย 10-15 ปี ประกอบด้วยเรื่องอาหารไทย ประเภทของอาหารไทย ภูมิปัญญาในอาหารไทย อาหารในท้องถิ่น อาหารไทยตามฤดูกาลและเทศกาล วิธีปรุงอาหาร ศิลปะการปรุงอาหารไทย มารยาทในการรับประทานอาหารไทย เรื่องโภชนาการ ประเภทสารอาหาร บทบาท แหล่งที่มา และความต้องการของร่างกาย โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน วิตามิน แร่ธาตุ น้ำ ใยอาหาร การกินอาหารให้ถูกหลักโภชนา เรื่องการปลูกพืชไร้ดิน ความหมาย ความเป็นมา หลักการ เทคนิค ข้อดี ข้อเสียของการปลูกพืชไร้ดิน
039.95911
ส841ส
แนะนำหนังสือน่าอ่าน
แถลงการณ์เรื่องพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสละราชสมบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: ศรีปัญญา, 2560. 324 หน้า. 350 บาท.
ภายในเล่มเป็นเอกสารแถลงการณ์เรื่องพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสละราชสมบัติ ทั้งพระราชบันทึก รายงานการประชุม บันทึกย่อ ซึ่งเป็นเอกสารสำคัญชั้นต้น ที่ช่วยต่อยอดความเข้าใจสภาพของประเทศไทย ระหว่างการปฏิวัติการปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
959.3059
ถ581 (ห้องศาสตร์พระราชา)
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดนิทรรศการพิเศษ เรื่อง เอกสารล้ำค่าจารึกสยาม เนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย พุทธศักราช ๒๕๖๗
วันพุธที่ ๒๗ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๖๗) เวลา ๑๔.๓๐ น. สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดนิทรรศการพิเศษ เนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย พุทธศักราช ๒๕๖๗ เรื่อง “เอกสารล้ำค่าจารึกสยาม” ณ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร โดยมี นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ผู้บริหารและข้าราชการกระทรวงวัฒนธรรม กรมศิลปากร เฝ้าฯ รับเสด็จ
นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กราบบังคมทูลรายงานวัตถุประสงค์การจัดนิทรรศการฯ และขอพระราชทานพระราชานุญาตทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายแผ่นทองคําจารึกพระราชสมัญญา “พระอัครราชูปถัมภิกาการจดหมายเหตุไทย” (พระ-อัก-คะ-ระ-รา-ชู-ปะ-ถำ-พิ-กา-การจดหมายเหตุไทย)ด้วยสํานึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อการจดหมายเหตุไทย นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร กราบบังคมทูลเบิกผู้อนุรักษ์มรดกไทยดีเด่นและผู้สนับสนุนการดำเนินงานด้านศิลปวัฒนธรรมของชาติ ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๖๗ ได้แก่ พระภิกษุ จำนวน ๕ รูป และบุคคลทั่วไป จำนวน ๓๑ ราย เข้ารับพระราชทานเข็มเกียรติคุณวันอนุรักษ์มรดกไทย จากนั้นเสด็จฯ ไปยังพระที่นั่งศิวโมกขพิมาน ทรงตัดแถบแพรเปิดนิทรรศการ และทอดพระเนตรนิทรรศการพิเศษเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย พุทธศักราช ๒๕๖๗ โอกาสนี้ ทรงเขียนไปรษณียบัตรที่ระลึก จำนวน ๒ แผ่น และทรงหย่อนไปรษณียบัตรลงในตู้ไปรษณีย์ด้วย คณะกรรมการอำนวยการวันอนุรักษ์มรดกไทย มอบหมายให้กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมศิลปากร จัดนิทรรศการพิเศษเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย พุทธศักราช ๒๕๖๗ เรื่อง “เอกสารล้ำค่าจารึกสยาม” เพื่อมุ่งหวังให้เกิดการเรียนรู้และตระหนักถึงคุณค่าของเอกสารสำคัญในความดูแลของกรมศิลปากร นิทรรศการบอกเล่าเรื่องราวการเปลี่ยนผ่านจากรัฐจารีตแบบดั้งเดิม สู่การเป็นรัฐสมัยใหม่ในห้วงศตวรรษที่ผ่านมา โดยจัดแสดงเอกสารต้นฉบับ ๔๑ ชุด กว่า ๒๐๐ รายการ ที่ล้วนเป็นเอกสารทรงคุณค่าสำคัญในหน้าประวัติศาสตร์ชาติไทย ซึ่งหลายฉบับยังไม่เคยจัดแสดงที่ไหนมาก่อน แบ่งการจัดแสดงออกเป็น ๖ หัวข้อ ได้แก่
๑. “จารจารึก บันทึกสยาม” เป็นชุดเอกสารโบราณที่บันทึกอยู่ในรูปของศิลาจารึก หนังสือสมุดไทย และเอกสารใบลาน ได้แก่ ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง พระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ นันโทปนันทสูตรคำหลวง คัมภีร์อัลกุรอาน ไตรภูมิฉบับพระมหาช่วยจารที่วัดปากน้ำ จินดามณี จุลศักราช ๑๑๔๔ รามเกียรติ์ บทละครพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๑ หนังสือสมุดไทย เรื่อง สามก๊ก มหาชาติคำหลวง และ อุรังคธาตุ ซึ่งสะท้อนให้เห็นภาพเค้าโครงทางประวัติศาสตร์ช่วงสมัยสุโขทัยจนถึงก่อนการปฏิรูปประเทศในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
๒. “แผนภูมิของแผ่นดิน” จัดแสดงแผนที่โบราณของประเทศไทย ประกอบด้วย แผนที่สมัยอยุธยา สมัยธนบุรี และสมัยรัตนโกสินทร์ และตราประจำจังหวัด
๓. “นิติสารเมื่อเพรงกาล เล่าขานประวัติศาสตร์ไทย” นำเสนอเอกสารด้านกฎหมายและความ สัมพันธ์ระหว่างประเทศ อาทิ กฎหมายตราสามดวง สนธิสัญญาเบาว์ริ่ง เอกสารเกี่ยวกับการเลิกทาส
๔. “เมื่อแรกมีการพิมพ์” จัดแสดงชุดเอกสารกลุ่มแรก ๆ ในสังคมไทยที่เปลี่ยนจากการจดจารด้วยวัสดุและเทคนิคแบบโบราณ มาเป็นการบันทึกด้วยเทคโนโลยีการพิมพ์แบบตะวันตก เช่น หนังสือจดหมายเหตุบางกอกรีคอร์เดอร์ คัมภีร์ครรภ์ทรักษา ราชกิจจานุเบกษา รัชกาลที่ ๔
๕. “ต้นร่างสร้างเมือง เรืองรองศิลปกรรม” จัดแสดงเอกสารการออกแบบก่อสร้างอาคารสถานที่สำคัญต่าง ๆ ตามรูปแบบตะวันตก เช่น แบบแปลนวังพญาไท แบบยอดพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท แบบหอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แบบก่อสร้างอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
๖. “ด้วยความทรงจำอันงดงามและความคิดถึง” ย้อนระลึกถึงวันวานกับของสะสมในความทรงจำ ที่สะท้อนให้เห็นว่าวัฒนธรรมตะวันตกได้มีอิทธิพลมาสู่วิถีชีวิตประจำวันของผู้คนในสังคมไทยอย่างแพร่หลาย เช่น การเขียนจดหมาย การส่งไปรษณียบัตร
ผู้สนใจสามารถเข้าชมนิทรรศการพิเศษเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย พุทธศักราช ๒๕๖๗ เรื่อง “เอกสารล้ำค่าจารึกสยาม” ระหว่างวันที่ ๒๘ มีนาคม - ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๗ เวลา ๐๙.๐๐ น. - ๑๖.๐๐ น. (ปิดวันจันทร์ – วันอังคาร) ณ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า คณะกรรมการอำนวยการวันอนุรักษ์มรดกไทย มอบหมายให้กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมศิลปากร จัดนิทรรศการพิเศษเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย พุทธศักราช ๒๕๖๗ เรื่อง “เอกสารล้ำค่าจารึกสยาม” บอกเล่าเรื่องราวการเปลี่ยนผ่านจากรัฐจารีตแบบดั้งเดิม สู่การเป็นรัฐสมัยใหม่ในห้วงศตวรรษที่ผ่านมา โดยจัดแสดงเอกสารต้นฉบับ ๔๑ ชุด กว่า ๒๐๐ รายการ ที่ล้วนเป็นเอกสารทรงคุณค่าสำคัญในหน้าประวัติศาสตร์ชาติไทย ซึ่งหลายฉบับยังไม่เคยจัดแสดงที่ไหนมาก่อน แบ่งการจัดแสดงออกเป็น ๖ หัวข้อ ได้แก่
๑. “จารจารึก บันทึกสยาม” เป็นชุดเอกสารโบราณที่บันทึกอยู่ในรูปของศิลาจารึก หนังสือสมุดไทย และเอกสารใบลาน ได้แก่ ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง พระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ นันโทปนันทสูตรคำหลวง คัมภีร์อัลกุรอาน ไตรภูมิฉบับพระมหาช่วยจารที่วัดปากน้ำ จินดามณี จุลศักราช ๑๑๔๔ รามเกียรติ์ บทละครพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๑ หนังสือสมุดไทย เรื่อง สามก๊ก มหาชาติคำหลวง และอุรังคธาตุ ซึ่งสะท้อนให้เห็นภาพเค้าโครงทางประวัติศาสตร์ช่วงสมัยสุโขทัยจนถึงก่อนการปฏิรูปประเทศในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
๒. “แผนภูมิของแผ่นดิน” จัดแสดงแผนที่โบราณของประเทศไทย และตราประจำจังหวัด
๓. “นิติสารเมื่อเพรงกาล เล่าขานประวัติศาสตร์ไทย” นำเสนอเอกสารด้านกฎหมายและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ อาทิ กฎหมายตราสามดวง สนธิสัญญาเบาว์ริ่ง เอกสารเกี่ยวกับการเลิกทาส
๔. “เมื่อแรกมีการพิมพ์” จัดแสดงชุดเอกสารกลุ่มแรก ๆ ในสังคมไทยที่เปลี่ยนจากการจดจารด้วยวัสดุและเทคนิคแบบโบราณ มาเป็นการบันทึกด้วยเทคโนโลยีการพิมพ์แบบตะวันตก เช่น หนังสือจดหมายเหตุบางกอกรีคอร์เดอร์ คัมภีร์ครรภ์ทรักษา ราชกิจจานุเบกษา รัชกาลที่ ๔
๕. “ต้นร่างสร้างเมือง เรืองรองศิลปกรรม” จัดแสดงเอกสารการออกแบบก่อสร้างอาคารสถานที่สำคัญต่าง ๆ ตามรูปแบบตะวันตก เช่น แบบแปลนวังพญาไท แบบหอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แบบก่อสร้างอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ๖. “ด้วยความทรงจำอันงดงามและความคิดถึง” ย้อนระลึกถึงวันวานกับของสะสมในความทรงจำ ที่สะท้อนให้เห็นว่าวัฒนธรรมตะวันตกได้มีอิทธิพลมาสู่วิถีชีวิตประจำวันของผู้คนในสังคมไทยอย่างแพร่หลาย เช่น การเขียนจดหมาย การส่งไปรษณียบัตร
ผู้สนใจสามารถเข้าชมนิทรรศการพิเศษเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย พุทธศักราช ๒๕๖๗ เรื่อง “เอกสารล้ำค่าจารึกสยาม” ระหว่างวันที่ ๒๘ มีนาคม - ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๗ เวลา ๐๙.๐๐ น. - ๑๖.๐๐ น. (ปิดวันจันทร์ – วันอังคาร) ณ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
๑๑๓ ปี แห่งการสถาปนากรมศิลปากร ๒๗ มีนาคม ๒๕๖๗
.
นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้ง “กรมศิลปากร” เมื่อวันที่ ๒๗ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๕๔ ตลอดระยะเวลา ๑๑๓ ปี กรมศิลปากรได้ทำหน้าที่ดูแล ปกป้อง คุ้มครอง อนุรักษ์ ฟื้นฟู ทำนุบำรุง ส่งเสริม สืบทอด สร้างสรรค์ และเผยแพร่องค์ความรู้ในงานด้านมรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติมาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นงานนาฏศิลป์และดนตรี งานโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์ งานด้านภาษา เอกสาร และหนังสือ งานสถาปัตยกรรม ศิลปกรรมและช่างศิลป์ไทย รวมไปถึงงานสนับสนุนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับมรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติ ซึ่งเป็นภารกิจหลักของกรมศิลปากร
.
ปัจจุบันกรมศิลปากร เป็นหน่วยงานภาครัฐ สังกัดกระทรวงวัฒนธรรม มีที่ทำการของหน่วยงานส่วนกลางตั้งอยู่ที่อาคารกรมศิลปากร (เทเวศร์) ถนนศรีอยุธยา เขตดุสิต กรุงเทพฯ และยังมีหน่วยงานส่วนกลางที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ต่างๆ คือ สำนักการสังคีต ตั้งอยู่บริเวณถนนราชินี สำนักหอสมุดแห่งชาติและสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ตั้งอยู่บริเวณถนนสามเสน และสำนักช่างสิบหมู่ ตั้งอยู่บริเวณถนนพุทธมณฑลสาย ๕ จังหวัดนครปฐม นอกจากนี้ยังมีสำนักศิลปากรที่ ๑ - ๑๒ ดูแลในส่วนภูมิภาค
วัน่ที่ 28 มีนาคม 2567 นางสาวกุลริศา รัชตะวุฒิ นักภาษาโบราณ ได้ให้การต้อนรับนักท่องเที่ยวจากกรุงเทพมหานคร ที่เข้ามาเยี่ยมชมเอกสารโบราณภายในห้องอีสานศึกษา ณ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ร.๙ นครราชสีมา
เพื่อเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมด้านการจัดการมรดกทางวัฒนธรรมใต้น้ำ (Maritime Cultural Heritage: Protection, Conservation, Tourism, and Management) จัดโดยมหาวิทยาลัยฟรินเดอร์ส (Flinders University)