ค้นหา


รายการที่พบทั้งหมด 37,379 รายการ

เลขทะเบียน : นพ.บ.130/2ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  44 หน้า ; 5 x 55 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา  ชื่อชุด : มัดที่ 76 (288-301) ผูก 2 (2564)หัวเรื่อง : ธมฺมจกฺกปฺปวตฺตนสุตฺตฎีกา (ฎีกาธมฺมจกฺก)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เรียบเรียงข้อมูลโดย นางสาวอุไร คำมีภา นักภาษาโบราณปฏิบัติการหอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ร.9 นครราชสีมา



สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน) เลขที่ ชบ.บ.4/1-1 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)





วันอาทิตย์ ที่ ๑๗ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๐๗ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง โดยเครื่องบินพระที่นั่งจากสนามบินเชียงใหม่ ไปทรงประกอบพิธีเปิดเขื่อนภูมิพล อำเภอสามเงา จังหวัดตากรหัสเอกสาร ภ หจภ สบ ๒.๓/๓๗(๑๗) เขื่อนภูมิพล (เขื่อนยันฮี) แหล่งผลิตไฟฟ้าสำหรับพื้นที่ภาคกลางและภาคเหนือ เขื่อนภูมิพลเป็นเขื่อนคอนกรีตโค้งเพียงแห่งเดียวของประเทศไทย สร้างปิดกั้นลำน้ำปิงที่บริเวณ เขาแก้ว อำเภอสามเงา จังหวัดตาก มีรัศมีความโค้ง ๒๕๐ เมตร สูง ๑๕๔ เมตร ยาว ๔๖๖ เมตร ความกว้างของสันเขื่อน ๖ เมตร อ่างเก็บน้ำมีความจุสูงสุด ๑๓,๔๖๒ ล้านลูกบาสก์เมตร จัดเป็นเขื่อนคอนกรีตโค้งที่ใหญ่และสูงสุดในเอเชียอาคเนย์ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรได้เสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาฤกษ์การก่อสร้าง เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๐๔ การก่อสร้างในระยะแรกประกอบด้วยงานก่อสร้างตัวเขื่อน ระบบส่งไฟฟ้า และอาคารโรงไฟฟ้า ซึ่งได้ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเครื่องที่ ๑ และ ๒ กำลังการผลิตเครื่องละ ๗๐,๐๐๐ กิโลวัตต์ สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้เมื่อวันที่ ๑๗ พฤษภาคม และ ๑๕ มิถุนายน ๒๐๕๗ ตามลำดับ ทั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดเขื่อน เมื่อวันที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๐๗รหัสเอกสาร ภ หจภ สบ ๒.๓/๓๗(๑๖)รหัสเอกสาร ภ หจภ สบ ๒.๓/๓๗(๕)รหัสเอกสาร ภ หจภ สบ ๒.๓/๓๗(๙) #เขื่อนภูมิพล #การไฟฟ้าฝ่ายผลิต ข้อมูล : การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ภาพ : หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช


เขาพระอังคาร ตั้งอยู่ภายในวัดเขาพระอังคาร ตำบลเจริญสุข อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์           ในทางธรณีสัณฐานวิทยา เขาพระอังคารเป็นภูเขาไฟ หินบะซอลต์แบบลาวาโดม ดับสนิทแล้วมากว่าเจ็ดแสนปี มีรูปร่างกลมรี วางตัวในแนวเหนือ-ใต้ มีช่องทางการไหลออกของลาวาหลายจุดตามไหล่เขาทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ มีปล่องปะทุอยู่ชัดเจน ตั้งโดดเด่นกลางพื้นที่ราบ ปากปล่องภูเขาไฟเกิดการทรุดถล่มเป็นแนวซ้อนกันหลายชั้น           ปัจจุบันบนเขาพระอังคารเป็นที่ตั้งของวัดเขาพระอังคาร มีการก่อสร้างพระอุโบสถใหม่ และอาคารสมัยใหม่ต่างๆโดยรอบ พบใบเสมาทั้งสิ้น ๑๕ ชิ้น โดยนำใบเสมาที่พบจากเขาพระอังคารมาปักรอบพระอุโบสถ สันนิษฐานว่าย้ายมาจากที่อื่นที่อยู่ใกล้บริเวณวัดแล้วนำมาปักไว้รอบโบสถ์ บางส่วนนำมาไว้ภายในอาคารพ่อปู่วิริยะเมฆ           ใบเสมาทั้งหมดสลักขึ้นจากหินบะซอลต์เนื้อละเอียด มีลักษณะเป็นแผ่นหินแบนๆ สมัยวัฒนธรรมทวารวดี (ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๖) ลักษณะเด่นของใบเสมาที่เขาอังคารสลักเป็นภาพบุคคลคนเดียวยืนถือดอกบัวด้วยมือขวา ประทับอยู่ใต้ฉัตร ขนาบด้วยเครื่องสูง ทรงเครื่องแบบกษัตริย์ บางใบสลักบุคคลเป็นภาพยักษ์ บางชิ้นสลักเป็นบุคคลสี่กรถือสิ่งของอยู่ในมือ สันนิษฐานว่าเป็นคัมภีร์ และลูกประคำ ทั้งหมดทรงผ้าแบบเดียวกัน ประทับยืนอยู่บนฐานดอกบัว มีอิทธิพลศิลปะเขมรแบบไพรกเมงผสมอยู่ บางใบมีการสลักลายเป็นภาพธรรมจักร สถูปหม้อน้ำที่ด้านหลังด้วย           ถึงแม้ว่าใบเสมาปัจจุบันถูกเคลื่อนย้ายออกจากตำแหน่งเดิม จากการสำรวจบริเวณรอบๆไม่ปรากฏร่องรอยสิ่งก่อสร้างหรือโบราณสถานอยู่เลย ปกติแล้วการปักใบเสมาเป็นเพื่อแสดงเขตศักดิ์สิทธิ์ในทางพุทธศาสนา ในกรณีใบเสมาวัดเขาพระอังคารในอดีตอาจปักล้อมรอบพื้นที่ว่างเปล่า โดยใบเสมาปักเพื่อเป็นหลักเขตเครื่องหมายพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ในการประกอบพิธีกรรม           แหล่งใบเสมาที่อยู่บนภูเขาเช่นที่เขาพระอังคาร เป็นแหล่งเดียวในจังหวัดบุรีรัมย์ที่พบในพื้นที่ภูเขาสูง ไม่พบแหล่งชุมชนที่บนเขาอังคารเลยจึงไม่สามารถบอกพื้นที่การใช้งานที่สัมพันธ์กับชุมชนได้ แต่จากลักษณะภาพสลักที่ปรากฏเป็นรูปบุคคลลักษณะเดียวกันทั้งหมด น่าจะเป็นพระโพธิสัตว์ในฝ่ายมหายาน ซึ่งไม่พบลักษณะเช่นนี้ในแหล่งโบราณคดีในสมัยทวารวดีในที่อื่นๆที่แม้จะเป็นภาพสลักบุคคลก็จะเป็นเรื่องราวในพุทธประวัติหรือชาดกในฝ่ายเถรวาทเป็นหลัก การพบในพื้นที่ภูเขาสูงน่าจะเป็นลักษณะของแนวคิดภูเขาศักดิ์สิทธิ์แบบเดียวกับที่ภูพระบาท อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ซึ่งเป็นพุทธแบบเถรวาทก็อาจเป็นได้-----------------------------------------------ข้อมูลโดย นายกิตติพงษ์ สนเล็ก ผู้อำนวยการกลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา-----------------------------------------------


สวัสดีทุกท่านค่ะ เนื่องในวันที่ 10 พฤษภาคมนี้ตรงกับวันพืชมงคล ทางเพจของเราจึงขอนำเสนอ #องค์ความรู้จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงใหม่ ซึ่งเป็นเรื่องราวของพืชที่มีความผูกพันกับคนล้านนามานานอย่าง "เหมี้ยง" ให้ทุกท่านติดตามกันว่าเหมี้ยงมาจากที่ไหน การอมเหมี้ยงมีมาตั้งแต่เมื่อไหร่ วิธีการผลิตเหมี้ยงเป็นอย่างไร และสถานะของเหมี้ยงในปัจจุบันจะเป็นแบบไหนต่อไปในอนาคต จากบทความนี้ได้เลยค่ะ . . "เหมี้ยง : จากชาป่าสู่อาหารว่างคนล้านนาที่ใกล้สูญหาย" . . เมื่อพูดถึง “เมี่ยง” หลายๆ คนคุ้นเคยกันดีว่าเป็นอาหารว่าง หรือในยุคสมัยนี้ เรามักจะนึกถึงลักษณะอาหารประเภทหนึ่งที่ใช้ใบชะพลูหรือแผ่นแป้งเวียดนามห่อเครื่องจำพวกผัก สมุนไพร หรือแม้กระทั่งเนื้อสัตว์ ราดน้ำเมี่ยงแล้วกินเป็นคำๆ เช่น เมี่ยงคำ เมี่ยงปลาทู หรือเมี่ยงปลาเผา เป็นต้น แต่สำหรับคนทางภาคเหนือหรือคนเมืองนั้น เมี่ยง หรือ เหมี้ยง ยังหมายถึงใบชาหมักรสเปรี้ยว ฝาด บางครั้งก็มีการเติมน้ำตาลให้มีรสหวาน คนเมืองนิยมรับประทานกันหลังมื้ออาหารคล้ายกับเป็นของล้างปากหลังมื้ออาหารคาวหรือกินเป็นของว่าง เรียกว่าการ “อมเหมี้ยง” . . เหมี้ยง แท้จริงแล้วคือใบชาอัสสัมป่า มีชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Camellia sinensis Seem. ในวงศ์ Theaceae  เป็นไม้พุ่มขนาดใหญ่ ใบเล็กยาว มีรสเปรี้ยวอมฝาด ดอกสีขาวมีกลิ่นหอมอ่อนๆ ออกดอกเป็นช่อคล้ายดอกส้ม มักขึ้นตามหุบเขา หรือป่าดิบเชิงเขาทางภาคเหนือ เช่นที่ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ และน่าน ในใบเหมี้ยงหรือชา มีคาเฟอีน 3 - 4%  แทนนิน 7 - 15% และน้ำมันหอมระเหย ด้วยเหตุนี้เองคนเมืองจึงนิยมอมเหมี้ยงในเวลากลางวันไว้เป็นของ “แก้ง่วง” นั่นเอง  . . แล้ววัฒนธรรมการอมเหมี้ยงนี้มาจากไหน? . . จากการศึกษาความเป็นมาของเหมี้ยงของศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ธเนศวร์ เจริญเมือง พบว่าวัฒนธรรมการอมเหมี้ยงเป็นวัฒนธรรมร่วมที่ปรากฏมาอย่างช้านานแล้วในกลุ่มไตและชาติพันธุ์บางกลุ่มในรัฐฉาน ลาวเหนือ และไทยวนในล้านนา หลักฐานที่เก่าที่สุดในขญะนี้ที่กล่าวถึงเหมี้ยง คือ ศิลาจารึกวัดพระธาตุหริภุญไชย เมื่อ พ.ศ.2053 กล่าวถึงพระเมืองแก้ว ซึ่งครองเมืองเชียงใหม่ในขณะนั้น ได้มีพระราชศรัทธาสร้างหอมณเฑียรธรรมและพระคัมภีร์ที่วัดพระธาตุหริภุญไชย เมื่อสร้างแล้วเสร็จจึงถวายเครื่องบูชา และเงิน 1,100 เพื่อให้เอาดอกเป็นค่าหมากเหมี้ยงบูชาพระธรรม และปรากฏในตำนานพระเจ้าเลียบโลก ผูกที่ 9 ที่แต่งขึ้นใน พ.ศ. 2060 ได้กล่าวถึงพระโพธิสัตว์องค์หนึ่งจะไปเกิดในเมืองหงสาวดี และจะมีอาชีพเป็นพ่อค้าเหมี้ยง นอกจากนี้ หลักฐานในช่วง 200 ปีที่ผ่านมายังพบ “อูปเหมี้ยงทองคำ” ที่กษัตริย์พม่ามอบเป็นเครื่องยศให้กับเจ้าฟ้าหัวเมืองเชียงแสน และปรากฏคำว่า “หมากเหมี้ยง” ในบริบทอื่นๆ อาทิ บทสวดพิธีกรรมต่างๆ เช่น คำสู่ขวัญข้าว คำสู่ขวัญควาย เป็นต้น เป็นค่าปรับไหม และปรากฏในคร่าว (บทกวี) เล่าเรื่องเมืองเชียงแสนแตก และมีการถวายหมากเหมี้ยง กินหมากพลูอมเหมี้ยง เป็นต้น . . จากหลักฐานเหล่านี้อาจพออนุมานได้ว่า คนเมืองมีความผูกพันกับเมี่ยงมาตั้งแต่สมัยล้านนาแล้ว ในยุคที่การบริโภคเหมี้ยงเฟื่องฟู ราวศตวรรษที่ 19 มีนักสำรวจชาวยุโรปได้ระบุว่า ป่าเหมี้ยงได้ขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวางไปตามแหล่งน้ำต่างๆ ตั้งแต่แม่ริมจรดฝาง และเหมี้ยงถือเป็นพืชเศรษฐกิจหลักของภาคเหนือ เป็นรองแต่เพียงข้าวและไม้สักเท่านั้น จนเป็นที่มาของ “พ่อเลี้ยงเหมี้ยง” หรือพ่อค้าคนกลางผู้รับซื้อเหมี้ยงและดูแลกิจการป่าเหมี้ยงซึ่งเป็นเสมือนขุมทรัพย์สำคัญของยุคนั้นเลยก็ว่าได้ . . การอมเหมี้ยงไม่เพียงแต่จะเป็นการบริโภคเฉพาะในแต่ละครัวเรือนเท่านั้น แต่มันยังเป็นตัวเชื่อมโยงทางสังคมให้แต่ละบ้านได้มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกันมากขึ้น โดยการนำเหมี้ยงมาสู่ (แบ่งปัน) ให้กับแขกที่มาเยือนบ้าน หรือเตรียมไว้ให้ผู้ที่มาช่วยงานต่างๆ ทั้งงานบุญ งานแต่ง และงานศพ เป็นสินน้ำใจเล็กๆ น้อยๆ จากเจ้าบ้านมอบให้กับผู้มาเยือนได้ผ่อนคลายกับของว่างที่มีอยู่เพียงไม่กี่อย่างในสมัยนั้น . . การหมักเหมี้ยงทำอย่างไร?  . . กรรมวิธีการผลิตเหมี้ยงนั้นไม่ได้ยุ่งยาก เริ่มจากการเก็บใบเหมี้ยงสดจากป่าเหมี้ยง โดยเลือกเก็บเอาแต่ใบกลางแก่กลางอ่อนแล้วนำมานึ่งให้สุก เมื่อสุกแล้วจึงนำมาหมักในน้ำเปล่าหรือน้ำเกลือ แต่ในบางพื้นที่ เช่น จ.แพร่ จะนำใบเหมี้ยงนึ่งสุกแล้วไปหมักในตะกร้าก่อนให้เกิดเชื้อราแล้วค่อยนำไปหมักน้ำ เรียกว่าเมี่ยงแหลบ การหมักนั้นยิ่งใช้เวลาน้อยวันเท่าไหร่ เหมี้ยงก็จะคงความฝาดมากเท่านั้น โดยส่วนใหญ่จะนิยมหมักตั้งแต่ 1 เดือนขึ้นไปจนถึงเป็นปี เพื่อให้ความฝาดลดน้อยลงและมีรสเปรี้ยว เหมี้ยงที่มีรสฝาดจะเรียกว่า “เหมี้ยงฝาด” เหมี้ยงที่รสเปรี้ยว เรียกว่า “เหมี้ยงส้ม” และเหมี้ยงที่มีรสหวานจากการเติมน้ำตาลเรียกว่า “เหมี้ยงหวาน” แต่เหมี้ยงที่ได้รับความนิยมมากที่สุดเห็นจะเป็นเหมี้ยงส้ม วิธีกิน คือ นำใบเหมี้ยงมาแผ่บางๆ แล้วใส่เกลือเม็ดลงไป 1 – 2 เม็ด จากนั้นห่อเหมี้ยงให้เป็นคำแล้วเคี้ยวหรืออมไว้ในปาก พร้อมกับสูบบุรีขี้โย (บุหรี่ใบตองห่อยาเส้น) เท่านี้ก็นับเป็นความสุขเล็กๆ สำหรับคนเมืองในสมัยก่อนแล้ว . . นอกเหนือจากการบริโภคเหมี้ยงหมักที่ได้รับความนิยมกันทั่วไปอยู่แล้ว น้ำที่เหลือจากการนึ่งเหมี้ยงยังสามารถนำมาประกอบอาหารต่อได้อีก โดยนำมาเคี่ยวในกระทะจนข้นแล้วใส่ข้าวคั่ว โรยกระเทียมเจียว แคบหมูชิ้นเล็ก ขิงซอย และพริกทอด เรียกว่า “น้ำเหมี้ยง” หรือการนำใบเหมี้ยงสดมายำกับปลาปิ้งหรือปลาแห้งแล้วใส่ผักสมุนไพรต่างๆ เช่น หอมแดง กระเทียม พริกขี้หนู ตะไคร้ ขิง เรียกว่า “ส้าเหมี้ยง” ก็ถือเป็นเมนูจากเหมี้ยงที่ได้รับความนิยมไม่แพ้การอมเหมี้ยงเลยทีเดียว . . ในปัจจุบัน ความนิยมบริโภคเหมี้ยงเริ่มลดน้อยลงไปตามกาลเวลาและยุคสมัย แม้เราจะยังคงพบเห็นการผลิตและค้าขายเหมี้ยงอยู่ในตลาดทั่วภาคเหนือแต่ก็หาได้ยากแล้ว ขณะเดียวกัน ป่าเหมี้ยงที่ถือได้ว่าเป็นป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์และมีความหลากหลายของระบบนิเวศน์มากที่สุดแห่งหนึ่งก็เริ่มลดน้อยลง จากการแผ้วถางพื้นที่ไปปลูกพืชเศรษฐกิจอื่นแทนอย่างกาแฟ หรือแปรสภาพเป็นสถานที่ท่องเที่ยว สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. เป็นหนึ่งในหน่วยงานที่เห็นถึงปัญหานี้ จึงได้วิจัย พัฒนา และต่อยอด “เหมี้ยง” แบบเดิมๆ ให้กลายเป็นเหมี้ยงที่ทันสมัยรองรับกับตลาดยุคใหม่มากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการปรับปรุงการผลิตให้มีมาตรฐานความสะอาด หรือการคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ จากเหมี้ยง เช่น ชาเชียวเหมี้ยง ชาเหมี้ยงหมัก ลูกอมหรือกัมมี่เหมี้ยง หรือผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจากเหมี้ยง เช่น แชมพู สบู่ และน้ำยาบ้วนปาก ขณะเดียวกันภาคเอกชนก็พยายามตีตลาดออนไลน์ให้เหมี้ยงสามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้ง่ายมากขึ้น เหล่านี้จึงเป็นความหวังให้กับเหมี้ยงว่าจะสามารถกลับมามีบทบาททางเศรษฐกิจอีกครั้งในอนาคต . . . ที่มา ธเนศวร์ เจริญเมือง. เหมี้ยง : ภูมิปัญญาท้องถิ่นบนทางแยก. พิมพ์ครั้งที่ 1.  เชียงใหม่ : ทรีโอ แอดเวอร์ไทซิ่ง มีเดีย จำกัด, 2562. https://www.agro.cmu.ac.th/lanna/sinnensis.htm https://www.matichon.co.th/.../prachachuen.../news_1158315 https://www.matichonweekly.com/column/article_172905 https://www.youtube.com/watch?v=MP4pjBVoRys https://www.youtube.com/watch?v=oGIvY1gYTk0&t=1101s



พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ หลวงนฤบาลวรภาชน์ (มัย ไกรฤกษ์) ต.จ. ณ เมรุวัดธาตุทอง วันอังคารที่ ๑๘ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๑๕


          มหามกุฎราชสันตติวงศ์ ๑๗ กรกฎาคม ๒๓๗๗ วันพระราชสมภพสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี พระมเหสีพระองค์ที่สองในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวงในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว           สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ ๑๗ กรกฎาคม ๒๓๗๗ พระธิดาพระองค์ใหญ่ในสมเด็จพระบรมราชมาตามหัยกาเธอ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์ ต้นราชสกุลศิริวงศ์ (พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวกับเจ้าจอมมารดาทรัพย์) และหม่อมน้อย (พระชนนีน้อย)           พระนามเดิมหม่อมเจ้ารำเพย ในรัชกาลที่ ๔ ทรงสถาปนาเป็นพระนางเธอ พระองค์เจ้ารำเพยภมราภิรมย์ ต่อมาทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระนางเจ้ารำเพยภมราภิรมย์บรมราชเทวี สวรรคตในรัชกาลที่ ๔ เมื่อวันที่ ๙ กันยายน ๒๔๐๔ พระชนมายุ ๒๘ พรรษา           ในรัชกาลที่ ๕ ทรงสถาปนาพระนามพระบรมอัฐิเป็นกรมสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ เมื่อ ๒๕ ธันวาคม ๒๔๑๑           ครั้นถึงรัชกาลที่ ๖ ทรงเฉลิมพระนามาภิไธยเป็น สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี . ภาพ : สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี


          แผ่นดินเผารูปพระสงฆ์สามองค์อุ้มบาตร พบจากการดำเนินงานทางโบราณคดีที่เมืองโบราณอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี อาจเป็นหลักฐานที่เก่าที่สุดซึ่งเกี่ยวข้องกับการประดิษฐานพระพุทธศาสนาในดินแดนไทย เนื่องจากรูปแบบการครองจีวรของภาพพระภิกษุบนแผ่นดินเผา เป็นแบบห่มคลุม ริ้วจีวรมีขนาดใหญ่ คล้ายกับการครองจีวรของพระพุทธรูปศิลปะอินเดียแบบอมราวดี ซึ่งกำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๙ – ๑๐ (ประมาณ ๑,๖๐๐ – ๑,๗๐๐ ปีมาแล้ว) สันนิษฐานว่าเป็นประติมากรรมที่สร้างขึ้นในท้องถิ่น มิได้เป็นการนำเข้ามาจากภายนอก เนื่องจากทำด้วยดินเผาที่มีส่วนผสมของดินดิบ และแกลบค่อนข้างหยาบ ประกอบกับประติมากรรมนี้มีแผ่นหลังซึ่งน่าจะใช้ประดับติดเข้ากับผนังของศาสนสถาน          อนึ่ง ภายในเมืองโบราณอู่ทองยังพบชิ้นส่วนประติมากรรมปูนปั้นประดับศาสนสถานแสดงภาพระพุทธรูปประทับ นั่งขัดสมาธิอย่างหลวมๆ เหนือขนดนาค ซึ่งนักวิชาการบางท่านกำหนดอายุจากรูปแบบศิลปกรรมว่าได้รับอิทธิพลจากศิลปะอินเดียแบบอมราวดีเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตามยังไม่มีการค้นพบโบราณสถานหรือโบราณวัตถุที่สร้างขึ้นในท้องถิ่น และมีรูปแบบศิลปกรรมร่วมสมัยกันกับแผ่นดินเผารูปพระภิกษุสามองค์อุ้มบาตร และพระพุทธรูปเหนือขนดนาคปูนปั้นที่กล่าวไป ทำให้นักวิชาการบางท่านมีความเห็นเรื่องอายุสมัยของโบราณวัตถุดังกล่าวแตกต่างกันออกไป โดยหากเชื่อว่าโบราณวัตถุนี้ มีอายุสมัยใกล้เคียงกับศิลปะอินเดียแบบอมราวดี ก็จะนับเป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงให้เห็นว่า ชุมชนแถบนี้ได้เปลี่ยนจากความเชื่อท้องถิ่นดั้งเดิม หันมานับถือพระพุทธศาสนา มีการสร้างรูปเคารพ รวมทั้งศาสนสถาน แสดงให้เห็นว่าระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๙ – ๑๑ พระพุทธศาสนาได้หยั่งรากลง ณ บริเวณที่ราบลุ่มภาคกลางของประเทศไทย และเป็นที่ยอมรับในหมู่ชนพื้นเมืองแล้ว โดยมีเมืองโบราณอู่ทองเป็นศูนย์กลางสำคัญของการประดิษฐานพระพุทธศาสนาในระยะแรกเริ่ม--------------------------------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี --------------------------------------------------------------------------เอกสารอ้างอิง กรมศิลปากร. ศิลปะทวารวดี ต้นกำเนิดพุทธศิลป์ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด, ๒๕๕๒. ผาสุข อินทราวุธ. ทวารวดี : การศึกษาเชิงวิเคราะห์จากหลักฐานทางโบราณคดี. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์อักษรสมัย,๒๕๔๒. พนมบุตร จันทรโชติ และคณะ. นำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง และเรื่องราวสุวรรณภูมิ. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), ๒๕๕๐.