ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,950 รายการ
นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า ได้มอบ กรมศิลปากร ส่งตัวแทนเข้าร่วมประชุมกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 46 ซึ่งจัดขึ้นที่สาธารณรัฐอินเดีย ระหว่างวันที่ 21 ถึง 31 กรกฎาคม 2567 เนื่องจากมีวาระประชุม เพื่อรับรองอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม โดยคาดว่าจะนำเข้าพิจารณา ในวันที่ 26 หรือ 27 กรกฎาคม 2567 ทั้งนี้ จากศักยภาพภูพระบาท และการเตรียมข้อมูลที่สมบูรณ์ของคณะทำงานในการนำเสนอ เชื่อมั่นว่า ภูพระบาท จะได้รับการประกาศให้เป็นมรดกโลกแห่งใหม่อย่างแน่นอน ซึ่งทางกรมศิลปากรจะถ่ายทอดบรรยากาศส่งตรงจากสาธารณรัฐอินเดีย และจัดการแถลงผลการประกาศ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ให้ได้ร่วมลุ้นไปพร้อมกันทั่วประเทศ ผ่านทาง facebook live: กรมศิลปากร
รมว. สุดาวรรณ จึงขอเชิญชวนชาวไทย ร่วมส่งกำลังใจช่วยเชียร์ให้ภูพระบาท ได้รับการรับรองเป็นมรดกโลก อันจะทำให้ประเทศไทยมีชื่อเสียงและเป็นเกียรติภูมิที่สำคัญบนเวทีโลกต่อไป
วันที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๖๗ เวลา ๑๓.๓๐ น. นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม มอบหมายให้นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานในพิธีมอบรางวัลเนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๖๗ โดยมีนางโชติกา อัครกิจโสภากุล รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร นายประสพ เรียงเงิน อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม
และผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม ศิลปิน ดารา นักร้อง และผู้ได้รับรางวัลเนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๖๗ เข้าร่วม ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
ทั้งนี้ กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรมจัดงานพิธีมอบรางวัล เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๖๗ ซึ่งมอบรางวัลให้แก่บุคคลและองค์กรที่ได้เข็มและโล่เชิดชูเกียรติทางด้านภาษาไทย ๔ ประเภท ดังนี้
๑) ปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย ๒ ราย ได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์พรทิพย์ พุกผาสุข และผู้ช่วยศาสตราจารย์ศิวกานท์ ปทุมสูติ
๒) ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น ๑๑ ราย ได้แก่ ๑. นางเทพี จรัสจรุงเกียรติ ๒. นายชาครีย์นรทิพย์ เสวิกุล ๓. นายณรงค์ฤทธิ์ คิดเห็น ๔. นายธีระพงษ์ โสดาศรี ๕. นางนันทพร แสงมณี ๖. นางสาวปาริฉัตร ศาลิคุปต ๗. นายแพทย์พงศกร จินดาวัฒนะ ๘. ผู้ช่วยศาสตราจารย์วีรวัฒน์ อินทรพร ๙. นายศราวุธ สุดงูเหลือม ๑๐. ผู้ช่วยศาสตราจารย์สรตี ปรีชาปัญญากุล และ ๑๑. นายสุภาพ คลี่ขจาย
๓) ผู้ใช้ภาษาไทยถิ่นดีเด่น ๔ ราย ได้แก่ ๑. นายไกรสร ฮาดคะดี ๒. นายณรงค์ศักดิ์ กำเนิดทอง ๓.นายปราโมทย์ ในจิต และ ๔. นายเอ็ด ติ๊บปะละ
๔) ผู้มีคุณูปการต่อการใช้ภาษาไทย ได้แก่ สถาบันสุนทรภู่
สำหรับรางวัลเพชรในเพลง โดยกรมศิลปากร ๑๔ รางวัล ประกอบด้วย รางวัลการประพันธ์เพลงดีเด่นด้านภาษาไทย ๔ รางวัล ได้แก่ ๑.รางวัลชนะเลิศ ผู้ประพันธ์คำร้องเพลงไทยสากล ได้แก่ นายปัณฑพล ประสารราชกิจ และนายธิติวัฒน์ รองทอง จากเพลงลั่นทม ๒. รางวัลรองชนะเลิศ ผู้ประพันธ์คำร้องเพลงไทยสากล ได้แก่ นายกฤตศิลป์ ฉลองขวัญ จากเพลงดอกไม้จากดวงดาว ๓. รางวัลชนะเลิศ ผู้ประพันธ์คำร้องเพลงไทยลูกทุ่ง ได้แก่ นายจิรภัทร แจ่มทุ่ง จากเพลงยามท้อขอมีเธอ ๔. รางวัลรองชนะเลิศ ผู้ประพันธ์คำร้องเพลงไทยลูกทุ่ง ได้แก่ นายสลา คุณวุฒิ จากเพลงอยากซื้อบ้านนอกให้แม่
รางวัลการขับร้องเพลงดีเด่นด้านภาษาไทย ๘ รางวัล ได้แก่ ๑. รางวัลชนะเลิศ ผู้ขับร้องเพลงไทยสากลชาย ได้แก่ นายภาสกรณ์ รุ่งเรืองเดชาภัทร์ (สปาย) จากเพลงคอย ๒. รางวัลรองชนะเลิศ ผู้ขับร้องเพลงไทยสากลชาย ได้แก่ นายธานินทร์ อินทรแจ้ง (ธานินทร์ อินทรเทพ) จากเพลงเดือนประดับใจ ๓. รางวัลชนะเลิศ ผู้ขับร้องเพลงไทยสากลหญิง ได้แก่ นางสาวสรวีย์ ธนพูนหิรัญ (ผิงผิง) จากเพลงดอกไม้จากดวงดาว ๔. รางวัลรองชนะเลิศ ผู้ขับร้องเพลงไทยสากลหญิง ได้แก่ นางสาวปราชญา ศิริพงษ์สุนทร จากเพลงมรดกธรรม มรดกโลก ๕. รางวัลชนะเลิศ ผู้ขับร้องเพลงไทยลูกทุ่งชาย ได้แก่ นายอนันต์ อาศัยไพรพนา (นัน อนันต์) จากเพลงยามท้อขอมีเธอ ๖. รางวัลรองชนะเลิศ ผู้ขับร้องเพลงไทยลูกทุ่งชาย ได้แก่ นายเสมา สมบูรณ์ (ไชยา มิตรชัย) จากเพลงรอยยิ้มก่อนจากลา ๗. รางวัลชนะเลิศ ผู้ขับร้องเพลงไทยลูกทุ่งหญิง ได้แก่ นางสาวสุทธิยา รอดภัย (ใบเฟิร์น สุทธิยา) จากเพลงกราบหลวงพ่อใหญ่อ่างทอง และ ๘. รางวัลรองชนะเลิศ
ผู้ขับร้องเพลงไทยลูกทุ่งหญิง ได้แก่ นางสาวกาญจนา มาศิริ จากเพลงสารภาพรัก และรางวัลเชิดชูเกียรติพิเศษ ๒ รางวัล ได้แก่ ครูเพลงผู้ใช้ภาษาวรรณศิลป์ดีเด่น นายชัยรัตน์ วงศ์เกียรติ์ขจร และรางวัลนักแปลเพลง : คมความ งามคำไทย ในบทเพลง นายธานี พูนสุวรรณ
นอกจากนี้ สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม จัดประกวดเพลงแรป “บอกรักษ์ภาษาไทย” โดยผลงานได้รับรางวัล ๕ ผลงาน ได้แก่ ผลงานเพลง “ไฉไล (CHIC)” จากทีม NEW ERAS ได้รับรางวัลชนะเลิศ รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๑ ได้แก่ ผลงาน “รักษ์ไทย รักเธอ” ทีม จับฉ่าย รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ ๒ ได้แก่ ผลงาน “GONE THAI ก่อนไม่มีภาษาไทยให้รักษ์” ทีมโรงเรียนหัวไทรบำรุงราษฎร และรางวัลชมเชย ๒ รางวัล ได้แก่ ผลงาน “รักษ์ภาษาไทยเชื่อมใจเธอ” ทีม ลูกนวมินท์ และผลงาน “อัศนีอาละวาด” ทีม UFA GAMER (ยูฟ่าเกมเมอร์)
และมอบเกียรติบัตรให้กับเอกอัครราชทูตและผู้แทนจากสถานทูตต่างประเทศในประเทศไทยซึ่งให้ความร่วมมือจัดวีดิทัศน์รณรงค์และเผยแพร่การใช้ภาษาไทยให้เป็นที่รู้จักในหมู่ชาวต่างชาติ จำนวน ๒๒ ประเทศ
วันพฤหัสบดีที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๖๗ สำนักงานเกษตรอำเภอสูงเนิน เข้าชมโบราณสถานปราสาทเมืองแขก ตำบลโคราช อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา
.
.
.
...ศูนย์กลางการเรียนรู้และการท่องเที่ยว
มรดกศิลปวัฒนธรรมอีสานใต้แบบบูรณาการ...
สำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา 274 หมู่ 17 ถนนพิมาย-ชุมพวง
ตำบลในเมือง อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา 30110
Tel : 044-471518 , 044-481024
E-Mail : fed_10@finrarts.go.th
Website : www.finearts.go.th/fad10
Facebook : สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา กรมศิลปากร
Youtube : สำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฉบับเสริมการเรียนรู้ เล่ม 6. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, 2553. 188 หน้า. ภาพประกอบ. 80 บาท.
ให้ข้อมูลเรื่องศิลปาชีพ ความหมาย ความเป็นมา การดำเนินงาน การจัดตั้งศูนย์ศิลปาชีพ การเผยแพร่ และผลิตภัณฑ์ เรื่องหัตถกรรมพื้นบ้านลักษณะ ชนิด การอนุรักษ์และการพัฒนาหัตถกรรมพื้นบ้านสู่สากลโลก เรื่องตุ๊กตาไทย คุณค่า รูปแบบ ความเป็นมาของตุ๊กตาไทย ประเภท และการผลิตตุ๊กตาไทยทางพาณิชย์
039.95911
พ978ส
ล.6 (ห้องศาสตร์พระราชา)
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฉบับเสริมการเรียนรู้ เล่ม 7. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, 2555. 188 หน้า. ภาพประกอบ. 80 บาท.
สาระในเล่มประกอบด้วยเรื่องนก กำเนิดและลักษณะของนก การจำแนกชนิด การจัดลำดับนกในประเทศไทย เรื่องผีเสื้อคืออะไร กำเนิด ชนิด รูปลักษณะ วัฏจักรชีวิตของผีเสื้อ ศัตรู อาหาร พฤติกรรม การแปรผันของรูปแบบผีเสื้อ การดูผีเสื้อในธรรมชาติ การอนุรักษ์ และผีเสื้อเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง เรื่องปลาสวยงาม ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับปลา ปลาสวยงามน้ำจืด ปลาสวยงามทะเล การเลี้ยงปลาสวยงามเป็นงานอดิเรกและการเพาะเลี้ยงปลาสวยงาม
039.95911
ส678
ล.7 (ห้องศาสตร์พระราชา)
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฉบับเสริมการเรียนรู้ เล่ม 8. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, 2554. 188 หน้า. ภาพประกอบ. 80 บาท.
ข้อมูลในเล่มให้ความรู้เรื่องพระพุทธรูป คติในการสร้างพระพุทธรูป ประเภท วัสดุ และวิธีการสร้าง ปางของพระพุทธรูป พระพุทธรูปปางต่างๆ ในประเทศไทย พระพุทธรูปที่สำคัญในประเทศไทย เรื่องการผลิตทองรูปพรรณ การกำเนิดแหล่งทองคำ แหล่งทองคำในประเทศไทย การใช้ทองคำของคนไทยโบราณ คำที่ใช้เรียกทองคำตามลักษณะต่างๆ การผลิตและกระบวนการผลิตทอง ทองรูปพรรณที่มีชื่อเสียงในประเทศไทย และเรื่องผ้าไทย ประวัติ ลวดลายและสัญลักษณ์ในผ้าไทย
039.95911
ส678
ล.8 (ห้องศาสตร์พระราชา)
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฉบับเสริมการเรียนรู้ เล่ม 9. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, 2553. 188 หน้า. ภาพประกอบ. 80 บาท.
ให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องแผ่นดินไหว ความหมาย สาเหตุ ของการเกิดแผ่นดินไหว เครื่องตรวจจับแผ่นดินไหว ขนาด ความรุนแรง การเกิดแผ่นดินไหวในประเทศไทย แนวรอยเลื่อน การป้องกัน และแนวทางการเตรียมรับภัยแผ่นดินไหว เรื่องสึนามิ ความหมาย สาเหตุ ลักษณะ การเกิดสินามิครั้งสำคัญในอดีต ซึ่งเกิดเมื่อพ.ศ.2547 ในทะเลอันดามัน เรื่องบรรยากาศและการตรวจอากาศ ความหมายของบรรยากาศ วิวัฒนาการของบรรยากาศโลก ชั้นบรรยากาศ การตรวจบรรยากาศ เรื่องของเมฆ และเรื่องหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการตรวจอากาศและการพยากรณ์อากาศในประเทศไทย
039.95911
ส838ส
ล.9 (ห้องศาสตร์พระราชา)
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฉบับเสริมการเรียนรู้ เล่ม 10. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, 2553. 188 หน้า. ภาพประกอบ. 80 บาท.
ให้ความรู้ในเรื่องผลไม้ที่คนไทยรู้จักกันดี และมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย ซึ่งได้แก่ กล้วย ทุเรียน และส้ม เมื่ออ่านแล้วทำให้รู้ประวัติ ถิ่นกำเนิด ลักษณะ การปลูก การขยายพันธุ์ โรคและแมลง ประโยชน์ คุณค่าทางโภชนาการของผลไม้สามชนิดนี้ การเลือกซื้อ และการแปรรูปของผลไม้เหล่านี้
039.95911
บ784ส
ล.10 (ห้องศาสตร์พระราชา)
กรมศิลปากร ขอเชิญรับชมถ่ายทอดสด Facebook Live รายการไขความรู้จากครูกรมศิลป์ ตอน “การซ่อมบูรณะ-ประดับตกแต่งเรือพระราชพิธี เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗” วิทยากร นางสุภาภรณ์ สายประสิทธิ์, นายช่างศิลปกรรมทักษะพิเศษ สำนักช่างสิบหมู่, นางปาริด์ชาติ พัฒน์ทอง นักวิชาการช่างศิลป์ชำนาญการพิเศษ สำนักช่างสิบหมู่, นายเกรียงศักดิ์ เนียมสุด นายช่างศิลปกรรมอาวุโส สำนักช่างสิบหมู่, นายสาโรจน์ แสงสี นายช่างศิลปกรรมอาวุโส สำนักช่างสิบหมู่ และนางสาวดวงใจ พิชิตณรงค์ชัย หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ผู้ดำเนินรายการ นายสิทธิพร บุปผา นักวิชาการเผยแพร่ กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ในวันพฤหัสบดีที่ ๒๕ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๖๗ เวลา ๑๑.๐๐ – ๑๑.๔๕ น. ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และ Facebook : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร
รายการ “ไขความรู้จากครูกรมศิลป์” มีรูปแบบเนื้อหาของรายการเกี่ยวกับประวัติความเป็นไทย เกร็ดประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับวันสำคัญ ประเพณี วัฒนธรรม วีถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน ผ่านการบอกเล่า ถ่ายทอดความรู้ แนวความคิด เนื้อหาวิชาการ จากประสบการณ์ของผู้บริหาร นักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญกรมศิลปากร กำหนดถ่ายทอดสดผ่านเฟสบุ๊กไลฟ์ (facebook live) ทุกวันพฤหัสบดี เวลา ๑๑.๐๐ น. ตลอดปีงบประมาณ ๒๕๖๗ ระหว่างเดือนตุลาคม ๒๕๖๖ - กันยายน ๒๕๖๗
กรมศิลปากรขอเชิญชวนประชาชนร่วมส่งกำลังใจช่วยเชียร์ให้ภูพระบาท ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมแห่งใหม่ของประเทศไทย จากองค์การศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยสามัญ ครั้งที่ 46 ณ กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย ระหว่างวันที่ 21 - 31 กรกฎาคม 2567
ทั้งนี้ หากที่ประชุมมีมติรับรองภูพระบาทจะเป็นมรดกโลกด้านวัฒนธรรมแห่งที่ 5 ของประเทศไทย และจะทำให้จังหวัดอุดรธานีเป็นจังหวัดที่มีมรดกโลกถึง 2 แห่ง เมื่อรวมกับแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง ที่ได้รับการประกาศไปก่อนหน้านี้แล้ว