ค้นหา


รายการที่พบทั้งหมด 37,381 รายการ


เลขทะเบียน : นพ.บ.12/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  54 หน้า  ; 5.5 x 56 ซ.ม. : รักทึบ-ลานดิบ ; ไม้ประกับธรรมดา มีฉลากชื่อชุด : มัดที่ 8 (83-99) ผูก 1หัวเรื่อง : โลกนยชาตก--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.41/2ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  48 หน้า ; 4.5 x 59 ซ.ม. : ชาดทึบ ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 23 (234-238) ผูก 2หัวเรื่อง :  แปดหมื่นสี่พันขันธ์ --เอกสารโบราณ             คัมภีร์ใบลาน             พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


ชื่อผู้แต่ง        ตรี อมาตยกุล ชื่อเรื่อง         เรื่องจังหวัดสุพรรณบุรีและเรื่องเจดีย์ยุทธหัตถี ครั้งที่พิมพ์     พิมพ์ครั้งที่ 5   สถานที่พิมพ์     กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์     โรงพิมพ์อักษรบัณฑิต ปีที่พิมพ์        2517  จำนวนหน้า    67      หน้า หมายเหตุ      พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพหลวงอรรถวาทประวิช(ประวิช บริสุทธ์)                    เรื่องจังหวัดสุพรรณบุรีเดิมรวมในหนังสือเรื่องเมืองทองของไทย หนังสือนำเที่ยว ๗ จังหวัด ได้แก่ สุโขทัย กาญจนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี จันทบุรี สุพรรณบุรี และเพชรบุรี ให้ความรู้ด้านภูมิประเทศ ประวัติศาสตร์,โบราณสถานและโบราณวัตถุ                    ส่วนเรื่องเจดีย์ยุทธหัตถีผู้เขียนได้รวบรวมเมื่อครั้งไปสำรวจเจดีย์แบบต่างๆในจังหวัดอยุธยาและสุพรรณบุรีเพื่อนำมาเป็นรูปแบบเจดีย์สำหรับสร้างครอบซากเจดีย์ที่อำเภอดอนเจดีย์


 ชื่อผู้แต่ง  :  ศิลปากร , กรม   ชื่อเรื่อง  :  โคลงทศรถสอนพระราม โคลงพาลีสอนน้อง โคลงราชสวัสดิ์ สมุทรโฆษคำฉันท์ตอนกลาง   โคลงเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนารายณ์มหาราช   ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๒๔   ครั้งที่พิมพ์  :  พระราชนิพนธ์โคลง ครั้งแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์พิมพ์ครั้งที่ สอง   :  สมุทรโฆษคำฉันท์ พิมพ์ครั้งที่ สี่                 :  โคลงเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พิมพ์ครั้งที่ สอง   สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพฯ   สำนักพิมพ์  :  เจริญวิทย์การพิมพ์   จำนวนหน้า  :  ๙๕ หน้า   หมายเหตุ  :  ที่ระลึกในโอกาสเปิดศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดลพบุรี วิทยาลัยครูเทพสตรี                          เรื่องโคลงครั้งแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์นี้ ประกอบด้วยคำโคลงเรื่อง พาลีสอนน้อง ทศรถสอนพระราม และราชสวัสดิ ซึ่งกล่าวกันว่าเป็นพระราชนิพนธ์ของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เรื่อง พาลีสอนน้องนั้น เป็นตอนที่พาลีรู้ว่าตนจะตาย จึงเรียกลูกคือ องคต และน้องคือ สุครีพ มาสั่งสอนให้รู้จักประพฤติตัวในการที่จะไปเป็นข้าพระรม เรื่องทศรถสอนพระราม เป็นตอนที่ท้าวทศรถให้โอวาทพระราม เมืองทรงมอบเมืองให้ครอบครอง ส่วนเรื่องราชสวัสดินั้น เป็นเรื่องวิธุรบัณฑิตสอนบุตรในวิธุรชาดกที่ ๙ แห่งทศชาติ ซึ่งกล่าวถึงหลักความประพฤติของอำมาตย์ผู้อยู่ใกล้ชิดพระราชา                      เรื่องสมุทรโฆษคำฉันท์ที่พิมพ์อยู่ในฉบับนี้ เป็นพระราชนิพนธ์ของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ซึ่งทรงพระราชนิพนธ์ต่อจากที่พระมหาราชครูได้แต่งค้างไว้ ตั้งแต่ตอนที่พระสมุทรโฆษและ   นางพินทุมดีใช้บนเริ่มด้วยความว่า                                “พิศพระกุฏีอา    ศรมสถานตระการกล                                แกมแก้วตระกลยน  ตประกิตประเกาะกัน”                      จบถึงตอนที่พิทยาธร ๒ ตนรบกัน ตนหนึ่งแพ้ตกลงไปในสวนของพระสมุทรโฆษ ความว่า                                “ตนกูตายก็จะตายผู้เดียวใครจะแลดู                                โอ้แก้วกับตนกู   ฤเห็น”                      สำหรับเรื่องโคลงเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ของหลวงศรีมโหสถ นั้น   เป็นหนังสือที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ด้วยเป็นคำโคลงที่พรรณนาถึงความรุ่งโรจน์ของปราสาทราชมนเทียรในนครลพบุรี และยังกล่าวถึงเหตุการณ์ซึ่งมิได้ปรากฏในหนังสือพระราชพงศาวดารอีกด้วย


ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 70 เรื่องเมืองนครจำปาศักดิ์. พระนคร : โรงพิมพ์พระจันทร์, 2484.          เป็นหนังสือรวบรวมเรื่องเกี่ยวกับพงศาวดารและตำนานต่างๆ เช่น พงศาวดารนครจำปาศักดิ์ฉบับพระยามหาอำมาตย์ฯ เรียบเรียงทูลเกล้าฯ ถวายรัชกาลที่ 5 ตำนานเมืองจำปาศักดิ์ ซึ่งกล่าวถึงเรื่องเกี่ยวกับตำนานพระพุทธบุษยรัตน์ (ฉบับเจ้าพรหมเทวานุเคราะห์ ) เรื่องขุนบรม พงศาวดารเมืองยโสธร ตำนานเมืองทรายฟอง (เป็นเมืองร้างอยู่ทางฝั่งซ้ายแม่นำ้โขง ใต้เมืองเวียงจันทน์ลงมา แต่อยู่เหนือจังหวัดหนองคาย) ตำนานเมืองพวน (เป็นแคว้นอยู่ทางตะวันออกของเวียงจันทน์ มีเมืองเชียงขวาง เชียงคำ เป็นต้น) พงศาวดารย่อเวียงจันทน์ เรื่องเกี่ยวกับสร้างวัดพระแก้วศรีเชียงใหม่ ในจังหวัดหนองคาย ประวัติท้าวสุวอ เจ้าเมืองหนองคาย คำให้การเกี่ยวกับเมืองต่างๆ ได้แก่ เมืองเชียงแตง เมืองอัตปือ เมืองสพังภูผา และเมืองเซลำเภา พงศาวดารเมืองนครพนม ตำนานเมืองวังมล และพงศาวดารเมืองมูลปาโมช  


ชื่อเรื่อง : วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดอุตรดิตถ์ ผู้แต่ง : คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ปีที่พิมพ์ : 2542 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : กระทรวงมหาดไทย : กระทรวงศึกษาธิการ และกรมศิลปากร



       ชื่อเรื่อง : กลยุทธ์ ยุทธวิธี ผู้นำแบบซุนวู      ผู้เขียน :  -      สำนักพิมพ์ : ก้าวแรก      ปีพิมพ์ : 2557      เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ : 978-616-367-010-6      เลขเรียกหนังสือ : 658.4 ก287      ประเภทหนังสือ : หนังสือทั่วไป      ห้องบริการ : ห้องหนังสือทั่วไป 1 สาระสังเขป : ซุนวู เป็นบุคคลกึ่งสมมติมีชีวิตอยู่ประมาณช่วงเดียวกับขงจื๊อ เกิดในสมัยชุนชิวเป็นชาวแคว้นฉีโดยกำเนิด เป็นนักการทหารและนักการปกครองผู้เชี่ยวชาญ เจ้าของตำราศิลปะแห่งการยุทธ์ที่นับว่าเป็นหนึ่งในตำราการสงครามซึ่งเก่าแก่ที่สุดในโลกคือ ตำราพิชัยสงครามของซุนวู ที่ได้จากประสบการณ์ในการนำทัพชนะศึก รวบรวมเป็นข้อคิดและตำราซึ่งมีคุณค่ามหาศาลในสงครามการรบระหว่างแคว้นของจีนในยุคนั้น โดยตำราพิชัยสงครามของซุนวู หรือ The Art of War นอกจากจะนำไปใช้กับการดำเนินกิจการสงคราม การทหารและการบริหารประเทศ ซึ่งเป็นวัตถุประสงค์แรกเริ่มของตำราเล่มนี้ ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในด้านอื่นได้อีกมากมายด้วย ทั้งการดำเนินธุรกิจ การบริหารจัดการ และการพัฒนาภาวะผู้นำ ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็นการชิงชัยประเภทหนึ่งเช่นกัน โดยศัตรูก็คือคู่แข่งที่ขับเคี่ยวในวงการธุรกิจนั่นเอง "กลยุทธ์ ยุทธวิธี ผู้นำแบบซุนวู" ได้สรุปข้อคิดบางประการที่ได้จากการศึกษาตำราพิชัยสงครามของวุนซูที่สามารถใช้เป็นกลยุทธ์ คือหลักที่ใช้อย่างมั่นคงต่อเนื่องโดยไม่คำนึงถึงสถานการณ์ ถูกออกแบบมาเพื่อเป็นฐานและเป็นโครงสร้างของความสำเร็จในการแข่งขัน ประกอบด้วยสามหลัก ได้แก่ พันธะผูกมัด การเฝ้าสังเกต การเตรียมการ และ ยุทธวิธี คือหลักที่ใช้ในการตอบสนองโดยตรงกับโอกาสหรือภยันตรายที่เฉพาะเจาะจง ประกอบด้วยหกหลัก ได้แก่ การประเมิน การดัดแปลง การคัดง้าง การหลอกล่อ จังหวะเวลา และการก้าวย่าง โดยนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับการประเมิน (การประเมินและวิเคราะห์แผนการ) การคับเคี่ยวศึก (การแข่งขัน) ยุทธศาสตร์การรุก (ยุทธวิธีการรุกคู่แข่ง) รูปแบบการรบ (รูปแบบการแข่งขัน) กำลังพล (การพลิกแพลงยุทธวิธีในการแข่งขัน) หยั่งรู้ศัตรู (รู้จุดอ่อน-จุดแข็ง) กลอุบายศึก (กลยุทธ์ในการแข่งขัน) แดนมรณะเก้าสถาน (รู้จักยืดหยุ่นต่อสถานการณ์) การเดินทัพ (การบริหารการแข่งขัน) ภูมิประเทศ (สนามการแข่งขัน) พื้นที่เก้ายุทธภูมิ (พื้นที่การแข่งขัน) โจมตีด้วยเพลิง (การทำลายชื่อเสียง) และการใช้สายลับ (ข้อมูลและความลับ) ด้วยหวังให้ข้อคิดจากหนังสือเล่มนี้จะมีประโยชน์สำหรับการดำเนินธุรกิจ การดำเนินชีวิตประจำวัน การบริหารบุคคลและองค์กรอีกด้วย 


บรรณานุกรม  หนังสือหายาก ชื่อหนังสือ  ตำราวาดคน








พระวิษณุ (พระนารายณ์) ศิลปะสุโขทัย พุทธศตวรรษที่ ๑๙-๒๐ เทวรูปองค์นี้ถูกเคลื่อนย้ายจากเมืองโบราณสุโขทัย ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย นำไปประดิษฐานไว้ ณ เทวสถาน กรุงเทพฯ และนำกลับมาจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง ในปีพุทธศักราช ๒๕๐๗   พระวิษณุ หรือที่เรียกอีกนามหนึ่งว่า "พระนารายณ์" เป็นเทพหนึ่งในสามของศาสนาฮินดู (ตรีมูรติ) พระพรหมเป็นผู้สร้าง พระวิณุเป็นผู้รักษา พระศิวะหรือพระอิศวร เป็นผู้ทำลาย พระนารายณ์ทรงบรรทมเหนือหลังพญาอนันตนาคราช เมื่อโลกถูกทำลายลงและทรงสร้างโลกขึ้นมาใหม่ด้วยดอกบัวที่ผุดออกจากพระนาภีของพระองค์และมีพระพรหมผู้สร้างโลกประทับอยู่บนนั้น พระนารายณ์ทรงเป็นเทพสูงสุดในศาสนาฮินดูลัทธิไวษณพนิกาย มีสี่กร ทรงถือจักร สังข์ คถา และดอกบัว ทรงครุฑเป็นพาหนะ และทรงมรพระมเหสี นามว่า พระลักษมี   ที่มาของข้อมูล : หนังสือนำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง   ข้อมูลนำชมโบราณวัตถุ ศิลปะวัตถุ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง ผ่าน QR code จัดทำโดย นางสาวสาธิตา วรรณพิรุณ คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ สาขาการท่องเที่ยวและการโรงแรม ชั้นปีที่ ๔ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ล้านนา ตาก โครงการสหกิจศึกษา ปีการศึกษา ๒๕๖๓