ค้นหา


รายการที่พบทั้งหมด 37,380 รายการ

อวิชฺชามาติกา (อวิชฺชามาติกา) ชบ.บ 111/1ง เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 158/3 เอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)


ชื่อผู้แต่ง         ทัศนีย์ พิกุล ,สุธน เจริญพงษ์ และนัฏฐภัทร จันทวิช ชื่อเรื่อง           ประวัติวัดมัชฌิมาวาสและนำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติมัชฌิมาวาส (ภัทรศิลสังวร) ครั้งที่พิมพ์       - สถานที่พิมพ์       กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์       อมรินทร์การพิมพ์ ปีที่พิมพ์          2525   จำนวนหน้า      89  หน้า         หมายเหตุ        พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระเทพวิสุทธิคุณ ( เลียม อลีนเถร)และพระราชศิลสังวร (ช่วง อตฺถเวที) รายละเอียด                  หนังสือที่ระลึกงานศพพระราชศีลสังวร (ช่วง อตฺถเวที ) อดีตเจ้าอาวาสวัดมัชฌิมาวาส ผู้รวบรวม โบราณวัตถุแถบ อ.สทิงพระและระโนด จ.สงขลา  และจัดสร้างเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ  เนื้อหาประกอบด้วยประวัติพระราชศีลสังวร  ประวัติวัดมัชฌิมาวาส ฌบราณวัตถุและโบราณสถานในวัดมัชฌิมาวาส


วันศิลปินแห่งชาติ ตรงกับวันที่ 24 กุมภาพันธ์ของทุกปี เนื่องจากตรงกับวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 แห่งราชวงศ์จักรี ผู้ทรงเป็นพระปฐมบรมศิลปินแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ด้วยทรงพระปรีชาสามารถในศิลปกรรมด้านต่างๆ หลายสาขา ไม่ว่าจะเป็นด้านกวีนิพนธ์ ด้านดนตรี และประติมากรรม และเพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ จึงถือเอาวันพระราชสมภพ (วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2310) เป็น "วันศิลปินแห่งชาติ" เอกอัครศิลปินที่ยิ่งใหญ่ ผู้มีพระอัจฉริยภาพในงานศิลปะหลายสาขาทั้งทางด้านประติมากรรม ได้ทรงร่วมกับช่างประติมากรรมฝีมือเยี่ยมในสมัยนั้นแกะสลักบานประตูไม้พระวิหารวัดสุทัศน์เทพวราราม เป็นลายเครือเถารูปป่าหิมพานต์นับเป็นงานฝีมือชั้นเยี่ยม (ปัจจุบันบานประตูนี้ เก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์) ด้านวรรณกรรม ถือว่าทรงเป็นกวีเอกแห่งแผ่นดินพระองค์หนึ่ง ทรงพระราชนิพนธ์วรรณกรรมไว้จำนวนมากมายหลายเรื่อง เช่น อิเหนา ซึ่งเป็นวรรณคดีที่ได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสร ในรัชกาลที่ 6 ว่าเป็นยอดของกลอนบทละครรำ นอกจากนี้ ยังทรงพระราชนิพนธ์บทละครนอกไว้ถึง 5 เรื่อง ได้แก่ ไกรทอง พระไชยเชษฐ์ คาวี สังข์ทอง และมณีพิชัย และด้วยพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ในด้านวรรณกรรม ทรงได้รับการยกย่องจากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกสาขาวรรณกรรม และเพื่อเป็นการยกย่องศิลปินผู้สร้างสรรค์ผลงาน ทางสำนักงานวัฒนธรรมแห่งชาติจึงได้มอบรางวัลให้แก่ ศิลปินที่มีผลงานดีเด่นในด้านต่าง ๆ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการยกย่องและเชิดชูเกียรติศิลปิน นายชวน หลีกภัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในขณะนั้น ได้มอบหมายให้ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ซึ่งในเวลานั้นสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ (ปัจจุบันหน่วยงานนี้คือ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม สังกัดกระทรวงวัฒนธรรม) จัดตั้ง "โครงการศิลปินแห่งชาติ" ใน พ.ศ. 2527 ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (กรมส่งเสริมวัฒนธรรม) ได้จัดทำโครงการศิลปินแห่งชาติ มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527 เพื่อสรรหา ส่งเสริม สนับสนุน และช่วยเหลือศิลปินผู้สร้างสรรค์ ผลงาน ศิลปะล้ำค่า อันทรงคุณค่าของแผ่นดิน ยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ โดยมีสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติเป็นผู้พิจารณา ความสำคัญของศิลปินแห่งชาติ ที่นับเป็นทรัพยากรบุคคลสำคัญทางด้านศิลปะ ที่ได้สืบสานงานศิลปะของชาติให้เชื่อมโยงจากอดีตมาสู่ปัจจุบัน เป็นการถ่ายทอดภูมิปัญญาของบรรพบุรุษในอดีต ให้มีความรุ่งโรจน์สืบไปยังอนาคตข้างหน้า ซึ่งนับตั้งแต่เริ่มโครงการ ศิลปินแห่งชาติ มาเมื่อปี พ.ศ. 2527 และประกาศผลการคัดเลือกศิลปินแห่งชาติในปีแรกเมื่อ พ.ศ. 2528 จนถึงปัจจุบัน มีศิลปินสาขาต่าง ๆ มาแล้วหลายคน ศิลปินแห่งชาติ สามารถถ่ายทอดภูมิปัญญาของบรรพบุรุษในอดีต ให้มีความรุ่งโรจน์สืบไปยังอนาคตข้างหน้า เป็นทรัพยากรบุคคลสำคัญทางด้านศิลปะ ที่ได้สืบสานงานศิลปะของชาติให้เชื่อมโยงจากอดีตมาสู่ปัจจุบัน ซึ่งนับตั้งแต่เริ่มโครงการ ศิลปินแห่งชาติ มาเมื่อปี พ.ศ.2527 และประกาศผลการคัดเลือกศิลปินแห่งชาติในปีแรกเมื่อ พ.ศ.2528 จนถึงปัจจุบัน ทางราชการยังจัดงานนิทรรศการเกี่ยวกับศิลปินแห่งชาติและศิลปะพื้นบ้านขึ้นทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในจังหวัดที่มีศิลปินแห่งชาติสังกัดอยู่                                   ความรู้สึกทั้งหมด 44      


เลขทะเบียน : นพ.บ.426/2ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 44 หน้า ; 5 x 57 ซ.ม. : ล่องชาด-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 153  (109-119) ผูก 2 (2566)หัวเรื่อง : พระธัมสังคิณี--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.566/7                               ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณ                                                                                หมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 46 หน้า ; 4.5 x 59 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 185  (340-346) ผูก 7 (2566)หัวเรื่อง : พระสังคิณี--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


          กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ขอเชิญชมนิทรรศการ Vision of Silpa Bhilasri : Immersive experience เปิดประสบการณ์รับรู้สุนทรียภาพแบบ Immersive Art ระหว่างวันที่ 6 – 28 พฤษภาคม 2566  ณ อาคารนิทรรศการ 6 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ถนนเจ้าฟ้า กรุงเทพฯ           นิทรรศการ Vision of Silpa Bhilasri : Immersive experience เป็นนิทรรศการต่อเนื่องของนิทรรศการ 100 ปี ศิลปสู่สยาม สุนทรียศิลปแห่งนวสมัย ซึ่งกรมศิลปากร โดยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จัดขึ้นเนื่องในวาระครบรอบ 100 ปี ที่ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ชาวอิตาเลียนพร้อมกับครอบครัวได้ย้ายมาพำนักในประเทศไทย นำเสนอในรูปแบบศิลปะดิจิทัล ผ่านภาพเคลื่อนไหว ด้วยแสงและเสียงประกอบ เพื่อให้ผู้ชมได้มีประสบการณ์ชมงานศิลปะในพิพิธภัณฑ์อีกรูปแบบหนึ่ง โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศุภชัย อารีรุ่งเรือง อาจารย์คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นผู้สร้างสรรค์งานศิลปะ Immersive Art ภายใต้โครงการวิจัย “งานศิลปะมรดกของชาติในกรุพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป สู่งานสร้างสรรค์ศิลปะดิจิทัล” ภายในห้องจัดแสดงนิทรรศการพิเศษ จะชวนให้ผู้ชมได้เห็นภาพเคลื่อนไหวจากการฉายสู่ผืนผ้าโปร่งแสงขนาดใหญ่ที่มีมิติซับซ้อน ส่งผลให้ภาพผลงานของ อ.ศิลป์ และลูกศิษย์ที่ผู้ชมคุ้นชินกลับกลายเป็นภาพที่มีมิติใหม่ ๆ ต่างออกไป ศิลปะดิจิทัลจึงทำหน้าที่ “เชื่อมความรู้สึกและการรับรู้ระหว่างผู้ชมรุ่นใหม่กับงานศิลปะอันทรงคุณค่า” ซึ่งแนวคิดหลักของการออกแบบนิทรรศการของ ศุภชัย อารีรุ่งเรือง คือความพยายามให้ผลงานศิลปกรรมทรงคุณค่าที่อยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ได้เผยแพร่ให้สังคมไทยและชาวต่างชาติได้เห็น เพราะผลงานศิลปะสมัยใหม่จนถึงร่วมสมัยในประเทศไทยที่อยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สามารถสะท้อนความคิดของศิลปินผู้สร้างไปสู่การสะท้อนประเด็นทางสังคมในแต่ละยุคสมัยได้            ผู้สนใจสามารถเข้าชมนิทรรศการ Vision of Silpa Bhilasri : Immersive experience ณ อาคารนิทรรศการ 6 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ตั้งแต่วันที่ 6 - 28 พฤษภาคม 2566 เวลา 09:00 – 16:00 น.  (ปิดวันจันทร์ - อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์) ค่าเข้าชม ชาวไทย 30 บาท ชาวต่างชาติ 200 บาท 


ชื่อเรื่อง                               กจฺจายนมูล (ศัพท์นาม - การก)สพ.บ.                                 429/ก/4ประเภทวัสดุ/มีเดีย            คัมภีร์ใบลาน หมวดหมู่                            พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                      56 หน้า : กว้าง 4.5 ซม.  ยาว 56 ซม.หัวเรื่อง                              พุทธศาสนา                                            คัมภีร์สัททาวิเสส                                            ศัพท์การกบทคัดย่อ/บันทึก                เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน ฉบับล่องชาด ไม่มีไม้ประกับ  ได้รับบริจาคมาจาก วัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


“วันพืชมงคล และวันเกษตรกร” วันสำคัญของเกษตรกรวันหนึ่ง คือวันพืชมงคล เพราะจะมีการประกอบพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ มีการเสี่ยงทายผ้านุ่งของพระยาแรกนาขวัญ และพระโคกินเลี้ยง เสี่ยงทายว่าในปีนั้นๆพืชผลจะอุดมสมบูรณ์ไหม น้ำจะเพียงพอไหม เป็นการเสริมสร้างขวัญและกำลังใจแก่เกษตรกร วันพืชมงคล เป็นวันที่กำหนดพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เป็นพระราชพิธี 2 พิธีรวมกัน คือ พระราชพิธีพืชมงคล อันเป็นพิธีสงฆ์ และพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ อันเป็นพิธีพราหมณ์ พระราชพิธีพืชมงคลนั้นประกอบ พระราชพิธีวันแรกในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม สำหรับพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญนั้นจะประกอบพระราชพิธีในวันรุ่งขึ้น ณ มณฑลท้องสนามหลวง พระราชพิธีนี้มีมาแต่โบราณครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี สืบต่อมาสมัยอยุธยา จนมาถึงกรุงรัตนโกสินทร์ สมัยรัชกาลที่ 1-3 มีแต่พิธีพราหมณ์ จนถึงสมัยรัชกาลที่ 4 ได้เริ่มประกอบพิธีสงฆ์ ซึ่งถือว่าพระราชพิธีพืชมงคลมีขึ้นตั้งแต่บัดนั้นมา โดยได้จัดรวมกันกับพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ และมีชื่อเรียกรวมกันว่า “พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ” พระราชพิธีนี้เป็นพิธีการเพื่อความเป็นสิริมงคลและบำรุงขวัญเกษตรกร กำหนดจัดขึ้นในเดือนหกของทุกปี และตั้งแต่ปี พ.ศ. 2509 เป็นต้นมาคณะรัฐมนตรีได้ลงมติให้วันพืชมงคลเป็น “วันเกษตรกร” ประจำปีอีกด้วย เพื่อให้ความสำคัญแก่ผู้ประกอบอาชีพเกษตรกร ในปี พ.ศ. 2566 นี้ วันพืชมงคล ตรงกับวันพุธที่ 17 พฤษภาคม ตรงกับวันแรม 13 ค่ำ เดือน 6 มีการจัด พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ณ พิธีมณฑลท้องสนามหลวง โดยกำหนดให้วันอังคารที่ 16 พฤษภาคม 2566 เป็นวันสวดมนต์การพระราชพิธีพืชมงคล ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในแต่ละปีได้มีการกำหนดว่า ผู้ทำหน้าที่พระยาแรกนา คือ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยในปี พ.ศ. 2566 นี้ นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทำหน้าที่พระยาแรกนา ส่วนพระโคที่ใช้ในการประกอบพระราชพิธีฯ นั้น ในปีนี้ กรมปศุสัตว์ได้ทำการคัดเลือกพระโค เพื่อใช้ในพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ 2 คู่ เป็นพระโคแรกนาขวัญ 1 คู่ คือ พระโคพอ มีความสูง 165 เซนติเมตร ความยาวลำตัว 225 เซนติเมตร ความสมบูรณ์รอบอก 214 เซนติเมตร อายุ 11 ปี พระโคเพียง มีความสูง 169 เซนติเมตร ความยาวลำตัว 238 เซนติเมตร ความสมบูรณ์รอบอก 209 เซนติเมตร อายุ 11 ปี พระโคสำรอง 1 คู่ คือ พระโคเพิ่มและพระโคพูล ซึ่งเป็นโคพันธุ์ขาวลำพูน มีสีผิวขาวอมชมพู ขนสีขาวสะอาด ทั้งลำตัวไม่มีจุดด่างดำหรือสีอื่นบนลำตัว เขามีสีขาว เป็นลำเทียน เขาทั้งสองข้างมีลักษณะโค้งสวยงาม ดวงตาแจ่มใสสีน้ำตาลอ่อน ขนตาสีชมพู บริเวณจมูกขาว กีบสีขาว ขนหางเป็นพวง สีขาวยาว ลำตัวช่วงขาหลังและกีบมีความสมบูรณ์แข็งแรง เวลายืนและเดินสง่า สำหรับการเสี่ยงทายในพระราชพิธีฯ จะมีการพยากรณ์ถึงความสมบูรณ์ของพืชพันธุ์ธัญญาหารของประเทศ ซึ่งแต่ละปีนั้น ประกอบด้วย 2 ช่วง คือ ช่วงแรก พระยาแรกนาจะตั้งสัตยาธิษฐานเสี่ยงทายผ้านุ่งแต่งกาย ซึ่งแต่ละผืนล้วนมีความหมายแตกต่างกันออกไป เป็นผ้าลายมีด้วยกัน 3 ผืน คือ 6 คืบ 5 คืบ และ 4 คืบ ผ้านุ่งนี้จะวางเรียงบนโตกมีผ้าคลุมเพื่อให้พระยาแรกนาหยิบ ถ้าหยิบได้ผืนใดนั้นจะมีคำทำนาย ไปตามนั้น คือ ถ้าหยิบได้ 4 คืบ พยากรณ์ว่า น้ำจะมากสักหน่อย นาในที่ดอนจะได้ผลบริบูรณ์ดี นาในที่ลุ่ม อาจจะเสียหายบ้างได้ผลไม่เต็มที่ ถ้าหยิบได้ 5 คืบ พยากรณ์ว่า น้ำในปีนี้จะมีปริมาณพอดี ข้าวกล้าในนา จะได้ผลบริบูรณ์ และผลาหาร มังสาหารจะอุดมสมบูรณ์ดี ถ้าหยิบได้ผ้า 6 คืบ พยากรณ์ว่า น้ำจะน้อย นาในที่ลุ่มจะได้ผลบริบูรณ์ดี แต่นาในที่ดอนจะเสียหายบ้าง ไม่ได้ผลเต็มที่ และอีกหนึ่งพิธีเสี่ยงทาย ที่ต้องลุ้นกันทุกปี คือ การเสี่ยงของกิน 7 สิ่งที่ตั้งเลี้ยงพระโค ได้แก่ ข้าวเปลือก ข้าวโพด ถั่วเขียว งา เหล้า น้ำ และหญ้า เมื่อพระโคกินของสิ่งใดโหรหลวงจะถวายคำพยากรณ์ ดังนี้ ถ้าพระโคกิน ข้าว หรือ ข้าวโพด พยากรณ์ว่า ธัญญาหาร ผลาหาร จะบริบูรณ์ดี ถ้าพระโคกิน ถั่ว หรือ งา พยากรณ์ว่า ผลาหาร ภักษาหารจะอุดมสมบูรณ์ดี ถ้าพระโคกิน น้ำ หรือ หญ้า พยากรณ์ว่า น้ำท่าจะบริบูรณ์พอสมควร ธัญญาหารผลาหาร ภักษาหาร มังสาหารจะอุดมสมบูรณ์ดี และถ้าพระโคกิน เหล้า พยากรณ์ว่า การคมนาคมสะดวกขึ้น การค้าขายกับต่างประเทศดีขึ้นทำให้เศรษฐกิจรุ่งเรือง    


          พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ขอเชิญชมนิทรรศการ "อิสระ สดชื่น ศรัทธา" การแสดงผลงานของคณาจารย์สาขาจิตรกรรม ภาควิชาวิจิตรศิลป์ วิทยาลัยเพาะช่าง เปิดให้เข้าชมระหว่างวันที่ 1 - 30 กรกฎาคม 2566 เวลา 09.00 - 16.00 น. ทุกวันพุธ - อาทิตย์  (ปิดให้บริการวันจันทร์ - อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์) ณ อาคารนิทรรศการ 6  พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ถนนเจ้าฟ้า เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร โดยจะมีพิธีเปิดนิทรรศการในวันพุธที่ 5 กรกฎาคม 2566 เวลา 16.30 น. เป็นต้นไป




           อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ขอมอบความสุขให้ทุกท่านในช่วงปลายปี ต้อนรับเดือน "ธันวาคม" ด้วยการขยายเวลาให้เข้าชม "วัดไชยวัฒนาราม" และ "วัดราชบูรณะ" ในยามค่ำคืน (เพิ่มเติม)      - ช่วงวันพ่อแห่งชาติ เปิดให้เข้าชมตั้งแต่วันที่ 1 - 5 ธันวาคม 2566           - ช่วงวันรัฐธรรมนูญ เปิดให้เข้าชมตั้งแต่วันที่ 8 - 11 ธันวาคม 2566           - ช่วงเทศกาลมรดกโลก เปิดให้เข้าชมตั้งแต่ 15 - 24 ธันวาคม 2566           ทั้งนี้ กรมศิลปากร โดยอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ได้เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมโบราณสถานในยามค่ำคืน ณ วัดไชยวัฒนาราม และ วัดราชบูรณะ ตั้งแต่เวลา 18.00 - 22.00 น. (ซื้อบัตรเข้าชมได้ถึงเวลา 21.00 น.) ค่าเข้าชม ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างชาติ 50 บาท ผู้พิการ และชาวไทยผู้มีอายุมากกว่า 60 ปี เข้าชมฟรี ทุกวันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ วันหยุดนักขัตฤกษ์ และเทศกาลสำคัญ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา โทร 0 3524 2286 ต่อ 101 E-mail Ayh_hispark@hotmail.com


นิทรรศการหมุนเวียน   "Object of the Month" วัตถุจากคลังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี   ประจำเดือน "ธันวาคม" เชิญพบกับ  "โถพร้อมฝา" (CELADON) ณ ห้องโถงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี


องค์ความรู้สุพรรณบุรี เรื่อง  พระเบญจภาคีแห่งเมืองสุพรรณ "พระผงสุพรรณ" ผู้เรียบเรียง : นางอภิญญานุช เผ่าพงษ์คล้าย บรรณารักษ์ชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ


สมพร  อยู่โพธิ์.  พระพุทธรูปปางต่าง ๆ.  กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2515.       รวบรวมความรู้เกี่ยวกับพระพุทธรูปปางต่าง ๆ จำนวน 56 ปาง ซึ่งสร้างขึ้นตามคติความเชื่อ และความรู้เรื่องพระพุทธประวัติ เนื่องจากพระพุทธรูปทุกปางจะสร้างขึ้นตามเหตุการณ์ต่าง ๆ ในพระพุทธประวัติ