ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,966 รายการ
กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ขอเชิญร่วมกิจกรรมภายใต้โครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวยามค่ำคืน อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ ยลโขนมรดกโลกสัญจร ตระการตากับการแสดงมหัศจรรย์แสงแห่งศรีเทพ Si Thep World Heritage Illumination 2024 ภาพ เสียง และสีสันสุดอลังการ เฉลิมฉลองเมืองโบราณศรีเทพได้รับการประกาศเป็นแหล่งมรดกโลกจากองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก)
นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า ตามที่เมืองโบราณศรีเทพและโบราณสถานในสมัยทวารวดีที่เกี่ยวข้อง เข้าสู่บัญชีมรดกโลกทางวัฒนธรรมได้สำเร็จ เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2566 นับเป็นเหตุการณ์สำคัญเหตุการณ์หนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์ของไทย เกิดกระแสมีผู้เข้าเยี่ยมชมอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพมากขึ้นกว่า 10 เท่า และนับจากวันที่ได้รับมรดกโลกจนถึงขณะนี้มีนักท่องเที่ยวครบ 1 ล้านคนแล้ว กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม จึงจัดกิจกรรมเพื่อเฉลิมฉลองในโอกาสดังกล่าว ณ โบราณสถานเขาคลังนอก อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ ระหว่างวันที่ 3 – 5 พฤษภาคม 2567 ตั้งแต่เวลา 18.00 – 21.00 น. เพื่อให้ประชาชนได้สัมผัสบรรยากาศการท่องเที่ยวโบราณสถานสำคัญที่สวยงามในช่วงค่ำคืน โดยมีกิจกรรม ประกอบด้วย
1. นิทรรศการ 120 ปี แห่งการค้นพบเมืองโบราณศรีเทพ นำเสนอข้อมูลนับตั้งแต่การค้นพบเมืองโบราณร้างในเขตมณฑลเพชรบูรณ์ ในปี พ.ศ. 2447 สู่เมืองโบราณศรีเทพ แหล่งมรดกทางวัฒนธรรมที่มีคุณค่าโดดเด่น จนได้รับการยอมรับว่าเป็น “เมืองมรดกโลก” ในปัจจุบัน
2. กิจกรรมส่งเสริมการสร้างงานศิลปกรรมแก่ชุมชน ชมการสาธิตการทอผ้า การจักสาน และผลิตภัณฑ์จากชุมชนเมืองโบราณศรีเทพ ที่ออกแบบโดยสำนักช่างสิบหมู่ ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากงานศิลปกรรม ที่พบ ณ เมืองโบราณศรีเทพ
3. การแสดง Light & Sound “มหัศจรรย์แสงแห่งศรีเทพ Si Thep World Heritage Illumination 2024” ด้วยเทคนิคการฉาย Projection Mapping บนโบราณสถานเขาคลังนอก ชมการเติมเต็ม ต่อยอดมหาสถูปเขาคลังนอกเป็นครั้งแรกผ่านการฉายแสงเลเซอร์ และอุโมงค์แสง
4. ยลโขนมรดกโลกสัญจร เยือนนครประวัติศาสตร์ศรีเทพ พิเศษในวันที่ 3 และ 5 พฤษภาคม 2567 เวลา 20.00 – 21.30 น. พบกับการแสดงโขน ซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้จากยูเนสโก โดยสำนักการสังคีต นำการแสดง โขน ตอนลักนางสีดา ยกรบ ไปจัดแสดงท่ามกลางความงดงามของโบราณสถานยามค่ำคืน พร้อมการแสดงระบำศรีเทพที่สร้างสรรค์ขึ้นใหม่ ด้วยแนวคิดการประดิษฐ์ท่ารำจากลักษณะทางสถาปัตยกรรม โบราณวัตถุ รวมทั้งประติมากรรมปูนปั้นที่ฐานของโบราณสถาน
นอกจากนี้ ยังมีการจัดกิจกรรมพิเศษการถ่ายภาพลงตราไปรษณียากร “Personalized Stamp” และการแสดงดนตรีและนาฏศิลป์พื้นบ้าน โดยนักเรียนและชาวบ้านในชุมชนโดยรอบเมืองโบราณศรีเทพอีกด้วย ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทาง www.sithep.org
กรมศิลปากร โดยสำนักหอสมุดแห่งชาติ สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ และสำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ จัดการเสวนาทางวิชาการ ประกอบการจัดนิทรรศการพิเศษเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย พุทธศักราช ๒๕๖๗ เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. โดยในเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน ๒๕๖๗ มีหัวข้อเรื่องที่น่าสนใจ ดังต่อไปนี้
- วันเสาร์ที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๖๗ เรื่อง แผนภูมิของแผ่นดิน จัดโดยสำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์
วิทยากร นายไอยคุปต์ ธนบัตร, นายภูวนารถ สังข์เงิน, นางสาวณัฏฐา กล้าหาญ
ผู้ดำเนินรายการ นายชัยสิทธิ์ ปะนันวงค์
- วันเสาร์ที่ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๖๗ เรื่อง ตราประจำจังหวัด จัดโดยสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
วิทยากร นายกำพล เวชสุทัศน์, นายสุเมธ พุฒพวง,
นายสมชาย ศุภลักษณ์อำไพพร, นางสาวมณีรัตน์ พุทธอุปถัมภ์
ผู้ดำเนินรายการ นางประภาพร ตราชูชาติ
- วันเสาร์ที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๖๗ เรื่อง สานสัมพันธ์ด้วยสัญญา จัดโดยสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
วิทยากร นางภาวิดา สมวงศ์, นางสาวทรายทอง ทองเกษม, ผู้แทนกลุ่มวิทยาศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์
ผู้ดำเนินรายการ นางสาวนัทธมน จิตเจตน์
- วันเสาร์ที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๖๗ เรื่อง แรกมีการพิมพ์ จัดโดยสำนักหอสมุดแห่งชาติ
วิทยากร นางอัจฉรา จารุวรรณ, นางสาวรวิวรรณ พุฒซ้อน, นายยุทธนาวรากร แสงอร่าม
ผู้ดำเนินรายการ นางสาวอุดมพร เข็มเฉลิม
- วันเสาร์ที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๖๗ เรื่อง ต้นร่างสร้างเมืองเรืองรองศิลปกรรม จัดโดยสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
วิทยากร ดร.วสุ โปษยะนันท์, นายจักริน อุตตะมะ, ดร.พรธรรม ธรรมวิมล, นางพัชรินทร์ ลั้งแท้กุล
ผู้ดำเนินรายการ นางสาวชนาธิป พฤกษ์อุดม
- วันเสาร์ที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๖๗ เรื่อง ด้วยความทรงจำอันงดงามและความคิดถึง จัดโดยสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
วิทยากร นางจุฑาทิพย์ อังศุสิงห์, นางสาวกรพินธุ์ ทวีตา
ผู้ดำเนินรายการ นางบุศยารัตน์ คู่เทียม
- วันเสาร์ที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๖๗ เรื่อง ด้วยพระปรีชาญาณ นำประชาราษฎร์จากทาสสู่ไท จัดโดยสำนักหอสมุดแห่งชาติ
วิทยากร นางสาวยุวเรศ วุทธีรพล, นางสาวณัฏฐา กล้าหาญ, นางสาวฉัตรลดา สินธุสอน
ผู้ดำเนินรายการ นายบารมี สมาธิปัญญา
- วันอาทิตย์ที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๗ เรื่อง เล่าขานประวัติศาสตร์ไทยจากเอกสารต่างประเทศ จัดโดยสำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์
วิทยากร นางสาวนันทพร บรรลือสินธุ์, นางสาวรัตติกาล สร้อยทอง, นางสาวกมลทิพย์ ชัยศุภมงคลลาภ
ผู้ดำเนินรายการ นางสาวพัชรา สุขเกษม
ผู้สนใจสามารถติดตามชมการถ่ายทอดสดการเสวนาทางวิชาการ ผ่านทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม https://www.facebook.com/FineArtsDept
กรมศิลปากร ขอเชิญรับชมถ่ายทอดสด Facebook Live รายการไขความรู้จากครูกรมศิลป์ ตอน “ไมโครฟิล์ม กับการอนุรักษ์และสงวนรักษาต้นฉบับทรัพยากรสารสนเทศ” วิทยากร นางสาวเนาวรัตน์ ปัญญางาม ผู้อำนวยการสำนักหอสมุดแห่งชาติ และนางสาวงามเพ็ญ ยาวงษ์ บรรณารักษ์ชำนาญการ สำนักหอสมุดแห่งชาติ ผู้ดำเนินรายการ นางกมลชนก พรภาสกร นักวิชาการโสตทัศนศึกษา กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ในวันพฤหัสบดีที่ ๒ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๖๗ เวลา ๑๑.๐๐ - ๑๑.๔๕ น. ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และ Facebook : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร
รายการ “ไขความรู้จากครูกรมศิลป์” มีรูปแบบเนื้อหาของรายการเกี่ยวกับประวัติความเป็นไทย เกร็ดประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับวันสำคัญ ประเพณี วัฒนธรรม วีถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน ผ่านการบอกเล่า ถ่ายทอดความรู้ แนวความคิด เนื้อหาวิชาการ จากประสบการณ์ของผู้บริหาร นักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญกรมศิลปากร กำหนดถ่ายทอดสดผ่านเฟสบุ๊กไลฟ์ (facebook live) ทุกวันพฤหัสบดี เวลา ๑๑.๐๐ น. ตลอดปีงบประมาณ ๒๕๖๗ ระหว่างเดือนตุลาคม ๒๕๖๖ - กันยายน ๒๕๖๗
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ เปิดให้บริการประชาชนและนักท่องเที่ยวเข้าชมนิทรรศการ ระหว่างวันที่ ๒๔ - ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๗ มีผู้เข้าชมทั้งสิ้น ๖๑ คน
วันที่ 1 พฤษภาคม 2567 นางสาวสรณ์สิริ สีหนาท หัวหน้าหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก กาญจนบุรี พร้อมด้วยบุคลากร และนักศึกษาฝึกงาน ร่วมกิจกรรมจิตอาสา Big Cleaning Day (Kick Off)เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ณ บริเวณทางรถไฟสะพานข้ามแม่น้ำแคว ต.ท่ามะขาม อ.เมืองกาญจนบุรี จ.กาญจนบุรี
ปราสาทอิฐ เป็นปราสาทที่สร้างขึ้นในระยะแรกราวพุทธศตวรรษที่ 15 หรือประมาณ 1,100 ปีมาแล้ว มีจำนวน 8 หลังด้วยกัน สภาพปัจจุบันพังทลายเหลือเพียงส่วนฐาน ปราสาทบางหลังยังปรากฏชิ้นส่วนหิน เสาประดับกรอบประตู และฐานรูปเคารพอยู่ ปราสาทอิฐตั้งอยู่ทางทิศใต้ของปราสาทพนมวัน
ปราสาทพนมวัน อำเภอเมืองนครราชสีมา
จังหวัดนครราชสีมา เปิดให้เข้าชมทุกวันตั้งแต่เวลา ๐๗.๐๐ น. - ๑๖.๓๐ น. ชาวไทย ๑๐ บาท ชาวต่างชาติ ๕๐ บาท