ค้นหา


รายการที่พบทั้งหมด 37,379 รายการ

          วันพุธที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๔ เวลา ๑๐.๐๐ น. นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ อธิบดีกรมศิลปากร เป็นประธานในพิธีบำเพ็ญกุศลเนื่องในวันคล้ายวันสวรรคตสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท โดยมีนายพนมบุตร จันทรโชติ รองอธิบดีกรมศิลปากร พร้อมด้วยผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่กรมศิลปากร ร่วมในพิธี ณ พระที่นั่ง พุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร           สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท มีพระนามเดิมว่า บุญมา ทรงเป็นพระอนุชาของพระบาท สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ แห่งราชวงศ์จักรี ทรงดำรงตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) พระองค์แรกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ประทับ ณ พระราชวังบวรสถานมงคล ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของพระบรมมหาราชวัง ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคตของสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ชาวไทยทุกคนต่างล้วนสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น ที่พระองค์ทรงทุ่มเทประกอบพระราชกรณียกิจด้านต่าง ๆ ด้วยพระวิริยะอุตสาหะ และพระปรีชาสามารถเป็นอเนกประการในการรวบรวมบ้านเมืองให้เป็นปึกแผ่นสืบมาจนถึงทุกวันนี้


      พบบริเวณเมืองโบราณอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี       จัดแสดงห้องอู่ทองศรีทวารวดี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง      ประติมากรรมดินเผารูปช้าง ขนาดกว้าง ๙ เซนติเมตร สูง ๗ เซนติเมตร ช้างมีหน้าผากกว้าง ใบหูลู่ลง งวงยาวม้วนงอ งาทั้งสองข้างหักหายไป ส่วนหลังโค้ง หางยาวจรดพื้น ช้างอยู่ในท่าหมอบ ขาหน้าและขาหลังย่อลง ส่วนฐานทรงกลมตกแต่งเป็นรอยขีดลงบนรูปทรงฐานแบบบัวคว่ำบัวหงาย ระหว่างขาหน้าและขาหลังทั้งสองด้านเจาะรูกลมทะลุถึงกัน อาจใช้สำหรับร้อยเชือก ประติมากรรมรูปช้างชิ้นนี้แสดงลักษณะทางกายวิภาคและท่าทางที่ค่อนข้างสมจริงตามธรรมชาติ      ช้างเป็นสัตว์มงคลที่มีความเกี่ยวข้องกับความเชื่อในศาสนาพุทธและพราหมณ์ – ฮินดู ทั้งยังเป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์ เพราะมีผิวกายสีเทาเหมือนเมฆฝน จึงเกี่ยวข้องกับความเชื่อเรื่องน้ำ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้พืชพันธุ์เจริญงอกงาม ประติมากรรมรูปช้างพบมาแล้วตั้งแต่สมัยอินเดียโบราณโดยประกอบอยู่กับประติมากรรมรูปคชลักษมี ประดับที่ประตูและรั้วล้อมรอบศาสนสถาน ในงานศิลปกรรมสมัยทวารวดีพบประติมากรรมรูปช้างจำนวนมาก ทั้งประติมากรรมปูนปั้นประดับ     ฐานศาสนสถาน ตราดินเผา ลวดลายประทับบนชิ้นส่วนภาชนะดินเผา และยังพบประกอบอยู่กับประติมากรรมรูปคชลักษมีด้วย       นอกจากประติมากรรมดินเผารูปช้างชิ้นนี้แล้ว ที่เมืองโบราณอู่ทองยังพบประติมากรรมรูปสัตว์อื่น ๆ เช่น สิงห์ เต่า รวมถึงประติมากรรมรูปบุคคลในอิริยาบถต่าง ๆ ประติมากรรมรูปคชลักษมีและราชยลักษมี ซึ่งมีฐานบัวคว่ำบัวหงายรองรับ และมีการเจาะรูกลมทะลุถึงกัน บางชิ้นมีส่วนเดือยทรงกระบอกกลมรองรับส่วนฐานบัวอีกชั้นด้วย สันนิษฐานว่าส่วนเดือยใต้ฐานประติมากรรมเหล่านี้ทำหน้าที่เป็นจุกภาชนะ และประติมากรรมดินเผาเหล่านี้ประดับอยู่บนจุกดินเผา ซึ่งใช้อุดปากภาชนะประเภทปากแคบหรือขวดที่มีความสำคัญ อาจใช้สำหรับบรรจุของที่ใช้ในพิธีกรรมที่มีความเกี่ยวข้องกับศาสนา ความเชื่อ หรืออาจเป็นเครื่องใช้ของบุคคลชั้นสูงก็เป็นได้ กำหนดอายุสมัยทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๔ หรือประมาณ ๑,๔๐๐ – ๑,๒๐๐ ปีมาแล้ว   เอกสารอ้างอิง กรมศิลปากร. โบราณคดีเมืองอู่ทอง. นนทบุรี : สหมิตรพริ้นติ้ง, ๒๕๔๕. เชษฐ์ ติงสัญชลี. ประวัติศาสตร์ศิลปะอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. นนทบุรี : มิวเซียมเพรส, ๒๕๕๘. ดวงกมล  อนันต์วัชรกุล. “คติความเชื่อเรื่องสัตว์ที่ปรากฏในวัฒนธรรมทวารวดี”. เอกสารการศึกษาเฉพาะบุคคลภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๔. ผาสุข อินทราวุธ. ดรรชนีภาชนะดินเผาสมัยทวารวดี. กรุงเทพฯ : ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี  มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ, ๒๕๒๘.



ชื่อเรื่อง                                เทวทูตสุตฺต (เทวทูตสูตร) สพ.บ.                                  277/1ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           52 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 57 ซม.หัวเรื่อง                                 พระสูตร                                           พระไตรปิฎก                                           พระยายม บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจากวัดบ้านหมี่ ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


          ในปีพุทธศักราช ๒๕๖๓ กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๔ ลพบุรี ได้ดำเนินการโครงการศึกษาพัฒนาการของชุมชนและขุดค้นแหล่งโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์ในเขตลุ่มน้ำป่าสัก (ส่วนที่ 3) จังหวัดเพชรบูรณ์ เพื่อศึกษาข้อมูลหลักฐานทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ในเขตลุ่มน้ำป่าสัก ประกอบการอธิบายพัฒนาการทางสังคมในยุคก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายจนถึงสมัยทวารวดี เพื่อสนับสนุนข้อมูลการจัดทำเอกสารนำเสนอเมืองโบราณศรีเทพเข้าสู่บัญชีรายชื่อมรดกโลก           ผลจากการขุดค้นแหล่งโบราณคดีลำสระหัว อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน ๒ หลุม ขนาด ๔x๔ เมตร ในหลุมขุดค้นที่ ๑ พบหลุมฝังศพซ้อนทับกันหลายชั้น จำนวน ๑๗ หลุมฝังศพ ลักษณะการฝังศพเป็นแบบนอนหงายเหยียดยาว ส่วนใหญ่หันศีรษะไปทางทิศเหนือหรือตะวันออกเฉียงเหนือ หลักฐานของอุทิศที่พบร่วม ได้แก่ ภาชนะดินเผาแบบทรงพาน เครื่องมือเหล็ก ลูกกระพรวนสำริด และลูกปัดแก้ว ผลการกำหนดอายุด้วยวิธี AMS จากตัวอย่างถ่านในระดับที่ ๘ (๑๐๐-๑๑๐ cm.dt) ได้ค่าอายุ ๓,๑๖๘ – ๒,๙๗๕ ปีมาแล้ว หรือ ๑,๒๑๙ - ๑๐๒๖ ปีก่อนคริสตกาล ส่วนหลุมขุดค้นที่ ๒ พบหลุมฝังศพ จำนวน ๖ หลุมฝังศพ หลักฐานที่พบร่วม ได้แก่ ภาชนะดินเผาทรงหม้อก้นกลม ภาชนะ ดินเผาทรงหม้อมีเชิง กำไลสำริด ลูกปัดหิน ลูกแก้ว เครื่องมือเหล็กแบบจงอยปากนก และเครื่องมือเหล็กแบบสิ่ว ผลการกำหนดอายุจากตัวอย่างถ่านในระดับ ๑๐๘ cm.dt ได้ค่าอายุ ๒,๗๘๐ - ๒๗๒๔ ปีมาแล้ว หรือ ๘๓๑ - ๗๗๕ ปีก่อนคริสตกาล สรุปผลเบื้องต้นได้ว่า แหล่งโบราณคดีลำสระหัวเป็นที่อยู่อาศัยและที่ประกอบพิธีกรรมฝังศพของมนุษย์ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ สมัยเหล็ก (ราว ๓,๑๐๐ -๒,๗๐๐ ปีมาแล้ว)            เพื่อศึกษาความสืบเนื่องสัมพันธ์กับชุมชนก่อนประวัติศาสตร์ในเมืองโบราณศรีเทพ และพัฒนาการของการสร้างคูน้ำ-คันดินกำแพงเมืองระหว่างเมืองนอกและเมืองใน กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๔ ลพบุรี ได้กำหนดแผนการดำเนินงานโครงการศึกษาพัฒนาการของชุมชน และขุดค้นแหล่งโบราณคดียุคก่อน ประวัติศาสตร์ในเขตลุ่มน้ำป่าสัก (ส่วนที่ 3) ระยะที่ ๒ เพื่อดำเนินการสำรวจและขุดค้นทางโบราณคดีต่อไป ----------------------------------------------------------ข้อมูลโดย : กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๔ ลพบุรี


ข้อง       เครื่องจักสานชนิดหนึ่ง สานด้วยไม้ไผ่ มีลักษณะปากแคบคล้ายคอหม้อดิน มีฝาปิดเปิดคือ ฝาข้อง ทำจากกะลามะพร้าว แล้วสานด้วยไม้ไผ่ทำเป็นรูปกรวย ปลายกรวยแหลมปล่อยเป็นซี่ไม้ไว้เรียกว่า งาแซง ข้อง ใช้สำหรับใส่สัตว์น้ำ เช่น กุ้ง หอย ปู ปลา ข้องมีหลายลักษณะ เช่น       ข้องยืน ลักษณะคล้ายโอ่งน้ำหรือทรงกระบอก ก้นข้องสานเป็นรูปสี่เหลี่ยม ตัวข้องกลมป่องตรงกลาง แล้วบานออกที่ปากคล้ายปากแตร       ข้องนอนหรือข้องเป็ด รูปทรงเป็นแนวนอน ตัวข้องรูปร่างคล้ายตัวเป็ด ปลายปากข้องหงายขึ้นด้านบน มักไม่ค่อยสะพายติดตัวขณะหาปลา แต่มักใช้วางไว้ในเรือ หรือริมตลิ่ง เป็นต้น       ข้องลอย ใช้ลอยน้ำในการจับปลา มักใช้ข้องยืมหรือข้องนอนมัดตืดลูกบวบ ทำด้วยกระบอกไม้ไผ่สองท่อน มัดขนาบกันให้ลอยน้ำได้ แล้วผูกเชือกมัดติดเอวภาพ : พิพิธภัณฑ์ชุมชนวัดเกตการามอ้างอิง : สนม ครุฑเมือง.๒๕๓๔.สารานุกรมของใช้พื้นบ้านไทยในอดีต.กรุงเทพฯ : บริษัท ต้นอ้อ จำกัด


ชื่อเรื่อง                                สุธนู (สุทธนู) สพ.บ.                                  302/1ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           46 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 57 ซม.หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจาก วัดบ้านหมี่ ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


ติโลกนยวินิจฺฉย (ไตรโลกนยฺยวินิจฺฉย)  ชบ.บ.95ข/1-20  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


เลขทะเบียน : นพ.บ.305/5ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 18 หน้า ; 4 x 54 ซ.ม. : ทองทึบ-ชาดทึบ ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 124  (287-301) ผูก 5 (2565)หัวเรื่อง : สตฺตปฺปกรณาภิรมฺม (อภิธัมมสังคิณี-พระมาหาปัฏฐาน)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม



 "ซุ้มประตูป่า". ซุ้มประตูป่า หมายถึง ปากทางที่จะเข้าสู่ป่า ซึ่งมักจะปรากฏอยู่เป็นเสา ตั้งอยู่ที่ชายหมู่บ้าน ขนาบทางเดินที่จะเข้าป่า ซึ่งมักจะเป็นส่วนประดับอยู่ระหว่างเสาทั้งคู่ ใช้เป็นบริเวณที่ประกอบพิธีกรรมสำหรับหมู่บ้าน. ชาวล้านนาจะเตรียมจัดตกแต่งประตูบ้านและประตูวัด ด้วยซุ้มประตูป่า โดยการนำต้นกล้วย ใบมะพร้าว ต้นอ้อย โคมหูกระต่าย โคมเงี้ยวหรือโคมชนิดอื่นๆ ดอกไม้ต่างๆ ตกแต่งเป็นซุ้มประตูป่าอย่างงดงาม เพื่อเป็นเครื่องสักการะถวายการต้อนรับพระเวสสันดรในวันยี่เป็ง ครั้งเสด็จออกจากป่าเข้าสู่เมือง ซึ่งปรากฏในเวสสันดรชาดก อันเป็นชาติสุดท้ายของพระโพธิสัตว์ก่อนจะประสูติเป็นพระพุทธเจ้า และเชื่อกันว่าถ้าใครตกแต่งซุ้มประตูป่าได้งดงาม อาจทำให้พระเวสสันดรเสด็จหลงเข้ามาในซุ้มประตูป่าที่จำลองเป็นป่าหิมพานต์ภายในบ้านของของเรา จะทำให้ได้อานิสงส์อย่างมาก. การสร้างซุ้มประตูป่า นอกจากมีคติความเชื่อ ในเรื่องการต้อนรับการเสด็จกลับจากป่าของพระเวสสันดรแล้ว ยังเป็นซุ้มที่ใช้จุดผางประทีป เพื่อบูชาพระเจ้าห้าพระองค์ โดยจุดไว้ในโคมหูกระต่าย อีกทั้งยังมีโคมชนิดอื่นๆ ที่ใช้ในการประดับตกแต่งอีกด้วย""""""""""""""""""""""""""""""". เอกสารอ้างอิงมณี พยอมยงค์. (๒๕๔๗). ประเพณีสิบสองเดือนล้านนาไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 5 ฉบับปรับปรุงเพิ่มเติม). เชียงใหม่ : ส.ทรัพย์การพิมพ์.ศรีเลา เกษพรหม. (๒๕๔๒). ล่องสะเพา. ใน สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ (เล่ม ๑๑, หน้า ๕๘๕๐-๕๘๕๐). กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.สงวน โชติสุขรัตน์. (๒๕๑๑). ประเพณีไทย ภาคเหนือ. เชียงใหม่: สงวนการพิมพ์.. ภาพถ่าย โดย คุณกานต์ธีรา ไชยนวล"""""""""""""""""""""พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่เปิดให้บริการทุกวันพุธ – วันอาทิตย์ (หยุดทุกวันจันทร์ อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์) ตั้งแต่เวลา 09.00 - 16.00 น.e-mail: cm_museum@hotmail.comสอบถามเพิ่มเติมกรุณาติดต่อผ่านกล่องข้อความ หรือ โทรศัพท์ : 053-221308For more information, please leave your message via inbox or call: +66 5322 1308+


องค์ความรู้ทางวิชาการ เรื่อง พระธาตุนารายณ์เจงเวง ค้นคว้าและเรียบเรียง : นายดุสิต ทุมมากรณ์ ผู้อำนวยการกลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๘ ขอนแก่น




ชื่อเรื่อง                                     มหานิปาต (เวสฺสนฺตรชาตก) ชาตกปาลิ ขุทฺทกนิกาย (คาถาพัน)สพ.บ.                                       419/2หมวดหมู่                                  พระพุทธศาสนาภาษา                                       บาลี-ไทยอีสานหัวเรื่อง                                    พระพุทธศาสนา                                               ชาตกประเภทวัสดุ/มีเดีย                    คัมภีร์ใบลานลักษณะวัดุ                               80 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 55 ซม.บทคัดย่อ/บันทึก              เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม-ธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ-ลานดิบ ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


      50Royalinmemory ๓๐ พฤษภาคม ๒๔๒๓ (๑๔๒ ปีก่อน) - วันประสูติพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรพัทธ์ประไพ [พระเจ้าวรวงศ์เธอ ชั้น ๔ พระองค์เจ้าชั้นโท]        พระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงศ์ กับหม่อมราชวงศ์สว่าง จักรพันธุ์ (พระนามเดิม : หม่อมเจ้าอรพัทธ์ประไพ จักรพันธุ์) ดำรงพระอิสริยยศ “พระเจ้าวรวงศ์เธอฯ” เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๓ สิ้นพระชนม์วันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๔๗๓ พระชันษา ๕๐ ปี (ดูเพิ่มเติมใน กรมศิลปากร, ราชสกุลวงศ์, พิมพ์ครั้งที่ ๑๔, (กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, ๒๕๕๔), ๑๕๘.)       Cigarette Cards ชุดเจ้านายไทย (๑ สำรับ ประกอบด้วย พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ พระฉายาสาทิสลักษณ์ และรูปเขียนคล้ายพระรูปพระบรมวงศานุวงศ์บนแผ่นกระดาษ จำนวน ๕๐ รูป) ลำดับที่ ๔๒ โดยบริษัท ยาสูบซำมุ้ย จำกัด (SUMMUYE & CO) ผลิตราวปี พ.ศ. ๒๔๗๗ (หมายเลขทะเบียน ๒/๒๕๑๖/๑) มีประวัติระบุว่า คุณหลวงฉมาชำนิเขต มอบให้เมื่อวันที่ ๙ มกราคม ๒๕๑๖     (เผยแพร่โดย ศรัญ กลิ่นสุคนธ์ ภัณฑารักษ์ / เทคนิคภาพ อริย์ธัช นกงาม ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ กลุ่มทะเบียน คลังพิพิธภัณฑ์และสารสนเทศ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร)