ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,958 รายการ
"เรามุ่งหวังให้หลุมขุดตรวจทางโบราณคดี เป็นแหล่งเรียนรู้เฉพาะกิจสำหรับผู้คนทุกเพศทุกวัยในชุมชน" ภายใต้แนวคิด "ต่อยอดวิชาการ ผสานชุมชน"
.
1. "#ต่อยอดวิชาการ"
แน่นอนว่าการขุดตรวจทางโบราณคดีในครั้งนี้ ทำให้เราพบหลักฐานอันล้ำค่า ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการมีอยู่ของผู้คนยุคก่อนประวัติศาสตร์ สมัยเหล็ก หรือราว 2500-1500 ปีมาเเล้ว ในเขตเมืองเก่านครราชสีมา ได้อย่างชัดเจน ดังที่พี่นักโบ นำเสนอไปแล้วก่อนหน้า
.
2. "#ผสานชุมชน"
ทุกครั้งที่เราเปิดหลุมขุดตรวจทางโบราณคดี เราจะมุ่งหวังให้หลุมขุดตรวจต้องทำหน้าที่บริการวิชาการ และเป็นแหล่งเรียนรู้ไปพร้อมกัน โดย 17 วันที่ผ่านมา มีผู้สนใจทั้งในเมืองนครราชสีมา เเละจากต่างจังหวัด ให้ความสนใจเดินทางมาเยี่ยมชมหลุมขุดตรวจ โดยพวกเรา ในฐานะ #นักโบราณคดี เป็นผู้ให้ความรู้ทางวิชาการทางประวัติศาสตร์ เเละโบราณคดีเมืองนครราชสีมา ตลอดจนนำเสนอร่องรอยกิจกรรมของมนุษย์ในอดีต ผ่านหลักฐานทางโบราณคดี อาทิ โครงกระดูกมนุษย์ ภาชนะดินเผา เครื่องใช้ เเละเครื่องประดับ ซึ่งนี่นับเป็นจุดเด่น ! ที่สำคัญ หากทุกท่านมาเยี่ยมชมหลุมขุดตรวจของเรา โดยตลอดทั้ง 17 วันที่ผ่านมา มีผู้เข้าร่วมศึกษาเรียนรู้สุทธิกว่า 500 คน
.
โดยความมุ่งหวังสูงสุดคือทุกคนที่มาเรียนรู้กับเรา จะเกิดความรัก ความตระหนัก และหวงแหนในหลักฐานทางโบราณคดีที่พบในฐานะมรดกมรดกวัฒนธรรมของชาวโคราช เเละชาวไทย สืบไป เเละทุกท่านจะเข้าใจวิธีการ การดำเนินงานทางโบราณคดีให้ชัดเจนมากขึ้น ครับ
.
ท้ายที่สุด กลุ่มโบราณคดี สศก. 10 นม. ต้องขอขอบพระคุณทุกภาคส่วนที่เข้ามาบูรณาการ การดำเนินงานทางโบราณคดีในครั้งนี้สำเร็จลุล่วงลงได้ด้วยดี ประกอบด้วย
1. คุณประเสริฐ บุญชัยสุข นายกเทศบาลนครนครราชสีมา (สนับสนุนงบประมาณ เเละบุคลากร)
2. คุณทศพร ศรีสมาน ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา (สนับสนุนบุคลากรในการดำเนินงานทางโบราณคดี)
3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศุภกร รักใหม่ (ให้คำปรึกษาการวิเคราะห์องค์ประกอบธาตุของโบราณวัตถุ)
4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จรูญ ด้วงกระยอม (สนับสนุนการศึกษาทางธรณีวิทยา)
5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิภานุ รักใหม่ (สนับสนุนการศึกษาทางชีววิทยา)
6. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พิทักษ์ชัย จัตุชัย (สนับสนุนการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น)
7. ภาคีอนุรักษ์เมืองนครราชสีมา (สนับสนุนอาหารว่าง)
8. คุณเจา คุณอ้น คุณวาว สื่อสารมวลชนในพื้นที่เมืองนครราชสีมา (สนับสนุนการประชาสัมพันธ์)
9. คุณพันธุ์ทิพย์ ธีรเนตร (สนับสนุนการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่องค์ความรู้)
10. คุณวัชร์ชยนันท์ สมสิทธิ์ ช่างภาพอิสระ (สนับสนุนการประชาสัมพันธ์)
11. คุณอนุพงศ์ เหวจบก ช่างภาพอิสระ (สนับสนุนการประชาสัมพันธ์)
12. คุณรังสฤษฏ์ อารีย์วงศ์ ช่างภาพอิสระ (สนับสนุนการประชาสัมพันธ์)
13. คุณชินาทร กายสันเทียะ (สนับสนุนอาหารว่าง)
และทุก ๆ ท่าน ที่ไม่สามารถเอ่ยนามได้ทั้งหมด
.
พบกันใหม่เมื่อมีโอกาส ..... #ปิดหลุม
#แหล่งตัดหินบ้านกรวด เป็นแหล่งขนาดใหญ่ในการผลิตแท่งหินทราย สำหรับก่อสร้างปราสาท สันนิษฐานว่ามีอายุในราวพุทธศตวรรษที่ 15-18 เป็นเนินเขาหินทราย บนเนินปรากฎร่องรอยของการสกัดหินทรายธรรมชาติ โดยการเซาะหินทรายเป็นแถวยาวก่อน แล้วจึงตัดแบ่งย่อยออกเป็นก้อนสี่เหลี่ยม เมื่อได้ขนาดที่ต้องการจึงสกัดด้านล่างออกเป็นแท่งสี่เหลี่ยม แล้วขนย้ายออกไปจากแหล่ง
แหล่งตัดหินบ้านกรวด ตำบลปราสาท อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์
กรมศิลปากร ตอบรับกระแสเรียกร้องเพิ่มรอบการแสดง ละครเรื่อง เลือดสุพรรณ ณ โรงละครแห่งชาติภาคตะวันตก จังหวัดสุพรรณบุรี ในวันอาทิตย์ที่ 7 กรกฎาคม 2567 รอบ 14.00 น. บัตรราคา 80 บาท 60 บาท และ 40 บาท สอบถามรายละเอียดการจองบัตรได้ที่โรงละครแห่งชาติภาคตะวันตก จังหวัดสุพรรณบุรี Line OA ID : @840rbrjv หรือกดลิงค์ https://lin.ee/Wz0nlWs โทร. 0 3553 5114 , 0 3553 5116 (วันและเวลาราชการ) เฟสบุ๊ก เพจ โรงละครแห่งชาติภาคตะวันตก จังหวัดสุพรรณบุรี
นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า ตามที่กรมศิลปากร โดยสำนักการสังคีต ได้เปิดจองบัตรเข้าชมการแสดงละครเรื่อง เลือดสุพรรณ บทประพันธ์ของ พลตรี หลวงวิจิตรวาทการ ในวันเสาร์ที่ 6 กรกฎาคม 2567 ณ โรงละครแห่งชาติภาคตะวันตก จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 800 ที่นั่ง ได้รับการตอบรับจากแฟนละครอย่างมาก จนบัตรเต็มทุกที่นั่งอย่างรวดเร็ว และยังมีผู้ที่ต้องการชมละคร ซึ่งพลาดการจองบัตรในครั้งแรกอีกเป็นจำนวนมาก กรมศิลปากรจึงตัดสินใจเพิ่มรอบการแสดงอีกหนึ่งรอบ ในวันอาทิตย์ที่ 7 กรกฎาคม 2567 เวลา 14.00 น. โดยสามารถจองบัตรได้แล้วที่โรงละครแห่งชาติภาคตะวันตก จังหวัดสุพรรณบุรี
ละคร เรื่อง เลือดสุพรรณ เป็นละครที่มีเนื้อหาจูงใจให้ผู้ชมเกิดความสมัครสมานสามัคคี มีไมตรีต่อกัน และเสียสละชีวิตเพื่อชาติ รูปแบบละครเป็นการผสมผสานทั้งการพูดแบบละครพูด การรำแบบละครรำ การบรรเลงและขับร้องเพลงไทย และเพลงไทยสากล โดยเฉพาะเพลงร้องในละคร คือ เพลงเลือดสุพรรณ และเพลงดวงจันทร์ เป็นบทเพลงที่เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย นำแสดงโดยนาฏศิลปินรุ่นใหม่ของสำนักการสังคีต อาทิ ปริญเมศร์ จูไหล รับบท มังราย นงลักษณ์ กลีบศรี รับบทดวงจันทร์ วัชรวัน ธนะพัฒน์ รับบทมังมหาสุรนาท กำกับการแสดงโดย ปกรณ์ พรพิสุทธิ์ อำนวยการแสดงโดย ลสิต อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักการสังคีต
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ เปิดให้บริการแก่ประชาชนและนักท่องเที่ยว ระหว่างวันที่ ๒๙ พฤษภาคม ถึง ๒ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๗ มีผู้เข้าชมทั้งสิ้น ๗๒ คน
วันจันทร์ที่ ๓ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๗ นางปริญญา สุขใหญ่ หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ และนายกรภัทร์ สุขใหญ่ พนักงานประจำพิพิธภัณฑ์ เข้าร่วมกิจกรรมโครงการปลูกต้นไม้ เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗ ครั้งที่ ๑ จัดขึ้นในวันจันทร์ที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๖๗ เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ๓ มิถุนายน ณ บริเวณโบราณสถานเมืองเสมา ตำบลเสมา อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา
ขอเชิญชมนิทรรศการ ""กล้องยาสูบ" พืชพันธ์ุ และ ควันไฟ Object of the Month วัตถุจากคลัง พช. สุพรรณบุรี
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี เชิญชมนิทรรศการหมุนเวียน "Object of the Month" วัตถุจากคลังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี ประจำเดือน "มิถุนายน" เชิญพบกับ "กล้องยาสูบ" พืชพันธ์ุ และ ควันไฟ พาย้อนไปรู้จักกับประวัติศาสตร์การสูบบุหรี่ในอดีต
โบราณวัตถุที่นำมาจัดแสดงในนิทรรศการครั้งนี้ ได้แก่ "กล้องยาสูบ" แบบศิลปะล้านนา วัสดุทำจากดินเผา ขนาดยาว ๑๐.๕ เซนติเมตร ปากกว้าง ๓ เซนติเมตร มีลักษณะการตกแต่งลวดลายเป็นรูปหัวช้างอ้าปาก ชูงวง ลำตัว/ฐาน และก้านส่วนที่ ๑ เป็นลายขีดเส้นตรง ก้านส่วนที่ ๒ เป็นเส้นขีดแนวขวางและเส้นไข่ปลา มีห่วงสำหรับร้อยเชือก ซึ่งได้มาจากการรับมอบบริจาค เมื่อพุทธศักราช ๒๕๓๓ นิทรรศการให้ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมการสูบ กล้องยาสูบที่พบในพื้นที่ใกล้เคียงประเทศไทย กล้องยาสูบที่พบในประเทศไทย กลุ่มชาติพันธุ์ที่มีวัฒนธรรมการใช้กล้องยาสูบ และวัฒนธรรมการสูบในปัจจุบัน
ผู้สนใจสามารถเข้าชมนิทรรศการ กับ "กล้องยาสูบ" พืชพันธ์ุ และ ควันไฟ ได้ในเดือนมิถุนายน ๒๕๖๗ เปิดวันพุธ - วันอาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. ปิดวันจันทร์ - วันอังคาร ณ ห้องโถงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี สอบถามเพิ่มเติม โทร. ๐ ๓๕๕๓ ๕๓๓๐ หรือเฟสบุ๊ก: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี Suphanburi National Museum
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี ขอร่วมสนุกกับคำถามเปิด #CollabProject “ตึกพี่ - ตึกน้อง” ตึกพี่ตึกน้องของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี คือ ภาพที่ ๑ ตึกอะไร? ภาพที่ ๒ อยู่ที่ไหนเอ่ย? สามารถร่วมสนุกได้ทาง Facebook Fanpage : Ubonratchatani National Museum เพื่อชิงรางวัลผ้าผาแต้มบ้านพี่ ผ้า.…? บ้านน้อง จำนวน ๔ รางวัล หมดเขตตอบคำถาม วันอังคารที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๖๗ เวลา ๒๐.๐๐ น. สุ่มจับรางวัล วันพุธที่ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๖๗ และประกาศรายชื่อผู้โชคดีทาง Facebook Fanpage : Ubonratchatani National Museum เวลา ๑๖.๐๐ น. นอกจากนี้ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี ยังแจ้งเปิดให้เข้าชมฟรีในวันทำการปกติ ตั้งแต่วันที่ ๗ - ๒๖ มิถุนายน ๒๕๖๗ ในวันพุธ - อาทิตย์ ปิดวันจันทร์ - อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เนื่องจากกำลังปรับปรุงอาคารจัดแสดง ขออภัยในความไม่สะดวกมา ณ โอกาสนี้ด้วย สอบถามเพิ่มเติม โทร. ๐ ๔๕๒๕ ๑๐๑๕
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี แจ้งเปิดให้ประชาชนเข้าชมฟรีในวันทำการปกติ ตั้งแต่วันที่ ๗ - ๒๖ มิถุนายน ๒๕๖๗ วันพุธ - อาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. ปิดวันจันทร์ - อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เนื่องจากกำลังปรับปรุงอาคารจัดแสดง ขออภัยในความไม่สะดวกมา ณ โอกาสนี้ด้วย สอบถามเพิ่มเติม โทร. ๐ ๔๕๒๕ ๑๐๑๕