ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,953 รายการ
วันศุกร์ที่ ๒๐-๒๑ มิถุนายน ๒๕๖๗ นางสาวทิพย์วรรณ วงศ์อัสสไพบูลย์ นักโบราณคดีชำนาญการ สำนักศิลปากรที่ ๘ ขอนแก่น เป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้ด้านภาพเขียนสี และแหล่งโบราณสถาน ในกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ การออกแบบประสบการณ์ การเรียนรู้คู่กับธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และชุมชน ณ ตำบลดงลาน อำเภอสีชมพู จังหวัดขอนแก่น
วันอังคารที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๖๗ นายเจษฎา ชีวะวิชวาลกุล รองอธิบดีกรมศิลปากร ลงพื้นที่ตรวจราชการในเขตพื้นที่รับผิดชอบของสำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา
>> วัดโพธาราม ต.ดงบัง อ.นาดูน จ.มหาสารคาม (ขณะนี้กำลังดำเนินงานโครงการการบูรณะศาลาการเปรียญวัดโพธาราม)
>> สิมวัดป่าเรไรย์ ต.ดงบัง อ.นาดูน จ.มหาสารคาม
>> สิมวัดโพธารมณ์ ต.พระธาตุ อ.นาดูน จ.มหาสารคาม (ขณะนี้กำลังดำเนินงานสำรวจออกแบบ เพื่อการบูรณะโบราณสถาน)
>> สิมวัดบรมคงคา ต.บ้านแวง อ.พุทไธสง จ.บุรีรัมย์
>> สิมวัดสระแก ต.บ้านเป้า อ.พุทไธสง จ.บุรีรัมย์
>> ปราสาทนางรำ ต.นางรำ อ.ประทาย จ.นครราชสีมา
>> ตรวจเยี่ยมอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย
- โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์และถนนผิวทางแอสฟัสติกคอนกรีตรอบโบราณสถานสระเพลง
- ประตูเมืองด้านทิศตะวันออก และประตูเมืองด้านทิศเหนือ
- ศูนย์ข้อมูลบริการนักท่องเที่ยว
และการดำเนินงานในส่วนต่าง ๆของอุทยานประศาสตร์พิมาย จังหวัดนครราชสีมา
วันพฤหัสบดีที่ ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๗ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ จัดกิจกรรมโครงการพิพิธภัณฑ์สัญจร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ โดยบูรณาการร่วมกับโครงการจังหวัดสุรินทร์สร้างสุข สร้างรอยยิ้ม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ และโครงการเหล่ากาชาดห่วงใยสร้างบ้านผู้ยากไร้และด้อยโอกาส เฉลิมพระเกียรติ ๖๘ พรรษา สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ องค์การบริหารส่วนตำบลยาง อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ กิจกรรมประกอบด้วยการออกหน่วยบริการประชาชน จัดแสดงนิทรรศการเคลื่อนที่ แจกแผ่นพับประชาสัมพันธ์หน่วยงาน และกิจกรรมระบายสี
วันศุกร์ที่ ๑๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๗ นายกรภัทร์ สุขใหญ่ พนักงานประจำพิพิธภัณฑ์ พร้อมเจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์ เข้าขนย้ายโบราณวัตถุจากการแจ้งพบในพื้นที่อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ เพื่อมาเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ เปิดให้บริการแก่ประชาชนและนักท่องเที่ยว ระหว่างวันที่ ๑๒-๑๖มิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๗
มีผู้เข้าชมทั้งสิ้น ๑๙๕ คน
วันพุธที่ ๑๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๗ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๐.๐๐ น. กิจกรรม Educational tours นิเวศประวัติศาสตร์เขียวชมเมืองเชียงใหม่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ - ๖ จำนวน ๒๕ คน และครู จำนวน ๖ คน จากโรงเรียนนันทชาติเกรดสคูล อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ เข้าเยี่ยมชมหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ โดยมีนางสาวปุณณภา สุขสาคร ผู้อำนวยการหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษกเชียงใหม่ พร้อมด้วยบุคลากร ให้การต้อนรับ และนำชมห้องบริการต่างๆ
นิราศเมืองแกลง เป็นนิราศเรื่องแรกของสุนทรภู่ จากนิราศจำนวนทั้งหมด ๙ เรื่อง และถือว่าเป็นนิราศที่ยาวที่สุดของสุนทรภู่ มีความยาว ๒๔๘ บท หรือ ๔๙๖ คำกลอน ในขณะนั้นอายุประมาณ ๒๐ ปี เป็นรูปแบบคำประพันธ์ประเภทกลอนนิราศ ลักษณะสัมผัสบังคับเหมือนกลอนสุภาพ แต่ขึ้นต้นบทแรกด้วยวรรครับและจบเรื่องด้วยคำว่าเอย ซึ่งเป็นการแสดงความรู้สึกในการพร่ำพรรณนาระหว่างการเดินทางการไปพบกับบิดาที่บวชเป็นพระอยู่ที่วัดป่า ตำบลบ้านกร่ำ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง เมื่อพ.ศ. ๒๓๕๐ หลังจากเมื่อเดินทางกลับกรุงเทพฯ นอกจากนี้ยังเป็นการพรรณนาถึงสิ่งที่ได้พบเห็นเหตุการณ์ต่างๆ ตามลำดับ ตลอดการเดินทางแล้ว อีกยังเพื่อต้องการนำนิราศนี้ไปฝากกับคนรัก
นิราศเมืองแกลง จึงแสดงให้เห็นถึงสภาพความเป็นอยู่ของสังคม วัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณี และวิถีการใช้ชีวิตของชุมชนตลอดการเดินทางที่ได้พบเห็น ประกอบกับการสอดแทรกความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติ และคติธรรมได้อย่างลึกซึ้งเป็นอย่างยิ่ง
เรียบเรียงโดย : นายธีรบูลย์ มิตรมโนชัย นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม
แหล่งอ้างอิง :
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. อนุสาวรีย์สุนทรภู่. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๖๗, จาก: https://thailandtourismdirectory.go.th/attraction/3339
ระบบคลังข้อมูลดิจิทัล กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม. นิราศเมืองแกลงและประวัติสุนทรภู่. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๖๗, จาก: https://digitalcenter.finearts.go.th/ebook/6450f0e9112ef
วัดป่ากร่ำ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง. เพจวัดป่ากร่ำ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง. [ออนไลน์]. ๑๙ มิถุนายน ๒๕๖๗, จาก: https://www.facebook.com/people/วัดป่ากร่ำ-อำเภอแกลง-จังหวัดระยอง/100064530379373/
สุนทรโวหาร (ภู่), พระ. นิราศเมืองแกลง. แปลโดย เสาวณีย์ นิวาศะบุตร. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์, ๒๕๕๘.