ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 42,097 รายการ

องค์ความรู้ เรื่อง 5 ขุนเขาแห่งเมืองอู่ทอง เรียบเรียง นางสาวกาญจนา ศรีเหรา บรรณารักษ์


            สำนักช่างสิบหมู่ ขอเชิญรับฟังการเสวนาทางวิชาการ หัวข้อ " ในกาลปัจจุบัน " วันพฤหัสบดีที่ 11 กรกฎาคม 2567 เวลา 13:30 น. ณ เวทีเสวนาวิชาการ อาคารศูนย์ศิลปะและการช่างไทย วิทยากรโดย นายจักรพันธ์ หิรัญสาลี : จิตรกรผู้สร้างผลงานจิตรกรรมร่วมสมัย อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตนที่สร้างชื่อเสียงไว้อย่างมากมาย นายวิสูตร ศรีนุกูล : จิตรกรผู้รังสรรค์ผลงานจิตรกรรมไทยประเพณี และจิตรกรรมไทยร่วมสมัยที่อ่อนช้อยงดงาม นายวิริยะ ชอบกตัญญู : ผู้ออกแบบตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติ พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ดำเนินรายการโดย นางสาวชุตินันท์ กฤชนาวิน : นักวิชาการช่างศิลป์ผู้ผลิตสื่อด้านศิลปกรรมเชิงวิชาการ และผู้ดูแลระบบศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร            การเสวนาทางวิชาการ เป็นกิจกรรมเนื่องในงานนิทรรศการศิลปกรรมเฉลิมพระเกียรติ “สิปปกรวรราชสามิภักดิ์” วันที่ 9 - 11 กรกฎาคม 2567 เวลา 09.00 - 16:00 น. ณ สำนักช่างสิบหมู่ ศาลายา จังหวัดนครปฐม และภายในงานพบกับการจัดแสดงผลงานศิลปกรรมเฉลิมพระเกียรติ การบรรยายพิเศษ การแสดงดนตรีสากล การสาธิตงานศิลปกรรม การทำกิจกรรม Workshop และ Art Market 


สำนักพระราชวัง ขอเชิญชวนประชาชนร่วมลงนามถวายพระพรชัยมงคล สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๗ ผ่านระบบออนไลน์ ที่เว็บไซต์หน่วยราชการในพระองค์ www.royaloffice.th ระหว่างวันที่ ๑๑ – ๑๓ สิงหาคม ๒๕๖๗




การขออนุญาตเก็บรักษาโบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุ ซึ่งเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินและ อยู่ ในความดูแลรักษาของกรมศิลปากร




           สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ขอเชิญชมการแสดงวันเปิดโครงการดนตรีสำหรับประชาชน ปีที่ ๖๘ “เหมันต์สุขสันต์ หฤหรรษ์สังคีต” วันอาทิตย์ที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๖๘ เวลา ๑๗.๓๐ น. ณ สังคีตศาลา บริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร พบกับรายการแสดงดังต่อไปนี้            - การบรรเลงดนตรีสากล             - รำอวยพรเปิดสังคีตศาลา ปีที่ ๖๘ การแสดงชุดนี้ เป็นการรำอวยพรเนื่องในพิธีเปิดโครงการดนตรีสำหรับประชาชน ปีที่ ๖๘                    โดยสร้างสรรค์ขึ้นใหม่ทั้งบทประพันธ์และกระบวนท่ารำ สำหรับความหมายของการแสดงนั้น แสดงออกถึงความมีไมตรีจิตและอัญเชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์โปรดช่วยคุ้มครองให้ทุกท่านประสบแต่ความสุขความเจริญ อีกทั้งดำเนินงานให้ประสบความสำเร็จ สมหวังในสิ่งที่พึงประสงค์ทุกประการ            - มะเส็งหรรษา เริงร่าเภรี ปีใหม่ไทยจีน การแสดงชุด มะเส็งหรรษา เริงร่าเภรี ปีใหม่ไทยจีน เป็นการแสดงสร้างสรรค์ที่มีความสวยงามตื่นตาตื่นใจชุดหนึ่ง จากแนวความคิดของนายปกรณ์  พรพิสุทธิ์ นาฏศิลปิน (ด้านอำนวยการแสดง) เพื่อเฉลิมฉลองเทศกาลตรุษจีน ประจำปี ๒๕๖๘ พร้อมทั้งต้อนรับศักราชใหม่ปีมะเส็ง ด้วยการมอบความสุข ความบันเทิง โดยนำกลองจีน ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีที่มีความสำคัญในวัฒนธรรมจีน เป็นสัญลักษณ์ในการส่งมอบความโชคดี            - ละคร เรื่องเอียฮู ผู้กตัญญู “เอียฮู เกษตรกรผู้กตัญญู” เป็นนิทานสุภาษิตจีนพุทธนิกายเรื่องหนึ่ง ที่รู้จักกันแพร่หลายมาแต่ครั้งพุทธกาล เรื่องมีอยู่ว่า ณ เมืองซัวไซไถ่หงวน  มีชายเกษตรกรผู้หนึ่งแซ่เอีย ชื่อว่า “ฮู” เอียฮูเป็นผู้มักใหญ่ใฝ่สูง แต่มีความเกียจคร้านเป็นสันดาน เมื่อเอียฮวงผู้บิดาถึงแก่กรรมแล้ว เอียฮูก็อยู่กับนางเอียสี หญิงมารดา ซึ่งเป็นง่อยตามลำพัง เอียฮูไม่ยอมทำไร่ทำนา คงใฝ่ฝันแต่ที่จะเป็นใหญ่เป็นโตในราชสำนัก ใช้จ่ายทรัพย์สมบัติอันบิดาสะสมไว้จนหมดสิ้น ปล่อยไร่นารกร้างว่างเปล่าหาทำประโยชน์อันใดไม่ แม้นางเอียสีจักได้พยายามว่ากล่าวตักเตือนอย่างไร เอียฮูก็มิได้เชื่อฟัง กลับด่าว่ากระทบกระเทียบเปรียบเปรย ว่านางเอียสีเองต่างหาก          เป็นผู้ถ่วงชีวิตครอบครัว และถ่วงความเจริญของตน แล้วในที่สุด “เอียฮู” ก็ตัดสินใจออกจากบ้าน เพื่อไปแสวงหาสิ่งที่ตนปรารถนาและเห็นว่ายิ่งใหญ่ นั่นคือ “วิชาอายุ วัฒนะ” เอียฮูทิ้งไร่ทิ้งนา ทิ้งแม้กระทั่ง “นางเอียสี”  มารดาง่อยของตนซึ่งไม่สามารถช่วยตัวเองได้             - ละคร เรื่องสามก๊ก ตอนจูล่งฝ่าทัพรับอาเต๊า การแสดงตอนนี้เป็นความคิดริเริ่มของอาจารย์เสรี  หวังในธรรม ศิลปินแห่งชาติ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านสังคีตศิลป์ กรมศิลปากร ซึ่งนำการบรรเลงและขับร้องในเรื่องสามก๊ก ชุดตับจูล่ง มาทำเป็นรูปแบบของการแสดง  อันมีเนื้อเรื่องกล่าวถึงทัพของเล่าปี่มีอันต้องแตกพ่ายแก่ทัพของโจโฉ ทำให้ทั้งครอบครัว และไพร่พลของเล่าปี่แตกกระสานซ่านเซ็น นางบีฮูหยินมเหสีของเล่าปี่ได้นำอาเต๊าราชบุตรซึ่งเกิดจากมเหสีองค์ใหญ่พาหนีข้าศึกมาได้ ทั้งที่ตัวนางเองก็ถูกอาวุธที่ขาแทบจะเอาชีวิตไม่รอด แต่ด้วยความห่วงราชบุตรซึ่งเป็นสายเลือดของเล่าปี่ จึงพยายามแหวกวงล้อมข้าศึกมาซ่อนตัวอยู่ หวังให้ฟ้าดินช่วยปกป้องอาเต๊า ให้รอดพ้นจากอันตราย จูล่งทหารเอกคนหนึ่งของเล่าปี่ขี่ม้าตามมาช่วยจนพบกับนางบีฮูหยิน นางจึงฝากให้ช่วยพาอาเต๊าหนีไปให้พ้นภัย โดยวางอาเต๊าไว้ต่อหน้าจูล่งแล้วโดดบ่อน้ำไปทันที จูล่งเสียใจมาก แต่ด้วยความห่วงอาเต๊า ราชบุตรจึงรีบกลบดินถมบ่อ แล้วนำอาเต๊าซึ่งยังเป็นเด็กใส่ในเกราะกลางอกฝ่าวงล้อมกองทัพไพร่พลไปได้โดยปลอดภัย             นำแสดงโดย ศิลปินสำนักการสังคีต,  กำกับการแสดงโดย ปกรณ์  พรพิสุทธิ์, อำนวยการแสดงโดย ศิริพงษ์  ทวีทรัพย์ ผู้อำนวยการสำนักการสังคีตบัตรราคา ๒๐ บาท (จำหน่ายบัตรก่อนการแสดง ๑ ชั่วโมง) ณ สังคีตศาลา บริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม (วันและเวลาราชการ) โทร. ๐ ๒๒๒๔ ๑๓๔๒ และ โทร. ๐ ๒๒๒๑ ๖๕๓๓


สารคดีเชิงข่าว “วังหน้าแห่งกรุงรัตนโกสินทร์” ตอนที่ ๓ พระที่นั่งอิศเรศราชานุสรณ์ ออกอากาศช่วงข่าวภาคค่ำ ทางสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ เมื่อวันที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๕๘   รายงานพิเศษ พาไปชมความสวยงามของพระที่นั่งอิศเรศราชาน­ุสรณ์ ที่เพิ่งบูรณะเสร็จสิ้น ภายใต้โครงการอนุรักษ์และพัฒนาพระราชวังบว­รสถานมงคล







เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2561 นายสุพจน์ พรหมมาโนช ผู้อำนวยการสำนักศิลปกรที่ 7 เชียงใหม่ และนายเทอดศักดิ์ เย็นจุระ ผู้อำนวยการกลุ่มอนุรักษ์โบราณสถาน สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ พร้อมด้วยคณะเจ้าหน้าที่สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ ลงพื้นที่ตรวจงานงวดที่ 4-9 งานบูรณะและปรับปรุงภูมิทัศน์กำแพงเมือง-คูมืองฝาง ตำบลเวียง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่