ค้นหา


รายการที่พบทั้งหมด 37,616 รายการ

ยงยุทธ วรรณโกวิท. พลอย อัญมณี งานศิลปกรรมประดิษฐ์ ที่ใช้ในการตกแต่งปลียอดทองคำพระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราช วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช               ระหว่าง พ.ศ. 2537 - 2538. กรุงเทพฯ : ดอกเบี้ย, 2562.             พลอย อัญมณี งานศิลปกรรมประดิษฐ์ ที่ใช้ในการประดับตกแต่งปลียอดทองคำพระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราช นี้ ให้รายละเอียดเกี่ยวกับในการบูรณปฏิสังขรณ์ปลียอดทองคำพระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราช วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ระหว่าง พ.ศ. 2537 - 2538 ปรัชญาความเชื่อ ความเป็นมาเกี่ยวกับการประดับตกแต่งปลียอดทองคำพระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราช พลอย อัญมณี งานศิลปกรรมประดิษฐ์ บนปลียอดทองคำพระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราช ก่อนการบูรณปฏิสังขรณ์ การประดับตกแต่งพลอย อัญมณี งานศิลปกรรมประดิษฐ์ บนปลียอดทองคำพระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราช การบูรณะงานศิลปกรรมประดิษฐ์ กระเปาะพลอย พลอย อัญมณีในส่วนของชั้นแถวพลอย 31 ชั้น การบูรณะงานศิลปกรรมประดิษฐ์ กระเปาะพลอยและพลอยในส่วนพุ่มข้าวบิณฑ์ และตำแหน่ง จำนวนศิลปกรรมประดิษฐ์ กระเปาะพลอย พลอย การจัดเรียง สี ขนาด การเจียระไน ระยะห่าง จำนวนพลอยเก่า ใหม่ ภาพลายเส้นลักษณะงานศิลปกรรมประดิษฐ์ กระเปาะพลอย พลอย ที่นำขึ้นประดับตกแต่งบนพื้นผิวแผ่นทองคำที่หุ้มปลียอดทองคำพระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราช



เมื่อวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๒ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงขับรถยนต์พระที่นั่ง เสด็จพระราชดำเนินจากพระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ ไปสวนป่าโครงการหลวงพัฒนาภาคเหนือ แม่ทาเหนือ โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยโก๋น อำเภอสันกำแพงจังหวัดเชียงใหม่ และหน่วยก่อสร้างทางมาตรฐานของสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน ครั้นเสด็จพระราชดำเนินถึงสวนป่าโครงการหลวงพัฒนาภาคเหนือ แม่ทาเหนือ (สวนป่าสันกำแพง) ตำบลทาเหนือ อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ส่วนหนึ่งของพื้นที่ดังกล่าวกรมป่าไม้ร่วมกับกรมพัฒนาที่ดินได้จัดสรรให้เป็นพื้นที่เพาะปลูกสำหรับราษฎรที่ยากจนและขาดแคลนที่ดินทำกิน กรมทางหลวงและสำนักงานเร่งรัดและพัฒนาชนบทปรับปรุงเส้นทางคมนาคม และกรมชลประทานก่อสร้างอ่างเก็บน้ำสำหรับใช้ในแปลงเพาะปลูก ตลอดจนเพื่ออุปโภคบริโภค ต่อจากนั้น ทรงพระดำเนินไปยังแปลงเพาะชำ เพื่อทอดพระเนตรการเตรียมกล้าไม้โตเร็ว เช่น กระถินณรงค์ โดยใช้แท่งเพาะชำสำหรับใช้ในการปลูกสวนป่า ซึ่งมีโครงการจะปลกปีละ ๑,๐๐๐ ไร่ และโดยที่เป็นพันธุ์ไม้โตเร็ว จึงจะสามารถตัดฟันมาใช้ได้ภายในระยะเวลา ๑๐ ปี ในการนี้ ได้ทอดพระเนตรเตาเผาถ่านที่สามารถได้ปริมาณถ่านเป็นจำนวน ๓ เท่า ของเตาเผาถ่านธรรมดา โดยใช้ไม้เท่ากัน และใช้เวลาเผาเพียง ๔๘ ชั่วโมงเท่านั้น (รหัสเอกสาร : ฉ/ร/๘๑๑) เรียบเรียง : วีระยุทธ ไตรสูงเนิน นักจดหมายเหตุชำนาญการ ภาพ : หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ฯ ร.๙


          โบราณสถานปราสาทบ้านพลวง ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านพลวง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ ปราสาทบ้านพลวงเป็นปราสาทก่อด้วยหินทราย ซึ่งเหลือแต่เพียงเรือนธาตุ ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ล้อมรอบด้วยคูน้ำรูปตัวยู (U) เว้นทางเข้าด้านทิศตะวันออก ถัดไปทางด้านทิศตะวันออก ประมาณ 100 เมตร มีบารายขนาดใหญ่ ลักษณะทางสถาปัตยกรรมของปราสาทบ้านพลวง มีลักษณะคล้ายกับปรางค์น้อย ของปราสาทพนมรุ้ง และปราสาทเขาปลายบัด 1 จังหวัดบุรีรัมย์ จากการกำหนดอายุปราสาทบ้านพลวง กำหนดให้มีอายุอยู่ในช่วง ครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ 16 – ต้นพุทธศตวรรษที่ 17 โดยกำหนดอายุจากรูปแบบศิลปกรรมที่พบ ซึ่งตรงกับศิลปะเขมรแบบบาปวน          ภาพสลักหน้าบัน ด้านทิศตะวันออก ของปราสาทประธาน ซึ่ง สลักภาพเล่าเรื่อง กฤษณาวตาร ตอน พระกฤษณะยกเขาโควรรธนะ ประทับยืนเหนือหน้ากาลคายท่อนพวงมาลัย กรอบซุ้มหน้าบันสลักเป็นลำตัวนาค 2 ตัว หันหลังชนกัน โดยเศียรนาคอยู่ที่มุมล่างซ้ายเเละขวา เเละปลายหางนาคอยู่ที่ส่วนยอด         พระกฤษณะ เป็น อวตารที่ 8 ของ พระนารายณ์ ซึ่งรู้จักกันทั่วไปว่า “กฤษณาวตาร” และเป็นบุคคลสำคัญของเรื่อง มหาภารตะ ภาพสลักในตอนนี้ เป็นเหตุการณ์ตอนวัยรุ่น ซึ่งพระกฤษณะพยายามโน้มน้าวให้คนเลี้ยงโค เลิกบวงสรวงบูชาพระอินทร์ เเละให้ไปบูชาภูเขาโควรรธนะแทน ทำให้พระอินทร์โกรธและ บันดาลให้เกิดพายุฝนตกหนักตลอดทั้ง 7 วัน 7 คืน เพื่อเป็นการลงโทษ แต่พระกฤษณะใช้นิ้วยกภูเขาโควรรธนะขึ้น เพื่อกำบังฝูงคนเลี้ยงโคเอาไว้ ตลอด 7 วัน 7 คืน กระทั่งท้ายที่สุด พระอินทร์ยอมพ่ายแพ้ กลุ่มคนเลี้ยงโคก็หันมานับถือเขาโควรรธนะแทนพระอินทร์ในเวลาต่อมา                     บริเวณใต้หน้าบัน ยังปรากฏภาพสลักทับหลังพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ซึ่งเป็นเทพประจำทิศตะวันออก โดยองค์ประกอบภาพสลัก ประกอบด้วยพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ อยู่ในซุ้มเรือนแก้ว เหนือหน้ากาล คายท่อนพวงมาลัย มีใบไม้ตั้งขึ้นและตกลง แถวด้านบนสลักเป็นรูปโยคี ฝั่งละ 3 ตน โดยความพิเศษอยู่ที่ช้างเอราวัณ ซึ่งเป็นช้างเศียรเดียว คล้ายกับที่พบ ณ ปราสาทปรางค์กู่ อำเภอปรางค์กู่ ปราสาทตาเล็ง อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ---------------------------------------------เรียบเรียงโดย นายวรรณพงษ์ ปาละกะวงษ์ ณ อยุธยา นักโบราณคดีปฏิบัติการ  สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา---------------------------------------------


ประเทศเมียนมา ข้ามฟากมาที่ประเทศเมียนมาหรือพม่ากันบ้างค่ะ ในวันวิสาขบูชาของชาวเมียนมานั้นตรงกับวันเพ็ญเดือน 2 ตามปฏิทินของเมียนมา โดยชาวเมียนมาเรียกกันโดยทั่วไปว่า “วันกะโส่ง - ละ - ปญี่” หรือแปลว่าวันเพ็ญเดือนกะโส่ง ซึ่งปีนี้ตรงกับวันที่ 25 พฤษภาคมค่ะ . วัตรปฏิบัติโดยทั่วไปของชาวเมียนมานั้นคล้ายกับที่บ้านเรา คือ การเข้าวัดทำบุญ ฟังเทศน์ธรรม และปล่อยนกปล่อยปลาให้ทานแก่สัตว์ แต่ที่แตกต่างออกไป คือ ชาวเมียนมาจะไม่เวียนเทียนเช่นเดียวกับบ้านเรา แต่นิยมการรดน้ำต้นโพธิ์แทน โดยชาวเมียนมาจะนำน้ำสะอาดหรือน้ำที่ผสมน้ำอบน้ำหอมใส่ในหม้อดินเผาที่ปักด้วยใบหว้า แล้วรดไปที่โคนต้นโพธิ์พร้อมถวายดอกไม้นานาชนิด ทั้งนี้คนพม่าเชื่อกันว่าต้นโพธิ์เป็นสัญลักษณ์ของพระพุทธเจ้าหรือพุทธิปัญญา (ต้นโพธิ์เป็นสถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า) ผู้ใดได้ทำแล้วจะขึ้นสวรรค์ ซึ่งการรดน้ำต้นโพธิ์นี้ยังเป็นกุศโลบายในการดูแลรักษาต้นโพธิ์ให้อยู่รอดในช่วงหน้าแล้งด้วยค่ะย



          วัดนักบุญยอเซฟ เป็นโบสถ์เก่าแก่ที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชพระราชทานที่ดิน วัสดุและพระราชทรัพย์ก่อสร้างในปี พ.ศ. ๒๒๐๙ โดยบาทหลวง ไบซอพแลมเบิต เดลา มอทเต ซึ่งใช้เป็นที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เดิมโบสถ์นี้สร้างด้วยไม้ ต่อมา พ.ศ. ๒๒๒๘ สร้างใหม่โดยการก่ออิฐถือปูนระหว่างรบกับพม่าโบสถ์นี้ใช้เป็นที่พักอาศัยหลบภัยสงครามและ ได้ถูกทำลายลงในปี พ.ศ. ๒๓๑๐ จนกระทั่ง พ.ศ. ๒๓๗๔ บาทหลวงปาลเลกัวซ์ ได้เดินทางมาประเทศไทย จึงได้บูรณะและรวบรวมสัตบุรุษได้ประมาณ ๗๐ คน แล้วสร้างโบสถ์ขึ้นใหม่ชั่วคราวด้วยไม้ใช้หญ้าคามุงหลังคา พ.ศ. ๒๓๙๐           บาทหลวงอัลเบริ์ต ได้บูรณะต่อเติมโบสถ์ใหม่ตามแบบศิลปะโรมาเนสก์ (Romanesque) ในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๒ หน้าต่างโบสถ์ทำด้วยกระจกสีซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติของพระเยซู ใต้โบสถ์ใช้เป็นที่เก็บศพของบาทหลวงและสังฆราช ต่อมาในรัชกาลที่ ๕ ได้มีการบูรณะวัดอีกครั้งโดยบาทหลวงแบร์โร ปัจจุบันโบสถ์ของวัดนี้ยังงดงามและเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวไทย ที่นับถือศาสนาคริสต์ ด้านนอกเต็มไปด้วยรูปปั้นกับคำสอนมากมายที่ให้เราได้เข้ามาชมกัน "หลักการพิพากษามีอย่างนี้ คือความสว่างเข้ามาในโลกแล้ว แต่มนุษย์รักความมืดมากกว่าความสว่าง เพราะกิจการของพวกเขาเลวทราม เพราะทุกคนที่ประพฤติชั่วก็เกลียดความสว่างเนื่องจากกลัวว่าการกระทำของตนจะปรากฏ" ยอห์น ๓:๑๙-๒๐------------------------------------------------------------------ผู้เรียบเรียง : นางสาวนฤมล ขจรเวช มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ (นักศึกษาฝึกงาน หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ) ------------------------------------------------------------------ข้อมูลอ้างอิง :กรมศิลปากร. นำชมอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา. กรุงเทพฯ: ศรเมืองการพิมพ์,๒๕๔๓. เลขหมู่ ๙๕๙.๓๑๔ ศ๕๒๘น วัดนักบุญยอแซฟ โบสถ์คริสต์สมัยกรุงศรีแห่งหนึ่งในอยุธยา. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://th.readme.me/ ๒๕๖๑. (๒๔กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔)


          มหามกุฎราชสันตติวงศ์ ๑๙ กรกฎาคม ๒๔๐๘ วันประสูติพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐาสารี           พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐาสารี เป็นพระราชธิดาพระองค์ที่ ๗๔ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาดวงคำ พระราชนัดดาในเจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ ประสูติเมื่อวันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๔๐๘ มีพระเชษฐภคินีพระองค์หนึ่ง คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านารีรัตนา           ในพระราชพิธีเฉลิมพระราชมณเฑียร พระราชพิธีบรมราชาภิเษก ในรัชกาลที่ ๙ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงทิพยรัตนกิริฎกุลินี และพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐาสารี ในฐานะที่เป็นพระบรมวงศ์ฝ่ายในที่มีพระอาวุโสสูงสุด (รองจากสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า) จึงเป็นผู้ทำหน้าที่ปูลาดพระที่ถวายพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงในคราวนั้น           พระเจ้าบรมบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงประดิษฐาสารี สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๙ เมื่อวันที่ ๑๘ มีนาคม ๒๕๐๕ พระชันษา ๙๗ ปี นับเป็นพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นพระองค์เจ้าขึ้นไปที่มีพระชนมายุยืนยาวที่สุดในพระบรมราชจักรีวงศ์   ภาพ : พระเจ้าบรมบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงประดิษฐาสารี


องค์ความรู้สำนักศิลปากรที่ ๘ ขอนแก่น เรื่อง แหล่งโบราณคดีบ้านห้วยสามยอดเทวกุล จังหวัดบึงกาฬจัดทำข้อมูลโดย นางสาวศิริวรรณ ทองขำ นักโบราณคดีปฏิบัติการ สำนักศิลปากรที่ ๘ ขอนแก่น




วันที่ ๒๗ – ๒๘ ตุลาคม ๒๕๖๔ เวลา ๑๓.๐๐ – ๑๖.๓๐ น. กลุ่มแผนงานฯ เข้าร่วมประชุมทางไกลระหว่างประเทศ “การประชุมเสวนาเอเชียเพื่อการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม” ณ ห้องประชุมชั้น ๔ อาคารกรมศิลปากร เทเวศร์ ซึ่งจัดโดยกรรมาธิการมรดกทางวัฒนธรรมแห่งชาติสาธารณรัฐประชาชนจีน (NCHA) ภายใต้หัวข้อ “การริเริ่มแห่งเอเชียเพื่อการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม : ส่งเสริมการเสวนาระหว่างอารยธรรม สร้างอนาคตของเอเชีย” ในการนี้ นายพนมบุตร จันทรโชติ รองอธิบดีกรมศิลปากร ได้เป็นตัวแทนประเทศไทยในการเข้าร่วมพิธีเปิดการประชุมดังกล่าว


      พบบริเวณเมืองโบราณอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี        จัดแสดงห้องอู่ทองศรีทวารวดี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง      ประติมากรรมดินเผา ขนาดกว้าง ๔.๕ เซนติเมตร สูง ๖ เซนติเมตร เป็นรูปบุคคล ๒ คน รองรับด้วยฐานบัวทรงกลมที่มีลายกลีบบัวหงาย หากประติมากรรมชิ้นนี้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ สันนิษฐานว่าเป็นรูปบุคคล ๒ คน หันหน้าสลับกัน ซึ่งเมื่อพิจารณามีรายละเอียด ดังนี้      รูปบุคคลที่ ๑ อยู่ด้านล่างในท่าโก้งโค้ง ปลายเท้าอยู่สูงจากพื้น ลำตัวเอนลงมาด้านหน้า คางแนบกับพื้น มีใบหน้ากลม คิ้วต่อกันเป็นปีกกา ตาโปน จมูกใหญ่ ริมฝีปากหนา อมยิ้ม ใบหูยาวเจาะติ่งหูเป็นร่องยาว รายละเอียดส่วนลำตัวกะเทาะหักหายไป สวมโจงกระเบนสั้นมีเข็มขัดผ้าขมวดเป็นเกลียวคาดอยู่ที่เอว ด้านหลังมีลวดลายคล้ายเปลวไฟ       รูปบุคคลที่ ๒ ยืนคร่อมอยู่ด้านบนบุคคลที่ ๑ รายละเอียดส่วนใหญ่ชำรุดหักหายไป เหลือเฉพาะส่วนปลายเท้าทั้งสองข้างเหยียบอยู่ที่พื้น ปลายเท้าชี้สลับด้านกับบุคคลที่ ๑ มีแนวรอยแตกของส่วนลำตัวอยู่กลางหลังบุคคลที่ ๑ และยังปรากฏมือทั้งสองข้างสอดไปจับบั้นท้ายเพื่อยกลำตัวของบุคคลที่ ๑ ให้ลอยขึ้น      ประติมากรรมดินเผาชิ้นนี้ มีผู้สันนิษฐานว่าอาจเป็นภาพบุคคลกำลังทำโยคะ หรือเป็นเป็นรูปบุคคลกำลังต่อสู้กัน ซึ่งน่าจะหมายถึงการเล่นมวยปล้ำ โดยประติมากรรมรูปบุคคลเล่นมวยปล้ำพบมาแล้วในศิลปะอินเดีย ซึ่งมักทำเป็นประติมากรรมดินเผาหรือภาพสลักหินเพื่อประดับศาสนสถาน โดยทำเป็นภาพบุคคล ๒ คนกอดรัดต่อสู้กัน ในงานศิลปกรรมสมัยทวารวดีพบประติมากรรมรูปบุคคลต่อสู้กันไม่มากนัก นอกจากประติมากรรมที่พบจากเมืองโบราณอู่ทองชิ้นนี้แล้ว ยังพบประติมากรรมรูปบุคคล ๒ คน อยู่ในท่ากอดรัดคล้ายกำลังต่อสู้กัน มีบุคคลหนึ่งสวมโจงกระเบนสั้นมีเข็มขัดผ้าขมวดเป็นเกลียวและมีฐานบัวรองรับ จัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ จังหวัดลพบุรี      ประติมากรรมรูปบุคคลกำลังต่อสู้กันชิ้นนี้ผลิตขึ้นด้วยฝีมือประณีต การทำฐานบัวรองรับ ทำให้นักวิชาการบางท่านสันนิษฐานว่า น่าจะมีความหมายเกี่ยวข้องกับศาสนา และการทำประติมากรรมดินเผาบนฐานลักษณะเช่นนี้ มีความคล้ายคลึงกับประติมากรรมดินเผาประดับจุกสำหรับปิดภาชนะปากแคบหรือขวดที่มีความสำคัญ ซึ่งอาจใช้สำหรับบรรจุของที่ใช้ในพิธีกรรมที่มีความเกี่ยวข้องกับศาสนาหรือความเชื่อ ซึ่งพบหลากหลายรูปแบบในเมืองโบราณอู่ทอง กำหนดอายุสมัยทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๔ หรือประมาณ ๑,๔๐๐ – ๑,๒๐๐ ปีมาแล้ว          เอกสารอ้างอิง กรมศิลปากร. โบราณคดีเมืองอู่ทอง. นนทบุรี : สหมิตรพริ้นติ้ง, ๒๕๔๕. อนุสรณ์ คุณประกิจ. “การศึกษาคติและรูปแบบประติมากรรมดินเผาขนาดเล็กสมัยทวารวดีที่พบในบริเวณภาคกลางของประเทศไทย”. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๒๙.



ชื่อเรื่อง                                วิมานวัตถุ (วิมานวัตถุ) สพ.บ.                                  276/1ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           54 หน้า กว้าง 4.5 ซม. ยาว 57 ซม.หัวเรื่อง                                 ธรรมเทศนา                                           อานิสงส์ บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม ภาษาบาลี-ไทย เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจากวัดบ้านหมี่ ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


Messenger