ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,958 รายการ

คณะครู นักเรียนโรงเรียนบ้านสกุล อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ เข้าชมโบราณสถานปราสาทสระกำแพงใหญ่ อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ ในวันอังคารที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๖๗



           พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ขอชวนนักสะสมผู้ชื่นชอบงานอาร์ตทอย ร่วมลุ้นกาชาปองชุดพิเศษ “คืนถิ่น” Welcome Back Home  มีจำนวน 3 แบบ ได้แก่ Golden boy, Deified king, Kneeling Lady ออกแบบและผลิตโดย มือกระบี่ ราคาจุ่มละ 150 บาท พบกันวันพุธที่ 12 มิถุนายน 2567 เวลา 10.00 น. เป็นต้นไป ณ อาคารมหาสุรสิงหนาท พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร


มาแล้วครับ! งานดิบ ๆ ร้อน ๆ จากเตา ตอนนี้กำลังขัดเก็บรายละเอียด กันอย่างสนุกสนาน กับกาชาปองชุดพิเศษ “คืนถิ่น” Welcome Back Home ออกแบบและผลิตโดย มือกระบี่ จุ่มละ ๑๕๐ บาท พบกันวันพุธที่ ๑๒ มิถุนายนนี้ เวลา ๑๐.๐๐ น. เป็นต้นไป ณ อาคารมหาสุรสิงหนาท พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร แล้วพบกันครับ


           นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า จากกรณีที่มีการวิพากษ์วิจารณ์การบูรณะประติมากรรมปูนปั้นยักษ์ วัดอุโมงค์ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ โดยนายชินณวุฒิ วิลยาลัย ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ ได้รายงานว่า การบูรณะประติมากรรมปูนปั้นรูปยักษ์เฝ้ารักษาประตูทางเข้าสู่พระธาตุวัดอุโมงค์ บริเวณเชิงบันไดด้านทิศตะวันออกของทางเข้าพระธาตุวัดอุโมงค์ (สวนพุทธธรรม) ดำเนินการในช่วงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2566 โดยประติมากรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของโบราณสถานวัดอุโมงค์ ซึ่งเป็นโบราณสถานที่ยังมีการใช้ประโยชน์ในการประกอบศาสนกิจ มีพระภิกษุจำพรรษา มีผู้มาแสวงบุญและมีนักท่องเที่ยวมาเยี่ยมชมอย่างต่อเนื่อง              สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ ได้เสนอแนวคิดในการบูรณะเป็นสองแนวทาง ได้แก่ แนวคิดที่ 1 บูรณะโดยการอนุรักษ์และรักษาสภาพของยักษ์ทั้ง 2 ตนไว้ โดยการทำความสะอาด เสริมความมั่นคง และรักษาสภาพดั้งเดิมไว้ ไม่มีการต่อเติมประติมากรรมที่ชำรุดให้สมบูรณ์ แต่เมื่อประเมินสภาพประติมากรรมที่ชำรุดอย่างมากการอนุรักษ์ตามแนวทางนี้ อาจจะรักษาประติมากรรมดังกล่าวได้เพียงระยะหนึ่ง เนื่องจากเป็นประติมากรรมที่ตั้งอยู่กลางแจ้ง หากในอนาคตที่มีปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม เช่น ฝนตกหนัก แผ่นดินไหว ขาดการดูแลรักษาปล่อยให้วัชพืชขึ้น ก็จะเป็นปัจจัยที่เร่งให้เกิดการชำรุดและอาจพังทลายลง ส่วนแนวคิดที่ 2 บูรณะโดยการฟื้นคืนสภาพและรูปแบบดั้งเดิมของประติมากรรมรูปยักษ์ เมื่อพิจารณาสภาพก่อนการบูรณะ ซึ่งมีหลักฐานทางศิลปกรรมหลงเหลืออยู่มากกว่า 80% ประกอบกับการวิเคราะห์การเสื่อมสภาพของวัสดุเดิม สภาพแวดล้อมโดยรอบ ปัจจัยความเสี่ยงอื่นในอนาคตที่จะเร่งให้เกิดความเสียหาย การใช้ประโยชน์ของโบราณสถานในปัจจุบัน  คติความเชื่อ  อีกทั้งที่ผ่านมากรมศิลปากรมีการเลือกแนวทางการบูรณะแบบฟื้นคืนสภาพนี้มาแล้วหลายแห่ง เช่น องค์พระมงคลบพิตร ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา องค์พระอจนะ วัดศรีชุม จังหวัดสุโขทัย จึงพิจารณาเลือกดำเนินการบูรณะในแนวคิดที่ 2            ทั้งนี้ วิธีการอนุรักษ์ประติมากรรมยักษ์ 2 ตน โดยการฟื้นคืนสภาพ ได้ดำเนินการตามหลักการอนุรักษ์โดยล้างทำความสะอาดคราบเชื้อรา ตะไคร่น้ำ และวัชพืชออก ผนึกปูนปั้นเดิมด้วยการไล้ผิวด้วยน้ำปูน หลังจากนั้นไล้ผิวด้วยปูนหมักเพื่อให้ผิวประติมากรรมที่มีรอยร้าวผสานเข้ากับปูนปั้นที่ใช้ในการบูรณะ โดยให้คงชั้นความหนาของปูนปั้นเดิมให้มากที่สุด  เพื่อให้ขนาดของประติมากรรมหลังจากการบูรณะไม่เปลี่ยนแปลงไป และวิธีการนี้ยังช่วยป้องกันน้ำฝนที่จะซึมเข้าสู่ภายในองค์ยักษ์ อันเป็นปัจจัยที่ทำให้เสื่อมสภาพอย่างรวดเร็วอีกด้วย ทั้งนี้ได้ปั้นปูนใหม่เสริมในส่วนที่ขาดหาย เสริมโครงสร้างใหม่ (แขน) เชื่อมต่อโครงสร้างเดิมและปั้นปูนตกแต่งตามล้อตามลวดลายเดิมที่ปรากฏอยู่ (บริเวณใบหน้า , หู , ปาก ฯลฯ) และตกแต่งผิวให้เรียบ ส่วนกระบอง ไม่พบหลักฐานที่แตกหักหรือตกหล่นอยู่บริเวณนี้ จึงออกแบบให้เป็นกระบองแบบผิวเรียบ (มีเกลียวเล็กน้อย) และขนาดตามสัดส่วนของรูปยักษ์            อธิบดีกรมศิลปากรกล่าวอีกว่า สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ ได้หารือแนวทางการบูรณะกับทางจังหวัดก่อนที่จะดำเนินการ โดยปฏิบัติตามตามมาตรฐานการบูรณะประติมากรรม มีการสำรวจตรวจสภาพโบราณสถาน  ลักษณะความเสียหาย  ภูมิประเทศสภาพแวดล้อม  ปัจจัยองค์ประกอบที่เร่งในการชำรุดเสียหายของโบราณสถาน  ศึกษาเปรียบเทียบวิเคราะห์ศิลปกรรมที่มีอยู่หรือสร้างอยู่ในยุคเดียวกัน อีกทั้งประเมินแนวคิด ความเสี่ยง ความคุ้มค่า การบริหารจัดการในอนาคต มีการศึกษารูปแบบศิลปกรรมเดิม และคัดเลือกช่างท้องถิ่นที่เป็นช่างฝีมือที่เหมาะสมเข้ามาดำเนินการบูรณะ ซึ่งการบูรณะในครั้งนี้ ได้ให้หอจดหมายเหตุเชียงใหม่เข้าบันทึกภาพและขั้นตอนต่าง ๆ ไว้เป็นหลักฐานสำหรับเป็นข้อมูลในการศึกษาและการบูรณะที่อาจจะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต  


คู่มือแนวทางการปฏิบัติงานในการยืมทรัพย์สินของทางราชการ ไปใช้ปฏิบัติงานในส่วนของกรมศิลปากร (กรณีการยืมใช้พัสดุ)


   สำนักหอสมุดแห่งชาติ โดยหอสมุดแห่งชาติเขตลาดกระบัง เฉลิมพระเกียรติ จัดกิจกรรมจิตรกรน้อย ประจำปี ๒๕๖๗ ภายใต้โครงการพัฒนาและส่งเสริมหอสมุดแห่งชาติเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต ประจำปี ๒๕๖๗ ในหัวข้อ “ประติมากรรมนูนสูง” วันพุธที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๖๗  เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. ณ หอสมุดแห่งชาติเขตลาดกระบัง เฉลิมพระเกียรติ กรุงเทพมหานคร            กิจกรรมจิตรกรน้อยเป็นกิจกรรมที่สร้างแรงบันดาลใจให้เด็กและเยาวชนสนใจการอ่านทั้งทางตรงและทางอ้อม ให้ความรู้พื้นฐานด้านศิลปะควบคู่ไปกับการสร้างความสุขและความเพลิดเพลินอย่างสร้างสรรค์ โดยจัดเป็นรูปแบบอบรมเชิงปฏิบัติการให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมฝึกปฏิบัติ ซึ่งได้เชิญอาจารย์จากวิทยาลัยช่างศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม มาบรรยายให้ความรู้และฝึกปฏิบัติงานศิลปะเกี่ยวกับประติมากรรม สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. ๐๘ ๗๐๔๖ ๑๕๘๕ (คุณยุวเรศ)


วันอังคารที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๖๗ Mr. Phyo kyaw และ Si Thu Soe นักศึกษาเมียนมา จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ เยี่ยมชมหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่


            “สุนทรภู่” กวีเอกของไทยสมัยต้นรัตนโกสินทร์ มีผลงานดีเด่นและทรงคุณค่า เป็นกวีที่มีชื่อเสียงผลงานของท่านที่รู้จักกันแพร่หลาย เช่น เรื่องพระอภัยมณี  ลักษณวงศ์  สิงหไกรภพ สวัสดิรักษา ฯลฯ สุนทรภู่ได้รับการขนานนามว่าเป็นรัตนกวีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และเป็นกวีเอกของไทย ซึ่งสมญานามที่ได้รับล้วนแต่เป็นการยกย่องเชิดชูในความเป็นเลิศ และความสามารถด้านกวีนิพนธ์ของท่านทั้งสิ้น ด้วยผลงานวรรณกรรมที่เป็นอมตะทั้งในด้านฉันทลักษณ์ จินตนาการจากเนื้อเรื่อง การสอดแทรก คติเตือนใจพร้อมด้วยสุนทรียภาพทั้งในเชิงวรรณศิลป์และจริยศาสตร์ องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO)  จึงได้ประกาศยกย่องท่าน เป็นบุคคลสำคัญของโลกในฐานะผู้มีผลงานดีเด่นด้านวัฒนธรรม และทุกปีในวันที่  26 มิถุนายน ทางราชการได้ประกาศเป็น “วันสุนทรภู่”             สำนักหอสมุดแห่งชาติ ขอเชิญชวนประชาชนเข้าร่วมโครงการบรรยาย - อภิปราย เนื่องในวันสุนทรภู่ ประจำปี 2567 เพื่อร่วมสืบสานส่งเสริมมรดกวรรณศิลป์ อันเป็นเอกลักษณ์สมบัติทางวัฒนธรรมที่ล้ำค่าให้ดำรงคงอยู่คู่ชาติไทย และเป็นการเผยแพร่ผลงานของสุนทรภู่ ตลอดจนเพื่อกระตุ้นให้เกิดการอ่านวรรณคดีไทยเพิ่มมากขึ้น พบกับการเสวนา เรื่อง “สุนทรภู่ ครูดนตรี กวีชาวบ้าน” วิทยากรโดย  รองศาสตราจารย์ ดร. อภิลักษณ์ เกษมผลกูล อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และรองศาสตราจารย์บัวผัน สุพรรณยศ อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ดำเนินรายการโดย อาจารย์เก๋ แดงสกุล อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และชมการแสดงเพลงทรงเครื่อง เรื่อง พระอภัยมณี ตอน หนีนางผีเสื้อสมุทร จากสถาบันส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ในวันอังคารที่ 25 มิถุนายน  2567 เวลา 13.30 – 16.30 น. ณ ห้องประชุมใหญ่ สำนักหอสมุดแห่งชาติ และสามารถรับชมการถ่ายทอดสดผ่าน Facebook ของหอสมุดแห่งชาติ “National Library of Thailand”








Messenger