ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 42,070 รายการ
ชื่อเรื่อง อิสิคิลิสุตฺต(อิสิคิลิสุตฺต)
สพ.บ. อย.บ.11/1ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 34 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 56 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนา บทสวด พระวินัย คำสอน
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ล่องชาด ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 154/1เอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)
มงฺคลตฺถทีปนี (มงฺคลตฺถทีปนีเผด็จ) ชบ.บ 181/7เอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)
ชื่อเรื่อง : ลิลิตนารายน์สิบปาง พระราชนิพนธ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ชื่อผู้แต่ง : มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ ปีที่พิมพ์ : 2514สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์มิตรสยาม จำนวนหน้า : 588 หน้า สาระสังเขป : หนังสือลิลิตนารายน์สิบปาง เนื้อเรื่องกล่าวถึงการอวตารปางต่างๆ ทั้ง 10 ปาง ของพระนารายณ์ พร้อมทั้งพระราชนิพนธ์อธิบายและอภิธาน ท่านผู้อ่านจะศึกษาความเป็นมาและหลักฐานต่างๆ ของหนังสือเรื่องได้จากพระราชนิพนธ์คำนำในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ชื่อผู้แต่ง -
ชื่อเรื่อง เทศน์มหาชาติ
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ พระนคร
สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย
ปีที่พิมพ์ ๒๔๙๖
จำนวนหน้า ๔๖๒ หน้า
หมายเหตุ พิมพ์เป็นธรรมบรรณาการในการฌาปณากิจศพ นายชิต นภาศัพท์ (หมอชิต) ณ สุสานหลวงวัดเทพศิรินทราวาส วันที่ ๑๐ มกราคม ๒๔๙๗
หนังสือเทศน์มหาชาตินี้ สมเด็จพระยาราชานุภาพได้ทรงอธิบายไว้เมื่อพิมพ์ครั้งแรกว่าหนังสือเทศน์มหาชาติที่กวีได้แต่งไว้ทั้งเก่าใหม่นั้นมีมากมายหลายสำนวน หอพระสมุดฯ เลือกแต่เฉพาะสำนวนที่เทศน์กันอยู่ เป็นพื้นเมืองทุกวันนี้พิมพ์ในสมุดเล่มนี้ เพื่อให้เป็นฉบับสำหรับนักเทศน์มหาชาติทั่วไป อนึ่งรูปภาพมหาชาติที่พิมพ์ไว้ เป็นภาพถ่ายจากภาพเขียน เวสสันดรชาดก ฝีมือช่างครั้งรัชกาลที่ ๓
-- องค์ความรู้จากเอกสารจดหมายเหตุ : เข้าป่าหาหมอน -- ปี 2512 คนไทยหาหมอนได้ในป่า เป็นหมอนมีค่าที่ใช้เวลาเติบโต ตัดแบ่ง เรียงไว้ และขนย้าย หมอนดังกล่าวนี้คือ " หมอนไม้ " โดยเฉพาะไม้สำคัญ เช่น ไม่สัก มะค่า ประดู่ หรือกระยาเลย ฯลฯ ของป่าน้ำแหง - น้ำสา จังหวัดน่าน ซึ่งเจ้าหน้าที่ป่าไม้ได้ตรวจสอบ และผู้รับสัมปทานขณะนั้นขออนุญาตชักลากออกมา จากเอกสารจดหมายเหตุเรื่องสัญญาจ้างทำและขนส่งไม้สักสัมปทานป่าน้ำแหง - น้ำสา ปรากฏแผนที่สังเขปขนาดมาตราส่วน 1 : 25,000 กำหนดจุด " หมอนไม้ " และ " ทางลากขน " ไว้ ถ้าสังเกตจะพบถนน ที่สำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท (ร.พ.ช.) ตัดผ่าน แต่เส้นทางลากขนหมอนไม้สัมปทานถูกสร้างต่างหาก เพื่อเชื่อมต่อจุดรวมหมอนไม้และทิศทางที่จะไปเด่นชัย - แพร่อีกทอดหนึ่ง นอกจากนี้ ยังเห็นเส้นประแนวอาณาเขตตอนไม้คนละเส้นกับแนวอาณาเขตป่า สำหรับแบ่งพื้นที่สัมปทานออกเป็นแปลง ลดการทับซ้อนการสัมปทานหรือห้ามบุกรุกพื้นที่ข้างเคียงจนกระทั่ง " พันธุ์ไม้สูญไป " ซึ่งแน่นอนว่า พื้นที่ที่ไม่เกี่ยวข้องจะเกิดความอุดมสมบูรณ์ ยังมีลำห้วยต่างๆ เช่น ห้วยลึก ห้วยผัก ห้วยทราย ห้วยเตาปูน ห้วยต้นยา และห้วยตีนเป็ด ฯลฯ ไหลผ่าน พื้นที่สีขาวบนแผนที่คงเป็นป่าเขียวขจีแน่นขนัด ฉะนั้น การอนุญาตให้สัมปทานจึงไม่ใช่การเปิดผืนป่าทั้งหมด น่าสนใจว่า แผนที่สังเขปต่อจากแผ่นที่นำเสนอนี้ ยังเป็นป่าตามธรรมชาติหรือไม่ ? อย่างไรก็ดี การลากขนขอนไม้ในขณะนั้น ยังไม่แสดงเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ร่วมด้วย จึงได้แต่สันนิษฐานว่า น่าจะได้รับการเอาใจใส่เฉกเช่นปัจจุบัน สำหรับตอนต่อไป เราจะตามเจ้าหน้าที่ป่าไม้ไปสำรวจผืนป่า " แปลงที่ 10 " แปลงที่เห็นในมุมซ้ายด้านบนของแผนที่ มาดูกันว่า เราพบอะไร ???ผู้เขียน : นายธานินทร์ ทิพยางค์ (นักจดหมายเหตุ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา)เอกสารอ้างอิง : หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา นน 1.6.3.5/14 เอกสารสำนักงานป่าไม้จังหวัดน่าน เรื่อง สัญญาจ้างทำและขนไม้สัมปทานป่าน้ำแหง - น้ำสา ภาค 4 แปลง 1 [ 6 - 25 ก.พ. 2512 ].#จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ
เลขทะเบียน : นพ.บ.552/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 28 หน้า ; 4.5 x 56 ซ.ม. : ชาดทึบ-รักทึบ-ลานดิบ-ล่องรัก ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 182 (311-323) ผูก 1 (2566)หัวเรื่อง : เถราภิเสกกถา--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ชื่อเรื่อง : พระราชพงศาวดาร กรุงศรีอยุธยา ฉบับ สมเด็จพระพนรัตน์ ชื่อผู้แต่ง : ศิลปากรปีที่พิมพ์ : 2515 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : โพธิ์สามต้นการพิมพ์ จำนวนหน้า : 670 หน้า สาระสังเขป : "พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน" เล่มนี้ ได้รวบรวมประวัติศาสตร์กรุงศรีอยุธยา เริ่มตั้งแต่สมัยพระเจ้าอู่ทอง สร้างกรุงศรีอยุธยา เมื่อ จ.ศ.712 (พ.ศ.1893) จนกระทั่งเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 แก่พม่าในสมัยสมเด็จพระเจ้าเอกทัศ (กรมขุนอนุรักษ์มนตรี) เมื่อ จ.ศ.1129 (พ.ศ.2310) ถือเป็นเอกสารอ้างอิงสำคัญที่มีคุณค่ายิ่งต่อชนรุ่นหลัง และผู้ที่สนใจศึกษาประวัติศาสตร์สมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งเป็นยุคสมัยหนึ่งของพัฒนาการสู่สังคมไทยในปัจจุบัน
องค์ความรู้: ความทรงจำแห่งโลกในประเทศไทยบันทึกการประชุมของสยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์บันทึกการประชุมของสยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้รับการขึ้นทะเบียนไว้เมื่อปี พ.ศ.2556 เป็นเอกสารที่มีอายุกว่า 100 ปี (The Minute Books of the Council of the Siam Society", 100 years of recording international cooperation in research and the dissemination of knowledge in the arts and sciences) จัดเก็บไว้ ณ สยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้รับการขึ้นทะเบียนเมื่อวันที่ วันที่ 19 มิถุนายน 2556 เป็นเอกสาร ส่วนหนึ่งของบันทึกการประชุมของสยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์ ที่มีทั้งหมด 16 เล่ม บันทึกไว้ช่วงระหว่างปี 2447-2547 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นการรวบรวมบันทึกความคิด ความอ่าน หรือการระดมสมองของ สมาชิกสยามสมาคมที่มาจากหลายสาขาอาชีพ มีทั้งพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการระดับสูง ที่ปรึกษาชาวต่างชาติ สะท้อนภาพและมุมมองของสังคมในยุคสมัยนั้น ซึ่งเป็นประโยชน์ในการศึกษาวิจัย และอ้างอิงได้
ไซอิ๋ว เล่ม ๒. พระนคร: องค์การค้าของคุรุสภา, ๒๕๑๒.
ไซอิ๋ว เป็นพงศาวดารจีนที่ได้รับการแปลเป็นหนังสือชุดภาษาไทยลำดับที่ ๑๖ นับเป็นเรื่องที่แยกออกจากพงศาวดารซุยถังในแผ่นดินของพระเจ้าถังไทจงฮ่องเต้กษัตริย์ที่ ๒ แห่งราชวงศ์ถัง