ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,971 รายการ

อีกไม่กี่สัปดาห์จะเข้าสู่วันพิพิธภัณฑ์สากล ซึ่งจะตรงกับวันที่ 18 พฤษภาคม ของทุกปี สภาการพิพิธภัณฑ์ระหว่างชาติ (International Council of Museums หรือ ICOM)ได้ประกาศแนวคิดวันพิพิธภัณฑ์สากลประจำปี 2567 นี้ "Museums for Education and Research" พิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษาและวิจัยคือการเน้นย้ำบทบาทสำคัญขององค์กรทางด้านวัฒนธรรมในการสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ผลักดันให้เกิดโลกที่มีจิตสำนึก ความยั่งยืน และมีส่วนร่วมมากขึ้น พิพิธภัณฑ์ ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางทางการศึกษาที่ไม่หยุดนิ่ง ส่งเสริมความอยากรู้ ความคิดสร้างสรรค์ และการคิดอย่างมีเหตุผลในปี 2024 นี้ ICOM ได้ตระหนักถึงบทบาทของพิพิธภัณฑ์ในด้านวิจัย ซึ่งเป็นเวทีที่เปิดให้สำรวจและนำเสนอไอเดียใหม่ๆจากศิลปะและประวัติศาสตร์ ไปสู่วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อีกทั้งยังเป็นพื้นที่สำคัญที่รวบรวมการศึกษาและวิจัยมาบรรจบกันเพื่อสร้างความเข้าใจบนโลกใบนี้ นับตั้งแต่ปี 2565 เป็นต้นมา การกำหนดธีมหลักของวันพิพิธภัณฑ์สากลจะสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติหรือยูเนสโก (SDGs) ซึ่งในปีนี้ ได้มุ่งเน้นเป้าหมายหลัก คือ  เป้าหมายที่ 4 : คุณภาพของการศึกษา, สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุม และเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป้าหมายที่ 9 : อุตสาหกรรม นวัตกรรม และโครงสร้างพื้นฐาน, สร้างโครงสร้างพื้นฐานที่มีความยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลง ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ครอบคลุมและยั่งยืน และส่งเสริมนวัตกรรม #วันพิพิธภัณฑ์สากล2567 #internationalmuseumday2024 #สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ #กรมศิลปากร



เจ้าหน้าที่สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา ลงพื้นที่ดำเนินงานถากถางกำจัดวัชพืช ทำความสะอาดบริเวณโดยรอบคูน้ำคันดินโบราณสถานเมืองเสมา ตำบลเสมา อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา ระหว่างวันที่ ๒๒-๒๖ เมษายน ๒๕๖๗ สุพรรณ ใบโพธิ์ พนักงานดูแลรักษาโบราณสถาน และคณะ


            กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ขอเชิญผู้สนใจร่วมโครงการนิทรรศการพิเศษเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย ประจำปี 2567 เรื่อง เอกสารล้ำค่าจารึกสยาม "กิจกรรม : อวดของสะสม วิทยากรโดย นายวีระ  โรจน์พจนรัตน์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม  นางสาวพิมพ์พรรณ ไพบูลย์หวังเจริญ นักอักษรศาสตร์คุณวุฒิ กรมศิลปากร ดำเนินรายการโดย นายทัตพล  พูลสุวรรณ นักอักษรศาสตร์ชำนาญการ สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ ในวันเสาร์ที่ 4 พฤษภาคม 2567 ณ ห้องประชุมอาคารดำรงราชานุภาพ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมงานตาม QR Code นี้ หรือลงทะเบียนผ่านลิงก์ https://forms.gle/UqQpFEy5sRvFzFtK9 รับจำนวนจำกัด 110 ท่าน สามารถลงทะเบียนได้ตั้งแต่บัดนี้ หรือจนกว่าจะเต็ม  สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 0 2280 9828-32 ต่อ 112-113








พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ เปิดให้บริการแก่ประชาชนและนักท่องเที่ยว ระหว่างวันที่ ๑๗-๒๑ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๗ มีผู้เข้าชมทั้งสิ้น ๑๗๔ คน


วันอังคารที่ ๒๓ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๗ องค์การบริหารส่วนตำบลสมอ อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ ร่วมกับผู้นำชุมชน ประชาชนในตำบลสมอ ได้จัดโครงการวันไหว้พระธาตุปราสาททามจาน (ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๕) ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๗ เพื่อเป็นการสืบทอดวัฒนธรรม จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีของชุมชน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ มอบหมายให้นายกรภัทร์ สุขใหญ่ พนักงานประจำพิพิธภัณฑ์ เข้าร่วมพิธี พร้อมตรวจสอบ และดูแลความเรียบร้อยในการใช้สถานที่จัดงาน


ทำดีตามรอยพ่อ.  กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี, 2552.  185 หน้า.  ภาพประกอบ.          ปัจจุบันได้เกิดปัญหาขึ้นในสังคมมากมายสิ่งที่ทำให้เกิดปัญหานั่นก็คือ การขาดซึ่งคุณสมบัติของการเป็นคนดีมีคุณธรรมนั่นเอง   เนื้อหาสาระในเล่มนี้ได้รวบรวมพระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสอันเกี่ยวกับวัยวุฒิต่างๆ ทั้งวัยเด็ก  วัยหนุ่มสาว  วัยทำงาน  วัยผู้ใหญ่ และการทำงานร่วมกันให้ส่วนรวมได้อ่านด้วยกันเพื่อเป็นเครื่องมือ  ความรู้  ในการปลูกฝัง บ่มเพาะ และกระตุ้นเตือนให้บุคคลในวัยต่างๆ ได้เดินตามรอยพระยุคลบาทด้วยการน้อมนำพระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสไปเป็นแนวทางปรับใช้ดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสมและถูกต้อง เพื่อสังคมที่สงบสุขต่อไป         895.915 ท399      ( ห้องศาสตร์พระราชา )          


พัชรี  สำโรงเย็น.  เกษตรตามรอยพ่อ พออยู่ พอกิน พอเพียง.  กรุงเทพฯ: นาคา อินเตอร์มีเดีย, 2560.  180 หน้า.  ภาพประกอบ.  185 บาท. รวมเรื่องพระราชกรณียกิจในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช  โครงการทุกโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ  แนวทางคำสอนพ่อสู่เกษตรกร  และพสกนิการชาวไทย  พร้อมด้วยเรื่องเล่าจากลูกเกษตรกรที่เดินตามคำสอนพ่อ  ติดตามอ่านสาระน่าเรียนรู้และความภาคภูมิใจที่เกิดมาในประเทศไทยได้ในหนังสือเล่มนี้ 630 พ424ก     ( ห้องศาสตร์พระราชา )


            เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมายุ 6 รอบ 72 พรรษา ในวันที่ 28 กรกฎาคม 2567 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการจัดงานพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารคถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ในวันที่ 27 ตุลาคม 2567 นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณต่อพสกนิกรไทย ที่จะได้มีโอกาสเรียนรู้วัฒนธรรมอันดีงามที่สืบทอดมาอย่างยาวนานผ่านขบวนเรือพระราชพิธีอีกครั้ง เริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการเตรียมเรือพระราชพิธี การฝึกซ้อมฝีพาย ระเบียบแบบแผนการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค และระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน บุคลากรจากสำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร จะดำเนินการซ่อมแซมงานประดับตกแต่งเรือพระราชพิธีที่จัดแสดงอยู่ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี การปิดทองประดับกระจก เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 และเรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ การเขียนลายรดน้ำเรือพระราชพิธี จำนวน 4 ลำ ตามแบบลวดลายเดิม ได้แก่ เรืออสุรวายุภักษ์ เรือครุฑเหินเห็จ เรือกระบี่ปราบเมืองมาร และเรือเอกไชยเหินหาว เพื่อให้เรือพระราชพิธีมีความสมบูรณ์ สวยงามสมพระเกียรติ และพร้อมสำหรับการพระราชพิธีสำคัญ ก่อนจะเชิญเรือพระราชพิธีลงน้ำในเดือนกรกฎาคม 2567 และเข้าร่วมฝึกซ้อมการจัดริ้วขบวนพยุหยาตราทางชลมารคในแม่น้ำเจ้าพระยา ระหว่างเดือนสิงหาคมถึงเดือนกันยายน 2567 ต่อไป             หลังจากชมเรือพระราชพิธีแล้ว ยังสามารถเรียนรู้วิถีชีวิตชุมชนปากคลองบางกอกน้อย เพียงเดินลัดเลาะหลังรั้วของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี ผ่านชุมชน ช่วงเที่ยงๆ จะได้ยินเสียงละหมาดแว่วมาจากมัสยิดหลวงบางกอกน้อย ไม่ไกลจากมัสยิดมีร้านอาหารมุสลิมที่มีเมนูหลากหลายให้ได้ลิ้มลอง ไม่ว่าจะเป็นข้าวหมกสามสี ข้าวหมกอินเดีย ข้าวซอย โรตีแกงเขียวหวาน ยาสุม ซาโมซา และชาอินเดีย หากชอบอาหารรสจัด ก็มีร้านอาหารใต้ ต้นตำรับนครศรีธรรมราช ที่มีหลากหลายเมนูให้เลือกทานเช่นกัน หรือเดินต่อไปอีกไม่ไกล ก็จะพบกับร้านอาหารในบรรยากาศสงบๆ ของปากคลองบางกอกน้อย แวะนั่งพักจิบชา กาแฟ และลิ้มรสอาหารที่การันตีโดย Michelin Guide              และที่พิเศษกว่าทุกวัน หากมาเที่ยวพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี ในวันศุกร์ ยังสามารถแวะไปอุดหนุนอาหารและขนมฮาลาลขนานแท้ อบสดใหม่หอมกรุ่นจากเตาได้ที่มัสยิดหลวงบางกอกน้อย เพราะที่นี่เป็นสถานที่ทำพิธีละหมาดหมู่ในวันศุกร์ ชาวมุสลิมบางกอกน้อยและที่อาศัยอยู่ในชุมชนใกล้เคียง จะพร้อมเพียงกันมาที่มัสยิดแห่งนี้ เพื่อขอพรในศาสนาอิสลาม จึงมีการทำอาหารจำหน่ายเป็นพิเศษ             เมื่ออิ่มอร่อยกับอาหารเลิศรสแล้ว ออกเดินต่อไปอีกไม่ไกล ไปชมศาลเรือโบราณในวัดดุสิตาราม ที่นั่นมีโกลนเรือขุดซึ่งเป็นตัวอย่างให้เห็นถึงขั้นตอนการสร้างเรือขุดโบราณ ลักษณะเป็นท่อนซุงต้นใหญ่ที่ขุดด้านบนให้เป็นราง แต่ยังไม่ได้ถากหัวและท้ายให้เรียวขึ้น ซึ่งหากโกลนเหล่านี้ได้รับการขุดจนสมบูรณ์ จะต้องถูกเบิกเรือด้วยการดัด ขยายปากเรือให้กว้างออกตามความกว้างของเรือ ปัจจุบันการทำเรือขุดแบบโบราณนั้นหาดูได้ยาก โกลนเรือขุดที่นี่จึงเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่น่าสนใจสำหรับการเที่ยวชมเรือพระราชพิธี และแหล่งเรียนรู้ในชุมชน ยังไม่จบแค่นี้ หลังจากชมโกลนเรือขุดแล้ว เดินทะลุเขตสังฆาวาสไปที่วัดภุมรินทร์ราชปักษี ชมงานจิตรกรรมฝีมือช่างโบราณสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ที่หาชมได้ยาก เรียกได้ว่าทริปนี้ ครบถ้วนทั้งสาระความรู้และอาหารอร่อย


Messenger