ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,974 รายการ
วันพฤหัสบดีที่ ๑๘ เมษายน ๒๕๖๗ นายทศพร ศรีสมาน ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๑๐ นคราชสีมา ร่วมพิธีบวงสรวงสมโภชเปิดสถานพระนารายณ์ พร้อมทั้งให้ข้อมูลโบราณวัตถุที่นำมาจัดแสดงกับนายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ณ วัดพระนารายณ์มหาราช วรวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา
วันพฤหัสบดีที่ ๑๘ เมษายน ๒๕๖๗ นายทศพร ศรีสมาน ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา จัดกิจกรรมแสดงมุทิตาจิต รดน้ำขอพรผู้อาวุโสสำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา เนื่องในเทศกาลสงกรานต์ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๗ พร้อมด้วยข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ ณ สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา
วันพฤหัสบดีที่ 18 เมษายน 2567 เวลา 16.00 น. นายวิเชต ลิ้มภักดี เข้าร่วมการแถลงข่าว งาน“ศิวะราตรี ปูชนียาลัย ปราสาทเปือยน้อย” ประจำปี 2567 และการแสดงโขน ประกอบแสง สี เรื่องรามเกียรติ์ ชุด พาลีสอนน้อง โครงการจัดการแสดงนาฏศิลป์และดนตรีสัญจร ประจำปี 2567 นำแสดงโดย ศิลปินสำนักการสังคีต กรมศิลปากร ณ ห้องแสดงสำนักประชาสัมพันธ์เขต 1 ขอนแก่น
วันพฤหัสบดีที่ ๑๘ เมษายน ๒๕๖๗ นายทศพร ศรีสมาน ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๑๐ นคราชสีมา ร่วมพิธีบวงสรวงสมโภชเปิดสถานพระนารายณ์ พร้อมทั้งให้ข้อมูลโบราณวัตถุที่นำมาจัดแสดงกับนายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ณ วัดพระนารายณ์มหาราช วรวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา
กรมศิลปากร ขอเชิญรับชมถ่ายทอดสด Facebook Live รายการไขความรู้จากครูกรมศิลป์ ตอน “ตามรอยฝรั่ง เล่าความหลังเมืองพริบพรี (เพชรบุรี)” วิทยากร นางสาวนันทพร บรรลือสินธุ์ ผู้อำนวยการกลุ่มแปลและเรียบเรียง สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์, นางสาวปภัชกร ศรีบุญเรือง นักอักษรศาสตร์ชำนาญการพิเศษ สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ และนายเชิดพงศ์ สุทธิวงษ์ นักอักษรศาสตร์ปฏิบัติการ สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ ผู้ดำเนินรายการ นายสิทธิพร บุปผา นักวิชาการเผยแพร่ กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ในวันพฤหัสบดีที่ ๑๘ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๖๗ เวลา ๑๑.๐๐ - ๑๑.๔๕ น. ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และ Facebook : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร รายการ “ไขความรู้จากครูกรมศิลป์” มีรูปแบบเนื้อหาของรายการเกี่ยวกับประวัติความเป็นไทย เกร็ดประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับวันสำคัญ ประเพณี วัฒนธรรม วีถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน ผ่านการบอกเล่า ถ่ายทอดความรู้ แนวความคิด เนื้อหาวิชาการ จากประสบการณ์ของผู้บริหาร นักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญกรมศิลปากร กำหนดถ่ายทอดสดผ่านเฟสบุ๊กไลฟ์ (facebook live) ทุกวันพฤหัสบดี เวลา ๑๑.๐๐ น. ตลอดปีงบประมาณ ๒๕๖๗ ระหว่างเดือนตุลาคม ๒๕๖๖ - กันยายน ๒๕๖๗
วันอังคาร ที่ ๑๖ เมษายน ๒๕๖๗ นางสาวปุณณภา สุขสาคร ผู้อำนวยการหอสมุดแห่งชาติ และบุคลากร ร่วมงานสืบสานป๋าเวณี "สระเกล้าดำหัว ป้อเมืองเจียงใหม่" ประจำปี ๒๕๖๗ ณ จวนผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อแสดงความเคารพ ขอสุมาคารวะ และขอพร เพื่อความเป็นสิริมงคล เนื่องในวันพญาวัน หรือ วันขึ้นปีใหม่ตามประเพณีสงกรานต์ของชาวล้านนา ประจำปี ๒๕๖๗
ขอเชิญร่วมฟังเสวนาทางวิชาการ เนื่องในงานใต้ร่มพระบารมี 242 ปี กรุงรัตนโกสินทร์ หัวข้อ “ไม่บันทึก...ก็นึกไม่ออก”
วิทยากร:
ศาสตราจารย์พิเศษ ธงทอง จันทรางศุ
รองศาสตราจารย์ ดร.พีรศรี โพวาทอง
นางณิชชา จริยเศรษฐการ ผู้อำนวยการสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
นางสาวนวลพรรณ นาคปรีชา นักจดหมายเหตุชำนาญการ
ผู้ดำเนินรายการ: นายนพดล ภู่ชัย ผู้อำนวยการกลุ่มบันทึกเหตุการณ์ ในวันจันทร์ที่ 22 เมษายน 2567 เวลา 13.00 - 16.00 น. ณ ห้องออดิทอเรียม ชั้น 1 หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ในวันงานสามารถรับชมถ่ายทอดสด เสวนาทางวิชาการ เนื่องในงานใต้ร่มพระบารมี 242 ปี กรุงรัตนโกสินทร์ หัวข้อ “ไม่บันทึก...ก็นึกไม่ออก” วันจันทร์ที่ 22 เมษายน 2567 เวลา 13.00 - 16.00 น. ทาง Facebook Live กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และรับชมเพิ่มเติมที่ Facebook กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร และ Facebook สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
การจัดทำหนังสือที่ระลึกงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567
คณะอนุกรรมการกลั่นกรองและพิจารณาการจัดทำหนังสือที่ระลึกงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ขอความร่วมมือให้หน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่มีความประสงค์จะจัดทำหนังสือที่ระลึกเพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติฯ ดำเนินการตามขั้นตอนการขอจัดทำหนังสือตามหลักเกณฑ์และแนวทางการพิจารณาที่ได้กำหนดไว้ เพื่อให้การจัดทำหนังสือมีวัตถุประสงค์และลักษณะเนื้อหา รูปแบบ ที่ถูกต้องและเหมาะสม
คณะอนุกรรมการกลั่นกรองและพิจารณาการจัดทำหนังสือที่ระลึกงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ได้กำหนดหลักเกณฑ์และแนวทางการพิจารณากลั่นกรองการจัดทำหนังสือที่ระลึกเพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยพิจารณาจากวัตถุประสงค์ เป้าหมายของการจัดทำหนังสือที่ระลึก คุณลักษณะของหนังสือ ลักษณะรูปเล่ม ขนาด จำนวนพิมพ์ การเผยแพร่ และขอบเขตของการดำเนินงาน ทั้งนี้ หน่วยงานที่มีความประสงค์จะจัดทำหนังสือที่ระลึกฯ ขอให้กรอกแบบการขอจัดทำหนังสือที่ระลึกฯ ตามที่กำหนด โดยหน่วยงานภาครัฐจะต้องผ่านการพิจารณาและกลั่นกรองจากหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมหรือเทียบเท่าขึ้นไป ส่วนหน่วยงานภาคเอกชนจะต้องผ่านการพิจารณาและกลั่นกรองจากหัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร จากนั้นส่งมายังฝ่ายเลขานุการคณะอนุกรรมการกลั่นกรองและพิจารณาการจัดทำหนังสือที่ระลึกฯ สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร ถนนสามเสน แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 เมื่อหนังสือได้รับความเห็นชอบแล้ว หากประสงค์นำตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ไปใช้พิมพ์ในหนังสือให้แจ้งขออนุญาตใช้ตราสัญลักษณ์ฯ ไปยังคณะอนุกรรมการฝ่ายกลั่นกรองการขอใช้ตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล
กำหนดส่งแบบการขอจัดทำหนังสือที่ระลึกฯ ได้ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2567 สามารถดูรายละเอียดหลักเกณฑ์ แนวทางการพิจารณากลั่นกรอง และดาวน์โหลดแบบการขอจัดทำหนังสือที่ระลึกฯ ได้ที่ https://shorturl.at/betJ8 หรือเว็บไซต์ของสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ www.nat.go.th สอบถามเพิ่มเติม โทร. 0 2281 1599 ต่อ 141, 143, 145 โทรสาร 0 2282 3826 E-mail: Korbokor57@gmail.com
กรมศิลปากรจัดนิทรรศการพิเศษและจัดกิจกรรมเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๖๗ เรื่อง “เอกสารล้ำค่าจารึกสยาม” ณ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน ระหว่างวันที่ ๒๗ มีนาคม-๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๗ และจัดกิจกรรมประกอบทุกวันเสาร์-อาทิตย์ ตลอดการจัดแสดงนิทรรศการ ได้แก่ การเสวนาทางวิชาการ การประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) การสาธิต Walk Rally อวดของสะสม และ การบรรยายแบ่งกลุ่มนำชม ณ ห้องประชุมอาคารดำรงราชานุภาพ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
๑. การเสวนาทางวิชาการ (ถ่ายทอดสด Facebook live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม)
๑.๑ กรุงศรีอยุธยาในพระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ วันเสาร์ที่ ๓๐ มี.ค. ๒๕๖๗
หน่วยงานที่รับผิดชอบ สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์
วิทยากร นางสาวเปรมา สัตยาวุฒิพงศ์, นายชัยสิทธิ์ ปะนันวงค์, นางสาวระชา ภุชชงค์
ผู้ดำเนินรายการ นายเอกลักษณ์ ลอยศักดิ์
๑.๒ สามก๊ก : จากเรื่องจีนสู่เอกสารล้ำค่าจารึกสยาม วันเสาร์ที่ ๒๐ เม.ย. ๒๕๖๗
หน่วยงานที่รับผิดชอบ สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์
วิทยากร นางสาวพิมพ์พรรณ ไพบูลย์หวังเจริญ, นางดาวรัตน์ ชูทรัพย์
ผู้ดำเนินรายการ นางสาวสุธีรา สัตยพันธ์
๑.๓ แผนภูมิของแผ่นดิน วันเสาร์ที่ ๑๑ พ.ค. ๒๕๖๗
หน่วยงานที่รับผิดชอบ สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์
วิทยากร นางณิชชา จริยเศรษฐการ, นายไอยคุปต์ ธนบัตร, นายภูวนารถ สังข์เงิน
ผู้ดำเนินรายการ นายชัยสิทธิ์ ปะนันวงค์
๑.๔ ตราประจำจังหวัด วันเสาร์ที่ ๑๘ พ.ค. ๒๕๖๗
หน่วยงานที่รับผิดชอบ สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
วิทยากร นายกำพล เวชสุทัศน์, นายสุเมธ พุฒพวง, นายสมชาย ศุภลักษณ์อำไพพร, นางสาวมณีรัตน์ พุทธอุปถัมภ์
ผู้ดำเนินรายการ นางประภาพร ตราชูชาติ
๑.๕ สานสัมพันธ์ด้วยสัญญา วันเสาร์ที่ ๑ มิ.ย. ๒๕๖๗
หน่วยงานที่รับผิดชอบ สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
วิทยากร นางภาวิดา สมวงศ์, นางสาวทรายทอง ทองเกษม, ผู้แทนกลุ่มวิทยาศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์
ผู้ดำเนินรายการ นางสาวนัทธมน จิตเจตน์
๑.๖ แรกมีการพิมพ์ วันเสาร์ที่ ๘ มิ.ย. ๒๕๖๗
หน่วยงานที่รับผิดชอบ สำนักหอสมุดแห่งชาติ
วิทยากร นางอัจฉรา จารุวรรณ, นางสาวรวิวรรณ พุฒซ้อน, นายยุทธนาวรากร แสงอร่าม
ผู้ดำเนินรายการ นางสาวอุดมพร เข็มเฉลิม
๑.๗ ต้นร่างสร้างเมืองเรืองรองศิลปกรรม วันเสาร์ที่ ๑๕ มิ.ย. ๒๕๖๗
หน่วยงานที่รับผิดชอบ สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
วิทยากร ดร.วสุ โปษยะนันท์, นายจักริน อุตตะมะ, ดร.พรธรรม ธรรมวิมล, นางพัชรินทร์ ลั้งแท้กุล
ผู้ดำเนินรายการ นางสาวชนาธิป พฤกษ์อุดม
๑.๘ ด้วยความทรงจำอันงดงามและความคิดถึง วันเสาร์ที่ ๒๒ มิ.ย. ๒๕๖๗
หน่วยงานที่รับผิดชอบ สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
วิทยากร นางจุฑาทิพย์ อังศุสิงห์, นางสาวกรพินธุ์ ทวีตา
ผู้ดำเนินรายการ นางบุศยารัตน์ คู่เทียม
๑.๙ ด้วยพระปรีชาญาณ นำประชาราษฎร์จากทาสสู่ไท วันเสาร์ที่ ๒๙ มิ.ย. ๒๕๖๗
หน่วยงานที่รับผิดชอบ สำนักหอสมุดแห่งชาติ
วิทยากร นางสาวยุวเรศ วุทธีรพล, นางสาวณัฏฐา กล้าหาญ, นางสาวฉัตรลดา สินธุสอน
ผู้ดำเนินรายการ นายบารมี สมาธิปัญญา
๑.๑๐ เล่าขานประวัติศาสตร์ไทยจากเอกสารต่างประเทศ วันอาทิตย์ที่ ๓๐ มิ.ย. ๒๕๖๗
หน่วยงานที่รับผิดชอบ สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์
วิทยากร นางสาวนันทพร บรรลือสินธุ์, นางสาวรัตติกาล สร้อยทอง, นางสาวกมลทิพย์ ชัยศุภมงคลลาภ
ผู้ดำเนินรายการ นางสาวพัชรา สุขเกษม
๒. การประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop)
๒.๑ การซ่อมหนังสือชำรุด วันอาทิตย์ที่ ๓๑ มี.ค. ๒๕๖๗
หน่วยงานที่รับผิดชอบ สำนักหอสมุดแห่งชาติ
วิทยากร นางสาวเกศสรินทร์ ประมวลพัฒน์, นางสาวอุษา สาริกบุตร, นางสาววชิราภรณ์ เขียวเจริญ, นายณัฐกรณ์ พงศ์พันธุ์
๒.๒ การจัดทำอัลบั้มเพื่ออนุรักษ์ภาพถ่าย วันอาทิตย์ที่ ๒๑ เม.ย. ๒๕๖๗
หน่วยงานที่รับผิดชอบ สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
วิทยากร นางสาวอาทิพรรษ์ ผาจันดา, นางกฤตพร หย่องเจริญ, นางสาวณัฐชยา สระทองคำ, นางสาวชิตวรรณ เจริญสิน
๒.๓ ออกแบบฉลุลาย ปั๊มลาย เขียนสี วันอาทิตย์ที่ ๒๘ เม.ย. ๒๕๖๗
หน่วยงานที่รับผิดชอบ สำนักช่างสิบหมู่
วิทยากร นางสาวนิธีราฤดี ภาตะนันท์, นายธรรมรัตน์ กังวานก้อง, นายวิสูตร ศรีนุกูล, นายสิทธิพร สระโพธิ์ทอง, นางสาวสุภัทรา ทรัพย์สงเคราะห์
๒.๔ แกะภาพพิมพ์ลายไม้พิมพ์ลายกระเป๋า วันอาทิตย์ที่ ๕ พ.ค. ๒๕๖๗
หน่วยงานที่รับผิดชอบ สำนักช่างสิบหมู่
วิทยากร นายสาโรจน์ แสงสี, นายชรินทร์ ฉายอรุณ, นางสาวชุลีวัลย์ วงค์บุญ, นายรัชชานนท์ เสนวงค์, นายพิพัฒน์พงศ์ ราชภักดี,
นางสาวพรพรรณ์ พัฒนธาดาพงษ์
๒.๕ เขียนลายรดน้ำ วันอาทิตย์ที่ ๑๒ พ.ค. ๒๕๖๗
หน่วยงานที่รับผิดชอบ สำนักช่างสิบหมู่
วิทยากร นายยิ่งพันธ์ ปิยาเล่ธนกาญจน์, นายสุเพล สาตร์เสริม, นายสุธี สกุลหนู, นายธราธร แก้วโสนด, นายคฑา ม่วงเทศ, นางสาวชุตินันท์ กฤชนาวิน
๒.๖ การจารใบลานและทำที่คั่นหนังสือ วันอาทิตย์ที่ ๑๙ พ.ค. ๒๕๖๗
หน่วยงานที่รับผิดชอบ สำนักหอสมุดแห่งชาติ
วิทยากร นางศิวพร เฉลิมศรี, นางสาวยุวเรศ วุทธีรพล, นางสาวชญานุตย์ จินดารักษ์, นางสาววชรพร อังกูรชัชชัย
๒.๗ หัดเขียนลายสือไทย วันอาทิตย์ที่ ๒ มิ.ย. ๒๕๖๗
หน่วยงานที่รับผิดชอบ สำนักหอสมุดแห่งชาติ
วิทยากร นายเทิม มีเต็ม, นางสาวพิมพ์พรรณ ไพบูลย์หวังเจริญ, นางศิวพร เฉลิมศรี, นางสาวยุวเรศ วุทธีรพล, นางสาวชญานุตย์ จินดารักษ์
๓. การสาธิต (ถ่ายทอดสด Facebook live) / Walk Rally
๓.๑ การสวดมหาชาติคำหลวง : ราชประเพณีที่สืบทอดจากกรุงศรีอยุธยา วันอาทิตย์ที่ ๙ มิ.ย.๒๕๖๗
หน่วยงานที่รับผิดชอบ สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ และเจ้าหน้าที่จากกรมการศาสนา
วิทยากร นายเฉลิมชัย ดงจันทร์, นายณัฐพล เกิดเอี่ยม, นายทินวุฒิ บัวรอด, นายรณกร ด้วงโยธา
ผู้ดำเนินรายการ นางสาวชนิดา สีหามาตย์
๓.๒ พระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ สู่การแสดง ‘นารายณ์ปราบนนทก’ ของกรมศิลปากร วันอาทิตย์ที่ ๑๖ มิ.ย. ๒๕๖๗
หน่วยงานที่รับผิดชอบ สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์
วิทยากร นายจรัญ พูลลาภ, นายพิรชัช สถิตยุทธการ, ศิลปิน ๒๕ คน
๓.๓ Walk Rally ร่วมสนุกตามหาเอกสารล้ำค่าจารึกสยาม วันอาทิตย์ที่ ๒๓ มิ.ย. ๒๕๖๗
หน่วยงานที่รับผิดชอบ สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์
๔. อวดของสะสม (ถ่ายทอดสด Facebook live)
๔.๑ นักสะสมบันทึกสยามของต่างชาติ วันเสาร์ที่ ๒๗ เม.ย. ๒๕๖๗
หน่วยงานที่รับผิดชอบ สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
วิทยากร นายอรรถดา คอมันต์, ผศ.ดร.พีรศรี โพวาทอง, ร.ต. สามารถ เวสุวรรณ์
ผู้ดำเนินรายการ นางภาวิดา สมวงศ์
๔.๒ อวดของสะสมนายวีระ โรจน์พจนรัตน์ และของที่ระลึก ๑๐๐ปี หอสมุดแห่งชาติ วันเสาร์ที่ ๔ พ.ค. ๒๕๖๗
หน่วยงานที่รับผิดชอบ สำนักหอสมุดแห่งชาติ
วิทยากร นายวีระ โรจน์พจนรัตน์, นางสาวพิมพ์พรรณ ไพบูลย์หวังเจริญ
ผู้ดำเนินรายการ นายทัตพล พูลสุวรรณ
๔.๓ พระ/เทวรูป วันเสาร์ที่ ๒๕ พ.ค. ๒๕๖๗
หน่วยงานที่รับผิดชอบ สำนักหอสมุดแห่งชาติ
วิทยากร นายพนมบุตร จันทรโชติ (อธิบดีกรมศิลปากร), นายสมชาย ศุภลักษณ์อำไพพร
ผู้ดำเนินรายการ นางสาวเด่นดาว ศิลปานนท์
๔.๔ หนังสือเก่า/ลายพระหัตถ์ ร.๕ ตั้งพระนามพระธิดา กับแผนที่กรุงเทพฯ วันอาทิตย์ที่ ๒๖ พ.ค.๒๕๖๗
หน่วยงานที่รับผิดชอบ สำนักหอสมุดแห่งชาติ
วิทยากร นายอเนก นาวิกมูล, นายธงชัย ลิขิตพรสวรรค์
ผู้ดำเนินรายการ นางสาวบุบผา ชูชาติ
๕. การแบ่งกลุ่มบรรยายนำชมนิทรรศการ ทุกวันอาทิตย์ วันละ ๖ คน จำนวน ๑๔ วัน
หน่วยงานที่รับผิดชอบ สำนักหอสมุดแห่งชาติ
วิทยากรนำชมประกอบด้วย
๑) ผู้ตรวจราชการกระทรวงวัฒนธรรม (นางรักชนก โคจรานนท์) หรือผู้แทน
๒) ผู้แทนสำนักสถาปัตยกรรม
๓) ผู้แทนพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
๔) ผู้แทนสำนักหอสมุดแห่งชาติ
๕) ผู้แทนสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
๖) ผู้แทนสำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์