ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,953 รายการ
นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร รับมอบเงินบริจาคจากชาวบ้านเขื่อนคงคา ตำบลโคกสะอาด อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ นำโดย
1.นายพิเชษฐ์ ที่รัก นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโคกสะอาด
2.นายบุญเรียน คำคง รองนายก อบต.โคกสะอาด
3.นายชัยศรี พันรัมย์ ส.อบต.บ้านเขื่อน ม.6
4.นายสิทธิโชค อินมา ผู้ช่วยผญบ.ม.6
5.นายมาโนช ผมทำ ผู้ช่วยผญบ.ม.6
6.นางสุภา เชญชาญ ตัวแทนผู้บริจาค
เพื่อสมทบเงินกองทุนโบราณคดี กรมศิลปากร จำนวน 854,787.-บาท (แปดแสนห้าหมื่นสี่พันเจ็ดร้อยแปดสิบเจ็ดบาทถ้วน) วัตถุประสงค์เพื่อบูรณะอุโบสถวัดเขื่อนคงคา ตำบลโคกสะอาด อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
กรมศิลปากร ขอเชิญผู้สนใจร่วมกิจกรรมประกอบนิทรรศการพิเศษเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย ประจำปี 2567 การเสวนาทางวิชาการ เรื่อง “ด้วยพระปรีชาญาณนำประชาราษฎร์จากทาสสู่ไท” วิทยากรโดย นางสาวยุวเรศ วุทธีรพล นักภาษาโบราณชำนาญการพิเศษ นางสาวฉัตรลดา สินธุสอน ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ นางสาวณัฏฐา กล้าหาญ นักจดหมายเหตุชำนาญการ และดำเนินรายการโดย นางสาวอุดมพร เข็มเฉลิม บรรณารักษ์ชำนาญการ ในวันเสาร์ที่ 29 มิถุนายน 2567 เวลา 12.30 - 16.00 น. ณ ห้องประชุมอาคารดำรงราชานุภาพ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมงานตาม QR Code นี้ หรือลงทะเบียนผ่าน https://forms.gle/Ajpe2AGPmvJBGmDx8 สามารถลงทะเบียนได้ตั้งแต่บัดนี้ หรือจนกว่าจะเต็ม สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 2280 9828-32 ต่อ 112-113 หรือติดตามชมการถ่ายทอดสด Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม
สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ โดยกลุ่มแปลและเรียบเรียง กำหนดจัดกิจกรรมประกอบนิทรรศการพิเศษเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย พุทธศักราช 2567 "เอกสารล้ำค่า จารึกสยาม (Priceless Documents of Siam)" พบกับการเสวนาทางวิชาการเรื่อง "เล่าขานประวัติศาสตร์ไทยจากเอกสารต่างประเทศ" วิทยากรโดย นางสาวนันทพร บันลือสินธุ์ ผู้อำนวยการกลุ่มแปลและเรียบเรียง นางสาวรัตติกาล สร้อยทอง นักอักษรศาสตร์ชำนาญการพิเศษ นางสาวกมลทิพย์ ชัยศุภมงคลลาภ นักอักษรศาสตร์ชำนาญการ และดำเนินรายการโดย นางสาวพัชรา สุขเกษม นักอักษรศาสตร์ปฏิบัติการ ในวันอาทิตย์ที่ 30 มิถุนายน 2567 เวลา 13.00 - 16.00 น. ณ ห้องประชุมอาคารดำรงราชานุภาพ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
ผู้สนใจสามารถลงทะเบียน (google form) ได้ทางลิ้งนี้ https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLSf4XtnVyyntZjB8eHnwNgeyjcbK_rL9-4rFLdSgDLpWMjDzHA/viewform?fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTAAAR0F7_hs-pKERHbcv5b7qV8VH4eM5GYZZ98fqYfLPX_2YVQbC4ZZKvcLwak_aem_tRg_6G2wX3I5H9-pzV3o2w สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 2164 2501 - 2 ต่อ 6090 หรือติดตามรับชมการถ่ายทอดสดได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม
นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า ตามที่กรมศิลปากร ได้จัดนิทรรศการพิเศษเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย พุทธศักราช ๒๕๖๗ เรื่อง “เอกสารล้ำค่าจารึกสยาม” ณ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ได้รับความสนใจมีผู้เข้าชมนิทรรศการจำนวนมาก จากเดิมที่กำหนดจัดแสดงถึงวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๗ จึงขยายเวลาการจัดนิทรรศการฯ ออกไปจนถึงวันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๗ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับเอกสารสำคัญทางประวัติศาสตร์ได้มีเวลาในการเข้าชมมากขึ้น
นิทรรศการพิเศษเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย พุทธศักราช ๒๕๖๗ เรื่อง “เอกสารล้ำค่าจารึกสยาม” บอกเล่าเรื่องราวการเปลี่ยนผ่านจากรัฐจารีตแบบดั้งเดิม สู่การเป็นรัฐสมัยใหม่ในห้วงศตวรรษที่ผ่านมา โดยจัดแสดงเอกสารต้นฉบับ ๔๑ ชุด กว่า ๒๐๐ รายการ ที่ล้วนเป็นเอกสารทรงคุณค่าสำคัญในหน้าประวัติศาสตร์ชาติไทย ซึ่งหลายฉบับยังไม่เคยจัดแสดงที่ไหนมาก่อน แบ่งการจัดแสดงออกเป็น ๖ หัวข้อ ได้แก่
๑. “จารจารึก บันทึกสยาม” เป็นชุดเอกสารโบราณที่บันทึกอยู่ในรูปของศิลาจารึก หนังสือสมุดไทย และเอกสารใบลาน ซึ่งสะท้อนให้เห็นภาพเค้าโครงทางประวัติศาสตร์ช่วงสมัยสุโขทัยจนถึงก่อนการปฏิรูปประเทศในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อาทิ ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง คัมภีร์อัลกุรอาน พระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ นันโทปนันทสูตรคำหลวง หนังสือสมุดไทย เรื่อง สามก๊ก มหาชาติคำหลวง และอุรังคธาตุ
๒. “แผนภูมิของแผ่นดิน” จัดแสดงแผนที่โบราณของประเทศไทย และตราประจำจังหวัด
๓. “นิติสารเมื่อเพรงกาล เล่าขานประวัติศาสตร์ไทย” นำเสนอเอกสารด้านกฎหมายและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ อาทิ กฎหมายตราสามดวง สนธิสัญญาเบาว์ริ่ง เอกสารเกี่ยวกับการเลิกทาส
๔. “เมื่อแรกมีการพิมพ์” จัดแสดงชุดเอกสารกลุ่มแรก ๆ ในสังคมไทยที่เปลี่ยนจากการจดจารด้วยวัสดุและเทคนิคแบบโบราณ มาเป็นการบันทึกด้วยเทคโนโลยีการพิมพ์แบบตะวันตก เช่น หนังสือจดหมายเหตุบางกอกรีคอร์เดอร์ คัมภีร์ครรภ์ทรักษา ราชกิจจานุเบกษา รัชกาลที่ ๔
๕. “ต้นร่างสร้างเมือง เรืองรองศิลปกรรม” จัดแสดงเอกสารการออกแบบก่อสร้างอาคารสถานที่สำคัญต่าง ๆ ตามรูปแบบตะวันตก เช่น แบบแปลนวังพญาไท แบบหอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แบบก่อสร้างอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
๖. “ด้วยความทรงจำอันงดงามและความคิดถึง” ย้อนระลึกถึงวันวานกับของสะสมในความทรงจำ ที่สะท้อนให้เห็นว่าวัฒนธรรมตะวันตกได้มีอิทธิพลมาสู่วิถีชีวิตประจำวันของผู้คนในสังคมไทยอย่างแพร่หลาย เช่น การเขียนจดหมาย การส่งไปรษณียบัตร
ผู้สนใจสามารถเข้าชมนิทรรศการพิเศษเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย พุทธศักราช ๒๕๖๗ เรื่อง “เอกสารล้ำค่าจารึกสยาม” ได้จนถึงวันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๗ เวลา ๐๙.๐๐ น. - ๑๖.๐๐ น. (ปิดวันจันทร์ – วันอังคาร) ณ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
วันศุกร์ที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๗ นางปริญญา สุขใหญ่ หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ พร้อมเจ้าหน้าที่ เข้าร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์โครงการรวมใจเทิดไท้สถาบันพระมหากษัตริย์ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๗ กิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๓ มิถุนายน ๒๕๖๗ ณ วัดสุวรรณรัตน์โพธิยาราม ตำบลลำดวน อำเภอลำดวน จังหวัดสุรินทร์
วันศุกร์ที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๗ เวลา ๑๓.๐๐ น. นักเรียนชั้นอนุบาล ๒ ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ โรงเรียนบ้านหัวแรตนาโพธิ์ ตำบลช่างปี่ อำเภอศรีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ จำนวน ๑๗๐ คน คุณครู ๑๕ คน เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ โดยมีนายกรภัทร์ สุขใหญ่ พนักงานประจำพิพิธภัณฑ์ และพนักงานประจำห้องทุกคน ให้การต้อนรับและบรรยายนำชม
วันพฤหัสบดีที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๗ นางปริญญา สุขใหญ่ หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ รับมอบโบราณวัตถุ ชนิด กูบช้าง และกระพรวนช้าง โดยนางปัทมา เสาสูง ได้มอบให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ จำนวน ๒ รายการ เพื่อเก็บรักษาไว้และเพื่อการศึกษาต่อไป
วันพฤหัสบดีที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๗ นางปริญญา สุขใหญ่ หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ รับมอบโบราณวัตถุชนิด กระดือช้าง ปีนกาบศิลา ดาบพร้อมฝัก ง้าว เกวียน โดยนายภานุ แย้มศรี ได้มอบให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ จำนวน ๖ รายการ เพื่อเก็บรักษาไว้และเพื่อการศึกษาต่อไป
วันศุกร์ที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๗ นางปริญญา สุขใหญ่ หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ รับมอบโบราณวัตถุ ชนิด เครื่องใน ชิ้นส่วนเครื่องประดับ เศียรนาด จำนวน ๑๔ รายการ โดยนายลำดวน จันขะ ได้มอบให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ เพื่อเก็บรักษาไว้และเพื่อการศึกษาต่อไป
กรมศิลปากร โดยสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมโครงการเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน ประจำปี ๒๕๖๗ เรื่อง "ย้อนอดีต : เทคนิคการทำลูกปัดหินและสิ่งทอสมัยโบราณ" Threads of Time: Unraveling Ancient Techniques in Beads and Textiles Crafting วันเสาร์ที่ ๖ กรกฎาคม ๒๕๖๗ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
ครั้งที่ ๑ เป็นการบรรยายทางวิชาการเวลา ๐๘.๓๐ น. - ๑๒.๐๐ น.
- การบรรยายพิเศษ เรื่อง“หลักฐานเครื่องแต่งกายของคนยุคก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย” วิทยากรโดย นายสมชาย ณ นครพนม นักโบราณคดีทรงคุณวุฒิ กรมศิลปากร
- การบรรยายทางวิชาการ เรื่อง"เชือก เส้นใย และเครื่องมือจากพืช : บทบาทและความสำคัญในสังคมมนุษย์สมัยโบราณ“วิทยากรโดย รศ. ดร.ธนิก เลิศชาญฤทธ์ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
- การบรรยายทางวิชาการ เรื่อง “สิ่งทอยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่ฮารัปปา ประเทศปากีสถาน (๔๐๐๐ - ๑๙๐๐ ปี ก่อนคริสตกาล) วิทยากรโดย ศ. ดร.โจนาธาน มาร์ค เคนอยเออร์ คณะมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยวิสคอนซินเมดิสัน สหรัฐอเมริกา
- การบรรยายทางวิชาการ เรื่อง “ลูกปัดหินจากแหล่งโบราณคดีบ้านพรหมทินใต้และคันธาระ“วิทยากรโดย ผศ. ดร.วรรณพร เรียนแจ้ง คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ครั้งที่ ๒ เป็นการบรรยายนำชมและสาธิตการทำลูกปัดหินสมัยโบราณ เวลา ๑๓.๐๐ น. - ๑๖.๐๐ น.การบรรยายนำชมโดย
- นายศรัญ กลิ่นสุคนธ์ ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
- นางสาวมุทิตา อร่ามรุ่งทรัพย์ ภัณฑารักษ์ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
- นายพนมกร นวเสลา ภัณฑารักษ์ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
บรรยายและสาธิตการทำลูกปัดหินสมัยโบราณ
วิทยากรโดย
- ศ. ดร.โจนาธาน มาร์ค เคนอยเออร์ คณะมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยวิสคอนซินเมดิสัน สหรัฐอเมริกา
- รศ. ดร.ธนิก เลิศชาญฤทธ์ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
- ผศ. ดร.วรรณพร เรียนแจ้ง คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
หมายเหตุ :
• บรรยายด้วยสองภาษา (ไทยและอังกฤษ)
• สำรองที่นั่งล่วงหน้าทางโทรศัพท์เท่านั้น โทร. ๐ ๒๒๒๔ ๑๔๐๒ (วันพุธ-วันอาทิตย์)
• ผู้เข้าร่วมกิจกรรมซื้อบัตรเข้าชมตามปกติ---------------------------------------------------------------------
The Fine Arts Department through the Office of National Museums is so thrilled to invite you to join a talk and demonstration of the topic "Threads of Time: Unraveling Ancient Techniques in Beads and Textiles Crafting"
With Keynote Speakers;
- Mr Somchai Na Nakhonphanom
An Archaeologist (Advisory Level)
Fine Arts Department
- Assoc.Prof. Thanik Lertcharnrit (Ph.D.)
Faculty of Archaeology
Silpakorn University
- Prof. Jonathan Mark Kenoyer (Ph.D.)
Department of Anthropology
University of Wisconsin, Madison, USA
- Asst.Prof. Wannaporn Rienjaeng (Ph.D.)
Material Culture Laboratory
Faculty of Sociology and Anthropology
Thammasat University
On Saturday, 6th July 2024
08:30 a.m. to 04:00 p.m.
Advance Booking: Tel. 0 2224 1402
(Wednesday to Sunday)
วันที่ 22 มิถุนายน 2567 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลาและพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มัชฌิมาวาส ให้การต้อนรับคณะครูและน้อง ๆ นักเรียน
โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จำนวน 128 คน
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ขอเชิญร่วมสะสมตราประทับ (stamp) แลกของที่ระลึกน่ารักๆ ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2567 หรือจนกว่าของจะหมด โดยกำหนดสถานที่สะสมตราประทับ จำนวน 4 จุด ได้แก่ จุดประชาสัมพันธ์, พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง, วัดศรีชุม, วัดสะพานหิน นักท่องเที่ยวสามารถเที่ยวชมสถานที่ข้างต้น และขอประทับตราได้ภายในระยะเวลาที่กำหนดในสมุดสะสม (ไม่ต้องไปชมทั้งหมดใน 1 วันก็ได้) ขอสงวนสิทธิ์สำหรับผู้ที่มีบัตรเข้าชม ในการขอรับสมุดสะสมตราประทับ (passport) ทั้งนี้ เมื่อสะสม Stamp ครบ 4 จุด สามารถแลกของที่ระลึก ได้ที่จุดประชาสัมพันธ์ภายในอาคารจำหน่ายบัตร ตรงข้ามพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง
สอบถามเพิ่มเติมได้ทาง inbox facebook : อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย (https://www.facebook.com/skt.his.park) หรือ โทร. 06 1656 0700 (ในวันและเวลาราชการ) สำหรับท่านที่ต้องการประทับตราลงบนสมุดหรือกระดาษที่เตรียมมาเองส่วนตัว สามารถแจ้งเจ้าหน้าที่ได้เลยค่ะ