ค้นหา


รายการที่พบทั้งหมด 37,075 รายการ

ส่งต่อความรู้อาเซียนสู่แรงงานไทย


  หนังใหญ่วัดขนอน การสืบสานมหรสพชั้นสูง : พระมหากรุณาธิคุณในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี           หนังใหญ่วัดขนอนสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ โดยอดีตเจ้าอาวาส คือ ท่านพระครูศรัทธาสุนทร (หลวงปู่กล่อม) ท่านได้ชักชวนครูอั๋ง ช่างจาด ช่างจ๊ะ และช่างพ่วง มาร่วมกันสร้างตัวหนัง ชุดแรกที่สร้างคือชุดหนุมานถวายแหวน ต่อมาได้สร้างเพิ่มอีกรวม ๙ ชุด ปัจจุบันมีตัวหนัง ๓๑๓ ตัว จากอดีตจนถึงปัจจุบันวัดขนอนได้ร่วมกับภาครัฐและเอกชน ในการนำหนังใหญ่ไปแสดงเผยแพร่ทั้งภายในและภายนอกประเทศ           ใน พ.ศ. ๒๕๓๒ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ทรงเห็นคุณค่าในการแสดงและศิลปะในตัวหนังใหญ่ ทรงมีพระราชดำริให้ทางวัดช่วยอนุรักษ์ตัวหนังใหญ่ทั้งหมด และจัดทำหนังใหญ่ชุดใหม่ขึ้นแสดงแทน โดยมีมหาวิทยาลัยศิลปากรรับผิดชอบงานช่างจัดทำหนังใหญ่ทั้งหมด และได้นำหนังใหญ่ชุดใหม่ทูลเกล้าฯ ถวาย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อวันที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๘ ณ โรงละครแห่งชาติ และทรงพระราชทานให้ทางวัดขนอนนำมาใช้ในการแสดงต่อไป           สำหรับการจัดสร้างพิพิธภัณฑ์หนังใหญ่วัดขนอนนั้น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานพระราชดำริให้มหาวิทยาลัยศิลปากรดำเนินการ โดยได้ปรับปรุงบูรณะหมู่เรือนไทยที่เป็นกุฏิสงฆ์และศาลาการเปรียญ ดัดแปลงเป็นพิพิธภัณฑ์หนังใหญ่เพื่อใช้เป็นสถานที่เก็บรักษาตัวหนังใหญ่ชุดเก่าอย่างถูกวิธี สามารถใช้เป็นแหล่งค้นคว้าวิทยาการแขนงนี้แก่ผู้สนใจทั่วไป และใน พ.ศ. ๒๕๔๐ –๒๕๔๒ ได้ดำเนินการตกแต่งภายในเพื่อเปิดเป็นพิพิธภัณฑ์ในการร่วมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒           วัดขนอนได้เปิดให้ประชาชนและผู้สนใจได้เข้าศึกษา เยี่ยมชมนิทรรศการหนังใหญ่ พร้อมทั้งการสาธิตการแสดงหนังใหญ่ ตลอดจนการฝึกเยาวชนให้เรียนรู้และสืบทอดศิลปวัฒนธรรมอันทรงคุณค่านี้ เพื่อสนองโครงการตามแนวพระราชดำริในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สืบต่อไป           เดิมทางวัดได้รวบรวมโบราณวัตถุ จัดเป็นพิพิธภัณฑ์ของวัด มีทั้งศาสนวัตถุและข้าวของเครื่องใช้ อาทิ หีบพระธรรม พระธรรมคัมภีร์ พระบฏ เครื่องปั้นดินเผา มีโอ่ง หม้อน้ำ กระโถน กาน้ำชา  เครื่องถ้วยชาม ส่วนใหญ่เป็นเครื่องเบญจรงค์และลายคราม ส่วนหนึ่งน่าจะเป็นของใช้ภายในวัดที่ตกทอดสืบกันมา อีกส่วนหนึ่งตามประวัติของวัดขนอนที่เกี่ยวข้องกับด่านขนอน ด่านเก็บภาษีในสมัยโบราณกล่าวว่า เป็นส่วนที่เหลือจากการส่งเข้าท้องพระคลัง ที่นายด่านขนอนได้มอบเอาไว้เป็นสมบัติของวัด หลังจากที่ได้มีการเลิกด่านขนอน ในสมัยรัชกาลที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์และได้รักษาสืบทอดกันมา นับได้ว่านอกจากหนังใหญ่แล้ว วัดขนอนยังเป็นสถานที่รวบรวมองค์ความรู้หลากหลายแขนงของชุมชน นับเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งในจังหวัดราชบุรี      




หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จังหวัดสุพรรณบุรี ได้จัดโครงการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์งานจดหมายเหตุ "วันเด็กแห่งชาติประจำปี 2559" เพื่อเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับงานจดหมายเหตุเบื้องต้นให้แก่เยาวชนและประชาชนทั่วไปที่สนใจเข้าร่วมโครงการ รวมถึงเพื่อส่งเสริมให้เยาวชนได้แสดงความสามารถและรับความรู้ควบคู่กับความบันเทิง โดยมีกิจกรรมสันทนาการในวันเด็ก วันเสาร์ที่ 9 มกราคม 2559 



***บรรณานุกรม***  หนังสือหายาก   จังหวัดชุมพร.  อนุสรณ์ชุมนุมชาวจังหวัดชุมพร 2508.  พระนคร : โรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ, ๒๕๐๘.


หมวดหมู่                        พุทธศาสนาภาษา                            บาลี/ไทยอีสานหัวเรื่อง                          วรรณกรรมพุทธศาสนา                                    พุทธศาสนา—เทศนาประเภทวัสดุ/มีเดีย            คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ                    24 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ยาว 54 ซม. บทคัดย่อ                      เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับชาดทึบ ได้รับบริจาคมาจากพระอธิการเด่น ปญฺญาทีโป วัดคิรีรัตนาราม  ต.ดอนคา อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ดำเนินการอนุรักษ์เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2534


ชื่อเรื่อง : แอ่วเมืองลี้ ผู้แต่ง : สนิท ภูมาศ ปีที่พิมพ์ : 2544 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว           แอ่วเมืองลี้ ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอำเภอลี้ จังหวัดลำพูน อันประกอบไปด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ อาทิ ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ เศรษฐกิจเชิงการเกษตร สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ ประเพณี เทศกาลและวัฒนธรรมของอำเภอลี้ เช่น การนมัสการครูบาศรีวิชัย เกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียง วัดพระพุทธบาทผาหนาม เที่ยวงานลำไยเมืองลี้ หมู่บ้านกะเหรี่ยงบ้านห้วยต้ม เป็นต้น



เลขทะเบียน : นพ.บ.12/3ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  54 หน้า  ; 5.5 x 56 ซ.ม. : รักทึบ-ลานดิบ ; ไม้ประกับธรรมดา มีฉลากชื่อชุด : มัดที่ 8 (83-99) ผูก 3หัวเรื่อง : โลกนยชาตก--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม





 ชื่อผู้แต่ง  : พุทธเลิศหล้านภาลัย ,พระบาทสมเด็จพระ   ชื่อเรื่อง  :  บทนาฏกรรมในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย   ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๒๓   ครั้งที่พิมพ์  :  -   สถานที่พิมพ์  :  กรุงเทพฯ   สำนักพิมพ์  :  หสน.สหประชาพาณิชย์   จำนวนหน้า  :  ๔๔ หน้า   หมายเหตุ  :  เนื่องในวาระคล้ายวันพระบรมราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ณ โรงละคอนแห่งชาติ                          ศิลปินนั้นมีจุดหมายในชีวิตอยู่ที่การสร้างผลงานอันเป็นอมตะ ยิ่งกว่าที่จะมุ่งประสงค์ในลาภสักการ งานศิลปะจึงต้องการความอุปถัมภ์ค้ำชูยิ่งกว่าวิชาชีพอื่น เพื่อให้ศิลปินได้มีเวลารังสรรค์งานของตนได้อย่างเต็มที่ ในรัชสมัยแห่งพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชการที่ ๒ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ได้ทรงรับเป็นพระราชภาระอันสำคัญที่จะต้องทรงทำนุบำรุง และอุปถัมภ์ค้ำชูศิลปิน กอปรกับทรงเป็นศิลปินเองด้วย บรรดาพระบรมวงศานุวงศ์ตลอดจนข้าราชการบริพารน้อยใหญ่และพสกนิกรถ้วนหน้า ต่างโดยพระราชนิยมนี้ จึงเป็นที่กล่าวกันว่าในรัชสมัยแห่งพระองค์ท่านนั้น เป็นยุคทองแห่งศิลปวัฒนธรรม