ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,971 รายการ
แนะนำหนังสือน่าอ่าน
กรุ-สยามฯ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ 179 การพิมพ์, ม.ป.ป. 256 หน้า. ภาพประกอบ. 280 บาท.
สาระในเล่มเป็นการประมวลภาพถ่าย พระบรมฉายาลักษณ์ และเรื่องราวในประวัติศาสตร์ยุคกลางรัตนโกสินทร์ เมื่อแรกมีการนำกล้องถ่ายภาพมาใช้ และมีการบันทึกถ่ายภาพเรื่องราวเหตุการณ์ของสยามประเทศแต่ครั้งโบราณตั่งแต่รัชกาลที่ 4 จนถึงรัชกาลที่ 9
923.1593
ก254 ( ห้องศาสตร์พระราชา )
แนะนำหนังสือน่าอ่าน
ทฤษฎีใหม่ในหลวง : ชีวิตที่พอเพียง. กรุงเทพฯ: ร่วมด้วยช่วยกัน, 2542. 208 หน้า. ภาพประกอบ. 180 บาท.
เป็นข้อมูลบันทึกข้อเท็จจริงในการปฏิบัติงานตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยเฉพาะการดำเนินงานตามแนวทฤษฎีใหม่ ซึ่งได้อำนวยประโยชน์อย่างยิ่งให้แก่ประชาชนได้เกิดการเรียนรู้ถึงพระราชดำริอันทรงคุณค่าของในหลวงรัชกาลที่ 9 ตลอดจนทำให้เกิดความภาคภูมิใจที่ได้เกิดมาเป็นพสกนิกรชาวไทยที่อยู่ใต้ร่มพระบรมโพธิสมภาร และได้ก้าวเดินตามรอยพระบาทของพ่อแห่งแผ่นดินไทยร่วมกัน
630
ท166 ( ห้องศาสตร์พระราชา )
แนะนำหนังสือน่าอ่าน
ทำดีตามรอยพ่อ. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี, 2552. 185 หน้า. ภาพประกอบ.
ปัจจุบันได้เกิดปัญหาขึ้นในสังคมมากมายสิ่งที่ทำให้เกิดปัญหานั่นก็คือ การขาดซึ่งคุณสมบัติของการเป็นคนดีมีคุณธรรมนั่นเอง เนื้อหาสาระในเล่มนี้ ได้รวบรวมพระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสอันเกี่ยวกับวัยวุฒิต่างๆ ทั้งวัยเด็ก วัยหนุ่มสาว วัยทำงาน วัยผู้ใหญ่ และการทำงานร่วมกันให้ส่วนรวมได้อ่านด้วยกันเพื่อเป็นเครื่องมือ ความรู้ ในการปลูกฝัง บ่มเพาะ และกระตุ้นเตือนให้บุคคลในวัยต่างๆ ได้เดินตามรอยพระยุคลบาทด้วยการน้อมนำพระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสไปเป็นแนวทางปรับใช้ดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสมและถูกต้อง เพื่อสังคมที่สงบสุขต่อไป
895.915
ท399 ( ห้องศาสตร์พระราชา )
แนะนำหนังสือน่าอ่าน
พัชรี สำโรงเย็น. เกษตรตามรอยพ่อ พออยู่ พอกิน พอเพียง. กรุงเทพฯ: นาคา อินเตอร์มีเดีย, 2560. 180 หน้า. ภาพประกอบ. 185 บาท.
รวมเรื่องพระราชกรณียกิจในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โครงการทุกโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ แนวทางคำสอนพ่อสู่เกษตรกร และพสกนิการชาวไทย พร้อมด้วยเรื่องเล่าจากลูกเกษตรกรที่เดินตามคำสอนพ่อ ติดตามอ่านสาระน่าเรียนรู้และความภาคภูมิใจที่เกิดมาในประเทศไทยได้ในหนังสือเล่มนี้
630
พ424ก ( ห้องศาสตร์พระราชา )
แนะนำหนังสือ เรื่อง A to Z: Anything about Nucleic Acid = อะไร อะไร ที่เกี่ยวกับกรดนิวคลิอิก
มัสลิน โอสถานันต์กุล. A to Z: Anything about Nucleic Acid = อะไร อะไร ที่เกี่ยวกับกรดนิวคลิอิก. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2562.
หนังสือรวบรวมเรื่องราวเกี่ยวกับกรดนิวคลิอิกไว้ตามลำดับตัวอักษร A ถึง Z เนื้อหาภายในเล่มมีทั้งสาระวิชาการ สอดแทรกความบันเทิง เกร็ดความรู้ และเรื่องทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน โดยใช้สำนวนภาษาที่อ่านง่าย มีเอกสารอ้างอิงและดัชนีท้ายเล่มประกอบ
572.8633
ม399อ
ห้องหนังสือทั่วไป 1
แนะนำหนังสือ เรื่อง การศึกษาวัฒนธรรมในโลกไซเบอร์ดิจิทัล
นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ. การศึกษาวัฒนธรรมในโลกไซเบอร์ดิจิทัล. กรุงเทพฯ: ศูนย์มนุษยวิทยาสิรินธร, 2562.
หนังสือเล่มนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะเชิญชวนผู้อ่านให้มีการทบทวนความรู้ในการศึกษามิติทางสังคม วัฒนธรรมเทคโนโลยีข้อมูลข่าวสาร และการสื่อสารยุคดิจิทัล โดยผู้เขียนได้ศึกษาค้นคว้าจากบทความ งานวิจัย หนังสือ และทฤษฎีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างสรรค์หนังสือเล่มนี้ออกมา โดยหวังว่าจะช่วยให้ความรู้ รวมถึงข้อสังเกตเบื้องต้น เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาค้นคว้าเชิงลึกต่อไป
302.231
น274ก
ห้องหนังสือทั่วไป 1
แนะนำหนังสือ เรื่อง มงคลแห่งจีน เทพเจ้าสัญลักษณ์มงคล
ปิยะแสง จันทรวงศ์ไพศาล. มงคลแห่งจีน เทพเจ้าสัญลักษณ์มงคล. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2553.
หนังสือเล่มนี้เป็นคู่มือสำหรับความรู้ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับเทพเจ้าจีน ซึ่งเป็นสัญลักษณ์มงคลอันศักดิ์สิทธิ์ และมีความหมายมากมายแฝงเร้นอยู่ในรูปเทพเจ้ามงคลเหล่านั้น ผู้เขียนได้พยายามถ่ายทอดให้รู้ถึงความหมายและที่มาต่างๆ สอดแทรกไว้ด้วยเกร็ดประวัติที่มาที่น่าสนใจ รวมทั้งเพิ่มเติมในส่วนของการสักการะบูชาในองค์เทพเจ้านั้นๆ ในส่วนเฉพาะที่มีปรากฏอยู่ในปัจจุบัน มีภาพประกอบสี่สีพร้อมภาษาจีนกำกับ
291.13
ป622ม
ห้องหนังสือทั่วไป 1
นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า สืบเนื่องจากพิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิทัน (The MET) สหรัฐอเมริกา แจ้งความประสงค์ส่งคืนโบราณวัตถุประติมากรรมสำริด 2 รายการ ซึ่งมีหลักฐานว่าถูกนำออกจากประเทศไทยโดยผิดกฎหมาย ที่รู้จักกันในนามโกลเด้นบอย (Golden Boy) และประติมากรรมรูปสตรี จึงมอบหมายให้กรมศิลปากรประสานรายละเอียดขั้นตอนการรับมอบโบราณวัตถุ 2 รายการดังกล่าว ขณะนี้พิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิทัน (The MET) ได้แจ้งให้ประเทศไทยส่งผู้เชี่ยวชาญร่วมตรวจสอบโบราณวัตถุที่จะส่งคืน โดยได้มอบหมายให้ นางสาวนิตยา กนกมงคล ผู้อำนวยการสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร เดินทางไปร่วมตรวจสอบ ในวันที่ 25 เมษายน 2567 เวลา 11.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ซึ่งตรงกับเวลา 22.00 น. ตามเวลาประเทศไทย ซึ่งในการนี้จะได้มีการหารือถึงรายละเอียดและกำหนดเวลาในการส่งคืน นอกจากนี้ ยังจะมีการลงนามในบันทึกความเข้าใจระหว่างกรมศิลปากร และ พิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิทัน (The MET) เพื่อความร่วมมือทางวิชาการด้านพิพิธภัณฑ์ โดยมีนายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร และนายแมกซ์ ฮอลเลน ผู้อำนวยการและประธานกรรมการบริหารพิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทโพลิทัน เป็นผู้ลงนามบันทึกความเข้าใจ และมีนางสาวสมใจ ตะเภาพงษ์ กงสุลใหญ่ ณ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ร่วมเป็นสักขีพยาน
นายเสริมศักดิ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ยังได้เปิดเผยต่อไปว่า การส่งคืนโบราณวัตถุในครั้งนี้ พิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิทัน (The MET) จะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการส่งคืน และคาดว่าจะมาถึงประเทศไทยราวเดือนพฤษภาคม ซึ่งถือเป็นข่าวดีของชาวไทยทั้งประเทศ ที่จะได้รับโบราณวัตถุล้ำค่ากลับคืนสู่ประเทศไทย โดยรายละเอียดความคืบหน้าจะได้แจ้งให้ทราบเป็นระยะต่อไป
ภาพ : เรียงลำดับจากซ้ายไปขวา
1. นายจอห์น กาย ภัณฑารักษ์อาวุโสสาขาศิลปะเอเซียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แผนกศิลปะเอเซีย พิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิทัน
2. นางสาวนิตยา กนกมงคล ผู้อำนวยการสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร
3. นายแมกซ์เวลล์ เค.เฮิร์น ประธานมูลนิธิดักลาส ดิลเลียน หัวหน้าแผนกศิลปะเอเซีย พิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิทัน
4. นางสาวสมใจ ตะเภาพงษ์ กงสุลใหญ่ ณ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา
กรมศิลปากรชวนร่วมฉลองศรีเทพมรดกโลก ชมโขน และการแสดงมหัศจรรย์แสงแห่งศรีเทพ Si Thep World Heritage Illumination 2024
กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ขอเชิญร่วมกิจกรรมภายใต้โครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวยามค่ำคืน อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ ยลโขนมรดกโลกสัญจร ตระการตากับการแสดงมหัศจรรย์แสงแห่งศรีเทพ Si Thep World Heritage Illumination 2024 ภาพ เสียง และสีสันสุดอลังการ เฉลิมฉลองเมืองโบราณศรีเทพได้รับการประกาศเป็นแหล่งมรดกโลกจากองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า ตามที่เมืองโบราณศรีเทพและโบราณสถานในสมัยทวารวดีที่เกี่ยวข้อง เข้าสู่บัญชีมรดกโลกทางวัฒนธรรมได้สำเร็จ เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2566 นับเป็นเหตุการณ์สำคัญเหตุการณ์หนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์ของไทย เกิดกระแสมีผู้เข้าเยี่ยมชมอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพมากขึ้นกว่า 10 เท่า และนับจากวันที่ได้รับมรดกโลกจนถึงขณะนี้มีนักท่องเที่ยวครบ 1 ล้านคนแล้ว กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม จึงจัดกิจกรรมเพื่อเฉลิมฉลองในโอกาสดังกล่าว ณ โบราณสถานเขาคลังนอก อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ ระหว่างวันที่ 3 – 5 พฤษภาคม 2567 ตั้งแต่เวลา 18.00 – 21.00 น. เพื่อให้ประชาชนได้สัมผัสบรรยากาศการท่องเที่ยวโบราณสถานสำคัญที่สวยงามในช่วงค่ำคืน โดยมีกิจกรรม ประกอบด้วย
1. นิทรรศการ 120 ปี แห่งการค้นพบเมืองโบราณศรีเทพ นำเสนอข้อมูลนับตั้งแต่การค้นพบเมืองโบราณร้างในเขตมณฑลเพชรบูรณ์ ในปี พ.ศ. 2447 สู่เมืองโบราณศรีเทพ แหล่งมรดกทางวัฒนธรรมที่มีคุณค่าโดดเด่น จนได้รับการยอมรับว่าเป็น “เมืองมรดกโลก” ในปัจจุบัน
2. กิจกรรมส่งเสริมการสร้างงานศิลปกรรมแก่ชุมชน ชมการสาธิตการทอผ้า การจักสาน และผลิตภัณฑ์จากชุมชนเมืองโบราณศรีเทพ ที่ออกแบบโดยสำนักช่างสิบหมู่ ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากงานศิลปกรรม ที่พบ ณ เมืองโบราณศรีเทพ
3. การแสดง Light & Sound “มหัศจรรย์แสงแห่งศรีเทพ Si Thep World Heritage Illumination 2024” ด้วยเทคนิคการฉาย Projection Mapping บนโบราณสถานเขาคลังนอก ชมการเติมเต็ม ต่อยอดมหาสถูปเขาคลังนอกเป็นครั้งแรกผ่านการฉายแสงเลเซอร์ และอุโมงค์แสง 4. ยลโขนมรดกโลกสัญจร เยือนนครประวัติศาสตร์ศรีเทพ พิเศษในวันที่ 3 พฤษภาคม 2567 เวลา 20.00 – 21.30 น. พบกับการแสดงโขน ซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้จากยูเนสโก โดยสำนักการสังคีต นำการแสดง โขน ตอนลักนางสีดา ยกรบ ไปจัดแสดงท่ามกลางความงดงามของโบราณสถานยามค่ำคืน พร้อมการแสดงระบำศรีเทพที่สร้างสรรค์ขึ้นใหม่ ด้วยแนวคิดการประดิษฐ์ท่ารำจากลักษณะทางสถาปัตยกรรม โบราณวัตถุ รวมทั้งประติมากรรมปูนปั้นที่ฐานของโบราณสถาน
นอกจากนี้ ยังมีการจัดกิจกรรมพิเศษการถ่ายภาพลงตราไปรษณียากร “Personalized Stamp” และการแสดงดนตรีและนาฏศิลป์พื้นบ้าน โดยนักเรียนและชาวบ้านในชุมชนโดยรอบเมืองโบราณศรีเทพ อีกด้วยติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทาง www.sithep.org
วันศุกร์ที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๖๗ นางสาวปุณณภา สุขสาคร ผู้อำนวยการหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ เข้าร่วมประชุมผู้บริหารกรมศิลปากร ครั้งที่ ๗/งป.๒๕๖๗ ผ่านระบบออนไลน์ Zoom Meetimg
วันที่ 23-26 เมษายน 2567 กลุ่มอนุรักษ์โบราณสถาน สำนักศิลปากรที่ 8 ขอนแก่น เข้าดำเนินการสำรวจรังวัดทำผังโบราณสถานและเขียนแบบ ออกแบบ สภาพปัจจุบันและแบบบูรณะ ณ หอแจก วัดสุคนธราราม ตำบลดงบัง อำเภอบึงโขงหลง จังหวัดบึงกาฬ
ขอเชิญชมนิทรรศการเนื่องในวันข้าราชการพลเรือน ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๗ หัวข้อ "ข้าราชการยุคใหม่ พัฒนาประเทศไทย ใส่ใจประชาชน" ได้ที่นี่ https://www.thaicivilserviceday.com/ministry/Ministry_of_Culture