ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,956 รายการ
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ เปิดให้บริการแก่ประชาชนและนักท่องเที่ยว ระหว่างวันที่ ๖-๙ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๗
มีผู้เข้าชมทั้งสิ้น ๒๗ คน
วันพุธที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๗ เวลา ๑๐.๐๐ น. นักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ ๑ และนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงปีที่ ๑ แผนกวิชาการท่องเที่ยว วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุรินทร์ อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ จำนวน ๓๓ คน อาจารย์ ๓ คน เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ โดยมีนายกรภัทร์ สุขใหญ่ พนักงานประจำพิพิธภัณฑ์ ให้การต้อนรับและบรรยายนำชม
พิธีทำบุญสืบชะตาเมืองเชียงใหม่ เป็นประเพณีที่ยึดถือมาช้านานของชาวล้านนา โดยชาวเมืองเชียงใหม่เชื่อว่าเป็นสิริมงคลตัวเอง ครอบครัว อีกทั้งยังเป็นการต่ออายุให้ยืนยาว และช่วยขจัดปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายให้อยู่ร่มเย็นเป็นสุข รวมถึงเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีของชาวล้านนาที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาตั้งแต่อดีต โดยก่อนประกอบพิธีทำบุญสืบชะตาเมืองเชียงใหม่ จะประกอบพิธีหลังประเพณีใส่ขันดอกบูชาเสาอินทขีล (เสาหลักเมืองเชียงใหม่) ซึ่งเป็นประเพณีขอฝนให้ตกต้องตามฤดูกาล พืชพันธุ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์ บ้านเมืองร่มเย็นเป็นสุข ซึ่งประเพณีใส่ขันดอกบูชาเสาอินทขีล จะกระทำพิธีสักการบูชาเป็นประจำทุกปี เรียกว่า “เดือนแปดเข้า เดือนเก้าออก”
หลังจากนั้นจึงประกอบพิธีทำบุญสืบชะตาเมืองเชียงใหม่ ซึ่งนอกจากจะเป็นการประกอบพิธีกรรมตามศรัทธา และความเชื่อของประชาชนแล้ว ยังเป็นการแสดงให้เห็นถึงความสามัคคี และร่วมแรงร่วมใจกันเป็นหนึ่งเดียว ระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ที่ออกมาร่วมทำบุญในพิธีอันศักดิ์สิทธิ์นี้ โดยจัดขึ้นทั้งหมด ๑๐ หน่วยพิธี คือ บริเวณประตูเมืองทั้ง ๕ ประตู ได้แก่ ประตูช้างเผือก ประตูท่าแพ ประตูเชียงใหม่ ประตูสวนดอก และประตูแสนปุง แจ่งเมือง ๔ แจ่ง ได้แก่ แจ่งหัวลิน แจ่งศรีภูมิ แจ่งก๊ะต๊ำ และแจ่งกู่เฮือง และบริเวณใจกลางเมือง หรือสะดือเมืองตรงพระบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์ ซึ่งจะกระทำการจุดพลุเพื่อให้สัญญาณประกอบพิธีจากบริเวณพระบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์ (กลางเวียง) ได้อย่างพร้อมเพรียงกัน โดยพิธีทำบุญสืบชะตาเมืองเชียงใหม่ ในปีพ.ศ. ๒๕๖๗ นี้ ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๖๗ ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๗ (เดือน ๙ เหนือ)
เรียบเรียงโดย : นายธีรบูลย์ มิตรมโนชัย นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม
แหล่งอ้างอิง :
คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี. ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่. พระนคร: โรงพิมพ์สำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรี, ๒๕๑๔.
พระครูโสภณกวีวัฒน์ (ธนจรรย์ สุระมณี). ตำนานเมืองเชียงใหม่ สายธาร อารยธรรม ประวัติศาสตร์ ชาติพันธุ์ ในล้านนา. เชียงใหม่: โรงพิมพ์มิ่งเมือง, ๒๕๕๐.
มณี พยอมยงค์. ประเพณีสิบสองเดือนล้านนาไทย. (พิมพ์ครั้งที่ ๒). กรุงเทพฯ: ส. ทรัพย์การพิมพ์, ๒๕๓๓.
ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ และศูนย์ศิลปวัฒนธรรม สถาบันราชภัฏเชียงใหม่. ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ฉบับ เชียงใหม่ ๗๐๐ ปี. เชียงใหม่: โรงพิมพ์มิ่งเมือง, ๒๕๓๘.
พิธีทำบุญสืบชะตาเมืองเชียงใหม่ เป็นประเพณีที่ยึดถือมาช้านานของชาวล้านนา โดยชาวเมืองเชียงใหม่เชื่อว่าเป็นสิริมงคลตัวเอง ครอบครัว อีกทั้งยังเป็นการต่ออายุให้ยืนยาว และช่วยขจัดปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายให้อยู่ร่มเย็นเป็นสุข รวมถึงเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีของชาวล้านนาที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาตั้งแต่อดีต โดยก่อนประกอบพิธีทำบุญสืบชะตาเมืองเชียงใหม่ จะประกอบพิธีหลังประเพณีใส่ขันดอกบูชาเสาอินทขีล (เสาหลักเมืองเชียงใหม่) ซึ่งเป็นประเพณีขอฝนให้ตกต้องตามฤดูกาล พืชพันธุ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์ บ้านเมืองร่มเย็นเป็นสุข ซึ่งประเพณีใส่ขันดอกบูชาเสาอินทขีล จะกระทำพิธีสักการบูชาเป็นประจำทุกปี เรียกว่า “เดือนแปดเข้า เดือนเก้าออก”
หลังจากนั้นจึงประกอบพิธีทำบุญสืบชะตาเมืองเชียงใหม่ ซึ่งนอกจากจะเป็นการประกอบพิธีกรรมตามศรัทธา และความเชื่อของประชาชนแล้ว ยังเป็นการแสดงให้เห็นถึงความสามัคคี และร่วมแรงร่วมใจกันเป็นหนึ่งเดียว ระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ที่ออกมาร่วมทำบุญในพิธีอันศักดิ์สิทธิ์นี้ โดยจัดขึ้นทั้งหมด ๑๐ หน่วยพิธี คือ บริเวณประตูเมืองทั้ง ๕ ประตู ได้แก่ ประตูช้างเผือก ประตูท่าแพ ประตูเชียงใหม่ ประตูสวนดอก และประตูแสนปุง แจ่งเมือง ๔ แจ่ง ได้แก่ แจ่งหัวลิน แจ่งศรีภูมิ แจ่งก๊ะต๊ำ และแจ่งกู่เฮือง และบริเวณใจกลางเมือง หรือสะดือเมืองตรงพระบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์ ซึ่งจะกระทำการจุดพลุเพื่อให้สัญญาณประกอบพิธีจากบริเวณพระบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์ (กลางเวียง) ได้อย่างพร้อมเพรียงกัน โดยพิธีทำบุญสืบชะตาเมืองเชียงใหม่ ในปีพ.ศ. ๒๕๖๗ นี้ ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๖๗ ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๗ (เดือน ๙ เหนือ)
เรียบเรียงโดย : นายธีรบูลย์ มิตรมโนชัย นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม
แหล่งอ้างอิง :
คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี. ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่. พระนคร: โรงพิมพ์สำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรี, ๒๕๑๔.
พระครูโสภณกวีวัฒน์ (ธนจรรย์ สุระมณี). ตำนานเมืองเชียงใหม่ สายธาร อารยธรรม ประวัติศาสตร์ ชาติพันธุ์ ในล้านนา. เชียงใหม่: โรงพิมพ์มิ่งเมือง, ๒๕๕๐.
มณี พยอมยงค์. ประเพณีสิบสองเดือนล้านนาไทย. (พิมพ์ครั้งที่ ๒). กรุงเทพฯ: ส. ทรัพย์การพิมพ์, ๒๕๓๓.
ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ และศูนย์ศิลปวัฒนธรรม สถาบันราชภัฏเชียงใหม่. ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ฉบับ เชียงใหม่ ๗๐๐ ปี. เชียงใหม่: โรงพิมพ์มิ่งเมือง, ๒๕๓๘.
#ปรางค์พะโค ประกอบด้วยปราสาท 2 หลัง ก่อสร้างด้วยอิฐ หินทราย และศิลาแลง ปราสาทประธาน หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ปัจจุบันเหลือเพียงส่วนฐานและเรือนธาตุเล็กน้อย มีมุขยื่นออกมาด้านหน้า ซึ่งมีทางเดินปูด้วยอิฐเชื่อมต่อกับปราสาทอีกหลัง ซึ่งเหลือเพียงส่วนฐานและเรือนธาตุ ก่อสร้างด้วยอิฐ หินทราย และศิลาแลงเช่นเดียวกัน หันหน้าไปทางทิศใต้ ตัวอาคารมีมุขยื่นออกมาด้านหน้า โดยมีประตูทางเข้าด้านหน้าเพียงด้านเดียว ที่เหลือทั้งสามด้านสลักลวดลายเป็นประตูหลอก เหนือประตูทางเข้าด้านทิศใต้ มีทับหลังสลักภาพสิงห์จับท่อนพวงมาลัยออกมาทั้งสองข้าง อาคารทั้งสองหลังมีคูน้ำรูปตัว U ล้อมรอบ
ปรางค์พะโค ตำบลกระโทก อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา
วันพุธที่ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๖๗ เวลา ๑๓.๓๐ น. คุณณัฐชญา ผดุงวิทย์ ผู้อำนวยการฝ่ายขาย และคุณอัญวีณ์ เสรีพิชัยธรรม ฝ่ายขายบริษัท เทรซ ออน จำกัด (TRACEON CO., LTD) เข้าพบนางสาวปุณณภา สุขสาคร ผู้อำนวยการหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ เพื่อนำเสนอโปรแกรมบริหารงานห้องสมุด (Libeary Management System) และระบบอุปกรณ์ RFID System ที่เกี่ยวข้องกับห้องสมุดแบบครบวงจร ตลอดจนระบบ Smart Library ที่สามารถประยุกต์ใช้กับงานห้องสมุดในปัจจุบัน และเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงาน
สำนักหอสมุดแห่งชาติ โดยกลุ่มบริการทรัพยากรสารสนเทศ จัดนิทรรศการเรื่อง "เมนูสำรับ กับข้าวเจ้านายในราชสำนักสยาม" จัดแสดงหนังสือ ตำรา เอกสารโบราณ ภาพประกอบ และสื่อมัลติมีเดียที่เกี่ยวกับอาหารชาววัง หรือที่เรียกอีกอย่างว่ากับข้าวเจ้านาย ซึ่งเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่แสดงถึงความประณีตและวิจิตรบรรจงแบบไทย
นิทรรศการ "เมนูสำรับ กับข้าวเจ้านายในราชสำนักสยาม" จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับขนบธรรมเนียมการบริโภคของเจ้านายในสมัยรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่พระมหากษัตริย์ จนไปถึงพระบรมวงศานุวงศ์ เช่น เครื่องคาวหวานที่ปรากฎในวรรณคดี กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 2 ที่ทรงพรรณนาถึงพระกระยาหารไทย ซึ่งปรากฎในพระราชนิพนธ์เรื่อง ไกลบ้าน จนถึงสูตรอาหารพระราชทานจากรัชกาลที่ 9 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และพระบรมวงศานุวงศ์ นอกจากนี้ยังจัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับตำรับอาหารของเจ้านาย และบุคคลที่เคยรับใช้ใกล้ชิดหรือมีสายสัมพันธ์กับราชสำนัก ซึ่งได้รับการถ่ายทอดวิชาการปรุงอาหารและนำมารวบรวมเป็นตำราอาหารเผยแพร่ในเวลาต่อมา เช่น ตำรับสายเยาวภา ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเยาวภาพงศ์สนิท พระราชธิดาในรัชกาลที่ 5 ตำราแม่ครัวหัวป่าก์ ของท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์ ตำรับของหม่อมหลวงเนื่อง นิลรัตน์ ผู้ซึ่งได้รับวิชาการปรุงอาหารจากพระวิมาดาเธอ พระองค์สายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา ตำรับของหม่อมเจ้าหญิงจงจิตรถนอม ดิศกุล เป็นต้น
ภายในนิทรรศการยังจัดแสดงหนังสือเกี่ยวกับตำราอาหารชาววัง และตำราอาหารพระราชทาน เช่น ตำรากับข้าวฝรั่ง พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 5 ตำรากับข้าววังบางขุนพรหม ครัวสระปทุม พระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระกนิษฐาธิราช กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
ผู้สนใจสามารถเข้าชมนิทรรศการได้ตั้งแต่บัดนี้ ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2567 ในวันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 09.00 - 16.30 น. วันเสาร์ - วันอาทิตย์ เวลา 09.00 - 17.00 น. หยุดวันนักขัตฤกษ์ และวันหยุดตามมติคณะรัฐมนตรี ณ ห้องวชิรญาณ 2 - 3 อาคาร 2 ชั้น 1 สำนักหอสมุดแห่งชาติ เขตดุสิต กรุงเทพฯ