ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,974 รายการ
วันที่ 5 เมษายน 2567 เวลา 11.00 น. พลเรือเอก อะดุง พันธุ์เอี่ยม ผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นประธานในพิธีส่งมอบการซ่อมทำเรือพระที่นั่งและเรือรูปสัตว์ ให้แก่กรมศิลปากร โดยมีนายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เป็นผู้รับมอบ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ
นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า กองทัพเรือและกรมศิลปากรได้หล่อหลอมดวงใจเป็นหนึ่งเดียวกันเพื่อถวายพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอันเป็นที่รักยิ่งของปวงชนชาวไทยทุกคน เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 การพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร โดยดำเนินการซ่อมเรือพระราชพิธีให้มีความสวยงาม สมพระเกียรติ แบ่งเป็น 2 ขั้นตอนคือ กองทัพเรือซ่อมบำรุงโครงสร้าง กรมศิลปากรดูแลงานศิลปกรรมประดับตกแต่งเรือ ขณะนี้กองทัพเรือได้ดำเนินการซ่อมบำรุงโครงสร้างเสร็จแล้ว จึงทำการส่งมอบให้กรมศิลปากรเพื่อดำเนินการประดับตกแต่งตัวเรือ ซึ่งเรือพระราชพิธีแต่ละลำมีความวิจิตรบรรจงจากการลงรักปิดทอง ประดับกระจกเกรียบกระจกสี เป็นงานที่อาศัยทักษะชั้นสูงและวิทยาศาสตร์ผสมผสานกัน การดำเนินงานของกรมศิลปากรจะเน้นรูปแบบศิลปะที่คงความเป็นของแท้ดั้งเดิม โดยมอบหมาย 2 หน่วยงานหลัก ได้แก่ สำนักช่างสิบหมู่ จะนำช่างแกะ ช่างเขียน ช่างประณีตศิลป์ เข้าทำงาน ส่วนสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจะนำนักวิทยาศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์มาดูการเตรียมผิวรองรับการประดับตกแต่ง เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนเมษายน 2567 คาดว่าจะเสร็จสิ้นภายใน 30 มิถุนายน 2567 เชื่อว่าความงดงามของกระบวนเรือพระราชพิธีจะตราตรึงชาวไทยและชาวต่างชาติทั่วโลก นอกจากนี้ ระหว่างการดำเนินการซ่อมเรือพระราชพิธี สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติจะบันทึกเหตุการณ์ขั้นตอนการดำเนินการครั้งประวัติศาสตร์นี้ด้วย
อู่ทหารเรือธนบุรี กรมอู่ทหารเรือ ได้ดำเนินการ สำรวจ และซ่อมทำเรือพระที่นั่งและเรือรูปสัตว์ ตั้งแต่ธันวาคม 2566 ด้วยวิธีศิลปะภูมิปัญญาประมงพื้นบ้าน การตอกหมันเรือ ซึ่งนำด้ายดิบมาตอกเข้าไปบริเวณร่องระหว่างไม้กระดานเรือให้แน่นเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำซึมเข้าเรือ จากนั้นจึงชันยาเรือผสมกับน้ำมันยางยาแนวในร่องและทาทั่วทั้งบริเวณนอกลำเรือเพื่อป้องกันเพรียงกินไม้ที่จะทำให้เรือผุเร็ว ซึ่งได้ดำเนินการแล้วเสร็จ จึงทำการส่งมอบให้กรมศิลปากร เพื่อดำเนินการประดับตกแต่งตัวเรือ ประกอบด้วย เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช เรือพระที่นั่งเอนกชาติภุชงค์ และเรือรูปสัตว์ ประกอบด้วย เรือเอกชัยเหินหาว เรือเอกชัยหลาวทอง เรือกระบี่ปราบเมืองมาร เรือกระบี่ราญรอนราพณ์ เรือพาลีล้างทวีป เรือสุครีพครองเมือง เรือครุฑเหินเห็จ เรือครุฑเตร็จไตรจักร เรืออสุรวายุภักษ์ เรืออสุรปักษี
เพลงสงกรานต์ ๑๒ ภาษา เนื่องในประเพณีสงกรานต์ พุทธศักราช ๒๕๖๗ ประกอบไปด้วยภาษาไทย / ภาษาอังกฤษ / ภาษาฝรั่งเศส / ภาษาจีน / ภาษาเยอรมัน / ภาษาสเปน / ภาษาอินโดนีเซีย / ภาษาพม่า / ภาษาฮินดี / ภาษาญี่ปุ่น / ภาษาเกาหลี และภาษาเวียดนามทำนอง : จารุณี หงส์จารุ
คำร้องไทย : สิริกุล นรินทร์
เรียบเรียงดนตรี : วิรัช อยู่ถาวรได้ที่ลิงค์ : https://www.youtube.com/playlist?list=PLWH6vumH7fsbUaWDllVmgy_9LwrIDiDgUจัดทำโดย กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม
วันอังคารที่ ๙ เมษายน ๒๕๖๗ นายทศพร ศรีสมาน ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา (ประธานตรวจการจ้าง) พร้อมด้วยคณะกรรมการตรวจการจ้างและผู้ควบคุมงาน ตรวจรับงานจ้าง (งวดที่๑) โครงการบูรณะโบราณสถานศาลาการเปรียญวัดโพธาราม ตำบลดงบัง อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม
วันที่ 9-11 เมษายน 2567 เจ้าหน้าที่สำนักศิลปากรที่ 8 ขอนแก่น เข้าดำเนินการถากถางกำจัดวัชพืชในเขตพื้นที่ โบราณสถานปราสาทเปือยน้อย ตำบลเปือยน้อย อำเภอเปือยน้อย จังหวัดขอนแก่น
เรื่องราวมหาสงกรานต์จากแผ่นศิลาที่จารึก มีทั้งหมด ๗ แผ่น ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ปรากฏอยู่บนคอสองเฉลียงศาลาทิศพระมณฑปหลังเหนือ ณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามฯ เป็นจุดเริ่มต้นของตำนานนางสงกรานต์ และความเชื่อมาอย่างยาวนาน และอัตลักษณ์อันโดดเด่นของประเพณีสงกรานต์ มาจนถึงปัจจุบัน…
เรียบเรียงโดย : นายธีรบูลย์ มิตรมโนชัย นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม
แหล่งอ้างอิง :
กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. ประกาศสงกรานต์ ปีพุทธศักราช ๒๕๖๗. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๙ เมษายน ๒๕๖๗, จาก: https://www.facebook.com/photo?fbid=745321764364327&set=pcb.745322907697546, ๒๕๖๗.
กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. ประเพณีสงกรานต์. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์, ๒๕๖๔.
กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. สงกรานต์...สืบสานประเพณีไทย สุขใจ...ไทยทั่วหล้า. กรุงเทพฯ: กระทรวงวัฒนธรรม, ๒๕๕๘.
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). จารึกเรื่องมหาสงกรานต์. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๙ เมษายน ๒๕๖๗, จาก: https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/search
เรื่องราวมหาสงกรานต์จากแผ่นศิลาที่จารึก มีทั้งหมด ๗ แผ่น ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ปรากฏอยู่บนคอสองเฉลียงศาลาทิศพระมณฑปหลังเหนือ ณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามฯ เป็นจุดเริ่มต้นของตำนานนางสงกรานต์ และความเชื่อมาอย่างยาวนาน และอัตลักษณ์อันโดดเด่นของประเพณีสงกรานต์ มาจนถึงปัจจุบัน…
เรียบเรียงโดย : นายธีรบูลย์ มิตรมโนชัย นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม
แหล่งอ้างอิง :
กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. ประกาศสงกรานต์ ปีพุทธศักราช ๒๕๖๗. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๙ เมษายน ๒๕๖๗, จาก: https://www.facebook.com/photo?fbid=745321764364327&set=pcb.745322907697546, ๒๕๖๗.
กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. ประเพณีสงกรานต์. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์, ๒๕๖๔.
กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. สงกรานต์...สืบสานประเพณีไทย สุขใจ...ไทยทั่วหล้า. กรุงเทพฯ: กระทรวงวัฒนธรรม, ๒๕๕๘.
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). จารึกเรื่องมหาสงกรานต์. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๙ เมษายน ๒๕๖๗, จาก: https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/search