ค้นหา


รายการที่พบทั้งหมด 37,381 รายการ




***บรรณานุกรม***  พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว อสุเรนทรจารีตคำพากย์ มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปภัมถ์ จัดพิมพ์โดยเสด็จพระราชกุศล ซึ่ง สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณฌวดีทรงบำเพ็ญในวันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว วันที่ 26 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2516ครบ 48 ปี กรุงเทพฯ  โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย 2516


วันพฤหัสบดีที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๓ เวลา ๐๙.๐๐ น. นักเรียนชั้นอนุบาล ๑ - ๓ โรงเรียนอนุบาลอรศิริ ตำบลนอกเมือง อำเภอเมืองฯ จังหวัดสุรินทร์ นักเรียนจำนวน ๗๘ คน คุณครูจำนวน ๑๕ คน เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ โดยมีนางสาวอาภาภรณ์ เปล่งปลั่งศรี นักวิชาการวัฒนธรรม ให้การต้อนรับและบรรยายนำชม


วัสดุ สำริด แบบศิลปะ ศิลปะเขมรในประเทศไทย อายุสมัย ประมาณพุทธศตวรรษที่ 18 สถานที่พบ นายวีระ วุฒิจำนงค์ มอบให้เมื่อ 11 เมษายน 2538 กระดิ่งหล่อจากสำริด ตัวกระดิ่งและด้ามแยกออกจากกันได้ ตัวด้ามทำเป็นปล้องคล้ายลูกมะหวด ยอดทำเป็นแฉก 3 แฉก ยอดกลางเป็นแท่งสามเหลี่ยมมีรูปบุคคลนั่งอยู่ในกรอบ ขนาบข้างด้วยยอดโค้งลักษณะคล้ายปลายธงสะบัด ด้านในร้อยแท่งเหล็กกลม เวลาสั่นจะเกิดเสียง กระดิ่ง (ฆัณฏา) เป็นเครื่องมงคลที่ใช้ในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ทั้งในศาสนาพราหมณ์และศาสนาพุทธ เช่น ใช้ร่วมกับวัชระในพิธีทำวัตรในศาสนาพุทธมหายาน นิกายวัชรยาน


หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ร.9 นครราชสีมา   เข้าร่วมพิธีเปิดงานเทศกาลหุ่นร่วมสมัย เยาวชนนานาชาติ 2018   (Korat International Youth Puppet Fostival 2018)   ในวันที่ 13 มกราคม 2561   ณ ลานอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี 



ที่ตั้ง : อุทยาน ร.2  ตำบลอัมพวา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงครามพิพิธภัณฑ์พระพุทธเลิศหล้านภาลัย เป็นอาคารทรงไทย จำนวน 4 หลัง พื้นที่รวม 600 ตารางเมตร จัดพิพิธภัณธ์แบบชาติพันธุ์วิทยา แสดงศิลปวัตถุในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ที่จะสะท้อนให้เห็นลักษณะศิลปวัฒนธรรม ความเป็นอยู่ และการดำรงชีวิตของชาวไทยในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โดยแบ่งเป็นส่วนดังนี้หอกลาง           ภายในประดิษฐ์พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และจัดศิลปโบราณวัตถุสมัยต้นรัตนโกสินทร์ เป็นต้นว่า เครื่องเบญจงรค์ เครื่องถ้วย หัวโขน ซึ่งเป็นอุปกรณ์การแสดงนาฏกรรมตามบทวรรณคดีพระราชนิพนธ์ใน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย หุ่นวรรณคดีเรื่องสังข์ทองและอิเหนา หนังใหญ่ ห้องชาย          ทางปีกขวา จัดตกแต่งให้เห็นลักษณะความเป็นอยู่ของชายไทยที่มีความกล้าหาญ พร้อมในการอาสาปกป้องผืนแผ่นดินตามลักษณะสังคมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีพระพุทธรูปสำหรับบูชา สมุดไทย เสื้อขุนนางไทยโบราณ ดาบ โล่ รวมทั้งพระแท่นบรรทมซึ่งเชื่อว่าเป็นของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ห้องหญิง          ตกแต่งให้เห็นลักษณะความเป็นอยู่ของหญิงไทยโบราณ มีเตียงนอน แบบไทย โต๊ะเครื่องแป้ง คันฉ่อง ฉากปัก เป็นต้น ชานเรือน          จัดตามแบบไทยโบราณ ตกแต่งด้วยกระถางไม้ดัด ไม้ประดับ อ่างบัว ห้องครัวและห้องน้ำ          จัดไว้ที่ชั้นล่างอาคารปีกซ้าย แสดงลักษณะครัวไทยและห้องน้ำของคนชั้นกลาง มีเครื่องหุงต้ม ถ้วยชาม สำหรับอาหาร เป็นต้น ตำแหน่งศิลาฤกษ์          แสดงให้เห็นแบบจำลองศิลาฤกษ์ที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงประกอบพิธี          ภายในอุทยานพระบรมราชานุสรณ์ มีสิ่งที่น่าสนใจได้แก่ พิพิธภัณฑ์พระพุทธเลิศหล้านภาลัย เป็นอาคาร ทรงไทย 4 หลัง จัดแสดงศิลปวัตถุในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ ความเป็นอยู่ของชาวไทยในสมัยรัชกาลที่ 2 มีสิ่งที่น่าสนใจ ได้แก่ หอกลาง ประดิษฐานพระบรมรูปรัชกาลที่ 2 และโบราณวัตถุ หอนอนชาย แสดงให้เห็นลักษณะความเป็นอยู่ของชายไทย หอนอนหญิง แสดงให้เห็นลักษณะความเป็นอยู่ของหญิงไทยโบราณ ชานเรือน จัดแสดงตามแบบบ้านไทยโบราณ ห้องครัว และห้องน้ำ แสดงลักษณะครัวไทย และห้องน้ำของชนชั้นกลาง นอกจากนี้ยังมีโรงละครกลางแจ้ง สวนพฤกษ-ชาติ เป็นสวนพันธุ์ไม้ในวรรณคดีนานาชนิด     





***บรรณานุกรม***  หนังสือหายาก  ที่ระลึกวันพระราชทานเพลิงศพ  นายจันโททัย ฤกษะสุต  ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม พระนคร วันอาทิตย์ที่ ๒๐ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๐๖.   พระนคร : ห้างหุ้นส่วนจำกัดโรงพิมพ์ลมูลจิตต์, ๒๕๐๖.


ผู้แต่ง                             -หมวดหมู่                        ประวัติศาสตร์เลขหมู่                           914.4 ป247 ล.33สถานที่พิมพ์                    พระนครสำนักพิมพ์                      โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าวปีที่พิมพ์                         2512ภาษา                            ไทยหัวเรื่อง                         ฝรั่งเศษ -- ภูมิประเทศและการท่องเที่ยว                                  ไทย -- ประวัติศาสตร์ประเภทวัสดุ/มีเดีย             หนังสือหายากลักษณะวัสดุ                    312 หน้า : ภาพประกอบ ; 19 ซม.บทคัดย่อ เนื้อหาภายในประกอบด้วย ส่วนที่ 1 ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 59 ว่าด้วยเรื่องโกศาปานไปฝรั่งเศส ภาค 3 คณะราชทูตไปตามสถานที่สำคัญในเมืองต่างๆ เช่น  เยี่ยมชมเมืองปารีส เยี่ยมสำนักสามเณรมิซซัง โรงเรียนมหาราชวิทยาลัยหลุยส์เลอครังส์ โรงพิมพ์หลวง เป็นต้น  ในส่วนที่ 2 ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 60 จะกล่าวถึงคณะราชทูตทูลลาเจ้าเมืองฝรั่งเศสเพื่อเดินทางกลับโดยทางเรือ  ส่วนที่ 3 ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 61 ว่าด้วยเรื่องพงศาวดารเมืองเงินยาง เชียงแสน


หมวดหมู่                        พุทธศาสนาภาษา                            บาลี/ไทยหัวเรื่อง                          วรรณกรรมพุทธศาสนา                                    พุทธศาสนา—เทศนาประเภทวัสดุ/มีเดีย            คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ                    22 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 55 ซม. บทคัดย่อ                      เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับชาดทึบ ได้รับบริจาคมาจากพระอธิการเด่น ปญฺญาทีโป วัดคิรีรัตนาราม  ต.ดอนคา อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ดำเนินการอนุรักษ์เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2534


ชื่อเรื่อง : เอกสารชุดพระเพณีเมืองเชียงใหม่ ประเพณีการบวช ผู้แต่ง : ศรีเลา เกษพรหม และวัลลภ นามวงศ์พรหม ปีที่พิมพ์ : 2543 สถานที่พิมพ์ : เชียงใหม่ สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์ ส. ทรัพย์การพิมพ์            ล้านนา เป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่และเจริญรุ่งเรือง ดังประวัติศาสตร์ที่ได้บอกเล่าสืบต่อกันมา ชาวล้านนายึดมั่นในพุทธศาสนาเป็นเวลานาน จึงมีพิธีกรรมเกี่ยวเนื่องกับพุทธศาสนาหลายประการ อาทิ ประเพณีการบวชพระ บวชเป็นผ้าขาว บวชชี บวชสามเณร และบวชจูงศพ ซึ่งการบวชเหล่านี้ล้วนแสดงถึงความกตัญญูการสร้างบุญกุศล อบรมด้านความรู้ พฤติกรรม และการเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีของสังคม ทั้งยังแสดงถึงกระบวนการสืบสานประเพณีทางพุทธศาสนา ผ่านวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ อันควรค่าแก่การอนุรักษ์อย่างยิ่ง