ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,954 รายการ

           สำนักหอสมุดแห่งชาติ ขอเชิญทดลองใช้บริการ "Hublet Tablet" แท็บเล็ตที่ให้บริการแอปพลิเคชันต่างๆ ที่หอสมุดแห่งชาติจัดไว้ให้บริการโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย มีเนื้อหาให้เลือกหลากหลาย อาทิ หนังสือหายาก หนังสือพิมพ์เก่า หนังสือพิมพ์รายวัน นิตยสาร วีดิทัศน์ คลิปนิทานสำหรับเด็ก เป็นต้น ผู้สนใจสามารถติดต่อขอทดลองใช้บริการได้ที่ กลุ่มงานบริการเทคโนโลยีสารสนเทศฯ อาคาร 1 ชั้น 1 ตั้งแต่วันที่ 17 มิถุนายน - 16 สิงหาคม 2567 เปิดให้บริการ วันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 09.00 - 16.30 น. ปิดบริการวันเสาร์-อาทิตย์, วันหยุดนักขัตฤกษ์และวันหยุดตามมติคณะรัฐมนตรี


             สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรีธรรมราช เปิดหอพระสิหิงค์ให้ประชาชนเข้าสักการบูชาพระพุทธสิหิงค์ พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ คู่บ้านคู่เมืองนครศรีธรรมราช ที่ตั้งอยู่ภายในบริเวณศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช ทุกวัน เวลา ๐๘.๓๐ - ๑๖.๓๐ น. โดยไม่เว้นวันหยุดเสาร์ - อาทิตย์ หรือวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่วันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๖๗               หอพระสิหิงค์ เป็นสถานที่ประดิษฐาน “พระพุทธสิหิงค์” พระพุทธรูปสำคัญคู่เมืองนครศรีธรรมราช กำหนดอายุในสมัยอยุธยา (ราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑) หอพระสิหิงค์ตั้งอยู่บนถนนราชดำเนิน ตำบลในเมือง อำเภอเมืองฯ จังหวัดนครศรีธรรมราช เดิมเป็นหอพระตั้งอยู่บริเวณจวนเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งปัจจุบันคือที่ตั้งศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช “พระพุทธสิหิงค์” ถือเป็นพระพุทธรูปสำคัญของบ้านเมือง ซึ่งในประเทศไทยปรากฏพระพุทธสิหิงค์เพียง ๓ องค์ องค์แรกประดิษฐานในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร องค์ที่ ๒ ประดิษฐานในวิหารลายคำ วัดพระสิงห์ จังหวัดเชียงใหม่ และองค์ที่ ๓ ประดิษฐานในหอพระพุทธสิหิงค์ จังหวัดพระนครศรีธรรมราช                ผู้สนใจสามารถเข้าสักการบูชาพระพุทธสิหิงค์ ณ หอพระสิหิงค์ จังหวัดนครศรีธรรมราช เปิดทุกวัน โดยเริ่มให้บริการในวันหยุดตั้งแต่วันเสาร์ที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๖๗ เป็นต้นไป สอบถามเพิ่มเติมได้ที่สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรีธรรมราช โทร. ๐ ๗๕๓๕ ๖๔๕๘


วันอังคารที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๖๗ นางสาวปุณณภา สุขสาคร ผู้อำนวยการหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ มอบใบประกาศนียบัตร ลงนามโดยอธิบดีกรมศิลปากร นายพนมบุตร จันทรโชติ ให้แก่นายสงวน น้อยเงิน ศิลปิน ที่ได้มอบภาพเขียนศิลปะให้หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่


          หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก กาญจนบุรี จัดกิจกรรม "สานสร้างสรรค์ : เรือกระดาษ" ในโครงการ Kidsเรียนรู้ @หอสมุดแห่งชาติฯ กาญจนบุรี ในวันเสาร์ที่ 22 มิถุนายน 2567 เวลา 13.00 - 16.00 น. ผู้สนใจสามารถร่วมกิจกรรมได้ฟรี โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ และไม่ต้องลงทะเบียนล่วงหน้า สอบถามเพิ่มเติม โทร. 0 3451 3926 หรือทางเฟสบุ๊ก เพจ : หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก กาญจนบุรี  https://www.facebook.com/nlkanhanaburi


วันอังคารที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๖๗ สล่าตุ๋ย ศรีวิชัย ประธานชมรมสล่าแต้มงาม เชียงใหม่ เป็นตัวแทนมอบภาพวาดสีน้ำ ในชุดแอ่วกุมกามยามแลง ผลงานโดยอาจารย์สงวน น้อยเงิน ให้หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ โดยมีผู้อำนวยการหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ เป็นผู้รับมอบ





          โครงการขุดค้นขุดแต่งโบราณสถานสะพานขอม ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร ผู้รับผิดชอบโครงการ สำนักศิลปากรที่ ๘ ขอนแก่น กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม         ข้อมูลโดยสังเขป โบราณสถานสะพานขอม เป็นสะพานก่อด้วยศิลาแลง มีความกว้าง ๔ เมตร ยาว ๑๖ เมตร สูง ๓ เมตร บนสะพานทำเป็นพื้นเรียบ ยกขอบศิลาแลงเป็นสันขึ้นมาทั้งสองข้าง ส่วนด้านล่างที่เป็นเสาสะพานก่อด้วยศิลาแลงยาวตลอดความกว้างสะพาน โดยก่อเว้นเป็นช่อง ๑๑ ช่อง เพื่อรับน้ำหนักสะพานด้านบน และเป็นช่องให้น้ำไหลผ่านได้ สันนิษฐานว่า เดิมสะพานขอมเป็นสะพานข้ามลำน้ำสาขาของห้วยโมงที่ไหลมาจากด้านตะวันตกสู่หนองหารหลวงด้านเหนือ กำหนดอายุโดยพิจารณาจากหลักฐานสมัยวัฒนธรรมเขมรโบราณที่พบในพื้นที่จังหวัดสกลนครแล้ว ควรสร้างขึ้นประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๖ - ๑๘ หรือ ๑,๐๐๐ - ๘๐๐ ปีมาแล้ว



            นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า จากการลงพื้นที่ตรวจราชการแหล่งโบราณคดีโนนพลล้าน เขตเทศบาลนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งสำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา ได้ดำเนินการขุดตรวจทางโบราณคดีบริเวณกำแพงเมืองนครราชสีมา ด้านทิศตะวันออก ระหว่างวันที่ 21 พฤษภาคม – 10 มิถุนายน 2567 พบโครงกระดูกมนุษย์ 3 โครง และหลักฐานทางโบราณคดี มีอายุอยู่ในช่วงยุคก่อนประวัติศาสตร์ สมัยเหล็ก หรือราว 2,500 – 1,500 ปีมาเเล้ว นับเป็นอีกหนึ่งความก้าวหน้าสำคัญของการศึกษาร่องรอยมนุษย์โบราณ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ในพื้นที่เมืองเก่านครราชสีมา จึงมอบนโยบายให้กรมศิลปากรดำเนินการขุดค้นแหล่งโบราณคดีแห่งนี้เพิ่มเติมเพื่อให้ได้หลักฐานที่มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี และอาจนำไปสู่การพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมในรูปแบบพิพิธภัณฑ์ประจำแหล่งโบราณคดี (site museum) ต่อไป               รมว. สุดาวรรณ กล่าวอีกว่า การดำเนินงานทางโบราณคดีในครั้งนี้นับเป็นอีกหนึ่งความร่วมมือครั้งสำคัญระหว่างเทศบาลนครนครราชสีมากับกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ซึ่งประชาชนในพื้นที่ต่างให้ความสนใจเข้ามาศึกษาเรียนรู้ การขุดตรวจทางโบราณคดีในครั้งนี้ ทำให้ประชาชนในพื้นที่เกิดความรัก และหวงแหน มรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติเพิ่มขึ้นอีกด้วย              แหล่งโบราณคดีโนนพลล้าน เป็นแหล่งโบราณคดีแห่งใหม่ที่พบในพื้นที่ตัวเมืองนครราชสีมา  บริเวณแนวคูเมืองด้านทิศตะวันออก โดยในเขตเมืองเก่านครราชสีมาไม่เคยมีการขุดค้นทางโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์อย่างเป็นระบบมาก่อน ในส่วนของการขุดค้นทางโบราณคดี นักโบราณคดีได้ดำเนินการเก็บกู้โครงกระดูกและหลักฐานทางโบราณคดีที่พบร่วมจากหลุมขุดตรวจมาเก็บรักษาไว้ยังที่ปลอดภัย ณ ห้องปฏิบัติการสำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นจากน้ำใต้ดิน และน้ำฝนที่ตกอย่างต่อเนื่อง จากนั้นจะดำเนินการทำความสะอาดหลักฐานทางโบราณคดีที่พบทั้งหมดก่อนนำส่งตัวอย่างหลักฐานไปวิเคราะห์ต่อไป               ทั้งนี้ สำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา จะชะลอการขุดค้นทางโบราณคดีไว้เป็นการชั่วคราวเนื่องจากเข้าสู่ฤดูฝน ซึ่งทำให้เป็นอุปสรรคและปัญหาต่อการขุดค้น ประกอบกับเพื่อให้มีช่วงเวลาที่นักโบราณคดี จะทำการศึกษา วิเคราะห์หลักฐานที่ได้มาก่อนหน้านี้อย่างเป็นระบบ และจะดำเนินการขุดค้นทางโบราณคดีอีกครั้งในเดือนตุลาคม 2567 


            สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ โดยกลุ่มภาษาและวรรณกรรม กำหนดจัดกิจกรรมการแสดงสาธิต "พระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์สู่การแสดง 'นารายณ์ปราบนนทก' ของกรมศิลปากร" ประกอบนิทรรศการพิเศษเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย พุทธศักราช ๒๕๖๗ "เอกสารล้ำค่า จารึกสยาม (Priceless Document of Siam)" ในวันอาทิตย์ที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๖๗ เวลา ๑๒.๓๐ – ๑๖.๐๐ น. ณ ห้องประชุมอาคารดำรงราชานุภาพ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ผู้สนใจขอเชิญลงทะเบียนสมัครเข้าร่วมกิจกรรมทางแบบฟอร์ม https://forms.gle/kVXCYxsB8NWhCt947 รับจำนวน ๑๐๐ คน หรือสามารถติดตามชมการถ่ายทอดสดผ่านทาง Facebook Live กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม https://www.facebook.com/FineArtsDept


             สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ขอเชิญชวนผู้สนใจเข้าร่วมฟังการเสวนาทางวิชาการ เรื่อง “ด้วยความทรงจำอันงดงามและความคิดถึง” กิจกรรมประกอบนิทรรศการพิเศษเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย พุทธศักราช 2567 เรื่อง เอกสารล้ำค่าจารึกสยาม ในวันเสาร์ที่ 22 มิถุนายน 2567 เวลา 13.00 – 16.00 น. ณ ห้องประชุมอาคารดำรงราชานุภาพ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร วิทยากรโดย นางจุฑาทิพย์ อังศุสิงห์ อดีตผู้อำนวยการสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ และนางสาวกรพินธุ์ ทวีตา อดีตผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านจดหมายเหตุ ดำเนินรายการโดย นางบุศยารัตน์ คู่เทียม อดีตผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านจดหมายเหตุ              ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมได้ผ่านการสแกน QR Code หรือผ่าน Link https://forms.gle/eWXURwt9WEt3r11a9 (พร้อมรับของที่ระลึกภายในงาน) รับจำนวน 100 ท่าน สามารถลงทะเบียนได้ตั้งแต่บัดนี้ ถึงวันพฤหัสบดีที่ 20 มิถุนายน 2567 หรือจนกว่าจะเต็ม ติดตามผลการประกาศรายชื่อผู้เข้าร่วมงานรับฟังการเสวนาได้ที่ Facebook : สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ  และยังสามารถติดตามชมการถ่ายทอดสดผ่านทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม


            สำนักช่างสิบหมู่ ขอเชิญชมนิทรรศการศิลปกรรมเฉลิมพระเกียรติ “สิปปกรวรราชสามิภักดิ์”  ระหว่างวันที่ 9 - 11 กรกฎาคม 2567 เวลา 09.00 - 16.00 น. ณ สำนักช่างสิบหมู่ ศาลายา จังหวัดนครปฐม ภายในงานนิทรรศการฯ พบกับกิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้              - การจัดแสดงผลงานศิลปกรรมเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ที่จัดสร้างโดยสำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร และผลงานศิลปกรรมอันทรงคุณค่าของกลุ่มงานต่าง ๆ อันเกี่ยวเนื่องอาทิเช่น งานจิตรกรรมไทยร่วมสมัย งานประติมากรรม งานประดับมุก งานประดับกระจก งานปิดทอง งานแกะสลัก เป็นต้น             - การบรรยายพิเศษ โดยอาจารย์สมชาย ศุภลักษณ์อำไพพร พร้อมด้วยแขกรับเชิญอีกมากมาย ที่จะร่วมกันเสวนางานวิชาการด้านศิลปะ กระบวนการออกแบบ รูปแบบงานศิลปกรรม กระบวนการสร้างสรรค์งานลายรดน้ำ งานหล่อโลหะ และกระบวนการสร้างผลงานแบบฉบับของสำนักช่างสิบหมู่            - การสาธิตงานศิลปกรรม โดยบุคลากรของสำนักช่างสิบหมู่จากทุกกลุ่มงาน ร่วมพบปะพูดคุย แลกเปลี่ยนความรู้กับผู้สร้างงานศิลปกรรมแต่ละแขนง โดยมีการนำชิ้นงานมาสาธิตวิธีการขั้นตอนต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด              - การทำกิจกรรม Workshop ผู้เข้างานสามารถร่วมทำกิจกรรม Workshop อาทิเช่น งานเขียนลายรดน้ำ งานจิตรกรรม งานเซรามิค งานปั้นปูนสด เป็นต้น ผู้เข้าร่วมกิจกรรมต้องเตรียมวัสดุอุปกรณ์มาเอง ซึ่งจะมีรายละเอียดในการประชาสัมพันธ์ครั้งต่อไป             - Art Market พบกับตลาดนัดผลิตภัณฑ์ด้านศิลปกรรมของกรมศิลปากร             ผู้สนใจเข้าร่วมงานสามารถติดตามรายละเอียดกิจกรรมต่าง ๆ ได้ทางเฟซบุ๊กเพจ สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร https://www.facebook.com/officeoftraditionalarts หรือสอบถามเพิ่มเติม โทร. 0 2482 1362


            คณะอนุกรรมการกลั่นกรองและพิจารณาการจัดทำหนังสือที่ระลึกงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ขยายเวลากำหนดส่งคำขอจัดทำหนังสือที่ระลึกเพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไปถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2567              เนื่องจากขณะนี้ยังมีหน่วยงานภาครัฐ เอกชน มูลนิธิ สมาคม ชมรม หรือบริษัท/ห้าง/ร้าน ที่มีความประสงค์จะร่วมจัดทำหนังสือที่ระลึกเพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 จึงขยายเวลาการส่งแบบคำขอจัดทำหนังสือที่ระลึกฯ โดยขอความร่วมมือดำเนินการตามหลักเกณฑ์และแนวทางการพิจารณาที่ได้กำหนดไว้ เพื่อให้การจัดทำหนังสือมีวัตถุประสงค์และลักษณะเนื้อหา รูปแบบ ที่ถูกต้อง เหมาะสม และกรอกแบบการขอจัดทำหนังสือที่ระลึกฯ ตามที่กำหนด ทั้งนี้ หน่วยงานภาครัฐจะต้องผ่านการพิจารณาและกลั่นกรองจากหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมหรือเทียบเท่าขึ้นไป ส่วนหน่วยงานภาคเอกชนจะต้องผ่านการพิจารณาและกลั่นกรองจากหัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร จากนั้นส่งมายัง ฝ่ายเลขานุการคณะอนุกรรมการกลั่นกรองและพิจารณาการจัดทำหนังสือที่ระลึกฯ สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร ถนนสามเสน แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 ภายในวันที่ 31 กรกฎาคม 2567              สามารถดูรายละเอียดหลักเกณฑ์และแนวทางการพิจารณากลั่นกรอง และดาวน์โหลดแบบการขอจัดทำหนังสือที่ระลึกฯ ได้ที่ https://shorturl.at/betJ8 หรือเว็บไซต์ nat.go.th ของสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ สอบถามเพิ่มเติม โทร. 0 2281 1599 ต่อ 141, 143, 145 โทรสาร 0 2282 3826 E-mail: Korbokor57@gmail.com


Messenger