ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,966 รายการ
วันที่ ๔ พฤษภาคม ๒๕๖๗ เวลา ๐๙.๐๐ น. นางสาวปุณณภา สุขสาคร ผู้อำนวยการหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ ร่วมพิธีเนื่องในวันฉัตรมงคล ประจำปี ๒๕๖๗ น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวาระครบรอบ ๕ ปี แห่งการบรมราชาภิเษก ณ ห้องนิทรรศการ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ ๗ รอบพระชนมพรรษา อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
บรรยากาศนักท่องเที่ยวเข้าชมโบราณสถานปราสาทพนมวัน อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ในวันเสาร์ที่ ๔ พฤษภาคม ๒๕๖๗ และผู้ที่เช่าบูชาเหรียญพระพุทธสิหิงค์ เพื่อความเป็นสิริมงคล โดยทุกท่านสามารถเช่าบูชา ณ ปราสาทพนมวัน
ปราสาทพนมวัน อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา เปิดให้เข้าชมทุกวันตั้งแต่เวลา ๐๗.๐๐ น. - ๑๖.๓๐ น. ชาวไทย ๑๐ บาท ชาวต่างชาติ ๕๐ บาท
๔ พฤษภาคม วันฉัตรมงคล
ขอพระองค์ทรงพระเจริญ
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ
ข้าพระพุทธเจ้า คณะผู้บริหาร ข้าราชการ และ
เจ้าหน้าทื่กรมศิลปากร
วันที่ ๒ - ๓ พฤษภาคม ๒๕๖๗ นางสาวปุณณภา สุขสาคร ผู้อำนวยการหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ พร้อมด้วยนางสาวสุคนธ์ทิพย์ จันทะลุน บรรณารักษ์ชำนาญการ เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ “อ่าน เขียน เรียน จาร” ณ สำนักฝรั่งเศสแห่งปลายบุรพทิศ EFEO (ศูนย์เชียงใหม่)
ปราสาทห้วยแคน ตำบลห้วยแคน อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา เป็นโบราณสถานขนาดเล็กก่อด้วยศิลาแลงจำนวน 1 หลัง หันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีประตูทางเข้าด้านหน้าเพียงประตูเดียว ผนังอาคารด้านทิศใต้เจาะช่องหน้าต่าง ส่วนผนังด้านทิศเหนือก่อทึบ โบราณสถานแห่งนี้เป็นศาสนสถานในศาสนาพุทธลัทธิมหายาน เรียกอีกอย่างว่าธรรมศาลา 1 ในจำนวน 121 แห่ง ที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งราชอาณาจักรเขมรโบราณโปรดสร้างขึ้น ตามเส้นทางสำคัญทั่วราชอาณาจักรของพระองค์
ปราสาทมีชัย(ปราสาทหมื่นชัย) ตำบลกระเทียม อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ เป็นโบราณสถานในศาสนาฮินดูศิลปะเขมรโบราณ ประกอบด้วยปราสาทประธานก่อสร้างด้วยอิฐบนฐานศิลาแลงหันหน้าไปทางทิศตะวันออก และปราสาทบริวารก่อด้วยศิลาแลงตั้งอยู่ทางทิศเหนือของปราสาทประธาน และอาคารก่อด้วยอิฐขนาดเล็กใกล้กับคูน้ำด้านทิศตะวันตก ด้านทิศเหนือ และด้านทิศตะวันออก อาคารทั้งหมดล้อมรอบด้วยคูน้ำรูปตัวยู โดยเว้นเป็นทางเข้าด้านเดียว จากหลักฐานที่พบสันนิษฐานได้ว่าปราสาทมีชัย สร้างขึ้นราวปลายพุทธศตวรรษที่ 15-16 และมีการสร้างเพิ่มเติมอันได้แก่อาคารก่ออิฐขนาดเล็กในภายหลังเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 24-25
กู่สันตรัตน์ ตำบลกู่สันตรัตน์ อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม เป็นกลุ่มโบราณสถาน ประกอบด้วย
1. ปราสาทประธาน ก่อด้วยศิลาแลง แผนผังรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุมหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ก่อมุขยื่นด้านหน้า ผนังด้านทิศเหนือและทิศใต้ก่อเว้นเป็นช่องหน้าต่าง มุขมีหลังคารูปโค้งทรงประทุน ปราสาทประธานก่อเป็นผนังทึบทั้งสามด้านโดยทำเป็นประตูหลอก
2. บรรณาลัย ก่อด้วยศิลาแลง เป็นอาคารรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า หันหน้าไปทางทิศตะวันตก ด้านหน้าก่อเป็นมุขสั้นๆ ตั้งอยู่ทางมุมทิศตะวันออกเฉียงใต้ของปราสาทประธาน
3. โคปุระ หรือ ประตูซุ้ม ก่อด้วยศิลาแลง ตั้งอยู่กึ่งกลางของแนวกำแพงแก้วด้านทิศตะวันออก มีลักษณะแผนผังเป็นมุขสามด้าน คือด้านทิศเหนือ ทิศตะวันตก และทิศใต้ ที่ด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตกมีบันไดขึ้น-ลง หลังคาทรงโค้งประทุน
4. กำแพงแก้ว ก่อด้วยศิลาแลง สร้างต่อเนื่องจากประตูซุ้มทิศตะวันออกล้อมรอบปราสาทประธาน และบรรณาลัย ชั้นบนสุดของแนวกำแพงมีร่องรอยการสกัดสำหรับวางทับหลังกำแพง
5. สระน้ำ อยู่บริเวณด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือนอกกำแพงแก้ว มีแผนผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ลึกประมาณ 2 เมตร ขอบสระกรุด้วยศิลาแลงซ้อนลดหลั่นลงไปจนถึงก้นสระ
หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรีร่วมแสดงความจงรักภักดี และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ด้วยการจัดตั้งโต๊ะหมู่ประดิษฐานพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมเครื่องราชสักการะ สมุดลงนามถวายพระพร รวมทั้งประดับธงชาติไทย ธงตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗ ในระยะเวลาขอบเขตการจัดงานเฉลิมพระเกียรติฯ ตลอดปี ๒๕๖๗