ค้นหา


รายการที่พบทั้งหมด 36,774 รายการ


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน) เลขที่ ชบ.บ.4/1-5 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


แผ่นดินเผารูปนรสิงห์ พบที่เมืองโบราณอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี จัดแสดง ณ ห้องอู่ทองศรีทวารวดี          แผ่นดินเผาทรงสี่เหลี่ยม มีเสาทรงกลมเป็นกรอบทั้งสองข้าง ตรงกลางมีรูปบุคคลมีศีรษะเป็นสิงห์ หรือ รูปนรสิงห์ มีแผงคอ ตาโปน จมูกใหญ่ แยกเขี้ยวยิงฟัน ส่วนลำตัวเป็นรูปบุคคลอยู่ในท่านั่งชันเข่าบนฐานสี่เหลี่ยม แยกขา มือทั้งสองข้างยกขึ้นระดับศีรษะในลักษณะแบก ไหล่กว้าง เอวคอดเล็ก มีกล้ามเนื้อ ด้านหลังแผ่นดินเผาแบนเรียบ เนื้อดินมีรอยแกลบข้าว ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของอิฐในวัฒนธรรมทวารวดี จากรูปแบบศิลปกรรมที่มีลักษณะแบบท้องถิ่นอันเป็นเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมทวารวดี ซึ่งคลี่คลายจากรูปแบบที่พบในศิลปะอินเดีย จึงกำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓ – ๑๕ (ประมาณ ๑,๑๐๐ – ๑,๓๐๐ ปีมาแล้ว)           ประติมากรรมรูปนรสิงห์นี้ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นเนื่องในคติเรื่องผู้พิทักษ์และผู้ค้ำจุนศาสนา เช่นเดียวกับประติมากรรมคนแคระแบก ซึ่งพบทั่วไปในเมืองโบราณภายใต้วัฒนธรรมทวารวดี ที่ได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะอินเดียเช่นเดียวกัน มักทำเป็นรูปบุคคลนั่งชันเข่า แยกขา แสดงท่าแบกโดยมีทั้งแบบที่ยกมือทั้งสองข้างขึ้นแบก และวางมือบนเข่าและใช้ไหล่แบกรับน้ำหนัก ส่วนมากมีศีรษะเป็นคน โดยพบที่มีศีรษะเป็นสัตว์ เช่น สิงห์ ลิง โค ไม่มากนัก นอกจากประติมากรรมลักษณะนี้จะใช้ประดับส่วนฐานของศาสนสถานแล้ว ยังพบว่าช่างทวารวดีใช้ประดับส่วนฐานของธรรมจักร อีกด้วย ประติมากรรมเหล่านี้ส่วนใหญ่ สร้างขึ้นโดยใช้แม่พิมพ์ขึ้นรูปแล้วนำไปเผา เนื่องจากสามารถผลิตประติมากรรมรูปแบบเดียวกันได้เป็นจำนวนมากในระยะเวลาอันสั้น เพื่อใช้ประดับโดยรอบฐานของศาสนสถาน           นอกจากที่เมืองโบราณอู่ทองแล้ว ยังพบประติมากรรมนรสิงห์ในท่าแบกที่เมืองโบราณในวัฒนธรรมทวารวดีแห่งอื่น เช่น ปูนปั้นรูปนรสิงห์จากเจดีย์จุลประโทน และรูปนรสิงห์ประดับฐานธรรมจักร พบที่เมืองนครปฐมโบราณ จัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์ ทั้งนี้รูปนรสิงห์ซึ่งพบที่เมืองนครปฐมโบราณ มีความแตกต่างจากรูปนรสิงห์ซึ่งพบที่เมืองโบราณอู่ทอง เนื่องจากรูปแบบที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะอินเดียเริ่มคลี่คลาย และช่างทวารวดีแต่ละกลุ่ม ได้สร้างประติมากรรมจากความคิดสร้างสรรค์ จนมีเอกลักษณ์เฉพาะของตน-----------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง-----------------------------------------------------เอกสารอ้างอิง ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะทวารวดี : วัฒนธรรมทางศาสนายุคแรกเริ่มในดินแดนไทย. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, ๒๕๖๒ วรพงศ์ อภินันทเวช. “ประติมากรรมคนแคระในวัฒนธรรมทวารวดี: รูปแบบและความหมาย”. วิทยานิพนธ์ ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร , ๒๕๕๕.


ฮดสรง/พิธีสรงพระมุรธาภิเษก เป็นการชำระล้างให้สะอาดและศักดิ์สิทธิ์ เพื่อแต่งตั้งให้เป็นใหญ่ เป็นความเชื่อตามคติพราหมณ์ จิตรกรรมฝาผนังเล่าเรื่องราวเวสสันดรชาดก แสดงพิธีสรงพระมุรธาภิเษกพระเวสสันดร เพื่อขึ้นครองราชสมสมบัติ ประเพณี"ฮดสรง"ในแถบดินแดนลุ่มแม่น้ำโขง เป็นประเพณีที่ถูกจัดขึ้นเพื่อแสดงสัญลักษณ์ในการเลื่อนสมณศักดิ์ของพระสงฆ์ จิตรกรรมฝาผนังอุโบสถวัดป่าเรไร บ้านหนองพอก ตำบลดงบัง อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคามพิธีสรงพระมุรธาภิเษก พระเวสสันดร เพื่อขึ้นครองราชสมบัติภาพชาวเมืองในขบวนเสด็จ"นครกัณฑ์"กัณฑ์ที่ ๑๓ ในเวสสันดรชาดก หลังจากพระเวสสันดรลาเพศบรรพชิตแล้ว พระองค์เสด็จกลับไปครองเมืองสีพี และปกครองบ้านเมืองด้วยทศพิทราชธรรม ทำให้ไพร่ฟ้าประชาชนมีความสงบสุขร่มเย็น และต่างก็หมั่นถือศีลบำเพ็ญกุศลตามสัตย์อธิฐานของพระองค์ผนังทิศตะวันตก เล่าเรื่องเวสสันดรชาดกอุโบสถด้านทิศตะวันตกและทิศใต้ เล่าเรื่องเวสสันดรชาดก




ข้าว (ตอนที่ ๔ : พัฒนาคุณภาพชีวิต)นอกจากการทดลองทำนาข้าวสำหรับเพาะปลูกในพื้นที่ราบแล้ว พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ยังทรงมีพระราชดำริให้ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับพันธุ์ข้าวที่ปลูกบนภูเขาและหุบเขา รวมถึงที่ดอน เนื่องจากในแต่ละพื้นที่นั้นมีสภาพที่แตกต่างกัน มีความต้องการน้ำที่แตกต่างกัน และพันธุ์ข้าวตามแนวพระราชดำริที่มีการศึกษาวิจัยในสภาพพื้นที่ต่าง ๆ ก็กลายมาเป็นข้าวที่ให้ผลผลิตสูง คุณภาพดี เหมาะสมกับสภาพดินฟ้าอากาศ ทำให้ชาวนามีรายได้สูงขึ้น มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นตามไปด้วย และยังส่งผลมาถึงชาวไทยทุกคน ที่จะมีข้าวดี มีคุณภาพ รสชาติอร่อย ไว้บริโภคอย่างต่อเนื่องเรื่อยไปในอนาคต#ข้าวพันธุ์พระราชทาน


--- วันพญาวัน --- “วันพญาวัน” วันที่สามของประเพณีปีใหม่เมือง ถือเป็นวันเถลิงศกเปลี่ยนศักราช เริ่มต้นปีใหม่ (ในปี 2564 นี้ วันพญาวันตรงกับวันที่ 16 เม.ย. ) . ในวันนี้มีการทำบุญทางศาสนาตั้งแต่เช้าตรู่และอุทิศส่วนบุญกุศลไปถึงญาติผู้ล่วงลับ หรือที่เรียกว่า “ทานขันข้าว ช่วงบ่ายเป็นการรดน้ำดำหัว เพื่อขอขมาคนเฒ่าคนแก่ พ่อแม่ ครูอาจารย์ ไปสรงน้ำ พระพุทธรูปเจดีย์ วันนี้คนล้านนาจะทัดดอกไม้นามปี เพื่อให้เกิดความเป็นมงคลแก่ชีวิต (ปี 2564 นี้ ดอกไม้นามปี คือ ดอกบุนนาค) . นอกจากนี้ วันนี้ยังเป็นวันที่นิยมเริ่มต้นเรียนศาสตร์ศิลป์ต่างๆ เช่น มนต์คาถา สักยันต์ หรือทำพิธีสืบชะตา ขึ้นบ้านใหม่ ไหว้ครู และในหลายพื้นที่ยังมีกิจกรรมแห่ไม้ค้ำศรี หรือไม้ค้ำโพธิ์ เพื่อสืบต่ออายุพระศาสนาและค้ำชูอุดหนุนให้แก่ชีวิตเจริญรุ่งเรือง  """""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""" พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ เปิดให้บริการทุกวันพุธ – วันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 09.00 - 16.00 น.  (หยุดทุกวันจันทร์ อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์)  e-mail : cm_museum@hotmail.com สอบถามเพิ่มเติมกรุณาติดต่อผ่านกล่องข้อความ หรือ โทรศัพท์ : 053-221308 For more information, please leave your message via inbox or call : +66 5322 1308+



มูลนิธิมหามกุฎราชวิทยาลัย จัดพิมพ์โดยเสด็จพระกุศลซึ่ง สมเด็จพระเจ้าภคีนีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพรรณวดี ทรงบำเพ็ญในวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ วัดบวรนิเวศวิหาร วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๑๐ ครบ ๔๒ ปี


          มหามกุฎราชสันตติวงศ์ ๑๒ พฤษภาคม ๒๔๓๒ วันประสูติสมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา           สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา มีพระนามเดิมว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าอัษฎางคเดชาวุธ เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ ๖๑ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ที่ประสูติแต่สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ประสูติเมื่อวันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๔๓๒ พระนามลำลองว่า "เอียดเล็ก" ชาววังออกพระนามว่า "ทูลกระหม่อมเอียดเล็ก"          พระองค์มีพระเชษฐภคินี พระเชษฐาและพระอนุชาร่วมพระบรมราชชนนี ๗ พระองค์ คือ                     - สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าพาหุรัตมณีมัย กรมพระเทพนารีรัตน์                    - พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว                    - สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าตรีเพ็ชรุตม์ธำรง                    - สมเด็จพระเชษฐาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ                    - สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์                    - สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราไชย                    - พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว          พุทธศักราช ๒๔๔๑ ทรงรับสถาปนาเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าอัษฎางคเดชาวุธ วิสิฐวิสุทธลักษณโสภณ อุบัตรดลกาลนิยม ประถมปริวัตรรัตนโกสินทร์ศก สะตะสาธกอัษโฎดดร สถาพรมงคลสมัย นราธิปไตยบรมนารถ จุฬาลงกรณ์ราชวโรรส อดุลยยศอุกฤษฐศักดิ อุภโตปักษวิสุทธิกษัตริย์ ขัตติยราชกุมาร กรมขุนนครราชสีห์มา ครั้นพุทธศักราช ๒๔๔๘ ได้เสด็จไปทรงศึกษาในประเทศอังกฤษ เสด็จกลับมารับราชการทหารบก           ในรัชกาลที่ ๖ เลื่อนเป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าอัษฎางคเดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา เมื่อพุทธศักราช ๒๔๕๙ เป็นนายพลตรี ราชองครักษ์ ตำแหน่งผู้บัญชาการกองพล เลื่อนเป็นนายพลเรือเอก ผู้สำเร็จราชการกระทรวงทหารเรือ เมื่อพุทธศักราช ๒๔๖๖          สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา เสด็จทิวงคตในรัชกาลที่ ๖ เมื่อวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๔๖๗ (นับแบบปัจจุบันเป็นพุทธศักราช ๒๔๖๘) สิริพระชันษา ๓๖ ปี ทรงได้รับการสถาปนาพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมาเมื่อทิวงคตแล้ว          สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา นับเป็นพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ที่สืบสายจากทั้งพระบรมชนกนาถและพระบรมราชชนนี   ภาพ : สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา


สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร ขอเชิญชวนร่วมรับฟังการเสวนาเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ในรูปแบบออนไลน์“Museum Streaming Talk” ผ่านช่องทาง Facebook : Office of National Museums, Thailandระหว่างวันที่ 19 – 21 กันยายน 2564 นี้ รับชมคลิปแนะนำกิจกรรม “Museum Streaming Talk” (Teaser)#ThailandMuseumExpo2021 #มหกรรมพิพิธภัณฑ์ไทย2564 #เสวนาเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ #MuseumStreamingTalk#สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ #OfficeofNationalMuseumsThailand #กรมศิลปากร------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------สอบถามข้อมูลและรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่Facebook Page : Office of National Museums, ThailandYouTube : Office of National Museums, Thailand