ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,926 รายการ
วัดแสนฝาง เป็นวัดเก่าแก่อีกแห่งหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่ สร้างขึ้นในสมัยพญาแสนภู กษัตริย์ราชวงศ์มังราย อยู่บนถนนท่าแพ ตำบลช้างม่อย อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ในอดีตวัดแห่งนี้เรียกว่า “วัดแสนฝัง” เนื่องจากมีอยู่ว่าเมื่อพญาแสนภู ทรงมีพระราชประสงค์จะฝากฝังขุมพระราชทรัพย์ของพระองค์ไว้ในพระพุทธศาสนา ตามแบบอย่างพระอัยกาและพระราชธิดา โดยพระองค์ทรงมีพระราชดำริที่จะฝังพระราชทรัพย์ของพระองค์ไว้ในที่รกร้างว่างเปล่าใกล้ๆ แม่น้ำสายเล็ก และห่างจากแม่น้ำปิงพอประมาณ โดยคำว่า “แสน” มาจากชื่อของพระองค์ ส่วนคำว่า “ฝัง” คือ การบริจาคพระราชทรัพย์ของพระองค์ จึงเป็นที่มาของชื่อ “วัดแสนฝัง” ในปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น “วัดแสนฝาง” มาจนถึงทุกวันนี้
ในปี พ.ศ. ๒๔๖๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทีมงานและคณะ ของนายเฮนรี่ อเล็กซานเดอร์ แม็กเร (Henry Alexander MacRae) ผู้กำกับภาพยนตร์ สามารถเข้าถ่ายทำภาพยนตร์ เรื่องนางสาวสุวรรณ (Suvarna of Siam) ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับความรักของหนุ่มสาวชาวสยามในสมัยนั้น สำหรับนางเอก คือ นางสาวเสงี่ยม นาวีเสถียร รับบทเป็น สุวรรณ ส่วนพระเอก คือ ขุนรามภรตศาสตร์ (ยม มงคลนัฏ) รับบทเป็น กล้าหาญ พญานาคคู่นี้ สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๔๓ และเป็นส่วนหนึ่งของฉากภาพยนตร์เรื่องแรกของไทย
เรียบเรียงโดย : นายธีรบูลย์ มิตรมโนชัย นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม
แหล่งอ้างอิง :
โดม สุขวงศ์ และ สวัสดิ์ สุวรรณปักษ์. ร้อยปีหนังไทย. กรุงเทพฯ: ริเวอร์บุ๊คส์, ๒๕๔๕.
ประวัติสังเขปพระครูประจักษ์พัฒนคุณ ประวัติวัดแสนฝาง คำไหว้อาลัยบุคคลสำคัญ. เชียงใหม่: ม.ป.ท., ๒๕๕๘.
เรื่องเล่าชาวล้านนา. วัดแสนฝางย่านถนนท่าแพ เชียงใหม่. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๖๗, จาก: https://www.facebook.com/100057189501383/photos/999793825270258/, ๒๕๖๗.
อนุ เนินหาด. วัดแสนฝาง สังคมเมืองเชียงใหม่ เล่มที่ ๒๘. เชียงใหม่: พลอยการพิมพ์เชียงใหม่, ๒๕๕๔.
วัดแสนฝาง เป็นวัดเก่าแก่อีกแห่งหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่ สร้างขึ้นในสมัยพญาแสนภู กษัตริย์ราชวงศ์มังราย อยู่บนถนนท่าแพ ตำบลช้างม่อย อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ในอดีตวัดแห่งนี้เรียกว่า “วัดแสนฝัง” เนื่องจากมีอยู่ว่าเมื่อพญาแสนภู ทรงมีพระราชประสงค์จะฝากฝังขุมพระราชทรัพย์ของพระองค์ไว้ในพระพุทธศาสนา ตามแบบอย่างพระอัยกาและพระราชธิดา โดยพระองค์ทรงมีพระราชดำริที่จะฝังพระราชทรัพย์ของพระองค์ไว้ในที่รกร้างว่างเปล่าใกล้ๆ แม่น้ำสายเล็ก และห่างจากแม่น้ำปิงพอประมาณ โดยคำว่า “แสน” มาจากชื่อของพระองค์ ส่วนคำว่า “ฝัง” คือ การบริจาคพระราชทรัพย์ของพระองค์ จึงเป็นที่มาของชื่อ “วัดแสนฝัง” ในปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น “วัดแสนฝาง” มาจนถึงทุกวันนี้
ในปี พ.ศ. ๒๔๖๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทีมงานและคณะ ของนายเฮนรี่ อเล็กซานเดอร์ แม็กเร (Henry Alexander MacRae) ผู้กำกับภาพยนตร์ สามารถเข้าถ่ายทำภาพยนตร์ เรื่องนางสาวสุวรรณ (Suvarna of Siam) ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับความรักของหนุ่มสาวชาวสยามในสมัยนั้น สำหรับนางเอก คือ นางสาวเสงี่ยม นาวีเสถียร รับบทเป็น สุวรรณ ส่วนพระเอก คือ ขุนรามภรตศาสตร์ (ยม มงคลนัฏ) รับบทเป็น กล้าหาญ พญานาคคู่นี้ สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๔๓ และเป็นส่วนหนึ่งของฉากภาพยนตร์เรื่องแรกของไทย
เรียบเรียงโดย : นายธีรบูลย์ มิตรมโนชัย นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม
แหล่งอ้างอิง :
โดม สุขวงศ์ และ สวัสดิ์ สุวรรณปักษ์. ร้อยปีหนังไทย. กรุงเทพฯ: ริเวอร์บุ๊คส์, ๒๕๔๕.
ประวัติสังเขปพระครูประจักษ์พัฒนคุณ ประวัติวัดแสนฝาง คำไหว้อาลัยบุคคลสำคัญ. เชียงใหม่: ม.ป.ท., ๒๕๕๘.
เรื่องเล่าชาวล้านนา. วัดแสนฝางย่านถนนท่าแพ เชียงใหม่. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๖๗, จาก: https://www.facebook.com/100057189501383/photos/999793825270258/, ๒๕๖๗.
อนุ เนินหาด. วัดแสนฝาง สังคมเมืองเชียงใหม่ เล่มที่ ๒๘. เชียงใหม่: พลอยการพิมพ์เชียงใหม่, ๒๕๕๔.
อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง ขอเชิญชมปรากฏการณ์พระอาทิตย์ขึ้นตรง 15 ช่องประตู ณ ปราสาทพนมรุ้ง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ วันที่ 8 - 10 กันยายน 2567 เวลา 05.30 น. เป็นต้นไป บริเวณลานด้านหน้าโคปุระ ทิศตะวันตก ปราสาทพนมรุ้ง (นำรถเข้าลานจอด ประตู 3 ได้) สอบถามเพิ่มเติม โทร. 0 4466 6251 หรือ Inbox facebook : อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง บุรีรัมย์ Phanom Rung Historical Park
*หมายเหตุ : ปรากฏการณ์พระอาทิตย์ขึ้นตรง 15 ช่องประตู เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศในแต่ละวัน หากมีฝนตก หมอก เมฆเยอะ หรือเมฆลงต่ำ จะไม่สามารถมองเห็นปรากฏการณ์ดังกล่าวได้
นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า กรมศิลปากรได้อนุมัติงบประจำปีงบประมาณ 2568 (งบฉุกเฉิน) จำนวน 2 ล้านบาท บูรณะโบราณสถานพลับพลา ร.7 ในโครงการบูรณะโบราณสถานตามรอยเสด็จประพาสน้ำตกกะช่องเพื่อเสริมการท่องเที่ยวเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัด ตำบลช่อง อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง
อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า กรมศิลปากร โดยสำนักศิลปากรที่ 11สงขลา ได้ดำเนินโครงการฯ มาตั้งแต่ปีงบประมาณ 2565 แต่ไม่สามารถดำเนินการตามแผนได้ เนื่องจากการขออนุญาตใช้พื้นที่จากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัด และสวนพฤกษศาสตร์เขาช่อง ยังไม่ได้รับการอนุมัติเห็นชอบใช้พื้นที่ ทั้งนี้ กรมศิลปากรไม่ได้นิ่งนอนใจ ยังคงหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาโดยตลอด จนกระทั่งเมื่อเดือนมกราคม 2567 ได้รับแจ้งว่า อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช พิจารณาเห็นชอบให้ใช้พื้นที่ และมอบหมายให้เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัด และสวนพฤกษศาสตร์เขาช่อง ร่วมกับสำนักศิลปากรที่ 11 สงขลา กรมศิลปากร ดำเนินโครงการบูรณะดังกล่าว ขณะนี้ได้ร่วมกันลงพื้นที่ตรวจสอบหลักเขตโบราณสถานและประชุมหารือแนวทางในการบูรณะโบราณสถานพลับพลา ร.7 ซึ่งตั้งอยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัด และศาลาแปดเหลี่ยม ซึ่งตั้งอยู่ในเขตสวนพฤกษศาสตร์เขาช่อง ตำบลช่อง อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง เพื่อดำเนินการบูรณะต่อไป
พลับพลา ร.7 เป็นอาคารประทับพักร้อนริมน้ำตกโตนใหญ่ และได้รับพระราชทานนามจากสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ 5 เมื่อ พ.ศ.2455 ว่า “ธารหทัยสำราญ” โดยเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มอาคารที่มีชื่อว่า “ตำหนักโปร่งฤทัย” ซึ่งพระยารัษฎานุประดิษฐ์ มหิศรภักดี (คอซิมบี๊ ณ ระนอง) สมุหเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต สร้างขึ้นเพื่อรับเสด็จสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ เมื่อ พ.ศ. 2452 ต่อมาเมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2471 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ในคราวเสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลภูเก็ตได้เสด็จมาเสวยพระกระยาหาร ณ พลับพลาแห่งนี้ จึงได้รับการเรียกชื่อว่า “พลับพลา ร.7” ตราบจนมาถึงปัจจุบัน
กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถานตำหนักโปร่งฤทัย (พลับพลา ร.5) ในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 113 ตอนพิเศษ 50 ง วันที่ 18 ธันวาคม 2539 ซึ่งในช่วงที่กรมศิลปากรสำรวจขึ้นทะเบียนตำหนักโปร่งฤทัยเป็นโบราณสถานนั้น ตัวตำหนักได้ปรักหักพังไปหมดแล้ว จึงได้กำหนดขึ้นทะเบียนศาลาริมทาง 2 แห่ง เพื่อเป็นอนุสรณ์การเสด็จคือ ศาลาแปดเหลี่ยมที่น้ำตกโตนน้อย และพลับพลา ร.7 ที่น้ำตกโตนใหญ่ ปัจจุบันตั้งอยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัด ตำบลช่อง อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง
วันศุกร์ที่ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๖๗ นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม พร้อมด้วยนายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร นายนรศักดิ์ สุขสมบูรณ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต นางรักชนก โคจรานนท์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงวัฒนธรรม นางเสริมกิจ ชัยมงคล รองอธิบดีกรมศิลปากร ผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม ผู้บริหารจังหวัดภูเก็ต วัฒนธรรมจังหวัดภูเก็ต วัฒนธรรมจังหวัดภาคใต้ เครือข่ายศิลปิน พร้อมภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน เข้าร่วมการแถลงข่าวเปิดตัวผู้อำนวยการฝ่ายศิลป์และภัณฑารักษ์ของโครงการจัดมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale, Phuket 2025
ขอขอบคุณภาพถ่ายจากสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดภูเก็ต
ระหว่างวันที่ ๓๐ - ๓๑ สิงหาคม ๒๕๖๗ นายวิเชียร สุขสร้อย เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ลงพื้นที่จังหวัดภูเก็ต เพื่อติดตามผลการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรมของกระทรวงวัฒนธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ - ๒๕๖๘พร้อมทั้งเข้ากราบนมัสการ พระอุดมวชิรมงคล เจ้าคณะจังหวัดภูเก็ต เจ้าอาวาสวัดมงคลนิมิต และติดตามการเตรียมความพร้อมการจัดงาน มหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale, Phuket 2025