ค้นหา


รายการที่พบทั้งหมด 37,390 รายการ

          พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ขอเชิญชมนิทรรศการ "อิสระ สดชื่น ศรัทธา" การแสดงผลงานของคณาจารย์สาขาจิตรกรรม ภาควิชาวิจิตรศิลป์ วิทยาลัยเพาะช่าง เปิดให้เข้าชมระหว่างวันที่ 1 - 30 กรกฎาคม 2566 เวลา 09.00 - 16.00 น. ทุกวันพุธ - อาทิตย์  (ปิดให้บริการวันจันทร์ - อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์) ณ อาคารนิทรรศการ 6  พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ถนนเจ้าฟ้า เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร โดยจะมีพิธีเปิดนิทรรศการในวันพุธที่ 5 กรกฎาคม 2566 เวลา 16.30 น. เป็นต้นไป




           อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ขอมอบความสุขให้ทุกท่านในช่วงปลายปี ต้อนรับเดือน "ธันวาคม" ด้วยการขยายเวลาให้เข้าชม "วัดไชยวัฒนาราม" และ "วัดราชบูรณะ" ในยามค่ำคืน (เพิ่มเติม)      - ช่วงวันพ่อแห่งชาติ เปิดให้เข้าชมตั้งแต่วันที่ 1 - 5 ธันวาคม 2566           - ช่วงวันรัฐธรรมนูญ เปิดให้เข้าชมตั้งแต่วันที่ 8 - 11 ธันวาคม 2566           - ช่วงเทศกาลมรดกโลก เปิดให้เข้าชมตั้งแต่ 15 - 24 ธันวาคม 2566           ทั้งนี้ กรมศิลปากร โดยอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ได้เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมโบราณสถานในยามค่ำคืน ณ วัดไชยวัฒนาราม และ วัดราชบูรณะ ตั้งแต่เวลา 18.00 - 22.00 น. (ซื้อบัตรเข้าชมได้ถึงเวลา 21.00 น.) ค่าเข้าชม ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างชาติ 50 บาท ผู้พิการ และชาวไทยผู้มีอายุมากกว่า 60 ปี เข้าชมฟรี ทุกวันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ วันหยุดนักขัตฤกษ์ และเทศกาลสำคัญ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา โทร 0 3524 2286 ต่อ 101 E-mail Ayh_hispark@hotmail.com


นิทรรศการหมุนเวียน   "Object of the Month" วัตถุจากคลังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี   ประจำเดือน "ธันวาคม" เชิญพบกับ  "โถพร้อมฝา" (CELADON) ณ ห้องโถงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี


องค์ความรู้สุพรรณบุรี เรื่อง  พระเบญจภาคีแห่งเมืองสุพรรณ "พระผงสุพรรณ" ผู้เรียบเรียง : นางอภิญญานุช เผ่าพงษ์คล้าย บรรณารักษ์ชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ


สมพร  อยู่โพธิ์.  พระพุทธรูปปางต่าง ๆ.  กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2515.       รวบรวมความรู้เกี่ยวกับพระพุทธรูปปางต่าง ๆ จำนวน 56 ปาง ซึ่งสร้างขึ้นตามคติความเชื่อ และความรู้เรื่องพระพุทธประวัติ เนื่องจากพระพุทธรูปทุกปางจะสร้างขึ้นตามเหตุการณ์ต่าง ๆ ในพระพุทธประวัติ


๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗"ครบรอบ ๑๙๓ ปี ชาตกาล"พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯปี พ.ศ. ๒๓๗๔ - ๒๕๖๗เจ้าผู้ครองนครน่านองค์ที่ ๖๓ครองเมืองน่าน ปี พ.ศ. ๒๔๓๔ - ๒๔๖๑


พระพุทธรูปบุเงิน จีนซืนปางมารวิชัยขนาด หน้าตัก ๓ ซม. สูง ๘.๕ ซม. ย้ายมาจากวัดพระธาตุหริภุญชัยเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๘ ที่ฐานมีจารึกอักษรไทย ภาษาไทย ความว่า"จีนซืน นางคำแปง ๒๔๕๗"


#องค์ความรู้อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรพระบรมราชวินิจฉัยในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่องเมืองชากังราว..เมืองชากังราวปรากฏในหลักฐานชั้นต้นหรือปฐมภูมิ (primary source) ซึ่งเป็นหลักฐานที่ทำขึ้นร่วมสมัยกับเหตุการณ์นั้น ๆ คือ ศิลาจารึกเขาสุมนกูฏ (พ.ศ. ๑๙๑๑) และปรากฏในหลักฐานชั้นรองหรือทุติยภูมิ (secondary source) เป็นหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรที่ไม่ได้เกิดขึ้นร่วมสมัยกับเหตุการณ์นั้น ๆ ได้แก่ กฎหมายตราสามดวง (พ.ศ. ๑๘๙๙ รัชกาลพระเจ้าอู่ทอง) พระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ (พ.ศ. ๒๒๒๓) พระราชพงศาวดารฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) (พ.ศ. ๒๓๓๘) และพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา (พ.ศ. ๒๓๙๔ - ๒๔๑๑) ทั้งนี้ไม่ว่าจากเอกสารกฎหมายตราสามดวง ศิลาจารึกเขาสุมนกูฏ หรือพระราชพงศาวดารทั้งสามฉบับดังกล่าว ล้วนแต่ไม่สามารถระบุตำแหน่งที่ตั้งของเมืองชากังราวได้..พระบรมราชวินิจฉัยในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว.หนังสือเรื่อง “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๑ เป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งดำรงพระราชอิสริยยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จประพาสเมืองกำแพงเพชร ในปี พ.ศ. ๒๔๕๐ โดยใช้พระนามแฝงว่า “ราม วชิราวุธ” .พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระบรมราชวินิจฉัยเกี่ยวกับเมืองชากังราวไว้ในพระราชนิพนธ์เที่ยวเมืองพระร่วง ดังนี้.“...ข้าพเจ้าเชื่อตามความเห็นของท่านนักเลงโบราณคดีบางท่านว่าเมืองชากังราวที่กล่าวถึงในพงศาวดารกรุงเก่าเป็นหลายครั้งนั้นไม่ใช่อื่นไกล คือเมืองสวรรคโลกนั้นเอง พิเคราะห์ดูตามข้อความในพงศาวดาร ซึ่งมีอยู่ว่าสมเด็จพระบรมราชาธิราช (ขุนหลวงพ่องั่ว) ได้เสด็จขึ้นไปเอาเมืองชากังราวถึง ๓ ครั้ง คือจุลศักราช ๗๓๕ ปีฉลู เบญจศก เสด็จขึ้นไปเอาเมืองชากังราว พระยาชัยแก้ว พระยากำแหง เจ้าเมืองออกต่อรบ พระยาชัยแก้วตาย แต่พระยากำแหงและไพร่พลหนีเข้าเมืองได้ ทัพหลวงก็ยกกลับคืนพระนคร นี่เป็นครั้งที่ ๑ จุลศักราช ๗๓๘ ปีมะโรง อัฐศก เสด็จขึ้นไปเอาเมืองชากังราวได้ พระยากำแหงกับท้าวผากองคิดกันว่าจะยกตีทัพหลวงไม่สำเร็จเลิกหนีไป ทัพหลวงตีทัพผากองแตก ได้ท้าวพระยาเสนาขุนหมื่นครั้งนั้นมาก แล้วก็เลิกทัพหลวงกลับคืนพระนคร นี่เป็นครั้งที่ ๒ จุลศักราช ๗๔๐ ปีมะเมีย สัมฤทธิศก ไปเอาเมืองชากังราวอีกเป็นครั้งที่ ๓ ครั้งนั้นพระมหาธรรมราชาออกมาถวายบังคม ตรวจดูกับพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ ได้ความงอกออกไปอีกว่าขุนหลวงพงัวได้เสด็จไปเอาเมืองชากังราวอีกครั้ง ๑ เป็นครั้งที่ ๔ เมื่อจุลศักราช ๗๕๐ ปีมะโรง สัมฤทธิศก ครั้งนี้สมเด็จพระบรมราชาธิราช (ขุนหลวงพงัว) ทรงพระประชวรหนักต้องเสด็จกลับ ตามข้อความเหล่านี้พึงเข้าใจได้อยู่แล้วว่าเมืองชากังราวมิใช่เมืองเล็กน้อย เป็นเมืองสำคัญอันหนึ่ง แต่เมื่อก่อนได้พงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐมานั้น ไม่มีผู้ใดเดาได้เลยว่าเมืองชากังราวคือเมืองใดอยู่แห่งหนตำบลใด มาได้หนทางเดาในพงศาวดารฉบับที่กล่าวแล้วนั้น คือแห่งหนึ่งมีข้อความกล่าวไว้ว่า “ศักราช ๘๑๓ มะแมศก ครั้งนั้นมหาราชมาเอาเมืองชากังราวได้แล้วจึงมาเอาเมืองสุโขทัย เข้าปล้นเมืองมิได้ก็เลยยกทัพกลับคืน” ดังนี้จึงเป็นเครื่องนำให้สันนิษฐานว่าเมืองชากังราวนั้น คือเมืองสวรรคโลก เพราะปรากฏอยู่ว่ามหาราช (เมืองเชียงใหม่) ได้ชากังราวแล้วเลยไปเอาเมืองสุโขทัย ต้องเข้าใจว่าเป็นเมืองใกล้เคียงกัน ถ้าจะนึกถึงทางที่เดินก็ดูถูกต้องดี แต่เหตุไฉนจึงเรียกชื่อเมืองสวรรคโลกว่าชากังราว ข้อนี้แปลไม่ออก...”..เนื่องจากเนื้อความในพระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ ได้ปรากฏว่าศักราช ๗๕๐ ปีมะโรงสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ (ขุนหลวงพ่องั่วแห่งอยุธยา) ได้เสด็จไปเอาเมืองชากังราวเป็นครั้งที่ ๔ อนุมานว่าเมืองชากังราวเป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่ง และศักราช ๘๑๓ มะแมศก ครั้งนั้น มหาราช (พระเจ้าติโลกราชแห่งล้านนา) มาเอาเมืองชากังราวได้แล้วจึงมาเอาเมืองสุโขทัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงมีพระบรมราชวินิจฉัยว่าเมืองชากังราว คือ เมืองสวรรคโลก เพราะปรากฏอยู่ว่าพระเจ้าติโลกราชแห่งล้านนา ได้เมืองชากังราวแล้วเลยไปเอาเมืองสุโขทัย จึงสันนิษฐานว่าชากังราวน่าจะเป็นเมืองที่ใกล้เคียงกับเมืองสุโขทัย เพียงแต่ยังไม่สามารถระบุสาเหตุในการเรียกชื่อเมืองสวรรคโลกว่าชากังราวได้...เอกสารอ้างอิงกรรมการหอสมุดวชิรญาณ. (๒๔๕๐). พระราชพงษาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์. โรงพิมพ์ไทย.กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์. (๒๕๔๒). พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา เล่ม ๑ (พิมพ์ครั้งที่ ๙). กรมศิลปากร.พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น. (๒๕๕๙). ศรีปัญญา.ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร. (๒๕๕๙). โบราณคดีและประวัติศาสตร์ในประเทศไทยฉบับคู่มือครูสังคมศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ ๒). คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากรและองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) พื้นที่พิเศษเมืองโบราณอู่ทอง.มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. (๒๕๖๔). เที่ยวเมืองพระร่วง. ศรีปัญญา.สำนักหอสมุดแห่งชาติ. (๒๕๔๘). ประชุมจารึก ภาคที่ ๘ จารึกสุโขทัย. กรมศิลปากร.



รวบรวมและเรียบเรียง : ประวิทน์ ตันตลานุกุล, ครูภูมืปัญญาไทย (ด้านภาษาและวรรกรรม) ปีที่พิมพ์ : 2552สถานที่พิมพ์ : เชียงใหม่สำนักพิมพ์ : หจก.เชียงใหม่โรงพิมพ์แสงศิลป์      วัดสำคัญต่างๆ ในเมืองเชียงใหม่ล้วนแล้วแต่สถาปนาขึ้น โดยพระมหากษัตริย์แทบทั้งสิ้น วัดเหล่านั้นมีประวัติความเป็นมาน่าสนใจ ควรที่จะพิมพ์เผยแพร่ให้อนุชนได้ศึกาา และเป็นแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมล้านนาในวันอนุรักษ์มรดกไทย


การขึ้นทะเบียนโบราณสถานมีหลักเกณฑ์อย่างไร? ต้องการสืบค้นข้อมูลโบราณสถานที่ขึ้นทะเบียนแล้วได้ที่ไหน?   ตอบ    หลักเกณฑ์ในการขึ้นทะเบียนโบราณสถาน คือ โบราณสถานนั้นจะต้องมีคุณค่าในด้านประวัติศาสตร์ ศิลปะ และโบราณคดี เช่น เป็นสถานที่สำคัญในเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ เป็นอาคารที่มีลักษณะทางสถาปัตยกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ ฯลฯ  เจ้าหน้าที่กรมศิลปากรจะต้องออกไปสำรวจ เพื่อประเมินคุณค่าของโบราณสถาน หากโบราณสถานนั้นมีเจ้าของ จะต้องมีหนังสือแจ้งให้เจ้าของรับทราบและยินยอมก่อนประกาศขึ้นทะเบียน   การขึ้นทะเบียนโบราณสถาน ช่วยให้สามารถคุ้มครอง ควบคุม และดูแลรักษาโบราณสถานได้อย่างเต็มที่เพราะหากจะมีการดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งที่ทำให้สภาพของโบราณสถาน หรือพื้นที่ที่กำหนดเป็นเขตโบราณสถานต้องเปลี่ยนแปลงไป เช่น การปลูกสร้างอาคารใหม่ในพื้นที่ การซ่อมแซมหรือบูรณะอาคาร ฯลฯ จะต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมศิลปากร   สืบค้นข้อมูลรายชื่อโบราณสถานที่ขึ้นทะเบียนได้จาก กลุ่มทะเบียนโบราณสถานและสารสนเทศ โทร. ๐ ๒๒๘๒ ๔๘๐๑, ๐ ๒๒๘๒ ๔๘๔๖



เว็ปไซต์อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย: www.finearts.go.th/phimaihistoricalpark        ที่ตั้ง : อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย ตั้งอยู่ในเขตตำบลในเมือง อำเภอพิมาย  จังหวัดนครราชสีมา ไม่สุภาพงจากกรุงเทพมหานครไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ        รวมระยะทางทั้งสิ้น ประมาณ ๓๒๐ กิโลเมตร หรือบริเวณเส้นรุ้งที่ ๑๕ องศา ๑๓ ลิปดา ๒๕ ฟิลิปดาเหนือและเส้นแวงที่ ๑๐๒ องศา ๒๙ ลิปดา ๕๘ ฟิลิปดาตะวันออก หรือพิกัดกริด ๔๘ PTB๓๑๘๓๕ของแผนที่ทหาร ระวางที่ ๕๔๓๙II อำเภอโนนสูง และระวาง ๕๕๓๙III        บ้านพุทธา พิมพ์ครั้งที่ ๒-RTSD ลำดับชุด L๗๐๑๗ มาตราส่วน ๑:๕๐,๐๐๐ เมืองพิมายมีลักษณะเป็นเมืองโบราณขนาดใหญ่ มีผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดกว้าง ๕๖๕ เมตร ยาว ๑,๐๓๐ เมตร วางตัวในแนวทิศเหนือ - ใต้โดยมีแม่น้ำมูลไหลผ่าน ด้านทิศตะวันออกและทิศเหนือ ด้านทิศใต้มีลำน้ำเค็ม ด้านทิศตะวันตกมีลำน้ำจักราช ไหลไปบรรจบกับแม่น้ำมูลที่ท่าสงกรานต์ ื       กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานเมืองพิมายในราชกิจจานุเบกษา เล่่ม ๕๓ ตอนที่ ๓๔ วันที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๙


การประชุมคณะผู้บริหารกรมศิลปากร : เรื่องนโยบายและแนวทางในการบริหารงานของกรมศิลปากรประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558     เมื่อวันศุกร์ที่ 17 ตุลาคม 2557 อธิบดีกรมศิลปากร และคณะผู้บริหารกรมศิลปากร ร่วมประชุม : เรื่องนโยบายและแนวทางในการบริหารงานของกรมศิลปากร ประจำปีงบประมาณ 2558 ณ ห้องประชุมหอสมุดแห่งชาติ รัชมังคลาภิเษกกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี โดย : กลุ่มอำนวยการและประสานราชการ  สำนักบริหารกลาง