ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,970 รายการ

            วันที่ 24 เมษายน 2567 เวลา 10.30 น. นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เป็นประธานในพิธีแถลงข่าวส่งมอบผลงานการอนุรักษ์จัดเก็บคัมภีร์ใบลานวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม จำนวน 894 รายการ (ผูก) พร้อมหนังสือบัญชีทะเบียนคัมภีร์ใบลาน และมอบเกียรติบัตรแก่อาสาสมัครท้องถิ่นในการดูแลรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรม (อส.มศ.) ณ วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม เขตพระนคร กรุงเทพฯ             อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า กรมศิลปากร โดยสำนักหอสมุดแห่งชาติ ดำเนินโครงการความร่วมมือระหว่างวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามกับกรมศิลปากร เพื่อเผยแพร่ผลงานการอนุรักษ์จัดเก็บคัมภีร์ใบลานวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม ตั้งแต่วันที่ 30 มกราคม ถึงวันที่ 21 มีนาคม 2567 ระยะเวลา 2 เดือน ทำการอนุรักษ์จัดเก็บคัมภีร์ใบลาน จำนวน 894 รายการ (ผูก) โดยบูรณาการประสานความร่วมมือระหว่างกรมศิลปากร คณะสงฆ์ และประชาชน สร้างการรับรู้อย่างเป็นรูปธรรม เกิดเครือข่ายอาสาสมัครท้องถิ่นในการดูแลรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรม (อส.มศ.) เพิ่มขึ้น จำนวน 7 รูป/คน ความสำเร็จของการดำเนินงานครั้งนี้ จึงถือเป็นก้าวสำคัญที่สร้างความมั่นใจในการเป็นผู้นำการอนุรักษ์ให้กับประชาชน และสร้างการรับรู้แบบตรงไปตรงมาแก่ชุมชนท้องถิ่นที่อยู่ใกล้ชิดเอกสารโบราณ โดยมีวัดเป็นแหล่งเอกสารโบราณและคณะสงฆ์เป็นผู้เก็บรักษาสมบัติล้ำค่าเหล่านี้ไว้ สรุปผลความสำเร็จของการดำเนินงานได้ ดังนี้              1. กรมศิลปากร อนุรักษ์จัดเก็บและจัดทำทะเบียนคัมภีร์ใบลาน ซึ่งเป็นการจัดระบบคัมภีร์ใบลานเพื่อให้บริการตามหลักวิชาการ ออกเลขทะเบียนบัญชีรายชื่อคัมภีร์ใบลานจำนวน 67 มัด มีเลขทะเบียน 144 เลขที่ รวมทั้งสิ้นจำนวน 894 ผูก ถือว่าเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้กลางกรุงที่สำคัญ               2. ความสำคัญของคัมภีร์ใบลานเทียบเท่าความสำคัญของวัดซึ่งเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 4 เนื่องจากเป็นคัมภีร์ใบลานพระไตรปิฎกซึ่งประดิษฐานอยู่ ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม ภายในพระบรมมหาราชวังมาแต่เดิมตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 จึงถือว่าเป็นคัมภีร์ใบลานพระไตรปิฎกฉบับหลวงประจำรัชกาลที่ 4 ด้วยเช่นกัน ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 โปรดให้อัญเชิญคัมภีร์พระไตรปิฎกชุดนี้ มาประดิษฐาน ณ วัดราชประดิษฐฯ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนมากขึ้น              3. จากการสำรวจ อนุรักษ์จัดเก็บ พบว่า มีคัมภีร์ใบลานฉบับทรงสร้างซ่อมเติมเต็มฉบับที่หายไปในรัชกาลก่อน ซึ่งในแหล่งเอกสารโบราณวัดราชประดิษฐฯ นี้ รัชกาลที่ 5 ทรงสร้างซ่อมคัมภีร์บางฉบับที่หายไปในรัชกาลที่ 4 เพื่อทำให้สมบูรณ์เต็มชุด จึงเรียกว่าคัมภีร์ใบลานฉบับหลวงทรงสร้างซ่อม หรือคนทั่วไปเรียกว่า คัมภีร์ใบลาน 2 รัชกาล เนื่องจากมีตราพระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ 4 อยู่ด้านซ้าย และตราพระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ 5 อยู่ด้านขวา ของปกคัมภีร์ใบลาน โดยสรุปมีคัมภีร์สำคัญ ได้แก่ วรด.1-3 (วัดราชประดิษฐฯ เลขที่ 1-3)  เรื่อง อนาคตวังสะ สมัยรัชกาลที่ 4 อายุประมาณ 170 ปี, วรด.14,17,28-32,83,98 (วัดราชประดิษฐฯ เลขที่ 14,17,28-32,83,98) เรื่อง วังสมาลินี, อรรถกถาสังยุตตนิกาย, ฎีกามหาวงศ์, โยชนาอภิธัมมัตถสังคหะและปุคคลบัญญัติ ฉบับหลวงสร้างซ่อม รัชกาลที่ 5 อายุ 139 ปี               4. คัมภีร์ใบลานสมัยรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 ได้รับการอนุรักษ์จัดเก็บอย่างเป็นระบบตามหลักวิชาการ โดยใช้ไม้ประกับประกบด้านข้างของคัมภีร์เพื่อเป็นการรักษาทรงไม่ให้โค้งงอ ส่วนกล่องบรรจุคัมภีร์ที่มีมาแต่เดิม จำนวนทั้งสิ้น 87 กล่อง ถือเป็นโบราณวัตถุที่มีความสำคัญเพราะสร้างโดยประณีตศิลป์ เพื่อเก็บรักษาคัมภีร์ มีข้อความจารึกฝังที่สันกล่องระบุปี จ.ศ.1247 (พ.ศ.2428) กล่องประณีตศิลป์นี้จึงมีอายุอย่างน้อย 139 ปี จึงถ่ายโอนภารกิจนี้ให้กับสำนักช่างสิบหมู่ดำเนินการอนุรักษ์ซ่อมแซมต่อไป              5. ขยายเครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์รักษาเอกสารโบราณเพิ่มเติมจากปีงบประมาณ 2566 ที่ผ่านมา โดยการอบรมจัดตั้งสมาชิก (อส.มศ.) ตามหลักสูตรอบรมจัดตั้งเป็นเวลา 2 วัน มีผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 7 รูป/คน จึงถือเป็นการร่วมมือระหว่างวัด กรมศิลปากร และภาคส่วนประชาชน เป็นอย่างดี ตามโครงการความร่วมมือระหว่างวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามกับกรมศิลปากรเพื่อเผยแพร่ผลงานการอนุรักษ์จัดเก็บคัมภีร์ใบลานวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม สร้างการรับรู้และการมีส่วนร่วมให้แก่คณะสงฆ์และประชาชนเพิ่มขึ้น 




สยามินทร์ สยามใหม่ โทรคมนาคมใต้ร่มพระบารมี.  พิมพ์ครั้งที่ 2.  กรุงเทพฯ: เอส.ซี.พับลิเคชั่น, 2560.231 หน้า.  ภาพประกอบ. เนื้อหาในเล่มนี้นำเสนอเรื่องพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร กับการสื่อสารโทรคมนาคมไทย  พระปรีชาสมารถด้านการสื่อสาร  จากเทเล็กซ์  แฟกซ์  ถึงโทรศัพท์และโทรศัพท์เคลื่อนที่  พระบิดาแห่งเทคโนโลยี  พระราชกรณียกิจด้านดาวเทียม  พระมหากษัตริย์นักพัฒนา นักปราชญ์ไอซีที    เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม 384 ค121ส ฉ.01       ( ห้องศาสตร์พระราชา )  


สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฉบับเสริมการเรียนรู้ เล่ม 3.  พิมพ์ครั้งที่ 12.  กรุงเทพฯ: โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, 2555.  196 หน้า.  ภาพประกอบ.  80 บาท. สาระในเล่มคือเรื่องลำดับพระมหากษัตริย์ไทย สมัยรัฐโบราณบนแผ่นดินไทย สมัยสุโขทัย  อยุธยา  ธนบุรี  สมัยรัตนโกสินทร์ เรื่องสังคมและวัฒนธรรมไทยความหมายปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ลักษณะสำคัญของสังคมและวัฒนธรรมไทยทั้งในสมัยสุโขทัย อยุธยา  รัตนโกสินทร์ สมัยการปฏิรูปประเทศ สมัยประชาธิปไตย  เรื่องภูมิปัญญาชาวบ้านความหมาย องค์ประกอบ ภูมิปัญญาด้านการทำมาหากิน  ด้านการรักษาสุขภาพอนามัย  ด้านการอยู่ร่วมกันในสังคม  ด้านงานประเพณีทางศาสนาและการเคารพบูชาสิ่งเหนือธรรมชาติ  ด้านการสร้างสรรค์ทางศิลปะ  ภูมิปัญญาชาวบ้านในสังคมไทยปัจจุบัน  การอนุรักษ์ฟื้นฟูและพัฒนาหัตถกรรมพื้นบ้าน              039.95911              ส678     ล.3          (ห้องศาสตร์พระราชา)        


กฤตภาคข่าวท้องถิ่น เรื่อง สวนสัตว์เปิดเขาเขียวเปิดตัวโครงการ "แก้วกล้า เพื่อเธอ"



ส่งเสริมการอ่านผ่าน Facebook กับหอสมุดแห่งชาติชลบุรี เรื่อง อย่าสูญเสียกำลังใจ ลุกขึ้นให้ได้ทุกครั้งที่ล้มลง เฌอมาณย์ รัตนพงศ์ตระกูล. อย่าสูญเสียกำลังใจ ลุกขึ้นให้ได้ทุกครั้งที่ล้มลง. กรุงเทพฯ: บิ๊ก ไอเดีย, 2562 ห้องหนังสือทั่วไป 1 เลขเรียกหนังสือ 152.42 ฌ999อ ตราบใดที่โลกยังคงมีฤดูกาลที่ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนไปทุกชีวิตย่อมจะต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลง หลายคนไม่อาจทำใจยอมรับได้ในทันทีซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากความกดดันหรือบีบคั้นใดๆ ก็ตาม จนเกิดเป็นความเหน็ดเหนื่อยท้อแท้ในชีวิต หรือบางคนก็จมอยู่กับความอ่อนแอและสิ้นหวัง จนปล่อยให้เวลาผ่านเลยไปอย่างน่าเสียดาย อย่าสูญเสียกำลังใจ ลุกขึ้นให้ได้ทุกครั้งที่ล้มลง เล่มนี้ ผู้เขียนพาเราไปพบกับ ข้อคิดสำหรับคนที่กำลังเหนื่อยและท้อกับชีวิต โดยการยืนหยัดด้วยหัวใจที่เข้มแข็งแม้ว่าต้องเจอกับอุปสรรคปัญหาใดๆ ก็ตาม เพราะนั่นคือสิ่งที่มนุษย์ทุกคนต้องเผชิญไม่มีใครปฏิเสธได้ แต่สามารถเลือกใช้ชีวิตอย่างมีความสุขได้ โดยการแบ่งชีวิตออกเป็น 2 ส่วน คือ ชีวิตด้านนอก หมายถึง การใช้ชีวิตตามปกติ และชีวิตด้านใน หมายถึง จิตใจ ที่ไม่ควรนำเอาเหตุการณ์สับสนวุ่นวายต่างๆ เข้ามารบกวน แต่จงสร้างความสงบนิ่งและความผ่อนคลายให้เกิดขึ้นภายในจิตใจ และปรับมุมมองต่อปัญหาที่เข้ามาในชีวิตว่าเป็นเพียงเรื่องเล็กน้อย แม้ในบางครั้งอาจทำได้ยากก็ตาม แต่การปลุกใจตัวเองเช่นนั้นก็เท่ากับการเอาชนะปัญหาไปได้ครึ่งทางแล้ว อีกครึ่งทางที่เหลือคือการแก้ไขอย่างเต็มกำลังความสามารถ เพราะเมื่อใดก็ตามที่มองว่าปัญหานั้นใหญ่เกินแก้ เมื่อนั้นความเชื่อมั่นก็จะถูกทำลายลงไป และก่อให้เกิดความรู้สึกยอมแพ้ตั้งแต่ยังไม่ได้เริ่มต้น อีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่ช่วยปลุกพลังใจในการใช้ชีวิต คือ การให้กำลังใจตนเอง ไม่ควรรอกำลังใจจากคนอื่น เพราะทุกๆ การล้มลงจะไม่มีใครฉุดรั้งให้เราลุกขึ้นยืนได้ดีเท่ากับพลังใจในตัวเรา ซึ่งสอดคล้องกับคำสอนทางพุทธศาสนา ที่กล่าวไว้ว่า “ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน” ซึ่งหมายถึงการเรียนรู้ที่จะจัดการเรื่องราวในชีวิตด้วยความรับผิดชอบและความพยายามของตนเอง การพึ่งพาตนเองจะเป็นประสบการณ์ที่ไม่มีครูคนใดสอนได้ ทุกๆ ประสบการณ์ไม่ว่าดีหรือร้ายจะทำให้เราเติบโตและแข็งแรงขึ้น อีกทั้งช่วยให้เข้าใจความหมายที่แท้จริงของชีวิต ส่งผลให้ทุกการก้าวเดินเต็มไปด้วยความหนักแน่น มั่นคง และนำไปสู่จุดมุ่งหมายที่ดีที่สุดของชีวิต ผู้สนใจสามารถหาอ่านได้ที่หอสมุดแห่งชาติชลบุรี (วันอังคาร – วันเสาร์ เวลา 09.00 - 17.00 น.)


กฤตภาคข่าวท้องถิ่น เรื่อง การคัดเลือกผู้ทำคุณประโยชน์ต่อกระทรวงวัฒนธรรม ประจำปี 2567






เมื่อวันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๖๗ นางสาวปุณณภา สุขสาคร ผู้อำนวยการหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ และเจ้าหน้าที่ เข้าร่วมประชุมประจำเดือนเมษายน ๒๕๖๗ ณ ห้องประชุมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน และในวันที่ ๒๓ เมษายน ๒๕๖๗ เข้าร่วมกิจกรรมรณรงค์การดูแลรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย จังหวัดน่าน ปีพุทธศักราช ๒๕๖๗ ณ คุ้มหลวงหอคำพระเจ้าน่านในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน



Messenger