ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,938 รายการ
นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า กระทรวงวัฒนธรรมได้มอบนโยบายให้กรมศิลปากร งดเก็บค่าธรรมเนียมการเข้าชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุทยานประวัติศาสตร์ และโบราณสถานทั่วประเทศ ในวันที่ 28 กรกฎาคม 2567 เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และขอเชิญชวนให้ประชาชนชาวไทย เข้าชมแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรม ที่อยู่ในความดูแลของกรมศิลปากรทั่วประเทศ เป็นการเฉลิมพระเกียรติ และน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงมีคุณูปการต่องานมรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติอย่างหาที่สุดมิได้ ทรงห่วงใย อุปถัมภ์ ฟื้นฟู เพื่อรักษา และสืบทอด ให้วัฒนธรรมไทยยังคงอยู่เป็นมรดกที่สำคัญของชาติสืบไป
วันที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๖๗ นายวิจิตร กิจวิรัตน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานโครงการ ๗๒ ล้านต้น พลิกฟื้นผืนป่าเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗ ครั้งที่ ๒/๒๕๖๗ กิจกรรม "โครงการปลูกป่าในพื้นที่มรดกทางวัฒนธรรม เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว" โดยมีนายทศพร ศรีสมาน ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา กล่าวรายงานการดำเนินงาน และมีหัวหน้าส่วนราชการในสังกัดสำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา ส่วนราชการภาครัฐและเอกชนในพื้นที่อำเภอสูงเนิน และประชาชนในพื้นที่อำเภอสูงเนิน เข้าร่วมกิจกรรม
ณ โบราณสถานเมืองเสมา ตำบลเสมา อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา
วันเสาร์ที่ 27 กรกฎาคม 2567 นายวรธน เพิ่งเฮง เจ้าพนักงานห้องสมุดชำนาญงาน และนายสมชาติ สุดใจ พนักงานทำความสะอาด เข้าร่วมโครงการปลูกต้นไม้ เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา วันเสาร์ที่ 27 กรกฎาคม 2567
ณ บริเวณโบราณสถานเมืองเสมา ตำบลเสมา อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา
วันเสาร์ที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๖๗
ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง เจ้าหน้าที่สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรีธรรมราช (ภูเก็ต) ร่วมดำเนินกิจกรรมจิตอาสา เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗ ณ โบราณสถานพระอุโบสถวัดเชิงทะเล ตำบลเชิงทะเล อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต
โดยทำความสะอาด ทำนุบำรุงโบราณสถาน พระประธานภายในอุโบสถ และดูแลรักษาความสะอาดภูมิทัศน์โดยรอบ
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง กราบนมัสการขอบพระคุณท่านพระครูการุญกิจจานุยุต เจ้าอาวาสวัดเชิงทะเลอย่างสูง ที่ได้ให้การอนุเคราะห์สถานที่พร้อมอำนวยความสะดวกตลอดการดำเนินกิจกรรม
พระเจ้าแข้งคม เป็นพระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบปางมารวิชัยเก่าแก่ศักดิ์สิทธิ์ ในสมัยล้านนา พระเจ้าติโลกราชโปรดให้หล่อขึ้นที่วัดป่าตาลน้อย (วัดตาลวันมหาวิหาร) เมื่อปีพ.ศ. ๒๐๒๗ เป็นวัสดุสัมฤทธิ์ลงรักปิดทอง ขนาดหน้าตักกว้าง ๙๔ นิ้ว สูง ๑๑๒ นิ้ว พระพุทธรูปมีน้ำหนัก ๓,๙๖๐ กิโลกรัม มีลักษณะเป็นพระพุทธรูปแบบอู่ทองรุ่นที่ ๒ คือ พระพักตร์สี่เหลี่ยม พระเนตรโปน พระโอษฐ์หนา ขอบพระโอษฐ์หนาแบะซ้อนกัน ๒ เส้น พระหนุเหลี่ยม มีไรพระศก ขมวดพระเกศาเป็นเม็ดเล็ก พระรัศมีเป็นเปลวสูง สังฆาฏิเป็นแผ่นหนาขนาดใหญ่ยาวลงมาจรดพระนาภี ปลายเป็นริ้วพับซ้อนกัน พระหัตถ์ขวาวางอยู่กึ่งกลางพระชงฆ์ นิ้วพระหัตถ์ยาวไม่เสมอกัน นอกจากนี้มีลักษณะพิเศษ คือพระชงฆ์แข็งเป็นสันขึ้นหรือหน้าแข้งตัดคม จึงเรียกว่า “พระเจ้าแข้งคม”
เรียบเรียงโดย : นายธีรบูลย์ มิตรมโนชัย นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม
แหล่งอ้างอิง :
กระทรวงวัฒนธรรม. กรมการศาสนา. ๑๐๘ องค์พระปฏิมา พระพุทธรูปคู่แผ่นดิน. กรุงเทพฯ: กรมการศาสนา, ๒๕๖๐.
กระทรวงวัฒนธรรม. กรมศิลปากร. จารึกล้านนา ภาค ๒ เล่ม ๑ : จารึกจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, ๒๕๕๑.
กระทรวงวัฒนธรรม. กรมศิลปากร. จารึกล้านนา ภาค ๒ เล่ม ๒ : จารึกจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, ๒๕๕๑.
ฐานข้อมูลจารึกแห่งประเทศไทย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). จารึกวัดศรีเกิด (เชียงใหม่). [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๖๗, จาก: https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/detail/1435
ฐานข้อมูลจารึกแห่งประเทศไทย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). จารึกวัดศรีเกิด (เชียงใหม่) ด้านที่ ๑. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๖๗, จาก: https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/image_detail/26526
ฐานข้อมูลจารึกแห่งประเทศไทย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). จารึกวัดศรีเกิด (เชียงใหม่) ด้านที่ ๒. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๖๗, จาก: https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/image_detail/26527
ประชากิจกรจักร, พระยา (แช่ม บุนนาค). พงศาวดารโยนก. กรุงเทพฯ: บุรินทร์การพิมพ์, ๒๕๑๖.
พระรัตนปัญญาเถระ. ชินกาลมาลีปกรณ์. แปลโดย แสง มนวิทูร. พระนคร: กรมศิลปากร, ๒๕๐๑.
พิริยะ ไกรฤกษ์. ลักษณะไทยพระพุทธปฏิมาอัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย. กรุงเทพฯ: ธนาคารกรุงเทพ จำกัด มหาชน, ๒๕๕๑.
ศักดิ์ชัย สายสิงห์ . สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เล่ม ๒๙. กรุงเทพฯ: โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, ๒๕๔๘.
พระเจ้าแข้งคม เป็นพระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบปางมารวิชัยเก่าแก่ศักดิ์สิทธิ์ ในสมัยล้านนา พระเจ้าติโลกราชโปรดให้หล่อขึ้นที่วัดป่าตาลน้อย (วัดตาลวันมหาวิหาร) เมื่อปีพ.ศ. ๒๐๒๗ เป็นวัสดุสัมฤทธิ์ลงรักปิดทอง ขนาดหน้าตักกว้าง ๙๔ นิ้ว สูง ๑๑๒ นิ้ว พระพุทธรูปมีน้ำหนัก ๓,๙๖๐ กิโลกรัม มีลักษณะเป็นพระพุทธรูปแบบอู่ทองรุ่นที่ ๒ คือ พระพักตร์สี่เหลี่ยม พระเนตรโปน พระโอษฐ์หนา ขอบพระโอษฐ์หนาแบะซ้อนกัน ๒ เส้น พระหนุเหลี่ยม มีไรพระศก ขมวดพระเกศาเป็นเม็ดเล็ก พระรัศมีเป็นเปลวสูง สังฆาฏิเป็นแผ่นหนาขนาดใหญ่ยาวลงมาจรดพระนาภี ปลายเป็นริ้วพับซ้อนกัน พระหัตถ์ขวาวางอยู่กึ่งกลางพระชงฆ์ นิ้วพระหัตถ์ยาวไม่เสมอกัน นอกจากนี้มีลักษณะพิเศษ คือพระชงฆ์แข็งเป็นสันขึ้นหรือหน้าแข้งตัดคม จึงเรียกว่า “พระเจ้าแข้งคม”
เรียบเรียงโดย : นายธีรบูลย์ มิตรมโนชัย นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม
แหล่งอ้างอิง :
กระทรวงวัฒนธรรม. กรมการศาสนา. ๑๐๘ องค์พระปฏิมา พระพุทธรูปคู่แผ่นดิน. กรุงเทพฯ: กรมการศาสนา, ๒๕๖๐.
กระทรวงวัฒนธรรม. กรมศิลปากร. จารึกล้านนา ภาค ๒ เล่ม ๑ : จารึกจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, ๒๕๕๑.
กระทรวงวัฒนธรรม. กรมศิลปากร. จารึกล้านนา ภาค ๒ เล่ม ๒ : จารึกจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, ๒๕๕๑.
ฐานข้อมูลจารึกแห่งประเทศไทย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). จารึกวัดศรีเกิด (เชียงใหม่). [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๖๗, จาก: https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/detail/1435
ฐานข้อมูลจารึกแห่งประเทศไทย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). จารึกวัดศรีเกิด (เชียงใหม่) ด้านที่ ๑. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๖๗, จาก: https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/image_detail/26526
ฐานข้อมูลจารึกแห่งประเทศไทย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). จารึกวัดศรีเกิด (เชียงใหม่) ด้านที่ ๒. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๖๗, จาก: https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/image_detail/26527
ประชากิจกรจักร, พระยา (แช่ม บุนนาค). พงศาวดารโยนก. กรุงเทพฯ: บุรินทร์การพิมพ์, ๒๕๑๖.
พระรัตนปัญญาเถระ. ชินกาลมาลีปกรณ์. แปลโดย แสง มนวิทูร. พระนคร: กรมศิลปากร, ๒๕๐๑.
พิริยะ ไกรฤกษ์. ลักษณะไทยพระพุทธปฏิมาอัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย. กรุงเทพฯ: ธนาคารกรุงเทพ จำกัด มหาชน, ๒๕๕๑.
ศักดิ์ชัย สายสิงห์ . สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เล่ม ๒๙. กรุงเทพฯ: โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, ๒๕๔๘.
กรมศิลปากร ขอเชิญรับชมถ่ายทอดสด Facebook Live การแถลงข่าวการประกาศขึ้นทะเบียนอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม ในวันที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๖๗ ตั้งแต่เวลา ๑๑.๐๐ น. ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และ Facebook : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร
วันศุกร์ที่ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๖๗ นางสาวพิมพา สุธัญญาวัชชัย บรรณารักษ์ชำนาญการ เข้าร่วมพิธีอัญเชิญน้ำสรงและผ้าไตรพระราชทาน ในพิธีสมโภชน์พระมหาธาตุเจดีย์ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗ ณ วัดพระสิงห์ วรมหาวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่