ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,992 รายการ

กิจกรรมสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น : ตุงไส้หมู ศิลปะการตัดกระดาษของชาวล้านนา เมื่อวันที่ ๖ มีนาคม ๒๕๖๗ วิทยากรโดยนายธเนศ จำปา มีคณะครูและนักเรียน จากโรงเรียนเจ้าแม่หลวงอุปถัมภ์ ๑ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่เข้าร่วมกิจกรรม ณ ห้องหนังสือท้องถิ่นภาคเหนือ



กรมศิลปากรได้จำลองทับหลังที่พบจากปราสาทเมืองแขกเสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จำนวน ๔ ชิ้น และกำลังจะนำไปติดตั้ง ณ ปราสาทเมืองแขก จังหวัดนครราชสีมา ๑. ทับหลังสลักภาพพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ๒. ทับหลังสลักภาพมหิษาสุรมรรทนี ๓. ทับหลังสลักภาพปางวามนาวตาร (พระวิษณุอวตารลงมาเป็นพราหมณ์เตี้ย) หรือ ตอน วิษณุตริวิกรม ๔. ทับหลังสลักภาพเทพเจ้าประทับบนหน้ากาลคายท่อนพวงมาลัย หากดำเนินการติดตั้งแล้วเสร็จเมื่อไรจะนำภาพทับหลังทั้ง ๔ ชิ้นมาให้ชมอีกครั้งนะคะ



            พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี เชิญชมนิทรรศการหมุนเวียน "Object of the Month" วัตถุจากคลังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี ประจำเดือนมีนาคม ๒๕๖๗ เชิญพบกับ "วัชรฆัณฏา" กระดิ่งยอดวัชระ              โบราณวัตถุที่นำมาจัดแสดงในนิทรรศการครั้งนี้ ได้แก่ กับ "วัชรฆัณฏา" กระดิ่งยอดวัชระ ขนาดสูง ๑๑.๕ ซม. กว้าง ๕.๗ ซม. ศิลปะลพบุรี พุทธศตวรรษที่ ๑๗ - ๑๘ รูปทรงระฆัง  มีด้ามจับเป็นปล้องคล้ายลูกมะหวด ยอดเป็นรูปวัชระ ๕ แฉก ตกแต่งเส้นขีดรอบปาก ลูกตุ้มด้านในหายไป พบในจังหวัดสุพรรณบุรี นิทรรศการให้ความรู้เกี่ยวกับ “วัชระ Vajra” หมายถึง สายฟ้า มีคุณสมบัติพิเศษ คือสามารถทำลายได้ทุกสิ่ง แต่ไม่มีสิ่งใดทำลายวัชระได้ และยังหมายถึง เพชร ได้เช่นกัน ตามคติความเชื่อของพุทธศาสนา สกุลวัชรยานวัชระอาจเป็นตัวแทนของความกรุณา คือ พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของเพศชาย และความรู้เกี่ยวกับ “ฆัณฎา Ghanda หมายถึง กระดิ่ง เป็นวัตถุที่ให้เสียงสะท้อนก้องไปทั่วทุกทิศ ตามคติความเชื่อของพุทธศาสนา สกุลวัชรยาน ฆัณฏาอาจเป็นตัวแทนของปัญญา คือ นางปรัชญาปารมิตา ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของเพศหญิง             ผู้สนใจสามารถเข้าชมนิทรรศการ "วัชรฆัณฏา" กระดิ่งยอดวัชระ ได้ในเดือนมีนาคม ๒๕๖๗ เปิดวันพุธ - วันอาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. ปิดวันจันทร์ - วันอังคาร  ณ ห้องโถงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี สอบถามเพิ่มเติม โทร. ๐ ๓๕๕๓ ๕๓๓๐ หรือเฟสบุ๊ก: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี


           กรมศิลปากร ขอเชิญรับชมถ่ายทอดสด Facebook Live รายการไขความรู้จากครูกรมศิลป์ ตอน การอนุรักษ์จัดเก็บคัมภีร์ใบลาน เอกสารโบราณทรงคุณค่าด้านมรดกศิลปวัฒนธรรม วิทยากร นายวัฒนา พึ่งชื่น นักภาษาโบราณชำนาญการพิเศษ สำนักหอสมุดแห่งชาติ ผู้ดำเนินรายการ นางกมลชนก พรภาสกร นักวิชาการโสตทัศนศึกษา กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ในวันพฤหัสบดีที่ ๗ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๖๗ เวลา ๑๑.๐๐ – ๑๑.๔๕ น.              ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และ Facebook Live : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร


           พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน ขอเชิญชวนทุกท่านไปเก็บภาพความสวยงามและแปลกตาของซุ้มต้นลีลาวดีที่เรียงรายสองข้างโน้มกิ่งโค้งเข้าหากันเป็นอุโมงค์ ด้านหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งจุดเชคอิน หรือไฮไลท์เมื่อนักท่องเที่ยวมาเที่ยวเมืองน่านต้องมาให้ได้สักครั้ง โดยบรรยากาศในแต่ละฤดูก็จะแตกต่างกันไป ในเดือนมีนาคมนี้ "ซุ้มลีลาวดี" กำลังออกดอกสีชมพูสดใสต้อนรับฤดูร้อน            พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน เปิดให้บริการทุกวันพุธ - วันอาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. (ปิดวันจันทร์-อังคาร) ค่าธรรมเนียม ชาวไทย ๒๐ บาท ชาวต่างชาติ ๑๐๐ บาท เด็ก/นักเรียน/นักศึกษา ผู้สูงอายุ พระภิกษุสงฆ์ และนักบวชทางศาสนา เข้าชมฟรี ไม่เสียค่าธรรมเนียม ทั้งนี้ ซุ้มลีลาวดี และพื้นที่ด้านนอกอาคารจัดแสดง เปิดให้บริการทุกวัน เวลา ๐๖.๐๐ - ๑๘.๐๐ น. ไม่เสียค่าธรรมเนียมเข้าชม



         หอสมุดแห่งชาตินครศรีธรรมราช ขอเชิญร่วมกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน “ศิลปะการทำลูกโป่งประดิษฐ์ ให้เป็นรูปต่างๆ” วันเสาร์ที่ 9 มีนาคม 2567 เวลา 10.00 น. ณ ห้องเด็กและเยาวชน หอสมุดแห่งนครศรีธรรมราช            ผู้สนใจสามารถสมัครเข้าร่วมกิจกรรมได้ "ฟรี" ไม่เสียค่าใช้จ่าย รับจำนวนจำกัด สมัครได้ตั้งแต่วันที่เป็นต้นไป สอบถามเพิ่มเติมได้ทาง Facebook หอสมุดแห่งชาติ นครศรีธรรมราช หรือ โทร. 0 7532 4137








Messenger