ค้นหา


รายการที่พบทั้งหมด 37,398 รายการ

          ในปีพุทธศักราช ๒๕๖๓ กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๔ ลพบุรี ได้ดำเนินการโครงการศึกษาพัฒนาการของชุมชนและขุดค้นแหล่งโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์ในเขตลุ่มน้ำป่าสัก (ส่วนที่ 3) จังหวัดเพชรบูรณ์ เพื่อศึกษาข้อมูลหลักฐานทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ในเขตลุ่มน้ำป่าสัก ประกอบการอธิบายพัฒนาการทางสังคมในยุคก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายจนถึงสมัยทวารวดี เพื่อสนับสนุนข้อมูลการจัดทำเอกสารนำเสนอเมืองโบราณศรีเทพเข้าสู่บัญชีรายชื่อมรดกโลก           ผลจากการขุดค้นแหล่งโบราณคดีลำสระหัว อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน ๒ หลุม ขนาด ๔x๔ เมตร ในหลุมขุดค้นที่ ๑ พบหลุมฝังศพซ้อนทับกันหลายชั้น จำนวน ๑๗ หลุมฝังศพ ลักษณะการฝังศพเป็นแบบนอนหงายเหยียดยาว ส่วนใหญ่หันศีรษะไปทางทิศเหนือหรือตะวันออกเฉียงเหนือ หลักฐานของอุทิศที่พบร่วม ได้แก่ ภาชนะดินเผาแบบทรงพาน เครื่องมือเหล็ก ลูกกระพรวนสำริด และลูกปัดแก้ว ผลการกำหนดอายุด้วยวิธี AMS จากตัวอย่างถ่านในระดับที่ ๘ (๑๐๐-๑๑๐ cm.dt) ได้ค่าอายุ ๓,๑๖๘ – ๒,๙๗๕ ปีมาแล้ว หรือ ๑,๒๑๙ - ๑๐๒๖ ปีก่อนคริสตกาล ส่วนหลุมขุดค้นที่ ๒ พบหลุมฝังศพ จำนวน ๖ หลุมฝังศพ หลักฐานที่พบร่วม ได้แก่ ภาชนะดินเผาทรงหม้อก้นกลม ภาชนะ ดินเผาทรงหม้อมีเชิง กำไลสำริด ลูกปัดหิน ลูกแก้ว เครื่องมือเหล็กแบบจงอยปากนก และเครื่องมือเหล็กแบบสิ่ว ผลการกำหนดอายุจากตัวอย่างถ่านในระดับ ๑๐๘ cm.dt ได้ค่าอายุ ๒,๗๘๐ - ๒๗๒๔ ปีมาแล้ว หรือ ๘๓๑ - ๗๗๕ ปีก่อนคริสตกาล สรุปผลเบื้องต้นได้ว่า แหล่งโบราณคดีลำสระหัวเป็นที่อยู่อาศัยและที่ประกอบพิธีกรรมฝังศพของมนุษย์ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ สมัยเหล็ก (ราว ๓,๑๐๐ -๒,๗๐๐ ปีมาแล้ว)            เพื่อศึกษาความสืบเนื่องสัมพันธ์กับชุมชนก่อนประวัติศาสตร์ในเมืองโบราณศรีเทพ และพัฒนาการของการสร้างคูน้ำ-คันดินกำแพงเมืองระหว่างเมืองนอกและเมืองใน กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๔ ลพบุรี ได้กำหนดแผนการดำเนินงานโครงการศึกษาพัฒนาการของชุมชน และขุดค้นแหล่งโบราณคดียุคก่อน ประวัติศาสตร์ในเขตลุ่มน้ำป่าสัก (ส่วนที่ 3) ระยะที่ ๒ เพื่อดำเนินการสำรวจและขุดค้นทางโบราณคดีต่อไป ----------------------------------------------------------ข้อมูลโดย : กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๔ ลพบุรี


ข้อง       เครื่องจักสานชนิดหนึ่ง สานด้วยไม้ไผ่ มีลักษณะปากแคบคล้ายคอหม้อดิน มีฝาปิดเปิดคือ ฝาข้อง ทำจากกะลามะพร้าว แล้วสานด้วยไม้ไผ่ทำเป็นรูปกรวย ปลายกรวยแหลมปล่อยเป็นซี่ไม้ไว้เรียกว่า งาแซง ข้อง ใช้สำหรับใส่สัตว์น้ำ เช่น กุ้ง หอย ปู ปลา ข้องมีหลายลักษณะ เช่น       ข้องยืน ลักษณะคล้ายโอ่งน้ำหรือทรงกระบอก ก้นข้องสานเป็นรูปสี่เหลี่ยม ตัวข้องกลมป่องตรงกลาง แล้วบานออกที่ปากคล้ายปากแตร       ข้องนอนหรือข้องเป็ด รูปทรงเป็นแนวนอน ตัวข้องรูปร่างคล้ายตัวเป็ด ปลายปากข้องหงายขึ้นด้านบน มักไม่ค่อยสะพายติดตัวขณะหาปลา แต่มักใช้วางไว้ในเรือ หรือริมตลิ่ง เป็นต้น       ข้องลอย ใช้ลอยน้ำในการจับปลา มักใช้ข้องยืมหรือข้องนอนมัดตืดลูกบวบ ทำด้วยกระบอกไม้ไผ่สองท่อน มัดขนาบกันให้ลอยน้ำได้ แล้วผูกเชือกมัดติดเอวภาพ : พิพิธภัณฑ์ชุมชนวัดเกตการามอ้างอิง : สนม ครุฑเมือง.๒๕๓๔.สารานุกรมของใช้พื้นบ้านไทยในอดีต.กรุงเทพฯ : บริษัท ต้นอ้อ จำกัด


ชื่อเรื่อง                                สุธนู (สุทธนู) สพ.บ.                                  302/1ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           46 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 57 ซม.หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจาก วัดบ้านหมี่ ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


ติโลกนยวินิจฺฉย (ไตรโลกนยฺยวินิจฺฉย)  ชบ.บ.95ข/1-20  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


เลขทะเบียน : นพ.บ.305/5ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 18 หน้า ; 4 x 54 ซ.ม. : ทองทึบ-ชาดทึบ ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 124  (287-301) ผูก 5 (2565)หัวเรื่อง : สตฺตปฺปกรณาภิรมฺม (อภิธัมมสังคิณี-พระมาหาปัฏฐาน)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม



 "ซุ้มประตูป่า". ซุ้มประตูป่า หมายถึง ปากทางที่จะเข้าสู่ป่า ซึ่งมักจะปรากฏอยู่เป็นเสา ตั้งอยู่ที่ชายหมู่บ้าน ขนาบทางเดินที่จะเข้าป่า ซึ่งมักจะเป็นส่วนประดับอยู่ระหว่างเสาทั้งคู่ ใช้เป็นบริเวณที่ประกอบพิธีกรรมสำหรับหมู่บ้าน. ชาวล้านนาจะเตรียมจัดตกแต่งประตูบ้านและประตูวัด ด้วยซุ้มประตูป่า โดยการนำต้นกล้วย ใบมะพร้าว ต้นอ้อย โคมหูกระต่าย โคมเงี้ยวหรือโคมชนิดอื่นๆ ดอกไม้ต่างๆ ตกแต่งเป็นซุ้มประตูป่าอย่างงดงาม เพื่อเป็นเครื่องสักการะถวายการต้อนรับพระเวสสันดรในวันยี่เป็ง ครั้งเสด็จออกจากป่าเข้าสู่เมือง ซึ่งปรากฏในเวสสันดรชาดก อันเป็นชาติสุดท้ายของพระโพธิสัตว์ก่อนจะประสูติเป็นพระพุทธเจ้า และเชื่อกันว่าถ้าใครตกแต่งซุ้มประตูป่าได้งดงาม อาจทำให้พระเวสสันดรเสด็จหลงเข้ามาในซุ้มประตูป่าที่จำลองเป็นป่าหิมพานต์ภายในบ้านของของเรา จะทำให้ได้อานิสงส์อย่างมาก. การสร้างซุ้มประตูป่า นอกจากมีคติความเชื่อ ในเรื่องการต้อนรับการเสด็จกลับจากป่าของพระเวสสันดรแล้ว ยังเป็นซุ้มที่ใช้จุดผางประทีป เพื่อบูชาพระเจ้าห้าพระองค์ โดยจุดไว้ในโคมหูกระต่าย อีกทั้งยังมีโคมชนิดอื่นๆ ที่ใช้ในการประดับตกแต่งอีกด้วย""""""""""""""""""""""""""""""". เอกสารอ้างอิงมณี พยอมยงค์. (๒๕๔๗). ประเพณีสิบสองเดือนล้านนาไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 5 ฉบับปรับปรุงเพิ่มเติม). เชียงใหม่ : ส.ทรัพย์การพิมพ์.ศรีเลา เกษพรหม. (๒๕๔๒). ล่องสะเพา. ใน สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ (เล่ม ๑๑, หน้า ๕๘๕๐-๕๘๕๐). กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.สงวน โชติสุขรัตน์. (๒๕๑๑). ประเพณีไทย ภาคเหนือ. เชียงใหม่: สงวนการพิมพ์.. ภาพถ่าย โดย คุณกานต์ธีรา ไชยนวล"""""""""""""""""""""พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่เปิดให้บริการทุกวันพุธ – วันอาทิตย์ (หยุดทุกวันจันทร์ อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์) ตั้งแต่เวลา 09.00 - 16.00 น.e-mail: cm_museum@hotmail.comสอบถามเพิ่มเติมกรุณาติดต่อผ่านกล่องข้อความ หรือ โทรศัพท์ : 053-221308For more information, please leave your message via inbox or call: +66 5322 1308+


องค์ความรู้ทางวิชาการ เรื่อง พระธาตุนารายณ์เจงเวง ค้นคว้าและเรียบเรียง : นายดุสิต ทุมมากรณ์ ผู้อำนวยการกลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๘ ขอนแก่น




ชื่อเรื่อง                                     มหานิปาต (เวสฺสนฺตรชาตก) ชาตกปาลิ ขุทฺทกนิกาย (คาถาพัน)สพ.บ.                                       419/2หมวดหมู่                                  พระพุทธศาสนาภาษา                                       บาลี-ไทยอีสานหัวเรื่อง                                    พระพุทธศาสนา                                               ชาตกประเภทวัสดุ/มีเดีย                    คัมภีร์ใบลานลักษณะวัดุ                               80 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 55 ซม.บทคัดย่อ/บันทึก              เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม-ธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ-ลานดิบ ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


      50Royalinmemory ๓๐ พฤษภาคม ๒๔๒๓ (๑๔๒ ปีก่อน) - วันประสูติพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรพัทธ์ประไพ [พระเจ้าวรวงศ์เธอ ชั้น ๔ พระองค์เจ้าชั้นโท]        พระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงศ์ กับหม่อมราชวงศ์สว่าง จักรพันธุ์ (พระนามเดิม : หม่อมเจ้าอรพัทธ์ประไพ จักรพันธุ์) ดำรงพระอิสริยยศ “พระเจ้าวรวงศ์เธอฯ” เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๓ สิ้นพระชนม์วันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๔๗๓ พระชันษา ๕๐ ปี (ดูเพิ่มเติมใน กรมศิลปากร, ราชสกุลวงศ์, พิมพ์ครั้งที่ ๑๔, (กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, ๒๕๕๔), ๑๕๘.)       Cigarette Cards ชุดเจ้านายไทย (๑ สำรับ ประกอบด้วย พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ พระฉายาสาทิสลักษณ์ และรูปเขียนคล้ายพระรูปพระบรมวงศานุวงศ์บนแผ่นกระดาษ จำนวน ๕๐ รูป) ลำดับที่ ๔๒ โดยบริษัท ยาสูบซำมุ้ย จำกัด (SUMMUYE & CO) ผลิตราวปี พ.ศ. ๒๔๗๗ (หมายเลขทะเบียน ๒/๒๕๑๖/๑) มีประวัติระบุว่า คุณหลวงฉมาชำนิเขต มอบให้เมื่อวันที่ ๙ มกราคม ๒๕๑๖     (เผยแพร่โดย ศรัญ กลิ่นสุคนธ์ ภัณฑารักษ์ / เทคนิคภาพ อริย์ธัช นกงาม ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ กลุ่มทะเบียน คลังพิพิธภัณฑ์และสารสนเทศ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร)



#มหามกุฏราชสันตติวงศ์ ๒๕ มิถุนายน ๒๔๓๔ วันประสูติพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวาปีบุษบากร.พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวาปีบุษบากร เป็นพระราชธิดาพระองค์ที่ ๖๘ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาพร้อม ประสูติเมื่อวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๔๓๔.ทรงมีพระเชษฐา และพระเชษฐภคินีร่วมพระมารดา คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประภาพรรณพิไลย, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประไพพรรณพิลาส และพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสมัยวุฒิวโรดม.ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อพระชันษา ๕ – ๖ ปี ทรงเริ่มการศึกษาชั้นต้นในพระบรมมหาราชวัง ทั้งพระอักษรภาษาไทย และภาษาอังกฤษ จนถึงพระชันษา ๑๖ ปี จึงทรงเริ่มศึกษาค้นคว้าด้วยพระองค์เอง.หลังเจ้าจอมมารดาพร้อม พระมารดาถึงแก่อนิจกรรม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าวาปีบุษบากร พร้อมกับพระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าเยาวภาพงศ์สนิท พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ และพระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าประภาพรรณพิไลย ให้อยู่ในการอภิบาลเป็นพระราชโอรสพระราชธิดาบุญธรรมของสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี (สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า).พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวาปีบุษบากร เป็นพระราชธิดาในรัชกาลที่ ๕ ที่ดำรงพระชนม์อยู่เป็นลำดับสุดท้าย และมีพระชนมายุยืนยาวกว่าพระราชโอรสธิดาทั้งหมดในรัชกาลนั้น สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๙ เมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๒๕ สิริพระชันษา ๙๑ ปี .พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวาปีบุษบากรนับเป็นพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสยามเทวมหามกุฏวิทยมหาราช  รัชกาลที่ ๔ ที่สืบสายจากพระบรมชนกนาถ.ภาพ : พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวาปีบุษบากร


พระพุทธรูปในมณฑปประธานวัดพระสี่อิริยาบถวัดพระสี่อิริยาบถเป็นโบราณสถานที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือนอกเมืองกำแพงเพชร สิ่งก่อสร้างสำคัญที่เป็นแกนหลักของวัดประกอบด้วยวิหาร ด้านหลังวิหารคือมณฑปขนาดใหญ่ตั้งอยู่ภายในกำแพงแก้ว เป็นทรงจตุรมุข ทำมุขยื่นออกมาทั้ง 4 ทิศ มีแกนกลางเป็นโครงสร้างรับน้ำหนักของอาคารลักษณะก่อเป็นแท่งสี่เหลี่ยมแต่ละด้านก่อผนังให้เว้าเข้าไปและประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้น โดยผนังด้านตะวันออกประดิษฐานพระพุทธรูปลีลา ด้านทิศใต้ประดิษฐานพระพุทธรูปนั่ง ด้านทิศตะวันตกประดิษฐานพระพุทธรูปยืน และด้านทิศเหนือประดิษฐานพระพุทธรูปนอน โดยปรากฏมณฑปลักษณะคล้ายกันนี้ที่วัดเชตุพน ตั้งอยู่นอกเมืองสุโขทัยทางด้านทิศใต้.. มณฑป ตามความหมายในศัพทานุกรมโบราณคดี มีสองความหมาย ได้แก่.ความหมายในสถาปัตยกรรมไทย หมายถึง อาคารสี่เหลี่ยมจัตุรัสสร้างขึ้นเพื่อประดิษฐานสิ่งที่ควรเคารพบูชา เช่น พระพุทธรูป อาจมีลักษณะคล้ายบุษบกแต่มีขนาดใหญ่กว่า และสามารถเข้าไปใช้สอยพื้นที่ด้านในได้.ความหมายในสถาปัตยกรรมอินเดียและเขมร หมายถึง อาคารสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่ตั้งอยู่ด้านหน้าปราสาทโดยมีมุขกระสันเป็นส่วนเชื่อมต่อ ใช้ประดิษฐานรูปเคารพและทำพิธีกรรมทางศาสนา..  เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสหัวเมืองเหนือ (เสด็จประพาสต้น) ในปีพุทธศักราช 2449 ทรงพระราชนิพนธ์ถึงลักษณะมณฑปประดิษฐานพระสี่อิริยาบถ ความว่า.“...ชิ้นกลางเห็นจะเป็นวิหารยอดจัตุรมุข แต่สูงใหญ่เหลือเกิน มุขหน้าเป็นพระเดิน มุขหลังเป็นพระยืน มุขซ้ายเป็นพระนอน มุขขวาเป็นพระนั่ง ที่มุมปั้นเป็นรูปนารายณ์ขี่ครุฑใหญ่มาก จะรับหลังคาอย่างไรน่าคิด แต่พระเหล่านี้เป็นพระปั้นด้วยปูน ใครจะมาซ่อมมาทำเพิ่มเติมอย่างไรภายหลัง แต่รูปพรรณสัณฐานคงเป็นพระกำแพง ไม่ใช่ช่างเมืองอื่นมาทำ พระยืนนั้นขนาดพระโลกนาถวัดเชตุพน แต่ประเปรียวกว่า...”.พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวครั้งดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมารทรงเสด็จประพาสหัวเมืองเหนือในปีพุทธศักราช 2450 และพระราชนิพนธ์ถึงวัดพระสี่อิริยาบถ ความว่า.“...วัดพระสี่อิริยาบถมีชิ้นสำคัญอยู่คือ วิหารสี่คูหา มีพระยืนด้านหนึ่ง พระนั่งด้านหนึ่ง พระลีลาด้านหนึ่ง พระไสยาสน์ด้านหนึ่ง พระยืน พระนั่ง พระลีลา ยังพอเป็นรูปร่างเห็นได้ถนัด แต่พระนอนนั้นชำรุดจนไม่เป็นรูป รอบวิหารมีผนังลูกกรงโปร่ง มองเข้าไปข้างในได้ทั้งสี่ด้าน...”..ลักษณะพระพุทธรูปในอิริยาบถทั้งสี่ประดิษฐานรอบแกนกลางของมณฑปแต่ละด้านดังนี้..ด้านทิศตะวันออกประดิษฐานพระพุทธรูปในอิริยาบถเดิน หรือลีลา ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์อันโดดเด่นและปรากฏอย่างแพร่หลายในศิลปะแบบสุโขทัย ทั้งพระพุทธรูปแบบลอยตัวที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง เมืองศรีสัชนาลัย และเป็นภาพปูนปั้นเพื่อสื่อถึงพุทธประวัติตอนเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ที่มณฑปวัดตระพังทองหลาง เมืองสุโขทัย นอกจากนี้ยังพบการจารภาพพระพุทธรูปลีลาบนจารึกวัดสรศักดิ์ ระบุปีพุทธศักราช 1960 กล่าวถึงการสร้างวัดของนายอินทสรศักดิ์ มีการสร้างเจดีย์มีช้างรอบ และประดิษฐานพระพุทธรูปลีลา (พระเจ้าหย่อนตีน) ดังปรากฏข้อความในจารึกด้านที่ 1 บรรทัดที่ 15-16 ความว่า.“...พระมหาเถรเจ้า จึงพ่ออยู่หัว เจ้าธนิมนต์เข้าชุมนุมกับพระเชตุพน อยู่มาสบวันดี จึงพระมหาเถรเจ้าก็ระบิตริในใจแลมารจนามหาเจดีย์มีช้างรอบ ประกอบด้วยพระเจ้าหย่อนตีน แลพระวิหารแลหอพระแล้วเสร็จ...”.ด้านทิศใต้ประดิษฐานพระพุทธรูปอิริยาบถนั่ง หลงเหลือหลักฐานเฉพาะส่วนพระเพลาของพระพุทธรูปในลักษณะประทับนั่งสมาธิราบ แต่ส่วนพระกรและพระหัตถ์สำหรับแสดงมุทราของพระพุทธรูปไม่ปรากฏว่าแสดงปางมารวิชัย หรือปางสมาธิ.ด้านทิศตะวันตกประดิษฐานพระพุทธรูปยืนสูง 9.60 เมตร ส่วนพระกรซ้ายไม่สมบูรณ์ สันนิษฐานว่าแสดงปางประทานอภัย พุทธลักษณะของพระพุทธรูปองค์นี้แสดงศิลปะสุโขทัย สกุลช่างกำแพงเพชร อันได้แก่ พระพักตร์ยาวกว่าพระพุทธรูปหมวดใหญ่ ศิลปะสุโขทัย พระนลาฏกว้าง และพระหนุเสี้ยม.ด้านทิศเหนือสันนิษฐานว่าประดิษฐานพระพุทธรูปประทับนอนหรือไสยาสน์ แม้จะมีสภาพไม่สมบูรณ์แล้ว แต่สามารถสังเกตได้จากก้อนศิลาแลงที่วางเรียงต่อกันทรงสามเหลี่ยมเป็นพระเขนยสำหรับวางพระเศียรขององค์พระพุทธรูป..การตีความเรื่องคติการสร้างพระพุทธรูปสี่อิริยาบถที่ประดิษฐานในมณฑปนั้น มีนักวิชาการสันนิษฐานไว้ 3 แนวทาง ดังนี้. 1. ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. มรว. สุริยวุฒิ สุขสวัสดิ์ ในบทความ เรื่อง กลุ่มพระพุทธรูปสี่อิริยาบถในศิลปะสุโขทัย : ความหมายทางพระพุทธศาสนาบางประการ ได้เสนอความหมายของพระพุทธรูปสี่อิริยาบถว่า มีนัยยะถึงการปฏิบัติธรรมตามหลักพุทธศาสนา คือ หลักสติปัฏฐาน 4 อันเป็นหลักในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ด้วยการกำหนดสติให้ตั้งมั่นในฐานทั้ง 4 ซึ่งประกอบด้วย กาย เวทนา จิต และธรรม โดยเฉพาะ ฐานกาย ซึ่งมีการกล่าวถึงการพิจารณาอิริยาบถหลักทั้ง 4 คือ ยืน เดิน นั่ง และนอน .2. นายพิเศษ เจียจันทร์พงษ์ เสนอว่าเป็นการแสดงถึงกิจวัตร และการพักผ่อนของพระพุทธเจ้าในรอบวัน คือ นั่ง หมายถึง การประทับนั่งในตอนเช้าก่อนเสด็จออกบิณฑบาต ยืน หมายถึง การประทับยืนในตอนเพลเพื่อแสดงโอวาท นอน หมายถึง การไสยาสน์ในตอนบ่ายและก่อนรุ่งแจ้ง และ เดิน หมายถึง การเสด็จพระราชดำเนินจงกรมเพื่อผ่อนคลายความเมื่อยล้าในเวลาหลังเที่ยงคืน .3. ศ.ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์ สันนิษฐานว่าพระสี่อิริยาบถนี้สื่อถึงพุทธประวัติในตอนต่าง ๆ โดยพระพุทธรูปในอิริยาบถเดินแสดงถึงตอนเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ พระพุทธรูปในอิริยาบถนั่งแสดงถึงตอนตรัสรู้ พระพุทธรูปในอิริยาบถยืนแสดงปางประทานอภัยสื่อถึงตอนประทานเทศนา และพระพุทธรูปในอิริยาบถนอนแสดงถึงตอนปรินิพพาน.. วัดพระสี่อิริยาบถสามารถกำหนดอายุได้จากการพบแผ่นจารึกลานเงินเสด็จพ่อพระยาสอย ที่ระบุว่าจารขึ้นเมื่อพุทธศักราช 1963 ตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระนครินทราธิราช แห่งกรุงศรีอยุธยา และรัชสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 4 (บรมปาล) แห่งเมืองสุโขทัย โดยเนื้อความในจารึกกล่าวถึง สมเด็จพ่อพระยาสอยได้เสวยราชย์ที่บุรีศรีกำแพงเพชร และสมเด็จพระมหามุนีรัตนโมลีฯ ได้ประดิษฐานผอบพระรัตนธาตุเจ้า...เอกสารอ้างอิง  กรมศิลปากร. ประชุมจารึก ภาคที่ 8 จารึกสุโขทัย. กรุงเทพฯ : สำนักหอสมุดแห่งชาติ, 2548.คณะกรรมการดำเนินงานจัดทำศัพทานุกรมด้านโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์. ศัพทานุกรมโบราณคดี. กรุงเทพฯ : สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร, 2550.นารีรัตน์ ปรีชาพีชคุปต์, ธาดา สังข์ทอง และอนันต์ ชูโชติ ; ผู้แปลภาษาอังกฤษ, นันทนา ตันติเวสสะ และ สุรพล นาถะพินธุ. นำชมอุทยานประวัติศาสตร์ สุโขทัย ศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร (Guide to Sukhothai Si Satchanalai and Kamphaeng Phet historical parks) (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : สำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ, 2542.พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. เที่ยวเมืองพระร่วง. กรุงเทพฯ : มูลนิธิมหามกุฎราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์, 2519.พิเศษ เจียจันทร์พงษ์. “พระสี่อิริยาบถ.” ศิลปวัฒนธรรม. 16,11 (กันยายน 2538) : 118-121.มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. ครบ ๑๐๐ ปี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสต้น เมืองกำแพงเพชร วันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2549. กรุงเทพฯ : จังหวัดกำแพงเพชร, 2549.มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา. นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา, 2554.ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปกรรมโบราณในอาณาจักรสุโขทัย. นนทบุรี : มิวเซียมเพรส, 2561.ศิริปุณย์ ดิสริยะกุล. “การศึกษาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมวัดพระสี่อิริยาบถ จังหวัดกำแพงเพชร” วิทยานิพนธ์ระดับศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม ภาควิชาศิลปสถาปัตยกรรม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2556.สุริยวุฒิ สุขสวัสดิ์. “กลุ่มพระพุทธรูปสี่อิริยาบถในศิลปะสุโขทัย : ความหมายทางพระพุทธศาสนาบางประการ”. เมืองโบราณ. 13,3 (กรกฎาคม-กันยายน 2530) : 57-61.


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           55/4ประเภทวัดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                               36 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 56 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา