ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,926 รายการ
สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร ขอเชิญทุกท่านร่วมกิจกรรมพิเศษเนื่องในวันพิพิธภัณฑ์ไทย ประจำปี 2567 “150 ปี พิพิธภัณฑ์ไทย สยามซิวิไลซ์ A Passage to Wisdom” ระหว่างวันที่ 19 - 21 กันยายน 2567 ณ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
พบกับกิจกรรมการเสวนาและการบรรยายจากคนพิพิธภัณฑ์ในหลากหลายหัวข้อ ประกอบด้วย “150 ปี พิพิธภัณฑ์ไทย สยามซิวิไลซ์ A Passage to Wisdom” ◦ พิพิธพัฒนาการพิพิธภัณฑ์ไทย ◦ พหุวัฒนธรรมการแต่งกาย ◦ รากฐานความรู้ สู่การเป็นพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ระดับวิชาการ ◦ Museum as Soft Power ◦ พิพิธภัณฑ์กับการเป็นแหล่งท่องเที่ยว พิพิธภัณฑ์กับการแปลงทุนทางวัฒนธรรมสู่การเรียนรู้ ◦ พิพิธภัณฑ์กับวัฒนธรรมร่วมสมัย ◦ พิพิธภัณฑ์กับการสร้างสรรค์การเรียนรู้ ◦ เป้าหมายการพัฒนาพิพิธภัณฑ์อย่างยั่งยืน ◦ เทคโนโลยีกับพิพิธภัณฑ์ ◦ พิพิธภัณฑ์สร้างสรรค์เพื่อความยั่งยืน ◦ พิพิธภัณฑ์เพื่อสังคม ◦ พลวัตการศึกษาสู่อนาคตพิพิธภัณฑ์ไทย ◦ พิพิธภัณฑ์กับชุมชน โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิและนักวิชาการผู้ปฏิบัติงานพิพิธภัณฑ์จากประสบการณ์จริง
และขอเชิญชมนิทรรศการพิเศษกับการจัดแสดงวัตถุชิ้นพิเศษ และการออกร้านกิจกรรมจากพิพิธภัณฑ์เครือข่ายเจ้าขององค์ความรู้หลากหลายแขนง ทั้งในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประวัติศาสตร์โบราณคดี วิทยาการการแพทย์ในประเทศไทย ด้านชุมชน สังคมและชาติพันธุ์ ด้านศิลปะและการสร้างสรรค์ องค์ความรู้จากบุคคลสำคัญและวัฒนธรรมประเพณีโบราณ การท่องเที่ยวและการเรียนรู้สำหรับเยาวชน ด้านเศรษฐกิจ ธรรมชาติวิทยา เทคโนโลยีเพื่อการป้องกันประเทศจากกองทัพภาคส่วนต่างๆ รวมถึงพิพิธภัณฑ์จากหน่วยงานของรัฐที่เก็บรักษาองค์ความรู้ในการพัฒนาบ้านเมืองจากอดีตถึงปัจจุบัน ฯลฯ
มาร่วมกันเป็นส่วนหนึ่งของการเฉลิมฉลอง 150 ปี พิพิธภัณฑ์ไทย
ร่วมแบ่งปันความรู้และประสบการณ์กับเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ไทยกว่า 40 แห่ง ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร หรือติดตามกิจกรรมผ่านทาง Facebook และ Youtube : Office of National Museums, Thailand
สอบถามรายละเอียดโทร. 02 164 2501-2 ต่อ 8045
สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร
ถอดรหัสและความหมาย ตราสัญลักษณ์ 150 ปี พิพิธภัณฑ์ไทยสยามซิวิไลซ์ : A Passage to Wisdom.
เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองมหกรรมวันพิพิธภัณฑ์ไทย ระหว่างวันที่ 19 – 21 กันยายน นี้ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร ได้ออกแบบตราสัญลักษณ์กิจกรรมเนื่องในวันพิพิธภัณฑ์ไทย ประจำปี 2567 ภายใต้แนวคิด “150 ปี พิพิธภัณฑ์ไทย สยามซิวิไลซ์ : A Passage to Wisdom” ที่ซ่อนความหมายและเรื่องราวของพิพิธภัณฑ์ไทยที่เดินทางผ่านกาลเวลามาแล้วกว่า 150 ปี
.
“ช้าง” สัตว์มงคลจากมิวเซียมหลวง
ช้าง เป็นสัตว์ประจำชาติไทยที่มักพบในตราสัญลักษณ์ของหน่วยงานต่างๆ โดยช้างที่ปรากฏบนสัญลักษณ์นี้ ได้ถอดแบบมาจากช้างที่อยู่บนตรามิวเซียมหลวง ณ หอคองคอเดีย (The Royal Siamese Museum) เพื่อสื่อถึงความเป็นพิพิธภัณฑ์ไทย และเป็น Mascot หลักของกิจกรรมวันพิพิธภัณฑ์ไทยของทุกปี
.
“คองคอเดีย” พิพิธภัณฑสถานที่เปิดให้ประชาชนเข้าชมแห่งแรกในสยาม
พระบาทสมเด็จจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เปิดมิวเซียมหลวง ณ หอคองเดีย ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งแรกของประเทศไทยที่เปิดให้ประชาชนเข้าชมอย่างเป็นทางการ และเป็นวิเทโศบายสำคัญในการเสริมสร้างภาพลักษณ์ของสยามประเทศให้มีความทันสมัย (ซิวิไลซ์)
.
“Passage” การเดินทางผ่านกาลเวลาของพิพิธภัณฑ์ไทย
จากวันแรกของมิวเซียมหลวงจนถึงวันนี้ พิพิธภัณฑ์ไทยแสดงให้เห็นว่า ตลอดการเดินทางผ่านกาลเวลามาแล้วกว่า 150 ปี พิพิธภัณฑ์ไม่ได้เป็นเพียงแหล่งสะสม แต่เป็นแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย บอกเล่าเรื่องราวและความเป็นมาของตนเอง ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เป็นสะพานที่เชื่อมโยงภูมิปัญญากับสังคมเข้าด้วยกัน
.
“Wisdom” แหล่งสะสมความรู้ มุ่งหมายให้เกิดปัญญา
ปัจจุบัน พิพิธภัณฑ์ยังคงทำหน้าที่เป็นแหล่งเรียนรู้ เปรียบดั่งแสงสว่างของดวงอาทิตย์เพื่อมุ่งหมายให้ผู้คนเกิดปัญญา เป็นสถาบันที่ให้บริการทางการศึกษา มีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมได้อย่างยั่งยืน และพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
#150ปีพิพิธภัณฑ์ไทย #วันพิพิธภัณฑ์ไทย #thaimuseumday2024 #สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ #กรมศิลปากร
เพื่อเข้าร่วมการสัมมนาว่าด้วยการจัดการอนุรักษ์ทรัพยากรหอสมุดสำหรับอาเซียน (Seminar on Conservation Management of Library Collections for ASEAN) ภายใต้หัวข้อ “ความท้าทายใหม่ และวิธีการที่แตกต่างสำหรับการอนุรักษ์มรดกทางวรรณศิลป์อาเซียน: มุมมองปัจจุบันและข้อค้นพบที่ดีที่สุด (New Challenges and Different Methods for the Conservation of ASEAN Literary Heritage: Current Perspectives and the Best Findings)”
สำนักการสังคีตร่วมแสดงดนตรีในงานเทศกาลดนตรีนานาชาติ St. Petersburg Jazz Festival ครั้งที่ ๑ ณ นครเซนต์ปีเตอส์เบิร์ก ระหว่างวันที่ ๒๒ – ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗ และงานเทศกาลไทย ณ กรุงมอสโก ระหว่างวันที่ ๒ – ๔ สิงหาคม ๒๕๖๗
นายไอศูรย์ ทิพย์ประชาบาล นาฏศิลปินอาวุโส ได้เข้าร่วมโครงการ ASEAN Heritage Train – Enhancing connectivity towards cultural diversity ระหว่างวันที่ ๙ – ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๖๗ ณ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ประเทศไทย และสหพันธรัฐมาเลเซีย เพื่อส่งเสริม สนับสนุน และสร้างโอกาสในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวัฒนธรรมระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน
เพื่อเข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการจัดเอกสารเพื่อการอนุรักษ์แหล่งมรดกโลก
ณ สำนักงานอนุรักษ์บุโรพุทโธ เมืองยอกยาการ์ตา
กรมศิลปากร โดยสำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา จัดโครงการเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาทให้แก่บุคลากรในสังกัดหน่วยงานกรมศิลปากร หลักสูตร “การเสริมสร้างวัฒนธรรม ค่านิยมสุจริต การปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม การต่อต้านการทุจริตและผลประโยชน์ทับซ้อนในหน่วยงานและชุมชน ” ในระหว่างวันที่ ๑๒ – ๑๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๗ ณ โรงแรมอามาธารา ตำบลในเมือง อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ในวันที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๖๗ เวลา ๐๙.๐๐ น. – ๐๙.๔๕ น. บรรยายพิเศษ เรื่อง “การเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรและการมีส่วนร่วมของผู้บริหาร ด้านการส่งเสริมด้านคุณธรรม และความโปร่งใสภายในหน่วยงาน” โดยนายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร ผู้สนใจสามารถติดตามชมการถ่ายทอดสด ผ่านทาง Facebook Live : สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา กรมศิลปากร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร จัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ ควบคู่กับความสนุกในรูปแบบต่าง ๆ ในหัวข้อ "นววินายักยาตรา" ซึ่งเป็นกิจกรรมเนื่องในเทศกาลคเณศจตุรถี พุทธศักราช ๒๕๖๗ วันที่ ๗ - ๘ กันยายน และ ๑๑ - ๑๕ กันยายน ๒๕๖๗ พบกับกิจกรรมพิเศษ ดังนี้
- กิจกรรม "ล่าลาย - Pattern Hunt" มีรายละเอียดสำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมดังนี้
- ซื้อบัตรเข้าชม และรับโปสการ์ดพระคเณศได้ที่ห้องจำหน่ายบัตร
- ๑ คน รับได้ ๑ ใบ เท่านั้น
- เข้าชมพิพิธภัณฑ์ และตามหาลายที่ชอบ
- จัดองค์ประกอบให้ลายอยู่ในรอยฉลุให้สวยงาม
- ถ่ายภาพแล้วอัพโหลดบน Facebook เปิดเป็นสาธารณะ
- ติดแฮชแท็ก nmbganeshchaturathi2024
- ภาพที่ได้รับการกดถูกใจมากที่สุด ภายในวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๖๗ จะได้รับกาชาปอง "นววินายัก" ทั้งชุดเป็นของรางวัล
- กิจกรรม "ตามรอยนววินายัก" เกมล่าหาตราประทับและสะสมสติ๊กเกอร์พระคเณศทั้ง ๙ มีรายละเอียดสำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรม ดังนี้
- ซื้อบัตรเข้าชมที่ห้องจำหน่ายบัตร
- รับพาสปอร์ตได้ที่อาคารมหาสุรสิงหนาท
- ไม่จำกัดจำนวนต่อคน
- เก็บตราประทับและสติ๊กเกอร์ที่ระลึกตามลายแทง
- เก็บสะสมให้ครบภายในวันที่ ๑๕ กันยายน เท่านั้น
- เมื่อเก็บครบทั้ง ๙ องค์แล้วนำพาสปอร์ตไปรับของรางวัล
- ค่าใช้จ่ายในการร่วมกิจกรรม ชุดละ ๑๐๐ บาท
- กิจกรรมนำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เป็นกรณีพิเศษในหัวข้อ "ตามรอยนววินายัก" มีรายละเอียดสำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรม ดังนี้
- ซื้อบัตรเข้าชมที่ห้องจำหน่ายบัตร
- เฉพาะวันเสาร์ - อาทิตย์ที่ ๗ - ๘ กันยายน และ ๑๔ - ๑๕ กันยายน
- ไม่ต้องสำรองที่นั่งล่วงหน้า
- ลงทะเบียนหน้างาน เวลา ๑๓.๐๐ น.
- รอบนำชมฯ เวลา ๑๓.๓๐ - ๑๕.๐๐ น.
- มีเพียง ๔ รอบเท่านั้น
- ตลาดมุมหัด-ทำ-มือ (Arts & Crafts Corner) ณ ระเบียงหมู่พระวิมาน อาคารมหาสุรสิงหนาท พบกับงานศิลปะ งานหัตถกรรม กาชาปอง อาร์ตทอย และเวิร์กชอป
- กาชาปองชุดพิเศษ เนื่องในเทศกาลคเณศจตุรถี พุทธศักราช ๒๕๖๗ "นววินายัก" โดย มู-เซียม สตูดิโอ (Mu-Seum Studio) กาชาปองชุดนี้มีขนาดความสูง ๖ เซนติเมตร หนึ่งชุดมี ๙ องค์ ๙ สี แต่ละสีมีการ์ดลายพิเศษให้ด้วย จำนวนวันละ ๑๐๘ องค์ สีพิเศษ ๓ องค์/วัน พร้อมการ์ดลายสุดพิเศษ เริ่มเวลา ๑๐.๐๐ น. วันเสาร์ที่ ๗ กันยายน - วันอาทิตย์ที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๖๗ ณ อาคารมหาสุรสิงหนาท (ไม่จำกัดรอบ จนกว่าของจะหมดในแต่ละวัน) ราคาจุ่มละ ๒๐๐ บาท
ขอเชิญชวนผู้สนใจร่วมกิจกรรม "นววินายักยาตรา"ณ พิพิธภัณฑสถานแหงชาติ พระนคร สามารถซื้อบัตรเข้าชมได้ตามปกติ ชาวไทย ๓๐ บาท ชาวต่างชาติ ๒๐๐ บาท เริ่มวันที่ ๗ กันยายน ๒๕๖๗ ติดตามรายละเอียดกิจกรรมอื่น ๆ ได้ทาง Facebook Page : Education.National Museum Bangkok เที่ยวพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร สอบถามเพิ่มเติม โทร. ๐ ๒๒๒๔ ๑๔๐๒