ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,953 รายการ
นิราศเมืองแกลง เป็นนิราศเรื่องแรกของสุนทรภู่ จากนิราศจำนวนทั้งหมด ๙ เรื่อง และถือว่าเป็นนิราศที่ยาวที่สุดของสุนทรภู่ มีความยาว ๒๔๘ บท หรือ ๔๙๖ คำกลอน ในขณะนั้นอายุประมาณ ๒๐ ปี เป็นรูปแบบคำประพันธ์ประเภทกลอนนิราศ ลักษณะสัมผัสบังคับเหมือนกลอนสุภาพ แต่ขึ้นต้นบทแรกด้วยวรรครับและจบเรื่องด้วยคำว่าเอย ซึ่งเป็นการแสดงความรู้สึกในการพร่ำพรรณนาระหว่างการเดินทางการไปพบกับบิดาที่บวชเป็นพระอยู่ที่วัดป่า ตำบลบ้านกร่ำ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง เมื่อพ.ศ. ๒๓๕๐ หลังจากเมื่อเดินทางกลับกรุงเทพฯ นอกจากนี้ยังเป็นการพรรณนาถึงสิ่งที่ได้พบเห็นเหตุการณ์ต่างๆ ตามลำดับ ตลอดการเดินทางแล้ว อีกยังเพื่อต้องการนำนิราศนี้ไปฝากกับคนรัก
นิราศเมืองแกลง จึงแสดงให้เห็นถึงสภาพความเป็นอยู่ของสังคม วัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณี และวิถีการใช้ชีวิตของชุมชนตลอดการเดินทางที่ได้พบเห็น ประกอบกับการสอดแทรกความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติ และคติธรรมได้อย่างลึกซึ้งเป็นอย่างยิ่ง
เรียบเรียงโดย : นายธีรบูลย์ มิตรมโนชัย นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม
แหล่งอ้างอิง :
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. อนุสาวรีย์สุนทรภู่. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๖๗, จาก: https://thailandtourismdirectory.go.th/attraction/3339
ระบบคลังข้อมูลดิจิทัล กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม. นิราศเมืองแกลงและประวัติสุนทรภู่. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๖๗, จาก: https://digitalcenter.finearts.go.th/ebook/6450f0e9112ef
วัดป่ากร่ำ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง. เพจวัดป่ากร่ำ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง. [ออนไลน์]. ๑๙ มิถุนายน ๒๕๖๗, จาก: https://www.facebook.com/people/วัดป่ากร่ำ-อำเภอแกลง-จังหวัดระยอง/100064530379373/
สุนทรโวหาร (ภู่), พระ. นิราศเมืองแกลง. แปลโดย เสาวณีย์ นิวาศะบุตร. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์, ๒๕๕๘.
นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร ได้กล่าวถึงกรณีสถาบันศิลปะแห่งนครชิคาโก (The Art Institute of Chicago) สหรัฐอเมริกา แจ้งความประสงค์ส่งคืนโบราณวัตถุให้กับกรมศิลปากร จำนวน 1 รายการ ได้แก่ ชิ้นส่วนเสาติดผนัง สลักจากหินทรายรูปพระกฤษณะยกเขาโควรรธนะ (Fragment of a Pilaster with Krishna lifting Mount Govardhana) ซึ่งเป็นส่วนประกอบสถาปัตยกรรมประเภทปราสาทหิน อายุราวพุทธศตวรรษที่ 17 หรือประมาณ 900 ปี ทั้งนี้กรมศิลปากรได้มอบหมายให้สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติตรวจสอบข้อมูลโบราณวัตถุดังกล่าว พบว่าเป็นชิ้นส่วนเสาติดผนังด้านซ้ายของกรอบประตูมณฑปด้านทิศตะวันออกของปราสาทพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งคาดว่าถูกลักลอบนำออกไปจากประเทศไทยราวปี พ.ศ. 2508 ก่อนที่กรมศิลปากรจะเริ่มโครงการบูรณะปราสาทพนมรุ้ง
ก่อนหน้านี้ ดร. Nicolas Revire ผู้เชี่ยวชาญ ด้านศิลปะและโบราณคดีในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของสถาบันศิลปะแห่งนครชิคาโก ได้เดินทางไปที่อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง และพบหลักฐานที่เชื่อมั่นได้ว่าเสาติดผนังรูปพระกฤษณะยกเขาโควรรธนะที่สถาบัน ฯ ได้รับบริจาคเมื่อปี พ.ศ. 2509 นั้นมาจากปราสาทพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ สถาบันฯ จึงมีความห่วงกังวลว่า โบราณวัตถุดังกล่าวอาจมีที่มาที่ขัดต่อกฎหมาย จึงมีความประสงค์ส่งมอบคืนให้แก่รัฐบาลไทย โดยสถานะปัจจุบัน คณะกรรมการบริหารทรัพย์สิน (Board of Trustees ) ของสถาบันศิลปะแห่งนครชิคาโกได้อนุมัติให้ถอดโบราณวัตถุรายการนี้ออกจากทะเบียนของสถาบันฯ แล้วตั้งแต่วันที่ 11 มิถุนายน 2567 ที่ผ่านมา และได้ประสานกรมศิลปากรถึงขั้นตอนการเตรียมการส่งคืนสู่ประเทศไทย โดยนายพนมบุตร จันทรโชติ เปิดเผยว่า ได้รายงานเรื่องดังกล่าวต่อนางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เพื่อทราบในเบื้องต้นด้วยแล้ว
โดย รมว. สุดาวรรณ มีความเห็นว่า แม้โบราณวัตถุดังกล่าวจะไม่ได้อยู่ในรายการติดตามโบราณวัตถุของไทยในต่างประเทศ เป็นการเสนอคืนของสถาบันศิลปะแห่งนครชิคาโก ก็ถือเป็นเรื่องที่น่ายินดีที่ประเทศไทยจะได้รับโบราณวัตถุสำคัญกลับคืนมา ซึ่งสามารถนำมาเติมเต็มชิ้นส่วนที่ขาดหายไปของโบราณสถานให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ในนามของกระทรวงวัฒนธรรม ประเทศไทย จึงขอแสดงความชื่นชมและขอบคุณสถาบันศิลปะแห่งนครชิคาโกเป็นอย่างยิ่ง ที่ตระหนักถึงจรรยาบรรณในการครอบครองโบราณวัตถุที่มีที่มาถูกต้องและความสัมพันธ์อันดีระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะให้ความสำคัญในการต่อต้านการค้าโบราณวัตถุที่ผิดกฎหมาย
นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวสรุปว่า การส่งคืนโบราณวัตถุครั้งนี้ถือเป็นก้าวสำคัญในการต่อยอดความร่วมมือของทั้งสองประเทศ และเราหวังว่าสิ่งนี้จะสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดความร่วมมือที่จะส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความรู้และความร่วมมือทางวัฒนธรรมร่วมกันต่อไป
เสาติดผนัง
เสาติดผนังแสดงภาพพระกฤษณะยกเขาโควรรธนะ
วัสดุ หินทราย
ขนาด สูง 95 ซม. กว้าง 30.4 ซม. หนา 19.3 ซม.
สถานที่เก็บรักษา สถาบันศิลปะชิคาโก (The Art Institute of Chicago) สหรัฐอเมริกา
รูปแบบศิลปะ/อายุสมัย พุทธศตวรรษที่ 17 (ประมาณ 900 ปี)สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติตรวจสอบข้อมูลโบราณวัตถุดังกล่าว พบว่าเป็นชิ้นส่วนเสาติดผนังด้านซ้ายของกรอบประตูมณฑปด้านทิศตะวันออกของปราสาทพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์
วันนี้ 8 มิถุนายน 2567
Grand Sport เปิดตัวชุดแข่งขันและชุดเดินทางของทัพนักกีฬาทีมชาติไทย สำหรับสู้ศึกโอลิมปิกเกมส์ 2024 ณ กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส โดยชุดนี้ถูกออกแบบภายใต้แรงบันดาลใจ ‘Be Our Spirit’
สำหรับดีไซน์ของชุดจะเน้นนำเสนอลายไทยประยุกต์จากมรดกโลกบ้านเชียง มรดกทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาของไทยที่ได้รับการยอมรับจากเวทีโลก อัตลักษณ์ของชุมชนบ้านเชียงที่ยังคงสืบสานต่อกันมาถึงปัจจุบัน ให้นักกีฬาได้สวมใส่เพื่อถ่ายทอดความภาคภูมิใจนี้สู่ปารีสเมืองแฟชั่น ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเกมส์ ปารีส 2024 ชุดแข่งขันและชุดเดินทางนักกีฬาทีมชาติไทยในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิคเกมส์ ครั้งที่ 33 ภายใต้แรงบันดาลใจ “Be Our Spirit” สปิริตของคนไทยหลอมรวมเป็นหนึ่งถูกส่งต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น เป็นแรงผลักดันให้เรามีความมุ่งมั่น ไปสู่ชัยชนะและความสำเร็จ นำเสนอสปิริตของคนไทยผ่านลวดลายไทยประยุกต์จากมรดกโลกบ้านเชียง มรดกทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาของไทยที่ได้รับการยอมรับจากเวทีโลก ประยุกต์กับลวดลายจากการทอผ้าของชุมชน เทคนิคการทำผ้าย้อมครามแบบดั้งเดิม และอัตลักษณ์ของชุมชนบ้านเชียงที่ยังคงสืบสานต่อกันมาถึงปัจจุบัน ให้นักกีฬาได้สวมใส่เพื่อถ่ายทอดความภาคภูมิใจนี้สู่ปารีสเมืองแฟชั่น ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเกมส์ ปารีส 2024 ทั้งยังให้ความสำคัญเรื่องของนวัตกรรมเสื้อโปโลรีไซเคิลจากขวดพลาสติกช่วยลดปัญหาโลกร้อนอย่างยั่งยืน
ขอเชิญฟังการเสวนาประกอบการแสดงเพลงทรงเครื่อง เรื่อง “พระอภัยมณี ตอน หนีนางผีเสื้อสมุทร” เนื่องในวันสุนทรภู่
สำนักหอสมุดแห่งชาติ ขอเชิญชวนประชาชนเข้าร่วมโครงการบรรยาย - อภิปราย เนื่องในวันสุนทรภู่ ประจำปี 2567 เพื่อร่วมสืบสานส่งเสริมมรดกวรรณศิลป์ อันเป็นเอกลักษณ์สมบัติทางวัฒนธรรมที่ล้ำค่าให้ดำรงคงอยู่คู่ชาติไทย และเป็นการเผยแพร่ผลงานของสุนทรภู่ ตลอดจนเพื่อกระตุ้นให้เกิดการอ่านวรรณคดีไทยเพิ่มมากขึ้น พบกับการเสวนา เรื่อง “สุนทรภู่ ครูดนตรี กวีชาวบ้าน” วิทยากรโดย รองศาสตราจารย์ ดร. อภิลักษณ์ เกษมผลกูล อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และรองศาสตราจารย์บัวผัน สุพรรณยศ อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ดำเนินรายการโดย อาจารย์เก๋ แดงสกุล อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และชมการแสดงเพลงทรงเครื่อง เรื่อง พระอภัยมณี ตอน หนีนางผีเสื้อสมุทร จากสถาบันส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ในวันอังคารที่ 25 มิถุนายน 2567 เวลา 13.30 – 16.30 น. ณ ห้องประชุมใหญ่ สำนักหอสมุดแห่งชาติ และสามารถรับชมการถ่ายทอดสดผ่าน Facebook ของหอสมุดแห่งชาติ “National Library of Thailand”
กรมศิลปากร ขอเชิญรับชมถ่ายทอดสด Facebook Live รายการไขความรู้จากครูกรมศิลป์ ตอน “การแสดงหุ่นกระบอก กรมศิลปากร” วิทยากร นางอัมไพวรรณ เดชะชาติ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนาการสังคีต สำนักการสังคีต, นายเลอเกียรติ มหาวินิจฉัยมนตรี ผู้อำนวยการกลุ่มดุริยางค์ไทย สำนักการสังคีต และนายหัสดินทร์ ปานประสิทธิ์ นาฏศิลปินอาวุโส สำนักการสังคีต ผู้ดำเนินรายการ นายธำมรงค์ บุญราช นักวิชาการละครและดนตรีชำนาญการ สำนักการสังคีต พิธีกร นางกมลชนก พรภาสกร นักวิชาการโสตทัศนศึกษา กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ในวันพฤหัสบดีที่ ๒๐ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๖๗ เวลา ๑๑.๐๐ - ๑๑.๔๕ น. ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และ Facebook : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร รายการ “ไขความรู้จากครูกรมศิลป์” มีรูปแบบเนื้อหาของรายการเกี่ยวกับประวัติความเป็นไทย เกร็ดประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับวันสำคัญ ประเพณี วัฒนธรรม วีถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน ผ่านการบอกเล่า ถ่ายทอดความรู้ แนวความคิด เนื้อหาวิชาการ จากประสบการณ์ของผู้บริหาร นักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญกรมศิลปากร กำหนดถ่ายทอดสดผ่านเฟสบุ๊กไลฟ์ (facebook live) ทุกวันพฤหัสบดี เวลา ๑๑.๐๐ น. ตลอดปีงบประมาณ ๒๕๖๗ ระหว่างเดือนตุลาคม ๒๕๖๖ - กันยายน ๒๕๖๗
ประชาสัมพันธ์แผนผังเส้นทางเดินชมนิทรรศการถาวร ห้องจัดแสดง 1 - 2 และ 4 ในช่วงระหว่างการดำเนินโครงการปรับปรุงและพัฒนาการจัดแสดงนิทรรศการชั่วคราว ห้องจัดแสดง 3 ซึ่งปิดให้บริการเป็นการชั่วคราว ไปจนถึงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2567
ขอเชิญร่วมกิจกรรม "สานสร้างสรรค์ : เรือกระดาษ" ในโครงการ KIDsเรียนรู้ @หอสมุดแห่งชาติฯ กาญจนบุรี-อุปกรณ์ฟรี -สอนฟรี -แล้วพบกันนะคะ
วันพุธที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๖๗ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ ขอขอบคุณ Rebeca F. Schmid ผู้แต่งหนังสือ The Purruncheta ที่ได้มอบหนังสือเพื่อให้บริการ
สำนักหอสมุดแห่งชาติ ขอเชิญทดลองใช้บริการ "Hublet Tablet" แท็บเล็ตที่ให้บริการแอปพลิเคชันต่างๆ ที่หอสมุดแห่งชาติจัดไว้ให้บริการโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย มีเนื้อหาให้เลือกหลากหลาย อาทิ หนังสือหายาก หนังสือพิมพ์เก่า หนังสือพิมพ์รายวัน นิตยสาร วีดิทัศน์ คลิปนิทานสำหรับเด็ก เป็นต้น ผู้สนใจสามารถติดต่อขอทดลองใช้บริการได้ที่ กลุ่มงานบริการเทคโนโลยีสารสนเทศฯ อาคาร 1 ชั้น 1 ตั้งแต่วันที่ 17 มิถุนายน - 16 สิงหาคม 2567 เปิดให้บริการ วันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 09.00 - 16.30 น. ปิดบริการวันเสาร์-อาทิตย์, วันหยุดนักขัตฤกษ์และวันหยุดตามมติคณะรัฐมนตรี