ค้นหา


รายการที่พบทั้งหมด 37,381 รายการ

สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ และบัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มอบงานวิจัยเรื่องนวัตกรรมดิจิทัลเพื่อพัฒนาระบบการเรียนรู้มรดกโลกทางวัฒนธรรมในบริบทพระพุทธศาสนาให้กับกรมศิลปการมุ่งหวังเป็นสื่อการเรียนรู้หลักฐานทางโบราณสถาน ผ่านปรัชญาความคิดในแง่ของบริบทพระพุทธศาสนา งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนงานวิจัยจาก สกสว.           เมื่อวันที่ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๖๖ นายพนมบุตร จันทรโชติ  อธิบดีกรมศิลปากรรับมอบงานวิจัยจาก คณะวิจัยนำโดย ผศ.ดร.แม่ชีกฤษณารักษาโฉม อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  สำหรับงานวิจัยดังกล่าวเป็นงานวิจัยผ่านโบราณสถานที่สำคัญในอุทยานประวัติศาสตร์ทั้งสี่แห่งของประเทศไทย ได้แก่ อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยและอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย โดยศึกษาแนวคิดหลักพุทธปรัชญา  ในบริบทพระพุทธศาสนา  ซึ่งงานวิจัยดังกล่าวจะประกอบไปด้วยข้อมูลที่เป็น E-Book รูปเล่มการวิจัยที่เป็นเอกสารตลอดจนถึงคลิปวิดีโอในรูปแบบสารคดีจำนวน 27 ตอน โดยมุ่งหวังว่าจะเป็นประโยชน์ในการศึกษาให้กับประชาชนนักเรียนนักศึกษาตลอดถึงผู้ที่สนใจได้ศึกษาค้นคว้าต่อไป


#พระราชพิธีสิบสองเดือน หรือ พระราชพิธีทวาทศมาส มีการบันทึกเป็นโคลงโดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์ เรียกว่า โคลงทวาทศมาส ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 จึงได้ทรงพระราชนิพนธ์เป็นร้อยแก้ว โดยเป็นหนังสือที่อธิบายถึงพระราชพิธี และขนบธรรมเนียมในพระราชวัง มีทั้งพระราชพิธีและพระราชกุศลต่างๆ ในแต่ละเดือน เพื่อเป็นประโยชน์แก่คนรุ่นหลังให้ได้ทราบถึงความสำคัญและรักษาไว้ซึ่งพระราชพิธีอันดีงามสามารถอ่าน e-book เพิ่มเติมได้ตามลิงก์ด้านล่างโคลงพระราชพิธีทวาทศมาสhttps://www.finearts.go.th/chiangmailibrary/view/15787-โคลงพระราชพิธีทวาทศมาศพระราชพิธีสิบสองเดือนhttps://vajirayana.org/พระราชพิธีสิบสองเดือนพระราชพิธีสิบสองเดือน ฉบับการ์ตูนhttps://www.2ebook.com/new/library/book_detail/nlt/02001943#พระราชพิธีสิบสองเดือน#ทวาทศมาส#บรรณารักษ์ชวนอ่าน


           สำนักหอสมุดแห่งชาติ ขอเชิญชวนทำความรู้จัก "เมืองโบราณศรีเทพ" ให้มากขึ้น ผ่านหนังสือ 3 เล่ม โดยแนะนำให้ทุกท่านได้อ่าน ก่อนออกเดินทางไปยลโฉมมรดกโลกทางวัฒนธรรมแห่งใหม่ของประเทศไทยในสถานที่จริง ณ อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์            ผู้สนใจสามารถ Scan QR Code เพื่ออ่านและดาวน์โหลดหนังสือแต่ละเล่มได้ หรือเข้าไปอ่านที่ห้องสมุดดิจิทัล D-Library ตามลิงก์ ต่อไปนี้            - ศรีเทพ เมืองศูนย์กลางความเจริญแห่งลุ่มน้ำป่าสัก  http://digital.nlt.go.th/dlib/items/show/19326            - นำชมอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ http://digital.nlt.go.th/dlib/items/show/19327            - อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ  http://digital.nlt.go.th/dlib/items/show/19325



“สักการะ ๙ โบราณสถานจังหวัดพังงา”          จังหวัดพังงา ตั้งอยู่ในพื้นที่ภาคใต้ตอนบนของประเทศไทย ด้านชายฝั่งทะเลอันดามัน เป็นจังหวัดที่มีประวัติความเป็นมาในอดีตที่สำคัญหลายประการ ในพื้นที่จังหวัดพังงา พบร่องรอยการอยู่อาศัยของมนุษย์มาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ดังปรากฏตามหลักฐานทางโบราณคดีที่นักโบราณคดีได้ค้นพบตามถ้ำ หรือเพิงผาเขาหินปูนจำนวนมาก ต่อมาในสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ ปรากฏหลักฐานการมารวมตัวกันเป็นแหล่งชุมชนโบราณตะกั่วป่า คือแหล่งโบราณคดีทุ่งตึก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางการค้าทางทะเล และมีประวัติความเป็นมาสืบเนื่องมาถึงปัจจุบัน ดังนั้น เรื่องราวของวิวัฒนาการก่อนที่จะมาเป็นจังหวัดพังงา ตลอดจนเรื่องราวต่าง ๆ อันเกี่ยวกับจังหวัดพังงา จึงนับเป็นเรื่องที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง . โบราณสถานทั้ง ๙ แหล่งที่นำเสนอในองค์ความรู้ชุดนี้ ได้แก่ โบราณสถานเขาพระเหนอ วัดคงคาพิมุข วัดคีรีเขต วัดหน้าเมือง วัดสราภิมุข วัดมงคลสุทธาวาส โบราณสถานถ้ำสุวรรณคูหา วัดมาตุคุณาราม และวัดลุมพินี ล้วนแล้วแต่มีคุณค่าและความสำคัญทางด้านประวัติศาสตร์โบราณคดี ซึ่งเป็นเครื่องแสดงประวัติความเป็นมาอันเก่าแก่ของชุมชนของชาติ รวมทั้งเป็นแหล่งศึกษาและเรียนรู้ตลอดชีวิต . เรียบเรียง/กราฟฟิก : นางสาวอนุธิดา ส่งบำเพ็ญ และ นางสาวลัดดาวัลย์ สุวรรณคีรี นักวิชาการวัฒนธรรม  กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรีธรรมราช . #อ้างอิง :  นภัคมน ทองเฝือ. โบราณสถานที่ขึ้นทะเบียนในเขตพื้นที่สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรีธรรมราช. นครศรีธรรมราช : สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรีธรรมราช กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม, ๒๕๖๓. กรมศิลปากร. สำนักศิลปากรที่ ๑๕ ภูเก็ต. ทุ่งตึก เมืองท่าการค้าโบราณ. (กรุงเทพฯ : บริษัทสำนักพิมพ์สมาพันธ์, ๒๕๕๐) น.๑๑ - ๒๕


          พระพุทธรูปนาคปรก           แบบศิลปะ : ลพบุรี           ชนิด : สำริด            ขนาด : สูง 30.30 เซนติเมตร ตักกว้าง 10 เซนติเมตร           ลักษณะ : พระพุทธรูปนาคปรกประทับนั่งเหนือขนดนาคด้านหน้ามีผ้าทิพย์ เหนือพระเศียรมีเศียรนาค 7 เศียรแผ่พังพาน พระพักตร์เหลี่ยม พระขนงต่อกันเป็นปีกกา พระนาสิกโด่ง พระโอษฐ์แบะแย้มพระสรวล สวมเครื่องทรงแบบกษัตริย์ได้แก่ เทริดแบบกะบังหน้า พระรัศมีทรงกรวย กุณฑลรูปตุ้ม กรองศอ ครองจีวรห่มเฉียงสังฆาฏิปลายตัดตรงเหนือพระนาภี พระหัตถ์แสดงมุทรามารวิชัย พระหัตถ์ขวาคว่ำวางบนพระชานุ พระหัตถ์ซ้ายหงายวางบนพระเพลา           สถานที่จัดแสดง : ห้องศาสนศิลป์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี   แสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่ http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/suphanburi/360/model/04/   ที่มา: hhttp://www.virtualmuseum.finearts.go.th/suphanburi


องค์ความรู้สุพรรณบุรี เรื่อง ปลาหมำ อาหารขึ้นชื่ออำเภอสองพี่น้อง ผู้เรียบเรียง : นางอภิญญานุช เผ่าพงษ์คล้าย บรรณารักษ์ชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ





           พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี  ชวนเรียนรู้เรื่องเมืองสุพรรณ ขอเชิญเที่ยวพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี ที่เดียวครบทุกเรื่องเมืองสุพรรณ โดยมีบริการนำชมพิพิธภัณฑ์เป็นหมู่คณะ บริการร้านกาแฟและเครื่องดื่ม บริการให้ยืมนิทรรศการเคลื่อนที่ บริการสถานที่จัดอบรม ประชุม สัมมนาฯ และห้องกิจกรรมพิเศษ จัดทุกวันเสาร์ - อาทิตย์ รวมทั้งยังมีร้านจำหน่ายของที่ระลึก              พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี เปิดทำการวันพุธ - วันอาทิตย์ และวันนักขัตฤกษ์ เวลา 09.00 - 16.00 น. ปิดทำการวันจันทร์ - วันอังคาร


วันพระญาวัน (วันพญาวัน) ในปี พ.ศ. 2567 นี้ ตรงกับวันที่ 16 เมษายน 2567 เป็นวันเถลิงศกเริ่มต้นศักราชใหม่วันนี้ ประชาชนจะตื่นแต่เช้าไปทำบุญตักบาตรที่วัด พร้อมกับนำช่อทุงไปปักที่เจดีย์ทรายที่ได้ร่วมกันทำไว้ในวันก่อน การถวายภัตตาหารหรือที่เรียกว่า ทานขันเข้า (อ่าน "ตานขันเข้า") นี้ บางคนก็จะทำบุญกันหลายสำรับ เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษหรือญาติมิตรที่ล่วงลับไปแล้วด้วย บางคนอาจนำสำรับอาหารไปมอบให้แก่บิดามารดา ปู่ย่า ตายาย ผู้เฒ่าผู้แก่หรือผู้ที่ตนเคารพนับถือโดยความเคารพอย่างการถวายให้แก่พระสงฆ์ด้วย ซึ่งการทำบุญเช่นนี้ เรียกว่า ทานขันเข้าคนเฒ่าคนแก่ ฟังพระธรรมเทศนา เช่น เทศน์อานิสงส์ปีใหม่ ๑ กัณฑ์ เสร็จแล้วโอกาสเวนทานและเวนทานต่างๆ ตลอดถึงเวนทานเจดีย์ทรายด้วย เตรียมไม้ง่ามไปถวายสำหรับค้ำต้นโพธิ์ ไม้ง่ามนี้จะมีกรวยดอกไม้ธูปเทียนและกระบอกบรรจุน้ำและทรายผูกติดกับไม้ง่ามไปด้วย การทานไม้ง่ามนี้ ถือคติว่าเพื่อเป็นสัญลักษณ์ในการจะช่วยกันค้ำจุนพระศาสนาให้ยืนยาวต่อไป นำเอาน้ำเข้าหมิ่นส้มป้อย คือน้ำอบน้ำหอม ซึ่งปรุงด้วยฝักส้มป่อยและดอกไม้หอมที่ตากแห้งเช่น ดอกสารภีที่เตรียมมาด้วยนั้น สรงน้ำทั้งพระพุทธรูป สถูปเจดีย์ รวมทั้งสรงน้ำพระภิกษุเจ้าอาวาสด้วย มีการไปดำหัวหรือไปคารวะผู้เฒ่าผู้แก่ บิดามารดา ญาติพี่น้องผู้อาวุโสหรือผู้มีบุญคุณหรือผู้ที่เคารพนับถือ เพื่อเป็นการขอขมาลาโทษอันเนื่องจากที่อาจได้ประพฤติในสิ่งที่ไม่สมควรต่อท่านเหล่านั้น การดำหัวนี้ก็อาจกระทำแก่ครูบาอาจารย์ผู้บังคับบัญชาหรือบุคคลสำคัญในชุมชนนั้นๆเช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เป็นต้นเอกสารอ้างอิง"วันพระญาวัน (๑) (วันเถลิงศก)." สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ เล่ม 12. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, 2542: 6231-6232.อุดม รุ่งเรืองศรี. "ปีใหม่ (สงกรานต์)." สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ เล่ม 8. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, 2542: 3834-3841..



นักโบราณคดีทำงานอะไร? สนใจไปดูนักโบราณคดีทำงานขุดค้นในแหล่งโบราณคดีได้หรือไม่?   ตอบ  นักโบราณคดีทำงานศึกษาค้นคว้าเรื่องราวในอดีตของมนุษย์ โดยการค้นหาหลักฐานทางโบราณคดี เช่น โครงกระดูกมนุษย์ เครื่องมือหิน ภาชนะดินเผา ภาพเขียนสี ฯลฯ ด้วยวิธีการสำรวจและขุดค้นทางโบราณคดี ซึ่งเป็นวิธีการเฉพาะในการทำงานของนักโบราณคดี แล้วนำมาวิเคราะห์ ตีความ เพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับมนุษย์ วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมในอดีต   งานหลักของนักโบราณคดี คือ           ๑. สำรวจและขุดค้นเพื่อหาหลักฐานทางโบราณคดี เช่น ร่องรอยการอยู่อาศัยของมนุษย์ โครงกระดูก เศษภาชนะดินเผา ฯลฯ           ๒. นำหลักฐานทางโบราณคดีมาศึกษาวิเคราะห์ และตีความ โดยประมวลความรู้จากหลากหลายสาขาทั้งวิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ศิลปะ มานุษวิทยา ฯลฯ เพื่อให้ทราบถึงเรื่องราวในอดีตของมนุษย์           ๓. เผยแพร่ข้อมูลความรู้ทางวิชาการด้านโบราณคดี ทั้งการเขียนเป็นรายงานการสำรวจ ขุดค้น บทความทางวิชาการ จัดแสดงเป็นนิทรรศการหรือจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ ฯลฯ           ผู้สนใจสามารถขอเข้าชมการทำงานของนักโบราณคดีได้ทุกขั้นตอน โดยเฉพาะการทำงานในหลุมขุดค้น ซึ่งบางครั้งจะมีการจัดกิจกรรมให้เยาวชนในพื้นที่ใกล้เคียงได้เรียนรู้การทำงานของนักโบราณคดี โดยให้ทดลองฝึกฝนในพื้นที่จริงร่วมกับนักโบราณคดี           ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ติดต่อสอบถามล่วงหน้าที่สำนักโบราณคดี โทร.๐ ๒๒๘๒ ๔๘๐๑.๐ ๒๒๘๒ ๔๘๔๖ ส่วนภูมิภาค ติดต่อสำนักศิลปากรในพื้นที่รับผิดชอบ           การขุดค้นทางโบราณคดี           ๑. วางผังหลุมขุดค้น โดยตีตารางกำหนดพิกัด เลือกพิกัดที่จะทำการขุดค้น เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับผู้ที่ขุดค้นครั้งต่อไป           ๒. ลงมือขุดค้นทีละชั้น โดยอาจกำหนดตามชั้นสมมุติ เช่น ขุดชั้นละ ๑๐ เซนติเมตร  หรือขุดตามชั้นดินวัฒนธรรม (ชั้นดินที่มีร่องรอยการอยู่อาศัยของมนุษย์) ทีละชั้นจนสิ้นสุดที่ชั้นดินธรรมชาติ (ชั้นดินที่ไม่มีร่องรอยการอยู่อาศัยของมนุษย์)           ๓. เมื่อพบหลักฐานทางโบราณคดี เช่น เศษภาชนะดินเผา แกลบข้าว ฯลฯ  หรือ ร่องรอยการอยู่อาศัยของมนุษย์ ได้แก่ หลุมเสาบ้าน ฯลฯ ก็จะทำการบันทึกโดยวาดผังตำแหน่งและลักษณะที่พบ พร้อมถ่ายภาพจากนั้นเก็บขึ้นมาเพื่อศึกษาโดยละเอียด           ๔. เก็บข้อมูลร่องรอยชั้นดินบริเวณผนังหลุม ซึ่งทำให้สามารถกำหนดชั้นดินวัฒนธรรมได้ชัดเจน           ๕. กลบหลุม           ๖. นำหลักฐานโบราณคดีที่ได้ มาศึกษาวิเคราะห์โดยละเอียด เมื่อศึกษาเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะต้องนำส่งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เพื่อเก็บรักษาในคลังวัตถุ หรือนำออกจัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ           ๗. เขียนรายงานการสำรวจและขุดค้น เพื่อเป็นหลักฐานและข้อมูลสำหรับผู้ที่จะทำการศึกษาต่อไป